กระทู้-08391 : ต้นกระดาษ AA

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

ต้นกระดาษ AA

ว่าจะหาเรื่องโพส แต่เห็นเวบโน้นตั้งมาแล้ว เลยน่าไปแจมกัน
http://www.trekkingthai.com/board/show.php?Category=trekking&redirect=force&forum=18&No=101731&page=1
knotsnake approve [ 25 ก.ย. 2550 10:24:45 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เท่าที่เคยได้ยินมา บนพื้นป่าที่มีใบยูคาปกคลุม มันทำให้ต้นไม้อื่นขึ้นไม่ได้เพราะสารเคมีของใบนี่ครับ  ถ้าปลูกติดแหล่งน้ำ เช่นบ่อน้ำ แล้วใบร่วงหล่นลงไป ในบ่อนั้นก็จะไม่มีปลา ผมเองจำภาพเหล่านั้นไม่ได้ เพราะไม่ได้สัมผัสกับป่าแบบนี้เท่าไหร่

ใครมีภาพพื้นใต้ร่มไม้ของสวนยูคา ก็ขอฝากมาแปะหน่อยนะครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 25 ก.ย. 2550 11:11:34 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เรื่องเดียวกันเจอจากอีกที่หนึ่ง

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I5834575/I5834575.html
นกกินเปี้ยว approve [ 25 ก.ย. 2550 11:19:52 ]
ความคิดเห็นที่: 3
เมื่อ 2-3 เดือนก่อนได้ข่าวว่า AA มีการสอบคัดเลือกบรรดาหัวกระทิไปทำ Workshop ไรไม่รู้  เท่าที่ทราบปราจีนบุรีปลูกกันเยอะเพราะเขาไปทำโครงการไว้ครับ

พี่น๊อตครับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานเขาให้ทำผลงานเป็นตั้งๆ แบบที่พี่ว่าไว้จริงๆ ครับ ที่รู้เพราะคุณแม่ผมก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือเด็กๆ ในโรงเรียนสมัยที่ท่านทำผลงานเพื่อเลื่อนเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 9 ทำผลงานเป็นตั้งๆ  (6-7 ลังกระดาษใหญ่ๆ ครับ) ไม่รวมสื่ออื่นๆ พวกเทป cd vcd  และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิจัยฯ  เรื่องหลักสูตรอีก ได้ข่าวว่าปัจจุบันเขาให้ส่งไฟล์เอกสารใส่แผ่น cd ไปด้วย(ก็ไม่รู้ว่าผู้ตรวจ แต่ละท่านจะเปิดอ่านเปิดสื่อที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ได้คล่องหรือเปล่า?..แล้ว ถ้ามีใครแอบ copy ไฟล์เอาไว้แล้วเอาไปให้ลูกท่านหลานเธอแก้ไขแล้วส่งเป็นผลงานจะมีใครรู้หรือไม่?)
สุวรรณภูมิ approve [ 25 ก.ย. 2550 11:25:40 ]
ความคิดเห็นที่: 4
มีภาพทริปจักรยานที่ผ่านป่ายูคามาให้ดูครับ ถ้ำประทุน ชลบุรี
ลองดูพื้นที่ทั่วไปมีไม้พื้นล่างปกคลุมตลอดเส้นทางยกเว้นช่วงที่เป็นป่ายูคา
วันที่ผมไป(ก่อนทริปนี้)เป็นช่วงฤดูฝนไม้คลุมพื้นหนาแน่นกว่านี้
 แต่ป่ายูคาก็แห้งแล้งเช่นเดิม....

http://www.bikeloves.com/board_bpmtbtrip/topic_view.php?qID=1925
toriyama approve [ 25 ก.ย. 2550 12:08:23 ]
ความคิดเห็นที่: 5
มองในมุมกลับ  ถ้าไม่ปลูกยูคาริปมาทำกระดาษจะไปเอาไม้จากไหนครับ?  จะไปตัดไม้จากป่ามาก็คงไม่ได้ ป่ายูคาลิปผมยังมองโลกในแง่ดีว่าอย่างน้อยมันก็เป็นพื้นที่สีเขียว ที่ผมไม่เข้าใจคือมันไม่มีต้นไม้พื้นเมืองที่มีศักยภาพเท่าหรือใกล้เคียงกับต้นยูคาลิปที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมหรือ?  
แต่พอมาคิดต่อ  ถ้ามีก็คือมันจะมีหญ้ามีต้นไม้อื่นๆ ขึ้นรก มันก็คือมีต้นทุนเพิ่ม อาจต้องใช้ยาฆ่าหญ้าใช้สารเคมี แล้วก็เกิดคำถามอีกว่า จะเอาสารเคมีที่ว่าหรือจะเอาสารจากใบยูคาลิปตัส.... นึกไม่ออกเหมือนกันแหะ
นณณ์ approve [ 25 ก.ย. 2550 12:13:22 ]
ความคิดเห็นที่: 6
ต้นไม้พื้นเมืองที่พอมีศักยภาพเอามาทำกระดาษได้ก็คงเป็นต้นไผ่(ต้นไม้อย่างอื่นคงทำเป็นอุตสาหกรรมได้ยากกว่า)   แต่ผลตอบแทนในแง่อุตสาหกรรมแล้วก็ยังสู้"ไม้กระดาษ"ไม่ได้ครับ
สุวรรณภูมิ approve [ 25 ก.ย. 2550 12:24:45 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ยูคาฯ  ไม่ใช่พืชให้ร่มเงาขอรับ  ทางแก้ที่ดีที่สุดคืออย่าให้การเสนอผลงานเพื่อเฉพาะปรับระดับ( แต่ไม่สามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้อย่างคุ้มค่า)ต้องทำหนาๆ (ทั้งที่สาระมีนิดเดียว) แล้วไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษคุณภาพสูง(จนเวลาไปถ่ายเอกสารที่ร้าน ร้านยังขอให้ผมใช้เกรดต่ำ เพื่อเอาเกรดสูงไว้ให้เขาทำผลงาน) เท่านี้ก็จะลดแรงกดดันให้เจ้าของบริษัทกระดษต้องเร่งอัตราการผลิต ป่ายูคาฯ ที่มีอู่เดิมก็จะเพียงพอในการใช้ประโยขน์(มั้ง) ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวอมเหลืองที่ไร้ร่มเงาให้แผ่นดินครับ

