กระทู้-08205 : เวียตนาม กับปัญหาปลา Cichla Ocellaris

Home » Board » ปลา

เวียตนาม กับปัญหาปลา Cichla Ocellaris

เรื่องที่อยากจะเล่า คือ ผมมีเพื่อนชาวเวียตนามอยู่คนนึง คนนี้เค้ารักธรรมชาติ และศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศน์วิทยาในป่า ของเวียตนาม เมื่อไม่นานมานี้เค้าได้รับแจ้งจากชาวประมงถึงการพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่
่ในอ่างเก็บน้ำโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ Tri An เมื่อลงพื้นที่ครั้งแรกก็พบกับความดีใจ
เพราะเป็นปลาพันธ์ใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นในเวียตนามมาก่อน แต่เมื่อนำรูปมาวิเคราะห์ความกังวล
ก็เข้ามาแทนที่ เพราะมันคือปลาี่ Cichla Ocellaris  ซึ่งดุ ล่าปลาอื่นเป็นอาหาร แพร่ขยายพันธ์ ได้เร็ว  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับระบบนิเวศน์ และปลาประจำถิ่น



 เค้ากำลังเรียกร้องให้รัฐบาล และ ประชาชนให้ความสำคัญกับเรื่องการแพร่ขยายพันธ์ของสิ่งมี ีชีวิตจากต่างถิ่น เพราะบทเรียนจากผลกระทบของหอยเชอรี่ Pomacea caniculata,
  และปลาColossoma brachypomum ก็หนักหนาสาหัสพอแล้ว



ก็ได้แต่หวังว่าประเทศไทย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน คงจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอย่างนี้นะครับ เพราะมันคือฝันร้ายจริงๆ

ที่มา : http://www.vncreatures.net/event18.php
fahsailam approve [ 22 ส.ค. 2550 13:48:49 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เขามีปัญหากันทั่วโลก  แต่ภาครัฐของเราก็หาได้สนใจ จะทำยังไงที่จะตีปี๊บเรื่องภัยจากสัตว์ต่างถิ่นให้ชาวบ้านทั่วไปได้รับรู้  และสำนึกดีล่ะเนี่ย เรื่องกฏหมายมีไว้ก็งั้นๆ แหละ บังคับใช้ไม่ได้หรอก
นกกินเปี้ยว approve [ 22 ส.ค. 2550 14:06:36 ]
ความคิดเห็นที่: 2
มันคือ เจ้า เท็นนี่เอง  อีกหน่อยบ้านเราก็คงเป็นแบบนี้หละ...ต้องไปหัดตกปลาหละฝรั่งนิยมตกกันหนิเจ้าปลาจำพวกนี้ โตเร็วกินจุ  และดุด้วย หากินเป็นฝูงเหมือนกระสูบ แถมผสมพันธุ์ได้ตามธรรมชาติด้วยพร้อมไปหมด..ดุกว่ากระพงเขียวอีก ตลาดมาเลย์ส่งมาขายในไทยเพียบเลยครับราคาตัวละ 20-30 บาท
Fisher approve [ 22 ส.ค. 2550 15:23:53 ]
FishesPics_reply_40404.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
มีแล้วครับที่อ่างเก็บน้ำพุหวายจังหวัดเพชรบุรี อารูปมายืนยัน
ผมตกได้สักสามปีแล้วครับ น้ำหนักประมาณ 2.7 กก. คิดว่าคงมีคนเอามาปล่อยนานแล้วครับ กลัวมันขยายพันธุ์ออกไปที่อื่นจัง มันกินแหลกจริงๆ
นายแมลง approve [ 22 ส.ค. 2550 16:18:23 ]
ความคิดเห็นที่: 4
 ถ้ามองในแง่ ecology ก็ดูน่ากลัวนะครับ
แต่ ถ้ามองในแง่ economic อิอิ...มีแหล่งโปรตีนเพิ่มมาอีกหนึ่ง เนื้อคงจะเหมือนปลากะพงขาว ก้างก็น้อย แถมตัวใหญ่อีกตะหาก ตั้ง 2.7 กิโล นึ่งมะนาวคงจะอร่อยมิใช่น้อย
kasoop approve [ 22 ส.ค. 2550 16:34:03 ]
ความคิดเห็นที่: 5
แหล่งโปรตีนที่ว่ามันจะทำลายระบบทั้งระบบจนไม่เหลือโปรตีนเลยหรือเปล่าหล่ะครับ??? พุหวายเคยไปมาแล้วครับ มีการผสมพันธุ์ในธรรมชาติได้แล้ว  และชาวบ้านในพื้นที่ยืนยันว่าปลาอื่นๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
นณณ์ approve [ 22 ส.ค. 2550 16:41:04 ]
ความคิดเห็นที่: 6
มีคนจับได้ที่บึงบรอเพ็ดด้วยครับ
Pramote approve [ 22 ส.ค. 2550 16:55:31 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ผู้เขียนชาวเวียตนามคนนี้มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับคุณนณณ์ คือหลายคนมองว่ามันจะช่วยในเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องของคนจน  แต่ในความเป็นจริงมันกลับทำลายระบบนิเวศน์ท้องถิ่น ตอนนี้พื้นที่อ่างเก็บน้ำในเวียตนามที่มีปลาตัวนี้อาศัยอยู่ ก็กำลังมีปัญหาเรื่องการลดลงของปลาประจำถิ่นอย่างเห็นได้ชัดเจน เค้าจึงต้องออกมาเรียกร้องให้ช่วยกันหามาตรการป้องกัน ส่วนตัวผมเองคิดว่าบางครั้งสิ่งที่เราได้มาอาจจะไม่คุ้มค่ากับอะไรที่เราเสียไป
fahsailam approve [ 22 ส.ค. 2550 17:41:29 ]
ความคิดเห็นที่: 8
เจตนาใน #4 คือจะให้ลดดีดรีของกระทู้ลงบ้าง ที่จริงแล้วก็มีความคิดเช่นเดียวกันกับใน #5  และ #7
นั่นแหล่ะครับ หากเป็นการไม่เหมาะสมก็ขออภัย
kasoop approve [ 22 ส.ค. 2550 19:27:37 ]
ความคิดเห็นที่: 9
http://chm-thai.onep.go.th/webalien/species_mam.html#%BB%C5%D2%CB%C1%CD%CA%D5%C2%D1%A1%C9%EC

