กระทู้-08219 : เมื่อแมงมุมเหมือนมด(แดง)

Home » Board » แมลง&สัตว์ขาข้ออื่นๆ

เมื่อแมงมุมเหมือนมด(แดง)

เมื่อ 8-9 วันที่ผ่านมา ขณะที่กำลังเดินหา และถ่ายรูปแมลงปออยู่นั้น ผมสังเกตเห็นก้อนขาวๆ  อยู่ที่ใบ ด้วยความอยากรู้จึงเดินไปดู
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:23:25 ]
InsectsPics_reply_40639.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ผมก้มมองใกล้กว่าเดิม มันเหมือนถุงไข่ของแมงมุมเลยแฮะ เอ๊ะ! อะไรแดงๆ  อยู่ในนั้นหว่า...
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:24:33 ]
InsectsPics_reply_40640.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ด้วยความอยากรู้ ผมเลยเอานิ้วดุนใบไม้ดู  และแล้วสิ่งมีชีวิตสีแดงก็ค่อยๆ  เคลื่อนออกมา
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:25:20 ]
InsectsPics_reply_40641.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
อ้าว...นั่นมันมดแดงนี่นา... แต่ไหงไปอยู่ในถุงไข่ยังงั้นได้ ผมลองนับขาดู ที่แท้มันเป็นแมงมุมนั่นเอง ว่า แต่...มันเป็นแมงมุมพวกไหนล่ะ แมงมุมคล้ายมดนั้นมีเยอะแยะหลายสกุล และหลายวงศ์
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:26:17 ]
InsectsPics_reply_40642.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
หลังจากดูไปสักพักหนึ่ง เจ้าแมงมุมก็แหงนหน้ามาสบตาผม ตาหน้าขนาดใหญ่สองดวงทำให้ผมทราบว่ามันอยู่ในวงศ์แมงมุมกระโดด (Saltisidae) อย่างแน่นอน  และมันก็คือ แมงมุมคล้ายมดแดง (Kerengga ant-like jumper, Myrmarachne plataleoides) นั่นเอง
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:27:12 ]
InsectsPics_reply_40643.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
ในเขตศูนย์สูตร มดถือเป็นแมลงที่มีมากที่สุด  และแมงมุมกระโดด (jumping spider) ก็ถือเป็นแมงมุมที่พบมากที่สุดเช่นกัน  เนื่องจากมดมีเขี้ยวที่ทรงพลัง กรดฟอร์มิก การรุมฆ่าเหยื่อ  และเหล็กในที่มีพิษ(ในมดบางชนิด) อีกทั้งมดมีศัตรูในธรรมชาติน้อย และถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของแมงมุมหลายชนิดเช่นกัน เพื่อให้ปลอดภัยจากสัตว์นักล่าต่างๆ  แมงมุมหลายชนิดจึงวิวัฒนาการมาอยู่ร่วมกับมดโดยการเลียนแบบมด (ant mimicry) การเลียนแบบถือเป็นหลักฐานของการคัดเลือกทางธรรมชาติที่ดีอย่างหนึ่งเลยครับ
...แก้ไขเมื่อ 24 ส.ค. 2550 14:38:23
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:28:16 ]
InsectsPics_reply_40644.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
การเลียนแบบมดสามารถพบในสิ่งมีชีวิตพวกอาร์โทพอด ในแมงมุมนั้นมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ  คือ กลุ่มที่หลงรูปความเป็นแมงมุมของตัวเอง ออกแนวสวยเริศเชิดหยิ่ง และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พวกนี้ไม่ทนกับความร้ายกาจของมด พวกมันอาจมีหรือไม่มีฟีโรโมน  และมีขนาดเล็กจนมดไม่สามารถแยกแยะว่าเป็นผู้บุกรุกได้ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า myrmecophily  และอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมันจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง( และรวมถึงพฤติกรรม และสีสัน)ให้คล้ายกับต้นแบบหรือมดให้มากที่สุด ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า myrmecomorphy ครับ สิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างให้คล้ายมดพบได้มากมาย ในกลุ่มแมงมุมแล้วมีอย่างน้อยกว่า 43 สกุลครับ  และในวงศ์แมงมุมกระโดดเองก็มีอยู่ถึง 14 สกุลทีเดียว เจ้าแมงมุมกระโดดคล้ายมดแดงที่ผมเห็นนั้นจัดอยู่ในกลุ่ม myrmecomorphy ครับ
...แก้ไขเมื่อ 24 ส.ค. 2550 14:39:27
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:31:37 ]
InsectsPics_reply_40645.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
แมงมุมคล้ายมดแดงจะเลียนแบบรูปร่าง และพฤติกรรมรวมถึงสีสันมดโดยเฉพาะมดแดง (weaver ant, Oecophylla smaragdina) ซึ่ง ช่วยให้มันรอดพ้นจากสัตว์นักล่า และอันตรายอื่นๆ  ได้ การเลียนสิ่งมีชีวิตที่มีอันตรายเพื่อให้ตนเองรอดเงื้อมมือจากสัตว์นักล่านั้นเรียกว่า Batesian mimicry ครับ นักวิทย์เชื่อว่าแมงมุมคล้ายมดทุกชนิดในสกุล Myrmarachne ทุกชนิดมีการเลียนแบบแบบ Batesian mimicry ทั้งหมดครับ
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:32:30 ]
InsectsPics_reply_40646.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
แมงมุมคล้ายมดมักจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้ดูเหมือนมดกล่าวคือ รูปร่างของมันดูเหมือนจะมีสามส่วนทั้งที่จริงๆ  มันมีแค่สองส่วน การมีขาที่ยาว และเล็ก (ในแมงมุมทั่วไป ขาจะสั้น) การใช้ขาหน้าชูขึ้นโบกไปมาเหมือนกับหนวดของมด และมันยังช่วยลดจำนวนขาจาก 4 คู่เหลือ 3 คู่ได้ดีด้วยครับ การสร้างจุดสีบนตัวทำให้มันดูเหมือนมีตารวมแบบมด ตำแหน่งของอวัยวะสร้างใย (spinneret) ที่เปลี่ยนไปทำให้ดูเหมือนมันมีเหล็กใน ในแมงมุมคล้ายมดแดงก็เช่นกัน ตัวเมียจะเลียนแบบพฤติกรรม และท่าทางของมดงาน
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:33:19 ]
InsectsPics_reply_40647.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
 แต่ตัวผู้จะพิเศษกว่าตัวเมียนิดหนึ่งคือส่วนระยางค์จับเหยื่อ (chicerae) จะยืดยาวออกมา นักวิทย์เองเชื่อว่ามันเป็นการเลียนแบบมดงานที่กำลังขนบางอย่างอยู่ (encumbered ant) ไม่ใช่เลียนแบบมดงานทั่วๆ  ไปอย่างในตัวเมีย พวกเขาจึงเรียกการเลียนแบบนี้ว่า compound mimicry ครับ นอกจากใช้เลียนแบบมดงานขนของแล้ว ระยางค์ที่ยื่นออกมานี้อาจจะเป็นลักษณะทางเพศที่ถูกคัดเลือกมาแล้ว และอาจจะทำให้เกิดลักษณะที่แตกต่างกันในเพศผู้ และเพศเมีย (dimorphism) ในแมงมุมสกุลนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่าตัวผู้ และตัวเมียมีการเลียนแบบมดต่างชนิดกันด้วยครับ
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:34:21 ]
InsectsPics_reply_40648.jpg
ความคิดเห็นที่: 10
รูปภาพ: ลักษณะความแปรผันของสีในแมงมุมคล้ายมดแดง สองแถวบนเป็นตัวผู้ ส่วนแถวสุดท้ายเป็นตัวเมีย (ภาพจาก Borges et al, 2007)

นอกจากจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันในเพศผู้ และเพศเมียแล้ว แมงมุมพวกนี้ยังไม่จบแค่นี้ครับ ตัวอ่อนของมันใน แต่ละระยะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และสีสันไปตามต้นแบบ(มด)ที่มันพบเจอในช่วงนั้นๆ  ได้อีกด้วย เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า transformational mimicry  และในตัวเต็มวัย สีสัน และความยาวของระยางค์จับเหยื่อจะแตกต่างกันออกไป ซึ่ง อาจเป็นผลมาจากอาหาร และต้นแบบที่มันอยู่ร่วมด้วย สีสันของแมงมุมคล้ายมดแดงจะมีตั้ง แต่สีดำ ส้ม  และแดง นักวิทย์เองก็เชื่อว่าการมีสีสันหลายรูปแบบเช่นนี้เกิดมาจากแรงกดดันของต้นแบบ (มดที่อาศัยอยู่ร่วมด้วย) กับการเลือกคู่ผสมพันธุ์ (sexual selection) ครับ
...แก้ไขเมื่อ 24 ส.ค. 2550 16:20:02
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:36:55 ]
InsectsPics_reply_40649.jpg
ความคิดเห็นที่: 11
แมงมุมชนิดนี้มักจะทำที่อาศัยบริเวณขอบใบโดยให้ให้ขอบใบโค้งเล็กเล็กน้อยแล้วถักใยสีขาวหุ้มเพื่อใช้นอนพักในตอนกลางวัน และซุ่มดักเหยื่อในบางโอกาส ทางเข้ามักจะมีสองทาง(ตามที่ลูกศรชี้) จากที่ผมสังเกต ผมกลับเห็นว่าพวกมันไม่ค่อยออกล่าเหยื่อกันเท่าไหร่เลยครับ ในช่วงบ่ายโมงจนถึงประมาณสี่โมงเย็น ผมก็เห็นพวกมัน(โดยเฉพาะตัวเมีย)หลบอยู่ในนี้
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:38:59 ]
InsectsPics_reply_40650.jpg
ความคิดเห็นที่: 12
รัง(ขอใช้คำนี้นะครับ)ของแมงมุมชนิดมักจะอยู่ใกล้รังมดแดง บางรังเรียกได้ว่าอยู่ปากทางเข้ารังมดเลยครับ เท่าที่ลองเดินตามต้นไม้เตี้ยๆ  ผมพบรังแมงมุม 4 รัง มันเหมือนกับว่ารังมด แต่ละรังมักจะมีรังแมงมุมชนิดนี้จับจองอยู่ 1 รังอ่ะครับ
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:40:25 ]
InsectsPics_reply_40651.jpg
ความคิดเห็นที่: 13
ตำแหน่งรังมดแดงกับรังแมงมุม
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:41:29 ]
InsectsPics_reply_40652.jpg
ความคิดเห็นที่: 14
ด้วยความอยากรู้ว่า ถ้าเจอมดแดงแล้วมันจะทำอย่างไรกัน ผมเลยเอานิ้วแหย่ให้มดงานมันง้างเขี้ยวแล้วเดินตามนิ้วมาอ่ะครับ โดยส่วนใหญ่แล้วแมงมุมชนิดนี้จะหนีครับ  แต่หลายครั้งที่ภัยมาใกล้ตัวจัด มันจะหยุดนิ่งแล้วยกขาหน้าขึ้น 45 องศาไปทางด้านข้างเพื่อทำให้เหมือนหนวดมด และเป็นการส่งสัญญาณ "เราพวกเดียวกันเน้อ..." ด้วยเหตุนี้ จึงมีการรายงานว่าแมงมุมนี้โดนแมงมุมกระโดดที่ชอบล่ามดจับไปกินเหมือนกัน เนื่องจากแมงมุมนักล่าเหล่านั้นแยกไม่ออกว่านั่นเป็นมดหรือแมงมุม
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:42:31 ]
InsectsPics_reply_40653.jpg
ความคิดเห็นที่: 15
แมงมุมที่เลียนแบบมดจะไม่กินมดตัวเต็มวัยเพราะพิษสงมันมากเหลือเกิน  และมักแฝงตัวเข้าไปในรังเพื่อกินตัวอ่อนมด ผมยังไม่เคยเห็นจะจะเสียที นักวิทย์เชื่อว่าแมงมุมกระโดดมีสายตาที่ดีมากทำให้มันสามารถหลบหลีกมดแดง(ที่มีสายตาดีกว่ามดชนิดอื่นๆ )  และเข้าไปหาอาหารได้ อย่างไรก็ตาม มันมักจะไม่เดินอยู่แถวเดียวกับมดงานครับ เพราะมดเหล่านี้มักจะใช้ฟีโรโมนในการจำแนกสมาชิกในรังกับสิ่งแปลกปลอมมากกว่าจะใช้สายตา
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:43:43 ]
InsectsPics_reply_40654.jpg
ความคิดเห็นที่: 16
ตัวผู้ยืนเก๊กอยู่
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:45:09 ]
InsectsPics_reply_40655.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
นอกจากการเลียนแบบรูปร่าง และพฤติกรรมของมดในแมงมุมแล้ว ผมเองก็ยังเคยพบกับกลุ่มแมงมุมที่ไม่ได้วิวัฒน์ตัวให้เหมือนกับมดเช่นกัน พวกมันกลับสร้างสารเคมีขึ้นมาเพื่ออยู่ใกล้ และทางเข้าไปในรังมดแล้วกลับออกมาพร้อมกับตัวอ่อนมดครับ แมงมุมกลุ่มนี้มีการเลียนแบบที่เรียกว่า Wasmannian mimicry หรือพวก myrmecophily นั่นเองครับ โดยทั่วไปแล้ว มดหลายชนิดจะใช้ฟีโรโมนหรือสารเคมีชื่อ cuticular hydrocarbon ในการแยกแยะพรรคพวกกับพวกแปลกหน้าครับ แมงมุมกลุ่มนี้เลยวิวัฒน์มาผลิตสารเคมีชนิดนี้ และเข้าไปเอาตัวอ่อนมดมากินได้อย่างสบายครับ
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:46:02 ]
InsectsPics_reply_40656.jpg
ความคิดเห็นที่: 18
นี่เป็นตัวอย่างแมงมุมชนิดอื่นๆ  ที่เดินยุ่มย่ามแถวรังมดครับ ทั้งหมดเป็นแมงมุมกระโดด  และสองตัวในนั้น (รูปที่ 1  และ 4) อยู่ในสกุล Cosmophasis แมงมุมสกุลนี้มีรายงานว่าใช้ฟีโรโมนในการเข้าไปเอาตัวอ่อนมดมากินครับ ส่วนสองตัวที่เหลือ...ยังแยกไม่ออกครับ แฮะๆๆๆ
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:47:06 ]
InsectsPics_reply_40658.jpg
ความคิดเห็นที่: 19
อันนี้ของแถม  ตอนแรกสงสัยมากว่ามันคืออะไร กว่าจะถึงบางอ้อ...ลูกมันก็ออกมาแล้ว



