กระทู้-08179 : ความหลากหลาย ตาเนื้อ และเด็กน้อย แตกกระทู้จาก 08169 : เรื่องเล่าจากข่าว...รมต.วิทย์ฯ

Home » Board » อื่นๆ

ความหลากหลาย ตาเนื้อ และเด็กน้อย แตกกระทู้จาก 08169 : เรื่องเล่าจากข่าว...รมต.วิทย์ฯ

สืบเนื่องจากกระทู้ เรื่องเล่าจากข่าว...รมต.วิทย์ยันเราล้าหลังมากเกิน-เดินหน้าขอ ครม.ทดลองจีเอ็มโอไร่นา

http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=8169

ผมเองแม้จะเด็กมาก แต่ก็ถือว่าตาเนื้อสองเม็ดนี้ก็เห็นอะไรมาบ้าง เลยอยากจะมาเล่าเรื่องที่ผมเห็นให้พี่ๆ  น้องๆ  ฟังบ้าง ถือซะว่าอ่านเล่นๆ  เย็นๆ  ตานะครับ

ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า ผมเรียก "รมต.ยงยุทธ์"  ว่า "อาจารย์" ด้วยท่านมีบุญคุณกับชีวิตผมมากนัก

แม้ผมมิได้เห็นตามท่านไปด้วยทุกคำ แต่ก็ขอยืนยันว่าท่านเป็น รมต. กระทรวงวิทย์ ที่เข้าใจงานของกระทรวงนี้ดีที่สุดท่านหนึ่ง เพราะทุกครั้งที่ผ่านการเลือกตั้งกระทรวงนี้คือ ที่วางรตม.โควต้า  (คูโบต้า)   ซึ่งไม่ได้มีความเข้าใจงานด้านวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ตัวอย่าง เช่น หลานชายอดีตหัวหน้าพพรรคตราดอกไม้ ซึ่งได้โควต้ามาคุมกระทรวงนี้ เคยถูกเด็กมัธยมยกมือ "ด่า" กลางที่ประชุมเพราะบอกให้เด็กหยุดทำงานวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพราะล้าหลัง  และไม่มีความจำเป็นกับการพัฒนาประเทศ

หากลองย้อนประวัติการศึกษา  และการทำงาน ของรมต.ท่านนี้ รวมทั้ง ปลัดกระทรวง ผอ.สวทช. หัวหน้าศูนย์วิทย์ขนาดใหญ่ต่างๆ   และบุคคลสำคัญอีกหลายท่านที่กำหนดทิศทางด้านวิทยาศาสตร์ของไทย ณ วันนี้ จะพบว่าส่วนมากมี "ราก" มาจากที่เดียวกัน เป็นคนสายเดียวกันของ ผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ในสถาบันชื่อดังแห่งหนึ่งของไทย

ด้วยสายการผลิตบุคลากรที่เริ่มต้นมาจากกด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยาโมเลกุล  และชีวเคมี  ซึ่งเป็นสาขาที่ในสมัยหนึ่งเชื่อว่าเป็น "กุญแจ" สำคัญ ที่ช่วยไขประตูสู่การพัฒนาให้ทัดเทียมกับสากลโลก ทำให้ทิศทางงานวิจัย  และบุคลากรด้านการบริหารมีความเห็นค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกัน คือ " ชีววิทยา ที่ก้าวหน้า ต้องอยู่บนฐาน เทคโนโลยีชีวภาพ  (แต่ไม่ใช่ฐานความหลากหลายของทรัพยากรที่มีอยู่)  "

 ซึ่ง ณ วันนี้ มีการพูดคุยกันมากถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแปลงทรัพยากรเป็นเงิน ที่ชัดเจน คือ

