กระทู้-08289 : คำถามเรื่องกุ้งกุลาดำกับกุ้งแชบ๊วยจากนักศึกษาม.อุบล

Home » Board » กุ้ง & ปู

คำถามเรื่องกุ้งกุลาดำกับกุ้งแชบ๊วยจากนักศึกษาม.อุบล

คำถามเรื่องกุ้งกุลาดำกับกุ้งแชบ๊วยจากนักศึกษาม.อุบล

    คือผมจะศึกษาเรื่องกุ้ง แต่ค้นในเว็บแล้วไม่เจอครับวานพี่ช่วยทีน่ะครับ

1.อยากทราบพัฒนาการของตัวอ่อนระยะโพสลาวาของกุ้งกุลาดำ และกุ้ง แชบ๊วยมีกี่ระยะแต่ระยะพัฒนาอวัยวะใดบ้าง
2.ลูกกุ้งกินอาหารเบอร์1-5ได้ระยะไหน และอาหารแต่ละเบอร์ต่างกัน อย่างไร
3.การให้อาหารถ้าให้4มื้อให้เวลาใด
4.การให้อาหารถ้าให้5มื้อให้เวลาใด
5.การตรวจสภาพอาหารจากยอทำอย่างไร

ตอบทางเว็บบอร์ดหรือทางEmailก็ได้ครับ
jubekung_t@hotmail.com
ขอบคุณครับ
botia approve [ 04 ก.ย. 2550 11:56:26 ]
ความคิดเห็นที่: 1
Please consult Shrimp Aquaculture Research Institute of DOF, Kaset campus may have concisive info. on this than website. or DOF website www. fisheries.go.th or www.nica.go.th ??? may have.
waterpanda approve [ 04 ก.ย. 2550 15:15:26 ]
ความคิดเห็นที่: 2
รู้สึกว่าในหนังสือจะมีนะครับ ลองเปิดหนังสือเป็นเล่มๆ ดูบ้าง อย่าพึ่ง แต่หนังสืออิเลคทรอนิคเลยขอรับ  ผมเชื่อว่าในหอสมุดที่นั่นก็มี อย่างน้อยที่สุดเรื่องวงจรฯ  ก็มีในหนังสือ Crustacea แน่ๆ  ส่วน 2-5 เป็นข้อมูลเชิงประยุกต์ ลองแง้มๆ คัมภีร์กุ้งฯ  ก็น่าเป็นแนวทางได้ระดับหนึ่งครับ
knotsnake approve [ 04 ก.ย. 2550 15:30:30 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ขอบคุณครับที่แนะนำ
botia approve [ 04 ก.ย. 2550 18:02:19 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ข้อ 1. ตามคุณ Waterpanda ครับ ข้อมูลที่นิกาออนไลน์สมบูรณ์มาก
2. ถามร้านขายอาหารกุ้ง  สมัยผมอยู่โรงเพาะใช้ ADP
3. 4. ก็เอา 24 หารด้วยจำนวนมื้อ มื้อแรก 07.00 น. หนักหน่อยก็มื้อดึกๆ แหละ ใหม่ๆ ระวังตกบ่อนะครับ
5. ตรวจอาหารจากยอก็ใส่อาหารในยอระดับหนึ่งแล้วยกยอตรวจหลังให้น่าจะ 1 ชั่วโมง อันนี้ผมจำได้ไม่แม่นนะครับ  ถ้าเหลือก็ลดอาหารลง อาจจะ20% หรือ 50 % ขึ้นกับสถานการณ์เช่นอากาศเย็นหรือเริ่มลอกคราบ
วิธีการตรวจสภาพในบ่อที่แม่นที่สุดคือดำน้ำลงไปดูให้ทั่วบ่อ  อ้อควรดำเวลาที่แสงแดดจัดมากๆ  ไม่งั้นไม่เห็นรายละเอียด ว่าอาหารเหลือหรือกำลังลอกคราบหรือเลนเน่า ดำน้ำดูจะรู้ด้วยว่าเลนเน่าหรือไม่กลิ่นไฮโดรเจนซัลไฟด์จะบอกเราได้
อรรถ [ 13 ก.ย. 2550 13:28:27 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org