เว็บราชการไทย ปลาหมอสียักษ์ มาจากทะเลสาปมาลาวี เยี่ยมจริงๆ ...
นณณ์ approve [ 22 ส.ค. 2550 23:00:19 ]
ความคิดเห็นที่: 10
http://www.siamensis.org/webboardold/webboarddetail.php?id=2651

กระทู้เก่าที่เคยเขียนเรื่องปลาตัวนี้ไว้







ชื่อวิทยาศาสตร์: Cichla ocellaris
ชื่อสามัญ: Peacock Bass
ชื่อไทย: กระพงลายเสือ, ปลาเสือ, ออสเซราลิส (ปลาตู้)
เชื้อชาติ: บราซิล (ลุ่มแม่น้ำ อเมซอน  และ โอริโนโค)
สัญญาติ: ไทย (เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี)
การทำรังวางไข่: พ่อแม่ปลาทำรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งที่พื้นเป็นดินกรวด วางไข่ครั้งละ 2000-3000 ฟอง พ่อแม่ปลาจะดูแลไข่ และลูกเป็นเวลาประมาณ 90 วัน ก่อนที่ลูกปลาจะโตขึ้น และกระจายตัวกันหาอาหารตามแหล่งที่มีสาหร่ายขึ้นรกชายฝั่ง
อาหาร: ทุกอย่างที่เคลื่อนไหว และเข้าปากได้
สถานะภาพในประเทศไทย: ทำรังวางไข่ ผสมพันธุ์ ประสพความสำเร็จในแหล่งน้ำธรรมชาติ ดำน้ำลงไปเจอ แต่พวกนี้ไม่เจอปลาอื่นเลย (ปลาท้องถิ่นหายไปไหนหมด????)
ผลลัพท์: แหล่งที่พบเป็นเขื่อนเก็บน้ำขนาดเล็ก ไม่มีทางติดต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง  ถ้าหลุดออกไปก็บรรลัยจักรละเว้ย
...แก้ไขเมื่อ 22 ส.ค. 2550 23:45:26
นณณ์ approve [ 22 ส.ค. 2550 23:44:29 ]
ความคิดเห็นที่: 11
นี่คือบางส่วนของทะเลสาปที่ "มัน" อยู่ครับ เห็นไหมว่ากว้างใหญ่ขนาดไหน จุดที่ผลดำน้ำถ่ายภาพเป็นเพียงจุดเล็กๆ  ว่ายเลาะริมฝั่งแค่ไม่เกิน ๑๐-๑๕ เมตร  แต่ผมเจอมันเยอะมาก  และต้องบอกว่าจุดที่ไปนี่เป็นจุดที่โดนรบกวนเยอะที่สุดแล้ว เพราะเป็นที่จอดรถ มีคนไปตกปลากันเยอะ คิดดูว่าจุดอื่นๆ  ที่ไม่โดนรบกวนจะเยอะขนาดไหน  ถ้าตลอดแนวชายฝั่งมี "มัน" เยอะขนาดนั้นทั้งหมดหล่ะก็ นึกภาพไม่ออกเลยอ่ะ

