กระทู้-08058 : ตรัง

Home » Board » เลี้ยงลูกด้วยนม

ตรัง

เอาภาพจากการไปสำรวจค้างคาวที่จ.ตรังเมื่อเดือนก่อนมาฝากกันครับ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:51:40 ]
MammalsPics_reply_37215.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
เริ่มจากตอนกลางวัน
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:54:06 ]
MammalsPics_reply_37216.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
กิ้งก่าบิน...
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:55:15 ]
MammalsPics_reply_37217.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
ซากนกนางแอ่น...
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:55:55 ]
MammalsPics_reply_37218.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
เห็ด...
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:56:28 ]
MammalsPics_reply_37220.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
 และเห็ด...
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:57:51 ]
MammalsPics_reply_37221.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
ผีเสื้อบ้างสิ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:58:39 ]
MammalsPics_reply_37222.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
ฝากเซียน amphibians&reptiles เริ่มด้วยจิ้งเหลน
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 22:59:56 ]
MammalsPics_reply_37223.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
เกาะอยู่บนก้อนหินกลางลำห้วย
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:01:20 ]
MammalsPics_reply_37224.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
ส่วนตัวนี้หลบอยู่ใต้ซอกหิน
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:03:10 ]
MammalsPics_reply_37225.jpg
ความคิดเห็นที่: 10
สำรวจถ้ำตอนกลางวัน
พบ colony ใหญ่ของค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ Hipposideros turpis
ที่บอกว่าใหญ่เพราะสถานภาพปัจจุบันจัดเป็น endanger species
...แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 2550 23:47:19
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:06:23 ]
ความคิดเห็นที่: 11
น่าจะ Draco branfordiiนะ
pe_cu [ 25 ก.ค. 2550 23:08:41 ]
MammalsPics_reply_37227.jpg
ความคิดเห็นที่: 12
ส่วนตัวนี้พบได้ตามถ้ำทั่วไป Taphozous melanopogon ค้างคาวปีกถุงเคราดำ
เป็นค้างคาวกินแมลงที่มักเกาะอยู่ใกล้ปากถ้ำที่มีแสงส่องถึง เพราะใช้สายตาช่วยในการบิน การกำหนดทิศทาง ร่วมกับการใช้ echolocation  แต่สำหรับค้างคาวกินแมลงชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะใช้ echolocation เกือบ 100 %
...แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 2550 23:31:49
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:12:33 ]
MammalsPics_reply_37229.jpg
ความคิดเห็นที่: 13
เมื่อราตรีใกล้มาเยือน ก็ได้ฤกษ์ตั้งกับดักค้างคาวกัน
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:14:22 ]
MammalsPics_reply_37232.jpg
ความคิดเห็นที่: 14
ยังดันเจอซากนกอีกตัวแน่ะ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:15:29 ]
MammalsPics_reply_37233.jpg
ความคิดเห็นที่: 15
เมื่อค่ำลงก็เจอเจ้านี่
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:16:04 ]
MammalsPics_reply_37234.jpg
ความคิดเห็นที่: 16
 และเจ้าท้องเหลืองนี่
ดูวิธีที่เค้าไต่ขึ้นหน้าผาสิ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:17:03 ]
MammalsPics_reply_37236.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
ค้างคาวที่พบครับ
Macroglossus minimus หน้ายาวเล็ก
...แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 2550 23:31:30
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:19:40 ]
MammalsPics_reply_37237.jpg
ความคิดเห็นที่: 18
ลูกชายของค้างคาวหน้ายักษ์สองสี Hipposideros bicolor
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:20:34 ]
MammalsPics_reply_37238.jpg
ความคิดเห็นที่: 19
Rhinolophus malayanus ค้างคาวมงกุฎมลายู
ตัวที่พบทางใต้จะมีความถี่ของคลื่นเสียงอยู่ที่ประมาณ 85 kHz
ซึ่ง ต่างจากที่พบในภาคกลาง และภาคเหนือที่จะใช้คลื่นเสียงที่ประมาณ 75 kHz
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:29:35 ]
MammalsPics_reply_37239.jpg
ความคิดเห็นที่: 20
Rhinolophus coelophyllus ค้างคาวมงกุฎปลอมเล็ก
...แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 2550 23:34:22
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:33:17 ]
MammalsPics_reply_37240.jpg
ความคิดเห็นที่: 21
kerivoula hardwickii ค้างคาวยอดกล้วยปีกใส
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:35:41 ]
MammalsPics_reply_37241.jpg
ความคิดเห็นที่: 22
Hipposideros diadema ค้างคาวหน้ายักษ์หมอนโค้ง
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:36:59 ]
MammalsPics_reply_37242.jpg
ความคิดเห็นที่: 23
Hipposideros galeritus ค้างคาวหน้ายักษ์สองหลืบ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:38:53 ]
MammalsPics_reply_37243.jpg
ความคิดเห็นที่: 24
Hipposideros larvatus ค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:39:51 ]
MammalsPics_reply_37244.jpg
ความคิดเห็นที่: 25
 และสุดท้าย
Murina cf. suilla ค้างคาวจมูกหลอดสีน้ำตาล
mister hunter approve [ 25 ก.ค. 2550 23:51:03 ]
ความคิดเห็นที่: 26
สงสัยมานานแล้ว
รบกวนถามหน่อยครับว่า ถ้าไปจับโดนตัวมัน ค้างคาวพวกนี้เค้ากัดไหมครับ?
Mb. approve [ 25 ก.ค. 2550 23:54:31 ]
ความคิดเห็นที่: 27
คคหที่ 13 ทำไมดูเหมือนมันมี แต่เส้นแนวตั้ง อุปกรณ์จับค้างคาวแบบนี้มันทำงานยังไงครับ?

