ความคิดเห็นที่: 3
กรณีดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับทุกชนิดหรอกครับ แต่ลึกๆ ในใจม คิดว่าเป็นความผิดปกติของยีนมากกว่าครับ แล้วบังเอิญพบ อย่างกรณีงูก็พบเรื่อยๆ เช่นงูเหลือมปกติจะพบตัวใหญ่ๆ ที่ 5-6 เมตร แต่นานๆ จะเจอขนาดมากกว่า 8 เมตร หากจะสงสัยว่าจะเป็นงูที่ต่างอายุกันมากก็ยังมีกรณีตัวอย่างงูที่อายุพอๆ กัน แต่มีอัตราการเติบโตต่างกันมาก เช่นกรณีงูหลามที่ผมเลี้ยงเอง โดยปกติเมื่ออายุ 1 ปีก็จะยาวประมาณ 1.5-1.8 เมตร แต่มีอยู่ตัวหนึ่งยาว กว่า 2 เมตร(2.5 เมตรเมื่ออายุปีครึ่ง) แล้วก็ดันมีอีกตัวยาวไม่เกิน 1.2 เมตรที่อายุปีครึ่ง แล้วยาว 1.8 เมตรเมื่ออายุ 4 ปี (โตช้ากว่าปกติ)
ในส่วนของปลา จากประสบการณ์ของผมเอง(อาจจะน้อยนิดก็ได้) การได้กินอาหารมากกว่าปกติไม่เคยเห็นว่าจะมีการเติบโตต่างจากปกติมากมายเลย เอาในปลาที่มีพันธุกรรมปกติแล้วกัน..การเติบโตของมันจะมีความสัมพันธ์ตรงกับอัตราการเผาผลาญพลังงานมากกว่า แน่นอน..ขึ้นกับอุณหภูมิ และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน(ปรัเด็นนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมด้วย) ซึ่ง ในความผันแปรทางพันธุกรรมในช่วงปกติก็ให้ค่าความต่างไม่มากนัก แต่เราก็สามารถนำตัวที่เรียกว่าหัวปลามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ในการเพาะเลี้ยงได้ แต่ในประชากรนั้นๆ อาจมีตัวที่ผิดปกติ สามารถย่อยอาหารแล้วแปลงพลังงานไปเป็นกล้ามเนื้อได้ดีผิดปกติ เลยสามารถโตเร็วกว่าปกติมากในอายุที่เท่าๆ กัน การที่มันมีโอกาสกินได้มากขึ้น แต่ประสิทธิภาพการใช้เท่าเดิมก็คงไม่ได้ช่วยให้มันเป็นปลายักษ์ได้ แต่อย่างใด อันนี้เป็นเพียงมุมมองของผมเท่านั้นนะ
ปล. ทั้งนี้ไม่นับความผิดปกติจากการปนเปื้อนใดๆ นะครับ
knotsnake
[ 29 ก.ค. 2550 00:06:58 ]