มีแขกมาเยือนถึงเรือนชาน แล้วมันก็เข้าไปอยู่ในห้องน้ำโดยไม่บอกกล่าวกันก่อน knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 16:16:04 ]
ความคิดเห็นที่: 1 แล้วมันก็โดดตุ๊บลงพื้น.. knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 16:29:19 ]
ความคิดเห็นที่: 2 นางงามตู้กระจก กำลังจะเป็นแม่แล้ว เร็วๆ นี้(อยู่ระหว่างฟักไข่) knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 16:31:31 ]
ความคิดเห็นที่: 3 ดูหน้าหน่อยซิ knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 16:35:42 ]
ความคิดเห็นที่: 4 0-1 Gehyra angusticaudata ?? นณณ์ [ 14 ก.ค. 2550 18:26:34 ]
ความคิดเห็นที่: 5 ๐-๑ ลูก กีฮายร่า มูติลาตางั้นเอาภาพเจ้าหนูน้อยมาให้ชมด้วยอีกสักตัว.. ...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2550 21:11:38 กุ๋ยป่า [ 14 ก.ค. 2550 19:10:19 ]
ความคิดเห็นที่: 6 *0-1 . จิ้งจกหินลายกระ Gehyra fehlmanni?*5 . จิ้งจกหินอ้วน Gehyra lacerata ? Mr.prutodang [ 14 ก.ค. 2550 20:56:17 ]
ความคิดเห็นที่: 7 ง่า จักกะเดียมมั้ยค่ะ เวลามันเกาะที่มืออ่ะค่ะ ช่างกล้าจิงๆ นะคะฮึ๋ย !!!!! Trichoptera [ 14 ก.ค. 2550 22:17:14 ]
ความคิดเห็นที่: 8 ไล่แขกเมื่อไหร่บอกผมนะป๋า ฉลามเสือ [ 14 ก.ค. 2550 23:02:31 ]
ความคิดเห็นที่: 9 แหม.. ถ้าเป็นมูติลิตา ก็เป็นเจ้าบ้านอยู่แล้ว นณณ์ตาถึงวุ้ย ตอนนี้ไม่รู้มันไปซุกตรงไหนแล้วเอามาแถมอีกสักตัว knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:06:47 ]
ความคิดเห็นที่: 10 มีผีด้วย knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:08:59 ]
ความคิดเห็นที่: 11 บุกกันเข้ามา knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:11:30 ]
ความคิดเห็นที่: 12 เด็กๆ ที่บ้าน อายุเดือนครึ่งแล้ว knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:17:02 ]
ความคิดเห็นที่: 13 เอาผีมาอีกดีกว่า knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:19:31 ]
ความคิดเห็นที่: 14 มันบินมาเกาะเอานะ knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:20:54 ]
ความคิดเห็นที่: 15 ง่ะ... ก็ยังไม่เคยเห็น น้องกัส ตัวจริงๆ เลยนี่นา (เอาเป็นข้ออ้างซะเลย ) อิๆ ...แก้ไขเมื่อ 14 ก.ค. 2550 23:39:59 กุ๋ยป่า [ 14 ก.ค. 2550 23:25:36 ]
ความคิดเห็นที่: 16 จะมีใครหลงมาชี้แนะหรือเปล่าเนี่ย knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:28:39 ]
ความคิดเห็นที่: 17 สวยอันตราย ตัวนี้ให้ลูกมา 2 ครอกแล้ว knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:38:29 ]
ความคิดเห็นที่: 18 แหม..ปู่เทเลอร์บอกว่าเจอน้องกัสแถวๆ บ้านท่านเป็นฝูง แต่..กระผมเองก็เคยเจอแค่ 3 จังหวัด โดยไม่มีชลบุรีอยู่ในลิสต์เลยของฝากสำหรับคนหัดจำแนกที่ไม่ใช้การเทียบรูป knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:45:25 ]