อยากเห็นเครื่องตรวจวัดเสียงค้างคาวมันหน้าตาเป็นยังไงครับ?

นั่งขำหน้าไอ้ตัวคคห.ที่17 อยู่นานมากครับ เหอ เหอ หน้ายาวเล็กนี่เป็นค้างคาวที่กินอะไรเป็นอาหารครับ?

ฝากดูค้างคาวในกระทู้นี้หน่อยดิครับ
http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=8032#66
นณณ์ approve [ 26 ก.ค. 2550 00:16:54 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ชอบ # 17 จังเลย
ลำพะเนียง approve [ 26 ก.ค. 2550 00:22:11 ]
ความคิดเห็นที่: 29
เจ้าหน้าแหลมน่าจะกินผลไม้ใช่มั้ยครับ ถ้าจำไม่ผิดนะ
ฉลามเสือ approve [ 26 ก.ค. 2550 00:24:12 ]
MammalsPics_reply_37263.jpg
ความคิดเห็นที่: 30
ตอบคุณ Mb. : กัดแน่นอนครับ !! ทางที่ดีควรมีถุงมือหนัง  แต่ ถ้าใครไม่ถนัด (โดยเฉพาะกับค้างคาวขนาดเล็ก) ก็มีวิธีจับที่ปลอดภัยพอสมควร  และไม่ทำให้ค้างคาวเจ็บ และเครียดเกินไปด้วยครับ โดยการใช้นิ้วโป้งกับนิ้วกลางหนีบข้อศอกของค้างคาวเข้าหากันที่บริเวณกลางหลังของเค้าครับ ส่วนนิ้วชี้ก็ช่วยพยุงที่แขน และหลังเค้าไว้ แบบรูปนี้ครับ
mister hunter approve [ 26 ก.ค. 2550 00:48:20 ]
ความคิดเห็นที่: 31
ตอบคุณนณณ์ :

- ใช่แล้วครับ มี แต่เส้นแนวตั้ง เป็นเส้นเอ็นตกปลาขนาดเล็ก และใส เพื่อไม่ให้ถูก detect ได้ด้วยคลื่นความถี่สูงของค้างคาว หรือให้ตรวจจับได้น้อยที่สุด อุปกรณ์นี้เรียกว่า Harp trap ครับ

