กระทู้-08263 : ลักษณะน้ำบนใบไม้แบบนี้ เป็นเหตุบังเอิญหรือเปล่าครับ

Home » Board » พืช

ลักษณะน้ำบนใบไม้แบบนี้ เป็นเหตุบังเอิญหรือเปล่าครับ



มีคำถามมารบกวนอีกแล้ว

ไปเดินป่ามา เจอเจ้าต้นนี้ขึ้นอยู่ริมลำธาร  (สังเกตได้ว่ามีน้ำอยู่ช่วงด้านล่างของรูป)

สงสัยกับหยดน้ำบนใบ ที่ดูไม่เหมือนเหตุบังเอิญ เคยทราบมาว่าต้นไม้มีการคายน้ำผ่านทางใบ นี่ใช่อาการที่ว่าหรือเปล่าครับ
ดำเกิง  [ 31 ส.ค. 2550 16:13:14 ]
ความคิดเห็นที่: 1
โพสต์ไม่ติดอีกแล้ว เอาใหม่ๆ

ดำเกิง [ 31 ส.ค. 2550 16:19:35 ]
ความคิดเห็นที่: 2
It call Hydratid, when so much humid, plant try to circulate and adjust osmotic function by emit drops of water  directly.
waterpanda approve [ 31 ส.ค. 2550 17:51:47 ]
ความคิดเห็นที่: 3
อืมมม

แปลแบบ snake snake fish fish ได้ความว่า เป็นการคายน้ำอย่างที่เข้าใจ

ถ้าอย่างนั้น ก็แสดงว่า ท่อระบาย(คาย)น้ำ ก็อยู่ตามตำแหน่งของหยดน้ำอย่อย่างที่เห็นสินะครับ

ขอบคุณครับ
ดำเกิง [ 31 ส.ค. 2550 18:16:50 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ตามความรู้งูๆ ปลาๆ ที่เคยเรียนมา เหมือนจะเป็นหยดน้ำที่พืชคายออกมา เวลาที่ความชื้นในอากาศสูงๆ  พืชจะไม่สามารถคายน้ำทางปากใบได้  แต่จะปล่อยออกทางท่อปลายใบ ซึ่ง เรียกว่าท่อ Hydathode ครับ การคายน้ำแบบนี้ เรียกว่าปรากฏการณ์ guttation ครับ
กวิวัฏ approve [ 31 ส.ค. 2550 18:54:57 ]
ความคิดเห็นที่: 5
เพิ่มเติมอีกนิดครับ การคายน้ำแบบนี้มักเกิดตอนกลางคืน ในเขตที่ความชื้นสูงๆ  เนื่องจากพืชต้องคายน้ำเพื่อ ช่วยในการ ออสโมซิส สารละลายแร่ธาตุจากดิน  แต่กลางคืนเป็นช่วงที่ปากใบปิด จึงต้องอาศัยการคายน้ำทางรูเปิดแบบนี้ครับ
กวิวัฏ approve [ 31 ส.ค. 2550 18:57:39 ]
ความคิดเห็นที่: 6
โห เกิดมาพึ่งเคยเหนอ่า
GreenEyes approve [ 31 ส.ค. 2550 22:49:04 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ชั้น ม.1 มีทำรายงานเรื่องนี้ด้วย เสียดายที่ตอนนั้นหาภาพประกอบสวยๆ แบบ#1 ไม่ได้
...
ในเวลากลางคืน อากาศเย็น ความชื้นสูง  และลมสงบ ซึ่ง เปนชวงที่มีการคายน้ำต่ำ หรือในสภาพที่สิ่งแวดลอมไมเอื้ออํานวยหรือไมเหมาะสมตอการคายน้ำ เชน ความชื้นสัมพัทธ(relative humidity)ในอากาศสูงหรือหลังฝนตกใหม่ๆ  ราก(root)ยังคงมีการลําเลียงสารละลายธาตุอาหารเขาสูภายในพืชโดยการลําเลียง
แบบใชพลังงาน(active transport) ดังนั้นภายในชั้นของ stele จะมีปริมาณความเขมขนของสารละลายธาตุอาหารสูง  และสารละลายธาตุอาหารที่ถูกลําเลียงผาน endodermis เขาไปแลว จะไมสามารถแพรผานกลับออกมาไดอีก นั่นคือจะทําใหคา พลังงานศักยของน้ำ(water potential) ภายใน stele ต่ำอยูเสมอ น้ำจากภายนอกจึงออสโมซิส(osmosis)เขาสูชั้นของ stele ตลอดเวลา ทําใหเกิดแรงดันขึ้นภายในท่อลําเลียงน้ำ(xylem) ดันใหน้ำในทอลําเลียงเคลื่อนขึ้นไปดานบนได เรียกแรงดันที่เกิดนี้วา แรงดันราก(root pressure) น้ำในท่อลําเลียงน้ำ(xylem)จะถูกดันออกไปทางรูเปดพิเศษที่เรียกวา hydathode น้ำที่ออกมาจะมีเกลือแร่ กรดอินทรีย์  และกรดอะมิโนปนอยู่ด้วย ซึ่ง มักจะอยูตามขอบใบ ปลายใบ ทําใหเห็นเปนหยดน้ำ
เกาะที่ขอบหรือปลายใบ เรียกปรากฏการณนี้วา guttation
...
...แก้ไขเมื่อ 01 ก.ย. 2550 00:44:43
สุวรรณภูมิ approve [ 01 ก.ย. 2550 00:41:18 ]
Suvarnabhumi@msn.com
ความคิดเห็นที่: 8
แป่ว  ยายอ้วนเข้าใจผิดตลอดเลยเวลาเจอใบแบบนี้
คิดว่าเป็นน้ำค้าง หรือฝนตกอ่ะค่ะ
ยายอ้วน approve [ 02 ก.ย. 2550 00:12:22 ]
ความคิดเห็นที่: 9
แม่น อีหลี
waterpanda approve [ 03 ก.ย. 2550 12:29:28 ]
ความคิดเห็นที่: 10
กรดที่ว่านี่มีประโยชน์ต่อร่างกายไหมครับ?   ถ้าไปไล่ดื่ม???.......
นณณ์ approve [ 03 ก.ย. 2550 22:13:20 ]
ความคิดเห็นที่: 11
พี่นณณ์จะลงทุนเปิดศึกแย่งชิงกรดอะมิโน???  ... ก็เป็นประโยชน์บ้างเล็กน้อยครับ จริงๆ แล้วเหมาะกับพวกแมลงตัวเล็กๆ  จิ้งหรีด ตั๊กแตน มากกว่า ใครมีโอกาสพบเห็นแล้วจะลองลิ้มชิมรสก็ต้องต้องเลือกๆ หน่อย :)
สุวรรณภูมิ approve [ 04 ก.ย. 2550 05:17:26 ]
Suvarnabhumi@msn.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org