ความคิดเห็นที่: 19 ลองสังเกตลักษณะเกล็ดทั้งหมด แล้วลองบอกว่าเห็นอะไร อย่างไรบ้าง(ไม่ต้องบอกชนิดนะ) knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:47:32 ]
ความคิดเห็นที่: 20 เอาที่เกี่ยวกับเกล็ดนะ ไอ่เศษสิ่งแปลกปลอมที่ติดไม่ต้องบอก knotsnake [ 14 ก.ค. 2550 23:50:25 ]
ความคิดเห็นที่: 21 ป๋าครับ ปลิงออกมาเพียบ อนาคอนด้าเมดอินไทยแลนไม่ออกบ้างเหรอครับ รอลุ้นตัวโก่งเกือบปีละป๋า ฉลามเสือ [ 15 ก.ค. 2550 00:57:52 ]
ความคิดเห็นที่: 22 ม่ายแน่ใจนะคับ แต่คิดว่า ลักษณะของเกล็ดใน คห19 และ คห 20 ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่ามันเรียงตัวเป็นแนวทะแยง หรือ แนวเฉียง ดูจากแนวของสัน (keel) เรียกว่า oblique scales แต่ คห 19 จะมีแนวเฉียงขึ้นไปบริเวณของสันบริเวณด้านหลัง (dorsal crest ) ส่วน คห 20 จะมีแนวเฉียงลงไปบริเวณด้านท้อง (ventral) แต่แนวของการเฉียงจะน้อยกว่า คห 19 เราจึงมองเห็นเหมือนกับว่าเรียงตัวเป็นเส้นตรงจาก จิ้งเหลนเฒ่า oldskink [ 15 ก.ค. 2550 23:18:28 ]
ความคิดเห็นที่: 23 ...*9.จิ้งจกนิ้วยาวสยาม ( Cnemaspis siamensis)*12. plumbea แลกหนูอีกไหมครับ.....อิอิ*18. กิ้งก่าเขาหนามยาว Acanthosaura arnata ?*19. กิ้งก่าแก้ว Calotes emma*20. กิ้งก่าเขียวหูดำ Bronchochella cristatellaตัวสุดท้ายเลี้ยงรอดหรือครับพี่น็อท? Mr.prutodang [ 15 ก.ค. 2550 23:38:47 ]
ความคิดเห็นที่: 24 กิ้งก่า จำแนกชนิดตามลักษณะเกล็ดยังไงเหรอคะ กี้จั [ 16 ก.ค. 2550 13:20:14 ]
ความคิดเห็นที่: 25 ฉลามเสือ..ก็น้องด้าเมืองไทยมีตัวเมียที่ยังไม่ผสมพันธุ์ตัวเดียว แล้วจะเอาลูกมาจากไหนฟระ(ผมกับน้อง'ลามเสือรู้จักเป็นการส่วนตัวครับ เลยใช้ภาษาประมาณนี้ ผู้ปกครองควรพิจารณา)น้องพรุฯ .. ถ้าเป็นข้อสอบ ขอบอกว่าน้องสอบตก เพราะว่าให้อธิบายเรื้องเกล็ด แล้วย้ำด้วยว่าไม่ต้องบอกชนิดใน คห.19 อ้อ..เรามีเรื่องต้องเคลียร์กันหน่อยนะคุณจิ้งเหลนเฒ่า..แจ่มมากครับ แต่ผมอยากให้สังเกตเกล็ดใน คห.18 ในเชิงเปรียบเทียบเพิ่มเติมอีกนิดครับ(ลองดู 19-20 ประกอบด้วยว่ามีอะไรให้น่าเปรียบเทียบ) แล้วผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมหลังจากมีคนมาลองอธิบายเพิ่มอีกระยะหนึ่งก่อน เหตุผลคือผมจะไม่ได้เข้าเน็ตอีกหลายวันเลยต้องรองัยคุณกี้จั ..นี่งัยครับ ผมกำลังเอามาแนะนำการจำแนกกิ้งก่าเมืองไทยระดับสกุล ลองดูข้อมูลของคุณจิ้งเหลนเฒ่าเป็นแนวทางแล้วลองอธิบายโดยไม่ต้องลอกสิครับปล. เด็กๆ คห.12 ตอนนี้อยู่ระหว่างการติดตามการเติบโต วงชีวิต ชีววิทยการสืบพันธุ์(ประเด็นที่ยังไม่มีคำตอบ) แล้ว ถ้าเป็นไปได้จก็จะเล่นถึงอายุขัย เลยไม่รับแลกอะไรแล้วลป. กิ้งก่าสกุลอื่นยังไม่เอามาแปะ เพราะผมไม่มีรูปของตัวเองครับ กระทู้นี้เลยเอาเบื้องต้นก่อน ให้พอจับหลักได้ knotsnake [ 16 ก.ค. 2550 21:45:09 ]