ตัวที่ผมใช้มีแผงเส้นเอ็น 4 ชั้นครับ เมื่อค้างคาวบินชนแผงเส้นเอ็น ด้วยโมเมนตัมมันจะทะลุช่องว่างระหว่างเส้นเอ็นเข้าไปแล้วไปติดที่ชั้นที่สอง สาม ชั้นสุดท้าย (หรือ ถ้ามาเร็วก็อาจทะลุไปทั้งสี่ชั้นเลย) จากนั้นตัวมันก็จะรูดลงไปตามเส้นเอ็นตกสู่ถุงผ้าที่รองรับอยู่ด้านล่าง

effectiveness ของ Harp trap จะสูงกว่าการใช้ตาข่ายกว่า 10 เท่าครับ

- เครื่องวัดคลื่นความถี่เสียงค้างคาว เรียกว่า Bat Detector ครับ ผมใช้ Pettersson D240X อยู่ครับ แล้วใช้โปรแกรม BatSound Pro ในการวิเคราะห์หาคลื่นความถี่
สำหรับรูปก็ลองดูในนี้ก็ได้ครับ http://www.batsound.com/psondet.html

- เจ้า 17 เป็นค้างคาวในวงศ์ค้างคาวกินผลไม้ครับ  แต่อาหารที่โปรดปานของมันคือน้ำหวานจากดอกกล้วยครับ
ที่เห็นภาพมันแลบลิ้น (อาจจะดูตลก) ก็คือลิ้นมันยาวมากเพื่อที่จะสามารถสอดเข้าไปดูดกินน้ำหวานได้ลึก (90% ของรูปถ่ายค้างคาวหน้ายาวจะเห็นลิ้นมันโผล่ออกมาเสมอ)

- ตามไปดูรูปในกระทู้นั้นให้แล้วครับ
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 2550 01:21:15
mister hunter approve [ 26 ก.ค. 2550 01:17:03 ]
ความคิดเห็นที่: 32
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ อ่านบทความมาหลายครั้งเกี่ยวกับ bat detector  แต่ไม่เคยเห็นมันสักที


ไปสำรวจคราวหน้ารบกวนชวนไปดูด้วยได้ไหมครับ อยากเห็นจัง โดยเฉพาะ ถ้าใกล้ๆ  กทม.
นณณ์ approve [ 26 ก.ค. 2550 01:30:51 ]
ความคิดเห็นที่: 33
 ถ้ามีทริปใกล้ๆ กทม.แล้วจะชวนครับ

(แก่งกระจานหรือขาแข้งนี่ถือว่าใกล้มั้ยครับ)
mister hunter approve [ 26 ก.ค. 2550 01:35:05 ]
ความคิดเห็นที่: 34
ใกล้ = สระบุรี ราชบุรี แฮ่ แฮ่ เห็นใจคุณพ่อลูกสองหน่อยนะครับ

แต่แก่งฯ กับขาแข้งฯ นี่อยากไปทั้งคู่ครับยังไงรบกวนชวนก่อนแล้วกันครับ เผื่อแม่ไอ้หนูมันอารมณ์ดีอาจฟลุ๊คได้ไป เหอ เหอ
นณณ์ approve [ 26 ก.ค. 2550 01:49:13 ]
ความคิดเห็นที่: 35
เขาว่าค้างคาวมีพิษสุนัขบ้าด้วย ใช่ใหมครับ  ถ้าไม่ได้ทำการศึกษามันก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปจับค้างคาวกันอยู่แล้ว (ยกเว้นพวกชอบกินของแปลก)
นกกินเปี้ยว approve [ 26 ก.ค. 2550 09:01:59 ]
ความคิดเห็นที่: 36
กิ้งก่าบิน คล้ายๆ ว่าเป็น Draco taeniopterus ครับ(ไม่มั่นใจ อยู่ระหว่างฝึกวิทยายุทธ์กับตัวที่ไม่กางปีกอยู่)

เจ้าท้องเหลือง น่าเป็นตัวเมียนะ
knotsnake approve [ 26 ก.ค. 2550 12:01:10 ]
ความคิดเห็นที่: 37
คุณ mister hunter ครับ..........ค้างคาวเนี่ยทั่วไปแล้วจะผลิตเสียงที่ช่วงความถี่ประมาณเท่าไหร่ครับ...........คือกำลังเล็งๆ เครื่องบันทึกเสียงอยู่แล้ว............. ถ้าเลือกให้ช่วงความถี่ครอบค้างคาวไปด้วยก็น่าจะดี