ปล. หน่วยงานของผมให้ส่งเป็นไฟล์อิเลคทรอนิคก่อนเพื่อพิจารณาขั้นต้น ก็ช่วยลดการใช้กระดาษได้โขอยู่ขอรับ
knotsnake approve [ 25 ก.ย. 2550 12:43:43 ]
ความคิดเห็นที่: 8
บางหน่วยงานการศึกษา(ระดับมหาวิทยาลัย) ก็ทำผลงาน(ผศ.)แค่เล่มสองเล่มเอง บางท่านก็ แต่งตำราแปลตำรา บางท่านก็ทำวิจัยสื่อการสอน (โดนอาจารย์บังคับให้ช่วยทำ) ไม่รู้ว่าวันไหนจะโดนบังคับให้ช่วยทำอีก
สุวรรณภูมิ approve [ 25 ก.ย. 2550 12:54:37 ]
ความคิดเห็นที่: 9
มองในมุมกลับ ( แต่กลับกันจากคุณนณณ์อีกที)

ถ้าไม่เอาป่าดีๆ  ไปปลูกยูคาฯ หมด เราก็อาจจะมีผลผลิตอื่นที่สามารถส่งออกหรือนำมาบริโภคทดแทน เกิดขึ้นจากทรัพยากรตรงนั้น  แต่แน่นอนว่าต้องนำเข้ากระดาษจากต่างประเทศ ซึ่ง ก็ไม่น่ามีอะไรเสียหาย ประเทศไหนมีความเหมาะสมในการผลิตอะไร ของนั้นก็จะถูกกว่าที่อื่น (หรือดีกว่าที่อื่นในราคาที่เท่ากัน)

เราอาจจะไม่มีพันธุ์ไม้ที่ไม่มีหญ้าขึ้นใต้ต้นโดยอัตโนมัติแบบยูคาฯ   แต่น่าจะพอมีตัวเลือกอื่นที่เหมาะสม โดยไม่ได้มองว่าต้องเหมาะสมในการทำกระดาษ A4 ถ่ายเอกสาร  แต่อาจเป็นอย่างอื่น เช่นทำกระดาษสา ส่งออก (เพราะอาจมีน้อยประเทศกว่าที่จะทำได้) ได้เงินมาเอาไปซื้อกระดาษ A4 จากประเทศที่ภูมิประเทศเหมาะสมกับยูคา (บางทีเหมาะจนไม่มีไม้อื่นขึ้นได้)  ก็คงไม่ขาดดุลการค้ามากนัก

ถ้าไม่เอาพันธุ์ยูคาฯ เข้ามาจากต่างประเทศ (พร้อมกับเอาเทคโนโลยีการผลิตกระดาษด้วยเยื่อไม้ยูคาฯ  เข้ามาด้วย) ก็คงมีการพัฒนาหาไม้อื่นในประเทศมาทำกระดาษ เพื่อทดแทนการนำเข้า  แต่ตอนนี้เอาเทคโนโลยีมาแล้ว เปลี่ยนไปใช้ไม้อื่นมาทำจะค่อนข้างยากแล้วครับ