ที่น่าสนใจคือ ทำไมหาปลาอื่นไม่เจอเลย ไม่เจอเลยจริงๆ นะครับ ลักษณะแหล่งน้ำแบบนี้ยังไงก็น่าจะมี ปลาซิว ปลากริม ปลากระดี่ บ้าง  แต่นี่ไม่มีเลย ไม่เจอเลยสักตัวเดียว ไม่เจอแม้ แต่กุ้งฝอย ยังงงเหมือนกัน ว่ากินกันล้างพล่านขนาดนี้แล้วมันจะกินอะไรกันต่อ เป็นละครน้ำเน่าที่น่าสนใจครับ มาดูกันต่อว่าประชากรของมันจะล่มหรือเปล่า แล้วปลาอื่นจะกลับมาลืมตาอ้าปากกันได้บ้างไหม?  

รัฐบาล หรือ กรมประมง จะมีปฏิกริยาอย่างไรกับเรื่องนี้?  ทำการกวาดล้างเหมือนตอนที่อเมริกาเจอปลาชะโดจีนหรือเปล่า?  นี่โชคยังดีที่ตรงนี้เป็นแหล่งปิด  ถ้ามีคนเอาไปปล่อยในแหล่งเปิดจะทำอย่างไร?  เราจะแก้ปัญหาการปล่อยสัตว์ต่างถิ่นได้อย่างไร?  

ปล. ไว้คราวหน้าจะเตรียมตัวให้พร้อมกว่านี้ จะไปหาตกตัวใหญ่ๆ  มาทอดสัก ๔-๕ ตัว ใครสนใจบ้างครับ?  

พรบ. ห้ามปล่อยปลาต่างถิ่น?
นณณ์ approve [ 22 ส.ค. 2550 23:46:50 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ฮ้อยย...    