แล้วก็สงสัยอีกอย่างอะครับ........เวลาที่เราบันทึกเสียงของมันเนี่ยเป็นตอนที่เราจับใช่มั้ยครับ....... ถ้าอย่างงั้นเสียงที่อยู่ในธรรมชาติ และเสียงที่ร้องตอนเราจับได้นี่จะเหมือนกันหรือครับ.........ผมเดาว่าน่าจะต่างกันนะ
หมักดอง approve [ 26 ก.ค. 2550 13:58:20 ]
ความคิดเห็นที่: 38
#37

ค้างคาวใช้คลื่นเสียง ultrasonic (ซึ่ง หูคนเราไม่สามารถได้ยินได้)ในช่วงความถี่ตั้ง แต่ประมาณ 20 กิโลเฮิร์ตซ์ จนถึงกว่า 200 กิโลเฮิร์ตซ์ ครับ นั่นหมายความว่าเครื่องตรวจจับเสียงของเราต้องสามารถจับ ultrasound ได้นะครับ  และจากนั้นเครื่องนี้จึงจะแปลงคลื่น ultrasound ให้เป็นเสียงที่หูคนเราได้ยินนั่นแหละครับถึงจะสามารถอัดเสียงลงเครื่องบันทึกเสียงได้

เครื่องบันทึกเสียงที่คุณหมักดองว่านั้นตั้งใจจะเอามาอัดเสียงอะไรหรือครับ
ผมไม่ค่อยได้ติดตามตลาด ยังไม่เคยเจอเครื่องที่รับได้ทั้งช่วงคลื่นเสียงปกติ และเสียง ultrasound

ส่วนเวลาอัดเสียงขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการนำข้อมูลไปทำอะไรครับ
เพราะที่คุณหมักดองว่ามาว่าตอนจับกับตอนอยู่ในธรรมชาติเสียงคงไม่เหมือนกันนั่นถูกต้องแล้วครับ
แต่จะต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของ duration ของ แต่ละคลื่นเสียงที่ส่งออกมา
ส่วนความถี่ของเสียงนั้นแทบจะไม่ต่างกันไม่ว่าตอนบินหรือจับในมือ ( แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของค้างคาวด้วย)
หรือบางชนิดก็อาจต่างกันเล็กน้อย เพียง 0.2-0.5 กิโลเฮิร์ตซ์ ( แต่ก็ถือว่าต่างละนะ)

คือ ถ้าเราต้องการเก็บข้อมูลเสียงเพื่อใช้ในการทดลอง เช่นเปรียบเทียบคลื่นความถี่ของค้างคาว แต่ละชนิด ส่วนใหญ่จะใช้เสียงที่อัดตอนจับในมือ (resting frequency) เพื่อลดหรือกำจัดผลที่อาจจะเกิดจากปรากฎการณ์ Doppler shift effect ที่ค้างคาวบางชนิดเช่นพวกค้างคาวมงกุฎหรือหน้ายักษ์อาจจะลดความถี่ของคลื่นเสียงลงนิดหน่อยขณะที่บินอาจจะเพื่อเสียง echo ที่สะท้อนกลับมาจะได้ไม่ดังมากเกินไป

ส่วน ถ้าหากต้องการอัดเพื่อเป็นฐานข้อมูลเสียงค้างคาวในพื้นที่ ก็ควรต้องอัดจากสภาพที่ใกล้เคียงกับการบินในธรรมชาติมากที่สุด เวลาสำรวจครั้งต่อไปก็สามารถนำเสียงที่อัดมาจากธรรมชาติมาเทียบกับเสียงที่เป็น reference ได้โดยไม่จำเป็นต้องจับตัวค้างคาวอีก
mister hunter approve [ 26 ก.ค. 2550 15:19:15 ]
ความคิดเห็นที่: 39
ผมขออนุญาตแนะนำให้ฉีด Rabies Vaccine ก่อน ก็จะดูปลอดภัยกว่านะครับ เผื่อพลาดโดนกัดเอา
Jocosus approve [ 26 ก.ค. 2550 15:42:07 ]
ความคิดเห็นที่: 40
โอว์........20kHz-200kHz  ตายๆๆ .........งี้แสดงว่า Bat Detector ทุกตัวก็รับคลื่นที่เกินกว่าคนจะได้ยินดิครับ.......