ความคิดเห็นที่: 26 หุหุ โทดทีคับ ลืมมอง คห 18 ง่ายๆ เลย pattern ของเกล็ดใน คห 18 สังเกตดีๆ เกล็ดที่คอ และข้างลำตัวเล็กกว่าที่ขาค่อนข้างมาก อันที่ผมกล่าวมาข้างต้นใน คห 22 เป็นความต่าง มาดูความเหมือนบ้าง เกล็ดของทั้ง 3 สกุลนี้มี keel หรือ สันที่เหมือนกัน (ง่ายไปมั้ย) แต่ก็ขอเพิ่มเติม (ขอนอกเรื่อง) หน่อยนะคับ ใน family agamidae เน้นนะคับในประเทศไทย ลักษณะเด่นง่ายๆ เลย ถ้าเอาไปสอนหนังสือเด็ก ผมจะบอกเสมอว่า เกล็ดที่หัวของ agamid มีขนาดเล็ก และเท่ากัน ลองเอาไปเทียบกับวงศ์จิ้งเหลน (Family scincidae) ซิคับ เกล็ดที่หัวของจิ้งเหลนจะมีการขยายใหญ่กว่าเกล็ดบริเวณอื่นๆ ทำให้เกิดแบ่งเป็น region ของเกล็ด อย่างเกล็ดของหัวจิ้งเหลนห้วยเขมรที่ผมเคยโพสไว้ก่อนหน้านี้ ลองกลับไปดูนะคับ label ให้เรียบร้อยแล้ว (ทำให้เรามาจำศัพท์เทคนิคให้ปวดหัว อิอิ) โอเคคับ พอหอมปากหอมคอ ยังไงผมก็ให้สัญญาชาว siamensis ก็แล้วกัน ว่าคราวหน้าจะพยายามหาpattern ของเกล็ดมาให้ดูมากๆ (ช่วยพี่น็อตอีกแรง) เพราะเป็น charecter สำคัญที่ใช้ในการ id reptile อีก charecter หนึ่ง ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม ปล. ช่วงนี้จิ้งเหลนเฒ่าสอบอยู่นะคับ อ่านหนังสือหนักมากๆ หุหุ oldskink [ 17 ก.ค. 2550 01:38:57 ] oldskink_scincid@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 27 กลับมาแระ..ใช่ครับ แต่ที่เขาเปรียบเทียบจริงๆ คือเทียบขนาดระหว่างเกล็ดข้างตัวกับเกล็ดท้องครับ โดยทั้ง 3 สกุลที่เอามานี้มีลักษณะร่วมกันคือ เกล็ดข้างลำตัวมีขนาดเท่าๆ กัน แล้วยังมีสกุล Pseudocalotes ที่มีลักษณะร่วมนี้ด้วย( แต่ไม่ได้แสดงรูป) แล้ว..Acanthosaura มีเกล็ดข้างลำตัวเล็กกว่าเกล็ดท้อง หากใครไปดูเขาที่หลังตาก่อนก็อาจจะสับสนกับกิ้งก่าแก้ว(Calotes emma) ก็เป็นได้Calotes เกล็ดข้างลำตัวมีขนาดเท่าๆ กับเกล็ดท้อง แล้วเกล็ดมีสันที่ดูแล้วมีทิศทางไปทางเดียวกัน ประมาณว่าเฉียงขึ้นน่ะBranchocela เกล็ดข้างตัวก็มีขนาดเท่าๆ กับเกล็ดท้องเช่นกัน แต่..แถวใกล้ๆ แนวสันหลังจะดูว่าเกล็ดจะมีสันเฉียงขึ้น ซึ่ง จำนวนแถวที่เฉียงขึ้นก็มีส่วนในการจำแนกระดับชนิด แล้วเกล็ดอีกชุดหนึ่งก็จะมีสันเฉียงลงส่วน Pseudocalotes ขอติดไว้ก่อน ยังไม่ได้ไปดูว่าเกล็ดต่างจาก Calotes อย่างไรบ้าง แล้วลักษณะอื่นๆ ก็ยังไม่กล่าวถึงก่อน เพราะในการจำแนกสกุลกลุ่มนี้เขาให้ความสำคัญของเกล็ดมากกว่า ลักษณะอื่นๆ เป็นลักษณะประกอบช่วยยืนยันครับ knotsnake [ 23 ก.ค. 2550 09:58:17 ]
ความคิดเห็นที่: 28 แจ่มครับ อย่างน้อยคราวนี้ก็แยก กิ่งเขา กับ กิ่งแก้ว ออก และ นณณ์ [ 24 ก.ค. 2550 11:23:48 ]