*มีการดัน พรบ.ใหม่ ชื่อ พรบ.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
*รัฐธรรมนูญใหม่ปี 50 มาตรา 80 ก็เพิ่มเรื่องการผลักดันด้านวิทยาศาสตร์  และเทคโน
โลยี
*แผนพัฒนาเศราฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับ 10 ประกาศให้มีการใช้ความหลากหลายเป็นฐานเศรษฐกิจ
*มีองค์กรมหาชน ชื่อ สำนักงานพัฒนาเศรฐกิจบนฐานชีวภาพ  ซึ่งพึ่งเซนต์ความร่วมมือเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  ซึ่งจะเป็นองค์กีเชื่อมระหว่างกระทรวงทรัพยากรฯ  และกระทรวงวิทย์

จนปฏิเสธไม่ได้ว่าทิศทางของการพัฒนาเศรฐกิจบนฐานชีวภาพก็คงออกมาในเรื่องที่ด้วยเน้นการดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากมาย เช่นการสร้างฐานข้อมูลระดับชาติ การสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การพัฒนาทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว ฯลฯ แน่นอนว่าหลายอย่างในบ้านเรากำลังจะเปลี่ยนแปลงไป แต่มันจะดีหรือไม่ดี กับใคร ส่วนไหนก็ยังคงไม่ชัดเจน


...


หรืออาจเป็นไปได้ว่าว่าวิทยาศาสตร์พื้นฐานกำลังจะกลับเป็นที่ต้องการมากขึ้นเพื่อ "เซริฟ" ข้อมูล ขึ้นไปให้คนอื่นๆ  ได้ใช้กันเป็นทอดๆ  ต่อไป

แต่ ความแน่นอน ก็คือความไม่แน่นอน หลายองค์กรที่น่าจะเป็นหลักให้คนในวงการความหลากหลายยึดถือเอาเป็นที่พึ่งได้ กลับสั่นคลอนด้วย "อิทธิฤทธิ์" ของ "นักจัดการมือฉมัง" ที่ยิ่งจัดการก็ยิ่งทิ่มแทงกำลังใจของคนทำงาน ไปทีละน้อย จนนักวิชาการ  และคนNGOs ก็แทบหมดแรงทำงาน

หรือ การศึกษาด้านพื้นฐานคงจะหมดหวังเพื่อพิจารณาจากคนในวงการ "ความหลากหลาย" ด้วยกันเอง

...


แต่หากเดินออกจากแวดวงของเราๆ  ท่านๆ  
มาสนใจมุมมองของ "คนนอก" นั้นต่างกันมากจนน่าตกใจ  



เพราะเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสไปแอบนั่งอยู่มุมห้องของการประชุมระดับสภาที่ปรึกษาแผนเศรฐกิจ และสังคม แห่งชาติ

หลายคนเริ่มบ่นว่า "เด็กจบเทคโนโลยีชีวภาพมากไปแล้ว องค์กรธุรกิจหลักๆ  มีแค่ 2 ที่ รัฐก็ไม่มีที่ทำงาน สุดท้ายจบมาก็ต้องมาฝึกงานใหม่ น่าจะจับเอาอาจารย์มาฝึกงานด้วย จะได้รู้ว่าโลกของการผลิตเชิงอุตสาหกรรมมันคืออะไร ที่นั่งทำกันมันเป็นเรื่องเพ้อฝัน บางอย่างทำให้ตายก็ผลิตไม่ได้เพราะมันไม่คุ้มทุน"

หลายคนเริ่มคุยกันเรื่องการรักษา  และการพัฒนาพันธุ์พืชด้วยมือคน ที่คัดเลือกช้าแต่ชัวร์ รวมทั้งไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และจิตวิทยาผู้บริโภค

หลายคนเล่านิทาน ที่ว่า GMOs คือสงครามเลือกข้างระหว่างอเมริกา  และยุโรปที่รบกันด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่ใครไปก่อนก็มีสิทธิ์กีดกันอีกข้างก่อน เหมือนอย่างที่ อียูพยายามกีดกันพืช GMOs เพราะยังพัฒนาไม่ทันอเมริกา ?

หลายคนเริ่มกังวลเรื่องไม่มีคนเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จนไม่มีคนทำวิจัยเรื่องภูมิปัญญาในบ้านตัวเอง

...


