กระทู้-08050 : กิ้งก่าแก้ว..

Home » Board » เลื้อยคลาน

กิ้งก่าแก้ว..

ลองเอารูปนี้มาให้ดูก่อน แล้วคิดว่าเป็นชนิดย่อยทางใต้ หรือทางเหนือ
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 14:41:13 ]
ReptilesPics_reply_37048.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
เอามาให้ดูอีกตัว

ข้อมูลเพิ่มเติม..กิ้งก่าทั้ง 2 ตัว เป็นเพศเมียเหมือนกันทั้งคู่ ขนาดต่างกันเล็กน้อย  แต่ไม่มีผลในการเปรียบเทียบ แล้วมีที่มาห่างกันประมาณ 1000 กม.
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 14:44:49 ]
ความคิดเห็นที่: 2
อืม เกล็ดปลายแหลม เกล็ดปลายมน ต่างกันชัดเชียวครับ
นณณ์ approve [ 25 ก.ค. 2550 14:46:07 ]
ReptilesPics_reply_37060.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
ยังครับ ยังมีอีกลองดูดีๆ  แล้วก็มาต่อที่ภาพหัว
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 15:26:44 ]
ReptilesPics_reply_37061.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
ว่ามีอะไรเหมือน  และต่างกันอีก

ภาพเปรียบเทียบทั้ง 2 คู่นี้ เป็นลักษณะที่ใช้จำแนกตามคีย์เลยครับ แล้วสามารถมองเห็นได้ไม่ยากเย็นนัก
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 15:28:28 ]
ReptilesPics_reply_37063.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
ปิดท้ายด้วยรูปทั้งตัว
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 15:31:16 ]
ReptilesPics_reply_37065.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
แล้วเราจะมาช่วยกันสรุป

ปล. อย่าเอาเรื่องสีมีพิจารณานะครับ เพราะอีกตัวมันเข้าคราบอยู่
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 15:32:35 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ขอเดาหน่อยนะครับพี่น๊อท
ที่หนามที่เหนือตามีลักษณะต่างกันครับ
นายแมลง approve [ 25 ก.ค. 2550 15:58:59 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ยอมรับนะคับ ว่าจิ้งเหลนเฒ่าตัวนี้ ม่ายค่อยแม่นในกลุ่มของ agamid  แต่ดูจากลักษณะคราวๆ  ในรูปก็พอจะอธิบายความแตกต่างได้  แต่ผมคงบอกม่ายได้หรอกว่า ชนิดย่อยไหน ยอมรับว่าม่ายแม่นจิงๆ  

คับผม อันดับแรกเลย เรามาพิจารณาที่สัน (สันที่เกล็ด) หรือ keel กันก่อน ภาพแรกจะเห็นว่ามีสันที่ข้างลำตัว (lateral keel) ค่อนข้างใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เรียกสันแบบนี้ว่า sharply or strongly keel  ส่วน คห1 ตรงข้ามกันคับ สันเล็ก เห็นได้ไม่ชัดเจน เรียกว่า weakly keel

อันดับที่ 2 พิจารณา spine คห3 หนามหลังตา (postorbital spine) ใหญ่ กว่า คห4 ดังนั้น หนามของ คห 4 อาจจะเรียกว่าเป็นหนามแบบ tubercle ก็ได้

สุดท้ายคับ พิจารณาสันที่หลัง (dorsal crest) คห5 มีสันที่สูงกว่าคห6

ทีนี่ขอเดานะคับ คห 5 เป็น กิ้งก่าแก้วใต้ Calotes emma emma
                         คห 6 เป็น กิ้งก่าแก้วเหนือ Calotes emma alticristatus

จาก จิ้งเหลนเฒ่า
oldskink approve [ 25 ก.ค. 2550 17:48:12 ]
ความคิดเห็นที่: 9
หลักของอนุกรมวิธานอันหนึ่งคือ การจัดกลุ่มในสิ่งที่เหมือนหรือคล้ายคลึง  และการแยกแยะส่วนที่ต่าง ส่วนเรื่องแม่นหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่ง หากเราสามารถจัดกลุ่ม และแยกแยะแล้ว มันก็สามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายได้  แต่ ถ้ามี แต่ความแม่นโดยการจำทื่อๆ  หรือใช้ข้อมูลแวดล้อมเป็นประธานแล้ว วันหนึ่งความแม่นนั้นก็คือความไม่แม่นครับ