ธรรมชาติมักซ่อนเร้นความมหัศจรรย์ และความสวยงามไว้เสมอเลยนะครับ ^_^
...แก้ไขเมื่อ 24 ส.ค. 2550 10:53:56
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 10:49:57 ]
ความคิดเห็นที่: 20
รวบรวมได้เป็นเรื่องเป็นราวดีทีเดียว

จริงๆ ภาพอย่างใน #10 เนี่ย รวบรวมจากในเว็บนี้ก็พอได้อยู่นะครับ ใช้ช่องเซอร์ชทางขวาบนหาเอา

ส่วนชื่อ ผมว่าเรียกอย่างไทยๆ ว่า แมงมุมมด มันจะกระชับดีนะครับ (ในบอร์ดผมก็เรียกชื่อนี้อยู่แล้ว เซอร์ชดูก็เจอ)
นกกินเปี้ยว approve [ 24 ส.ค. 2550 10:59:28 ]
ความคิดเห็นที่: 21
จะเข้ามาบอกว่า แอบรีเฟรชอยู่ครับ

ใจจดใจจ่อที่จะบอกต่อว่า ขอบทความนี้เอาเข้าคลังบทความได้ไหมครับ?

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับคุณหกขา


ท่านอื่นที่ไอ้ลูกทุ่งขอไว้ แต่ยังไม่ได้ทำลง Articles ต้องขออภัยด้วยครับ ตอนนี้เริ่มพอมีเวลาแล้วจะทยอยๆ  ลงครับ ขอบคุณขอรับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 24 ส.ค. 2550 11:09:13 ]
ความคิดเห็นที่: 22
ชื่อไทยผมเรียกตามหนังสือ 'แมงมุมในสวนส้ม' ของกรมวิชาการเกษตรน่ะครับคุณนกกินเปรี้ยว ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ^^
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 11:11:59 ]
ความคิดเห็นที่: 23
 ถ้ามันมีประโยชน์ก็ยินดีครับคุณไอ้ลูกทุ่ง
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 11:33:39 ]
ความคิดเห็นที่: 24
สนุกดีค่ะ
ขอบคุณค่ะที่เขียนเรื่องให้อ่าน
Trichoptera approve [ 24 ส.ค. 2550 12:07:51 ]
ความคิดเห็นที่: 25
เยี่ยมมากครับ คุณดูเอ็น  ยกนิ้วให้ครับ
ปากกว้างหางยาว [ 24 ส.ค. 2550 13:06:23 ]
ความคิดเห็นที่: 26
ขอบคุณมาก ดีจริงจริงเลยครับ
j... approve [ 24 ส.ค. 2550 13:17:15 ]
ความคิดเห็นที่: 27
สุดยอดก้างใหญ่เลยครับ เนียนมาก ข้อมูลแน่นปึ๊ก ภาพงดงาม...
jungle man approve [ 24 ส.ค. 2550 13:20:36 ]
ความคิดเห็นที่: 28
โอ้ว ได้ความรู้มากมายย
GreenEyes approve [ 24 ส.ค. 2550 15:07:46 ]
ความคิดเห็นที่: 29
ได้ความรู้เป็นอย่างมาก ขอบคุณ คุณDue_nมากๆ ค่ะ
sparrow approve [ 24 ส.ค. 2550 15:33:39 ]
ความคิดเห็นที่: 30
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ ^^
Due_n approve [ 24 ส.ค. 2550 16:21:24 ]
InsectsPics_reply_40715.jpg
ความคิดเห็นที่: 31
กำลังเอร็ดอร่อย เลยครับ คุณ Due_n
นายแมลง approve [ 24 ส.ค. 2550 17:21:36 ]
ความคิดเห็นที่: 32
คารวะในความอดทน