ต่างคนก็มองต่างกัน แม้แต่คนในระดับที่กำหนดทิศทางของบ้านเมือง กับผู้มีอำนาจตัดสินใจก็มองต่างกัน

บางที "งานแตะตา" อาจจะสำคัญกว่า "งานพัฒนา"

สุดท้ายไม่รู้อยู่ที่ใครจะตัดสิน

บางทีตั้งใจทำงาน หวังพึ่งพาคนอื่นให้น้อย แต่สานสัมพันธ์กับคนอื่นให้มาก  และรู้กระแสการเปลี่ยนแปลง และเตรียมตั้งรับให้ทัน คงจะเป็นทางออกที่ยังพอทำได้มั้งครับ

...
วันอื่นมีชื่อ วันนี้ขอนิรนาม  [ 19 ส.ค. 2550 01:02:21 ]
ความคิดเห็นที่: 1
อ่านด้วยความเข้าใจอย่างยิ่งครับ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดีๆ  

ประเทศไทยกำลังก้าวร่วมไปในสิ่งที่เราไม่ถนัด ไม่ใช่เจ้าของ  และละทิ้งสิ่งที่เรามีอยู่ ที่สร้างชาติของเรามาจนถึงทุกวันนี้ ผมว่าแปลกดี
นณณ์ approve [ 20 ส.ค. 2550 02:03:30 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ขอบคุณครับ ... อ่านแล้ว
..
..
ปล. ชอบคำตอบของคุณนณณ์จังครับ ... ตอนนี้ว่างบ้างแล้ว ต้องทำตามสัญญาของคุณน้องไอ้ลูกทุ่งแล้วหละครับ
ฝนแรก approve [ 20 ส.ค. 2550 07:34:04 ]
ความคิดเห็นที่: 3
 ถ้าโลกกำลังประมวลผลอยู่หละครับ ... ทุกวิธีการ ... ของทุกๆ คน
..
..
ความคิดของไอสไตน์ ความคิดของมหาตมะ ความคิดของหม่อมเจ้ากฤษฎากร ความคิดของท่าน ความคิดของผม ความคิดของใครต่อใครที่ผลักดันให้โลกของเราเป็นอย่างงี้
..
..
อาจจะอีกนานกว่าการประมวลผลครั้งนี้เสร็จสิ้นลง ... ผมเชื่อว่าโลกมันมีคำตอบของมัน
ฝนแรก approve [ 20 ส.ค. 2550 07:38:33 ]
ความคิดเห็นที่: 4
จากมุมมองใต้กะลาใบน้อยของเรา ยังมิถึงกับสิ้นหวังเสียทีเดียวดอก
ด้วยว่าเมื่อเทียบกันแล้ว สมัยก่อน งานวิจัยพื้นฐาน ทั้งในเรื่องความหลากหลาย เรื่องนิเวศวิทยา เปนอาทิ ก็ได้รับความสนใจน้อยกว่านี้มาก ณ ปรัตยุบรรณกาล ก็มีแหล่งทุน แหล่งงาน มากขึ้น (มิได้แปลว่ามากหนา) งบประมาณ ในโครงการวิจัย ก็พอมีสนับสนุนมากขึ้น แม้นมิมากอย่างที่ใจอยากก็ตามเถิด

อีกเรื่องหนึ่งอันเปนอุปสรรคของการหยั่งรากในบ้านเรา เรามองว่ามิได้มาจากปัญหาในเรื่องนโยบายอย่างเดียว ด้วยว่าคนทำงานวิจัยพื้นฐานบ้านเราอันมีอยู่น้อยนิดอยู่แล้ว ยังสมัครสมานสามัคคีกันดีเหลือเกินแลนา ด้วยเหตุนี้ ใครมาเริ่มทำงานวิจัยพื้นฐาน ก็มักจะต้องเริ่มนับหนึ่งเสมอ

ขอเพียงเหล่าคนงานวิจัยพื้นฐานรู้จักพูดคุยแบ่งปันกันบ้าง แลเชื่อมโยงกับเจ้าของทรัพยากรให้มากขึ้น เราคงพอมีทางหยั่งรากลงไปทีละน้อย แม้นว่าจักเปนอัตราเร็วแบบหอยทากบาดเจ็บก็ตามเถิด