ผมเคยลองฟังเสียงค้างคาวจาก www.avisoft.com/sounds.htm#bats  แต่ไม่ได้สังเกตsonagramว่าความถี่มันขนาดใหน...ลองดูอีกทีเกือบร้อยทั้งนั้นเลยแฮะ...

เอ... แต่บางครั้งผมก็เคยได้ยินเสียงค้างคาวร้องเหมือนกันนะครับอย่างงี้จะกลายเป็นว่ามันผลิตเสียงที่ความถี่ต่ำจนคนได้ยินได้ด้วยเหรอครับ

คือตอนนี้ผมกำลังอยากได้เครื่องบันทึกเสียงสำหรับบันทึกเสียงนก และก็Amphiเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว แต่พวกนี้อยู่ในช่วงไม่เกิน16kHz เอง.............

อย่างงี้ก็แสดงว่าค้างคาวจะมีคลื่นความถี่ที่จำเพาะกับชนิดหรือครับ...ผมเคยเข้าใจว่าค้างคาวหนึ่งชนิดสามารถผลิตเสียงที่ความถี่หลากหลายเพื่อใช้ในหน้าที่แตกต่างกันไปอย่างเช่นการสื่อสารกัน.......แสดงว่าผมเข้าใจผิดใช่มั้ยครับ............

ส่วนเสียงค้างคาวในธรรมชาติ ไม่ทราบว่ามีการทำเป็นฐานข้อมูลอยู่มั่งมั้ยครับ....แอบสนใจนิดๆ อะ

ไม่มีความรู้เลยอะครับ....ขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยนะคร้าบบบบ
หมักดอง approve [ 26 ก.ค. 2550 16:18:26 ]
ความคิดเห็นที่: 41
เสียงค้างคาวที่บางครั้งหูเราได้ยินนั้นไม่ใช่เสียงที่มันใช้ในการกำหนดทิศทาง หาเหยื่อ หรือใช้ในการสื่อสารครับ  แต่เป็นการ screaming เวลาตกใจหรือเจ็บปวดหรือต้องการขู่

คุณหมักดองไม่ได้เข้าใจผิดครับ

- ค้างคาวกลุ่มที่ใช้คลื่นเสียงแบบ constant frequency (CF) เช่นค้างคาวมงกุฎหรือค้างคาวหน้ายักษ์ จะมีคลื่นเสียงที่จำเพาะกับ แต่ละชนิดครับ สามารถใช้ความถี่ของเสียงจำแนกชนิดได้ ( แต่ใช้อ้างอิงได้ภายในพื้นที่เท่านั้น เพราะค้างคาวหลายชนิดพบว่ามี geographic variation)

- ค้างคาวกลุ่มที่ใช้คลื่นเสียงแบบ frequency modulate (FM) เช่นค้างคาวลูกหนู หูหนู (Vespertilionidae) พวกนี้เสียงจะแปรผันค่อนข้างมากครับ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมขณะที่บิน การจำแนกค้างคาวกลุ่มนี้ด้วยการใช้คลื่นเสียงของมันจำเป็นต้องใช้ character อื่นๆ ประกอบนอกเหนือจากความถี่ของเสียงครับ

ค้างคาวบางกลุ่มที่ชอบหากินตามขอบป่า (edge specialist) มักจะมีความแปรผันของคลื่นความถี่เสียงมาก เพราะต้องปรับให้เข้ากับขนาด และชนิดของแมลงที่อยู่ในบริเวณป่ากับพื้นที่โล่ง

ตอนนี้ฐานข้อมูลเสียงค้างคาวครอบคลุมประมาณ 60 % ของค้างคาวไทยเองครับ
แต่ ถ้านับเฉพาะค้างคาวมงกุฎกับหน้ายักษ์นั้นเกือบ 100% แล้วครับ
mister hunter approve [ 26 ก.ค. 2550 18:13:44 ]
ความคิดเห็นที่: 42
ทำไมค้างคาวส่งเสียง แต่เราไม่ได้ยินค่ะ
พลอย [ 27 ส.ค. 2550 19:42:08 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org