นับถือในน้ำใจ

เคารพในบทความ

จริงๆ  ครับ คุณ Due_n
น้ำเชื่อม [ 24 ส.ค. 2550 17:37:01 ]
ความคิดเห็นที่: 33
รู้สึกจะเคยเห็นแมงมุมแบบนี้อยู่เหมือนกันนะครับ  แต่ด้วยความไม่รู้ ก็นึกว่าเทือกๆ  มดแดง  และไม่ได้สนใจ
จนถึงตอนนี้รู้สึกเหมือนเพิ่งได้ออกจากกะลา...ขอบคุณ คุณ Due_N สำหรับความรู้ใหม่ครับ
kasoop approve [ 24 ส.ค. 2550 19:15:05 ]
ความคิดเห็นที่: 34
เข้ามาขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
aqueous_andaman approve [ 24 ส.ค. 2550 20:17:08 ]
ความคิดเห็นที่: 35
#16       เมื่อก่อนเอาจับมาดูแล้วดูอีก  คิดว่ามดกลายร่าง   เล่นจนมันชักใยออก   ก็เลยรู้ว่ามันไม่ใช่มด       ขอบคุณครับสำหรับความรู้
electron approve [ 25 ส.ค. 2550 16:27:42 ]
ความคิดเห็นที่: 36
อื้อฮือ..วู้..ว้าว.. ผมยังไม่เคยตามได้ถึงขนาดนี้เลย
knotsnake approve [ 25 ส.ค. 2550 23:48:40 ]
ความคิดเห็นที่: 37
บางตัวก็เหมือนมากๆ  เลยนะคะ มองเผินๆ  นึกว่าเป็นมดจริงๆ
ยายอ้วน approve [ 26 ส.ค. 2550 12:23:40 ]
ความคิดเห็นที่: 38
สงสัยมานานแล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีค่ะ
kanok approve [ 26 ส.ค. 2550 20:59:25 ]
ความคิดเห็นที่: 39
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมามากครับ
Due_n approve [ 27 ส.ค. 2550 09:27:04 ]
ความคิดเห็นที่: 40
เยี่ยมยุทธ์จริงๆ
ampelisciphotis approve [ 27 ส.ค. 2550 10:20:46 ]
ความคิดเห็นที่: 41
อ่อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ
le khin [ 27 ส.ค. 2550 12:49:52 ]
ความคิดเห็นที่: 42
ผมขอกราบเท้าจากใจจริงครับ ความรู้คู่ความดี  แบบนี้น่านับถือแลน่าเคารพเป็นยิ่งนัก
conti approve [ 27 ส.ค. 2550 19:26:44 ]
ความคิดเห็นที่: 43
อย่างนี่นี่เองที่เรียก MIMIC ตัวสีแดงกินมดแดง ผมเคยเห็นตัวสีดำใหญ่ๆๆ  ที่มันกินพวกมดดำตัวใหญ่เหมือนกันมากเลย...
kunl_bur approve [ 29 ส.ค. 2550 11:20:23 ]
ความคิดเห็นที่: 44
ได้ความรู้เยอะจริงๆ ครับกระทู้นี้ ขอบคุณมากครับ
Alakazum approve [ 03 ก.ย. 2550 01:57:38 ]
ความคิดเห็นที่: 45
แมงมุมกะมดแดง :) อิอิอิ
snakeeater approve [ 06 ก.ย. 2550 22:09:59 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org