 แต่เอาเหวย ด้วยปัญหามีไว้ให้แก้ มิได้มีไว้ให้แบก ติดขัดเยี่ยงไรก็ว่ากันไปตามเพลง
อย่างเรื่องนี้ อ่านจบเราก็ได้ แต่รำพึงเบาๆ  กับตัวเองในใจว่า "Varanus ไร้สาระว่ะ คิดมากเยี่ยวเหลือง"

แล้วก็ทำงานต่อไป ha ha ha 5555
ampelisciphotis approve [ 20 ส.ค. 2550 08:45:09 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ไม่รู้เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้หรือเปล่า  แต่ ขอแจมด้วยนะครับ เพราะรู้สึกกับคำว่า "ก้าวร่วมไปในสิ่งที่เราไม่ถนัด"ของคุณนณณ์
สำหรับงานที่ผมทำ จะมีการหยิบยก "เทคโนโลยีปลายทาง" มาพูดคุยกันว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้จำเป็นสำหรับการเลี้ยงซึ่ง โดยส่วนใหญ่เมื่อถูกถามว่า "ทำไม" มักจะได้รับคำตอบว่า "ก็เขาใส่กัน"
บางคนรู้ว่าสัตว์ต้องการอะไร อยู่ได้อย่างไร บางคนไม่รู้ บางคนรู้ว่าระบบทำงานอย่างไร หลายคนไม่รู้  และก็มีคนที่รู้ทั้งสองอย่าง  แต่ รวมๆ กันแล้วมันไม่มีแรง ไม่มีกำลัง
ผมเฝ้าดูกลุ่มก้อนของต่างชาติ ที่ทำงานด้านเดียวกับเราๆ
เขารวมกันได้อย่างไร
ไม่ใช่ผลประโยชน์เดียวกัน สาขาเดียวกัน บางทีก็คิดไม่เหมือนกัน
แต่มันไปกันได้
ผลรวมที่ออกมาดีซะด้วย หลายเรื่องมีผลต่อสิ่งที่เราร้องเรียกกัน
นอกจากอยากให้ผู้ที่ต้องวางแนวทางการเรียนรู้ของบ้านเรา วางให้ดี
ก็อยากให้คนที่รู้รู้ อยู่กันในวง  แต่ละวง ร่วมเป้าเดียวกัน ทีละเรื่อง สองเรื่อง
อยากให้มีคนเอาสิ่งที่หลายคนค้นหากันได้ ไปใช้

มันคงทำงานสนุกกว่าที่เป็น
จุ่มพรวด approve [ 20 ส.ค. 2550 11:07:32 ]
ความคิดเห็นที่: 6
มาลงชื่อว่าอ่านแล้วครับ

แล้วก็ขอเอาคำพี่นณณ์ที่ผมชอบมากมาใส่ไว้ในกระทู้นี้ด้วย

"คนเมืองหลายคน มั่นใจเหลือเกินว่ามนุษย์สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ ว่าพวกเราจะมีเทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหา และจัดการทุกอย่างที่เป็นปัญหา ว่าเผ่าพันธุ์ของเราในที่สุดแล้วจะอยู่รอดร่วมกับสัตว์ และพืชอีกไม่กี่ชนิด ที่เราใช้เป็นอาหาร และสัตว์เลี้ยงได้อย่างปกติสุข โดยไม่เคยเรียนรู้ว่า ธรรมชาติได้ทำอะไรกับเราบ้าง  และว่าทุกวันนี้ถึงแม้จะอยู่ในป่าคอนกรีต  แต่เรายังต้องพึ่งพาธรรมชาติมากมายขนาดไหนจะอยู่ในเมืองหรืออยู่ในป่า น้ำที่เราดื่ม อาหารที่เรากิน อากาศที่เราหายใจ มนุษย์ยังเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติ  และยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ ตราบที่เรายังเป็นส่วนหนึ่ง ของดาวเคราะห์ดวงนี้  แต่เราหลายคนกลับไม่เข้าใจ"