เอาอีกแล้ว รู้สึกว่าเรื่องนี้จะได้ข่าวมาบ้างแล้ว   "มนุษย์หน้อมนุษย์ ไม่มีคงจะดีกว่านี้"  เคยได้ยินคำกล่าวมาว่า
("ระบบนิเวศจะสมบูรณ์ได้เมื่อมีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอาศัยอยู่   แต่ขาดสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่ามนุษย์ไประบบก็ดำเนินต่อไปได้")  ผมว่าน่าจะดีกว่าด้วยซ้ำไป...
aqueous_andaman approve [ 23 ส.ค. 2550 02:36:21 ]
ความคิดเห็นที่: 13
มีปลาหน้าดินอีกเพียบเลย ที่เป็นปลาต่างถิ่น  แต่ผมอยากรู้การขยายพันธุ์ของอราไพม่าอ่ะครับ กับ อลิเกเตอร์ การ์ คือ ถ้าให้เอ่ยผมรู้จักคนตกปลาไม่ใกล้ไม่เกินเค้าเคยตกอลิเกเตอร์ได้ที่แม่น้ำท่าจีน  และก็ มีคนๆ นึงเค้าทำอราไพม่าหลุดลงน้ำไปเยอะมากๆ  ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ... ปลาใหญ่ๆ สูบอาหารทั้งนั่น คงยังมีปลาอีกหลายตัว เพราะสมัยนี้ปลากินเนื้อต่างถิ่นขนาดใหญ่ ราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนหลายเท่าตัว พอคนเบื่อเลิกเลี้ยง ใหญ่ ขายไม่ได้ ก็เทลงแหล่งน้ำกันว่าเล่น
ฉลามเสือ approve [ 23 ส.ค. 2550 03:56:27 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ไม่เห็นมีใครเอาฉลามเสือปล่อยบ้างเลยเนาะ
knotsnake approve [ 23 ส.ค. 2550 11:52:24 ]
ความคิดเห็นที่: 15
เอ..แสดงว่ามันก็มีอยู่ในบ้านเราแล้วซิครับ..อีกหน่อยคงเหมือนเจ้าปลาช่อนยักษ์ ที่ฝรั่งเขาเรียกชะโดบ้านเราแพร่ขยายพันธุ์เร็วนัก..เขาใช้ไซยาไนท์ใส่เครื่องบินเทลงน้ำจนตายหมดทั้งบึงเลย..แล้วค่อยปล่อยปลาลงไปใหม่.. แต่ม่ายรู้ว่ามันจะเหมือนเก่าปาวนะครับ
แล้วบ้านพุหวายอยู่แถวไหนหละครับแบบคร่าวๆ  ละกัน แต่ผมเคยเจอที่อ่างก่อนถึงน้ำตกป่าละอูครับ..ในปี 2546ได้ครับ
Fisher approve [ 23 ส.ค. 2550 14:12:45 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ขอนำไปบอกกล่าวนะครับ
http://clubaquaplant.org/forum/index.php?topic=11079.new#new
Revenge approve [ 24 ส.ค. 2550 01:48:12 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ส่วนตัวผมคิดว่าจะห้ามมันก็คงยาก อย่างในมาเลย์กลายเป็นปลาเกมส์ชนิดนึงไปแล้ว หรืออย่างในอเมริกาที่เจอปัญหาเจ้าปิรันย่าสายพันธุ์ที่กินครีบปลาหลุดลงในแหล่งนำธรรมชาติ  ถ้าจำไม่ผิดไม่แน่ใจว่าที่ฟลอริดา หรือ เปล่า ต้องยอมรับว่าเจอกันทุกที่ ตราบใดที่คนเราชอบของแปลก  ถ้าคิดคงทำไปนานแล้ว ฝากถามว่าคุมได้มั๊ย ยาก เพราะมันไม่ใช่เพิ่งจะเกิด ทำไมกรมประมงไม่ทดลองว่าปลาเหล่านี้กินได้มั๊ย อย่างเจ้าฟลาวเวอร์ฮอรน์ เคยถามผู้รู้ ท่านก็บอกกินได้ แล้วทำไมถึงเงียบสนิท ตัวไหนกินได้ และเป็นปลานอกรีต คนไทยไม่ต้องห่วงครับ ขอให้บอก  แต่ต้องทดลองไม่เป็นอันตรายนะครับ ส่วนปลาพื้นเมืองคงยากที่จะอนุรักษ์ เพราะ มีสื่อไหนบ้างที่รณรงค์จริงๆ จังๆ  เล่นมันทุกวัน อย่างสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อทีวี รวมทั้งการจัดงานของกรมประมง ประกวดอยู่นั่น ไม่เห็นมีใครนำปลาไทยพื้นเมืองที่ใกล้สูญพันธุ์มาโชว์เลย ปลาสวยงามก็ประกวดกันเข้าไปไม่เกี่ยว โชว์ไอ้เข้ตัวเดียว  ถ้ามันพูดได้มันคงบอกให้เปลี่ยนเหอะ จะรู้ภาษาคนอยู่แล้ว สื่อการเรียนการสอนก็ไม่มีสำหรับเด็ก หรือ ผู้ใหญ่  บ้าฉิบ รุ่นหลังจากคุณหรือผม มันคงรู้เนอะ ว่า กระแห ปลาพวง ฝักพร้า คางเบือน เป็นไง เห็นแล้วหนักใจแทน ฝากถามหน่อยครับ เรามีดีเอ็นเอ ของเสือตอไทยแท้ๆ เก็บไว้หรือป่าวครับ ไม่ได้เหน็บใคร  แต่ยากรู้จริงๆ
เตี้ย [ 29 ก.ย. 2550 15:32:20 ]
ความคิดเห็นที่: 18
คือที่พุหวายเนี่ยปลาช่อนเยอะกว่าพีค๊อกอีกนะครับ ไปตามหาพีค๊อกทีไรเจอมัน แต่ไอ้ช่อน ปลานิลปลาซิวก็อยู่ปรกติดีครับ  ถ้ามันอยู่อย่างนี้มา 10 กว่าปีแล้วปลาพื้นบ้านเราอยู่ปรกติดีแบบนี้นี่ไม่มีปัญหาอะไรแล้วครับ ถามชาวบ้านเขาตอบกลับมาว่าอร่อย อยากให้มีเยอะกว่านี้ ดังนั้น ถ้ากินได้อร่อยผมว่าจบเกมส์ครับ เด๋วชาวบ้านเขาคุมจำนวนให้เองแหละ
TBA [ 26 พ.ย. 2550 09:56:52 ]
ความคิดเห็นที่: 19
น่าจะมีการวิจัยถึงความเสียหายกันก่อนค่อยปล่อยลงแหล่งน้ำนะคับ
มันก็ดีนะ ถ้าจะมีแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิด
แต่จะมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่มีแหล่งโปรตีนอื่นๆ เหลืออยู่เลยอ่ะ
(กินปลาอยู่ชนิดเดียวถึงอร่อยยังไงสักวันมันก็ต้องเบื่ออ่ะ...ว่าป่ะ)
ceak [ 26 พ.ย. 2550 12:56:18 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org