ยังไม่เฉลยก่อน ขอบอกว่ายังมีบางจุดที่ยังไม่มีใครพูดถึง ส่วนสิ่งที่พูดถึงไปแล้วจะสามารถใช้ได้จริงหรือเปล่าก็ไว้ค่อยสรุป อยากให้คนอื่นๆ มาร่วมกันฝึกเป็นนักอนุกรมวิธานครับ
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 18:58:52 ]
ความคิดเห็นที่: 10
*5 Calotes emma emma
*6 Calotes emma alticristatus
เพราะผมแอบเปิดหนังสือดูครับ....(ไม่มั่นใจเรื่องชนิดเลยเปิดครับ)
แต่ตอนนี้แยกออกล่ะครับ
สรุป
1.เกล็ดของใต้จะแหลมกว่าในขณะที่เหนือจะมนๆ
2.เขาของใต้ทั้งตัวผู้ และตัวเมียมีขนาดต่างกันชัดเจนในตัวใต้จะมีขนาดใหญ่กว่า
* แต่ ถ้าเอาตัวเหนือเด็กๆ กับใต้เด็กๆ มาเทียบกันผมจะแยกได้ไหมนี่...
Mr.prutodang approve [ 25 ก.ค. 2550 19:18:15 ]
ความคิดเห็นที่: 11
น้องพรุฯ ตอบผิดวัตถุประสงค์น่ะ..เพราะสาระสำคัญคือให้หัดสังเกตส่วนเรื่องชนิดย่อยนั้นไม่ได้เน้นเลย..หากเราแยกแยะตรงนี้ได้เราก็เดินไปสู่ตัวตนของมันได้ครับ
knotsnake approve [ 25 ก.ค. 2550 20:01:09 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ตัวหนึ่งเกล็ดเป็นแนวเฉียงเป็นระเบียบ อีกตัวเกล็ดเรียงกันไม่เป็นระเบียบอ่ะ!!!
นณณ์ approve [ 25 ก.ค. 2550 22:16:48 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ผมว่าตัวบนหน้ามันแหลมกว่าตัวล่างครับ
หมักดอง approve [ 26 ก.ค. 2550 13:02:24 ]
ความคิดเห็นที่: 14
มาเฉลย..

กิ้งก่าแก้วเหนือ(Calotes emma alticristata) มีหนามเหนือตาเล็กมาก (ไม่เกินครึ่งของตา) เกล็ดข้างตัวมีขนาดเล็ก ซึ่ง ในคีย์จะแสดงในลักษณะของจำนวนเกล็ดที่มากกว่าเจ้าแก้วใต้ นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่เราสังเกตได้คือลักษณะของเกล็ดที่เป็นสันพอประมาณไม่ถึงกับคมกริบชัดเจน ส่วนเรื่องหน้าสั้นกว่านั้นผมยังไม่ขอยืนยัน แม้จะยืนยันได้ก็ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะการที่จะบอกว่าหน้าสั้นกว่านั้นคงต้องมีการเอามาเปรียบเทียบกัน  แต่เวลาเราเจอ เราจะเจอชนิดย่อยเดียว(ยังไม่เคยมีข้อมูลว่าเจอ 2 ชนิดย่อยในพื้นที่เดียวกัน)

กิ้งก่าแก้วใต้(C. e. emma) หนามเหนือตาใหญ่ชัดเจนมากๆ (ไม่น้อยกว่าครึ่งตา) เกล็ดข้างตัวมีขนาดใหญ่(จำนวนเกล็ดรอบตัวน้อย ยังไงเสียก็เห็นว่าเกล็ดมันใหญ่ชัดเจน) มีสันเกล็ดชัดเจนมากๆ

ส่วนคำถามน้องพรุฯ ที่สงสัยว่า ถ้าเจอตัวเล็ก(ซึ่ง หนามเหนือตาของตัวใต้ก็เล็กมากเช่นกัน)จะแยกออกยังไง ก็มาแก้ปัญหาด้วยการดูเกล็ดนั่นเองครับ ซึ่ง เป็นลักษณะคงที่ตลอดช่วงอายุ
knotsnake approve [ 26 ก.ค. 2550 22:09:48 ]
ความคิดเห็นที่: 15
อ้อ..หนามที่คอ และหลังก็เป็นลักษณะที่ใช้ได้เช่นกันครับในตัววัยรุ่นขึ้นไป
knotsnake approve [ 26 ก.ค. 2550 22:10:34 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ในที่สุดก็เคลียร์ กลุ่มนี้ซักที หลังจากที่ผมมึนมานาน หุหุ
oldskink approve [ 26 ก.ค. 2550 23:49:00 ]
ReptilesPics_reply_37451.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
ไหนๆ ก็รู้จักกิ้งก่าแก้วแล้ว งั้นขอสอบกันก่อน ถามว่ากิ้งก่าแก้วตัวนี้เป็นชนิดย่อยอะไร เพศอะไร แล้วใครจะตอบเพิ่มอีกว่าถ่ายช่วงประมาณเดือนไหน(บอกเป็นช่วงสัก 3-4 เดือนก็ได้)ก็ยินดีครับ พร้อมเหตุผลประกอบ
knotsnake approve [ 27 ก.ค. 2550 09:47:59 ]
ความคิดเห็นที่: 18
กิ้งก่าแก้วใต้ (Calotes emma emma)
ตัวเมีย ช่วงพฤษภา-ตุลา(หน้าฝน)ครับ
Mr.prutodang approve [ 28 ก.ค. 2550 12:14:08 ]
ความคิดเห็นที่: 19
Calotes emma  emma
กิ้งก่าแก้วใต้
ตัวเมียหน้าฝนมันจะเขียวคร๊าบ
ไม่ได้ลอกเจ้าพรุฯ นะครับ




แถมให้นิดนึง  ในช่วงที่ตั้งท้องจะเปลี่ยนเป็นสีอมชมพูครับอิอิ
keng_exotic approve [ 28 ก.ค. 2550 20:37:27 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ตามมาดูครับ .... มาช้าหน่อยครับ ... อิอิ
ฝนแรก approve [ 02 ส.ค. 2550 05:41:51 ]
ความคิดเห็นที่: 21
น้องพรุฯ  กับเก่ง ตอบถูกแล้วครับ  แต่ช่วงเดือนอาจมีคลาดเคลื่อนได้ ขอให้ยึกสภาพอากาศจริงเป็นสำคัญ
knotsnake approve [ 11 ส.ค. 2550 20:34:53 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org