ความคิดเห็นที่: 3
ยังไงก็ขอให้นึกถึงนักวิจัยที่ไม่มีรายได้จากการวิจัยด้วยครับ ซึ่ง ก็มีไม่น้อย ที่สำคัญ..เราจะหาเกณฑ์แยกกลุ่มเหล่านี้ได้อย่างไร ตอนนี้นึกออก 3 กลุ่ม
1.งานวิจัยที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่นักวิจัย คืองบฯ หรือทุนนั้นให้ แต่งบดำเนินการเท่านั้น
2. งานวิจัยที่เกิดประโยชน์ทางวิชาการต่อสาธารณะ แก้ปัญหาสังคม โดยมีค่าตอบแทนนักวิจัย และงบดำเนินการ ซึ่ง ก็ไม่ขัดข้องหากจะเอาค่าตอบแทนนักวิจัยไปคำนวณภาษี
3. งายวิจัยของนักวิจัยรับจ้าง เช่นไปรับงานวิจัยของเอกชนแล้วผลงานนั้นก็เป็นของผู้จ้าง ไม่สามารถเผยแพร่กระบวนการได้ทั้งหมด อาจได้แค่แสดงผลโดยความเห็นชอบของผู้จ้าง รับจ้างหน่วยงานราชการ(มักเป็นในรูปหน่วยที่ปรึกษา พัฒนาองค์กร โพล ฯ ลฯ ) ซึ่ง กำลังเป็นที่นิยมตามสถาบันการศึกษา เราะเป็นแหล้งรายได้ที่สำคัญของสถาบัน แถมยังเอาส่วนนี้เป็น KPI ต่อไปอีกด้วย(ได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ทาง) หากรายได้มาจากส่วนนี้ก็น่าจะเน้นเลย
รูปแบบการจ่ายภาษีก็อาจจ่ายโดยทางสถาบันเอง(ปกติก็เก็บอยู่แล้วนะครับ เท่าที่ทราบ) แล้วสถาบันก็เป็นผู้จ่ายภาษีให้ ซึ่ง 2 กลุ่มหลังควรเรียกเก็บในอัตราที่ต่างกัน หรือเป็นอัตราก้าวหน้า หากจะทำกันจริงๆ ผมว่าก็ไม่ยากนักหรอก เพราะ ถ้าเป็นประเภท 2-3 ที่ผ่านระบบสถาบัน ก็มีการหักไว้อยู่แล้ว( แต่สถาบันนั้นๆ จะดำเนินการอย่างไรผมก็ไม่อาจบอกได้) แต่ ถ้าไปรับงานส่วนตัวเลย ทางผู้ว่าจ้างก็ต้องมีหลักฐานแล้วอาจมีการเรียกเก็บภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยแล้ว หากไม่มีก็ต้องมีชื่อผู้รับงาน รับเงิน เวลาสรรพากรมาตรวจบัญชี( แต่จะไปไล่บี้หรือเปล่าไม่รู้) บางที่ผู้นำเสนออาจไม่ได้มองข้อมูลส่วนนี้ก็ได้ครับ (เห็นป่ะ ผมมองโลกในแง่ดีสุดๆ )
knotsnake
[ 24 ส.ค. 2550 12:20:17 ]