มันเกี่ยวข้องกับเรื่อง GMOs อย่างไร อยู่ที่ทุกๆ คนจะตีความ สำหรับผม GMOs มีประสิทธิภาพที่จะทำลายพันธุกรรมพืชพื้นเมือง  และพันธุ์สัตว์พื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพืชชนิดนั้น ซึ่ง จะเป็นโดมิโนไปถึงสมช.อื่นในระบบนิเวศต่อไป หลายคนอาจจะเสนอว่าก็ทำในระบบปิดไง  แต่อุบัติเหตุมักเกิดขึ้นได้เมื่อประมาท หรือเหตุสุดวิสัย แถมประเทศไทย ยังเป็นประเทศที่บังคับใช้กฏหมายได้ห่วยอันดับต้นๆ เสียด้วย แม้จะเขียนกฏหมายได้สมบูรณ์รัดกุมแค่ใหนก็เถอะ


อ้างอิงไว้หน่อย

นณณ์ ผานิตวงศ์. 2550. ที่สุดบนแผ่นดินสยาม. นิตยสาร อควา นิตยสารคุณภาพสำหรับคนรักปลา, 5(53): 42.
...แก้ไขเมื่อ 21 ส.ค. 2550 13:38:08
นกกินเปี้ยว approve [ 21 ส.ค. 2550 13:33:19 ]
ความคิดเห็นที่: 7
GMO may not monsters or terrorist but should be one of a choice for farmer-consumer, anything that unclear is consider as your own risk, but local genetic  and farmer welfare must be protect legally.
waterpanda [ 21 ส.ค. 2550 14:04:37 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ขอญาติเจ้าของกระทู้ด้วยความเคารพครับ ... ในป่าสมบูรณ์ของทุ่งใหญ่นเรศวรอาณาเขตไกลสุดลูกหูลูกตา ป่าผืนนี้ลองรับน้ำปริมาณมหาศาล ที่ตกลง และไหลรวมสู่ลำธาร สายเล็ก สายน้อย เป็นแม่น้ำลงสู่ทะเลสาบ น้ำในจำนวนนั้นเราได้ใช้ คนสังขละบุรี คนทองผาภูมิ คนศรีสวัสดิ์ คนไทรโยค คนเมืองกาญจน์ ท่าม่วง บ้านโป่ง โพธราม ราชบุรี จนออกปลายทางที่อ่าวไทย ทุกคนใช้น้ำจากป่าผืนนี้
..
..
รถคันสวยที่เราล้าง ก็ล้างด้วยน้ำจากป่าผืนนี้

เสื้อผ้าชุดโปรดที่เราใส่ ก็ซักด้วยน้ำจากป่าผืนนี้

จานที่เรากินทุวี่ทุกวันล้าง ก็ล้างด้วยน้ำจากป่าผืนนี้

เหงื่อไคล จากความอิดโรย ก็ชำระล้างด้วยน้ำจากป่าผืนนี้

ชักโครกที่กด ทุกเช้าค่ำ ก็น้ำจากป่าผืนนี้

โรงงานอุตสาหกรรม ก็ใช้น้ำจากแหล่งน้ำจากป่าผืนนี้
..
..
การตอบว่าเราเสียค่าน้ำมันก็ใช่ ...  แต่จริงๆ  มันน่าจะมากกว่านั้น ... กลับไปดูแลต้นน้ำของเรากันบ้าง กลับไปดูแลต้นน้ำของบ้านคุณ บ้านท่านบ้าง หลายคนทำแล้ว หลายคนยัง ช่วยกันครับ สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่จะดียิ่งขึ้น ต้องช่วยกันคนละทางครับ สักทาง ทางที่ท่านคิดว่าทำได้ ทางที่ท่านคิดว่าถนัด
ฝนแรก approve [ 21 ส.ค. 2550 16:30:12 ]
ความคิดเห็นที่: 9
เยี่ยมมากทุกๆ  คน
electron approve [ 23 ส.ค. 2550 02:52:23 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org