เราจะมาทำป่ายูคาฯ ให้เสียป่าดิบชื้นหรือป่าเบญจพรรณของเราทำไม ของดีเรามีอยู่ ผมว่าเราก็น่าจะพัฒนาจากตรงนั้น
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 2550 12:17:38
natee approve [ 25 ก.ย. 2550 13:15:08 ]
ความคิดเห็นที่: 10
มีบวกมีลบ หกลบกลบหนี้
ด้านไหนมากมี เอาสิ นั้นเลย
เอส ดี [ 25 ก.ย. 2550 13:19:27 ]
ความคิดเห็นที่: 11
สำหรับผมนะครับเมื่อก่อนผมก็ไม่เห็นด้วย  แต่จากการพุดคุยกับอาจารย์คณะวนศาสตร์ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดใหม่  ถ้ามีการปลูกยูคาในบริเวณป่าไม่ว่าจะเป็นป่าเบญจพรรณ  ป่าดิบ หรือแม้ แต่ป่าเสื่อมดทรมที่มีลักษณะควรฟื้นฟูผมไม่เห็นด้วย  แต่ ถ้าเป็นการปลูกในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอยู่แล้ว และที่สำคัญพืชที่ปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ผมสนับสนุนให้ปลูกยูคาครับ เพราะจากการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วระหว่างยูคากับพืชเชิงเดี่ยวอื่นๆ พบว่ายูคามีผลเสียต่อดินน้อยที่สุดครับ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะให้ปลูกก็ควรจะตอ้งอยู่บนพื้นฐานของลักษณะพื้นที่ด้วยนะครับผมว่า แล้ว ถ้าไม่ใช้ยูคาทำกระดาษก็ไม่รู้จะใช้อะไร  ถ้ามาตัดไม้พื้นเมืองไปใช้เดี๋ยวก็มีปัญหาการบุกรุกป่ากันอีกไม่จบไม่สิ้น
Tonyจา [ 25 ก.ย. 2550 13:50:25 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เอาด้วยหน่อย..เห็นด้วยกับเจ้ายูคาผมเคยปลูดรอบๆ ฟาร์มเพื่อให้ร่มเงาตอนนั้นเขาแจกมาให้ปลูก..โตเร็วมาก แต่เนื้อไม้ผุง่าย  และอย่างที่หลายๆ คนพูดใบมันมีน้ำมันมากไม่ค่อยผุย่อยสลายเหมือนใบไม้อื่นๆ  ทำให้มันทับถมกันจนหญ้ายังตายเลยตกใบบ่อมีผลกับปลาหรือไม่..อันนี้ไม่แน่ใจเท่าไหร่ครับปลาบึกผมคงไม่กินใบไม้ชนิดนี้จะสะสมกันเต็มเลยครับไม่ค่อยเน่าเปื่อยต้องลงเก็บทิ้งเอาครับ  แต่สารพิษไม่น่าจะมีครับ อีกอย่างคือรากลึกเอาเรื่องปลูกแล้วอาจเสียพื้นที่ไปเลยคงหมดหวังที่จะขุดรากออกผมใช้แมคโคโยก และขุดออกพื้นดินกลายเป็นแอ่งไปเลย   ถ้าปลูกเป็นไร่คงมีแอ่งใหญ่เป็นไร่เหมือนกัน
FIsher [ 25 ก.ย. 2550 15:03:19 ]
ความคิดเห็นที่: 13
 ถ้าบอกว่าใบมันทำยาดมได้  แล้วไม่มีหน่วยงานไหนที่จะซื้อใบของมันไม่ทำยาดมหรอขอรับ  


เท่าที่ได้ยินมารากมันไม่ใช่หรอครับที่ดูดซึมอาหารจนทำให้ดินเป็นทราย



ยังไงยังไงเราก็ต้องใช้กระดาษทุกวัน(นอกเสียจากกลับไปใช้กระดานชนวน เอิ๊ก)     ถ้าใช้แผ่นDC ในการเก็ข้อมูล ก็อย่าลืมว่า นั่นคือ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"
electron approve [ 25 ก.ย. 2550 20:38:04 ]
ความคิดเห็นที่: 14
Tonyจา ครับ  ถ้ามีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (mono cropping) ที่เป็นการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนแล้วนี่ เราน่าจะแก้ไขด้วยการเลิกทำ โดยหันมาปลูกแบบพืชเชิงผสม (multi cropping หรือ inter cropping) แทนนะครับ

มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นข้ออ้างของบริษัทกระดาษได้ว่า ตรงไหนมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอยู่แล้วก็ลงยูคาฯ  ได้
natee approve [ 25 ก.ย. 2550 20:49:31 ]
ความคิดเห็นที่: 15
การปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็จำเป็นครับเพื่อการประยุกติ์ใช่เครื่องจักรกล ซึ่ง จะทำให้ต้นทุนถูกกว่า โรงงานอุตสาหกรรมก็ยังต้องการไร่ขนาดใหญ่ มันคงไม่ใช่ ทางเลือกระหว่างเชิงเดี่ยวหรือเชิงผสม  แต่ต้องพูดถึงเรื่องการปลูกพืชหมุนเวียน การปรับปรุงดินมากกว่า ซึ่ง ในปัจจุบันก็ทำได้ไม่ยากนัก
นณณ์ approve [ 25 ก.ย. 2550 21:07:11 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ผมมองคนละมุมกับคุณนณณ์อีกแล้ว วันนี้นาย natee ขวางโลกจริงๆ

จริงครับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็เพื่อการประยุกติ์ใช้เครื่องจักรกล ซึ่ง จะทำให้ต้นทุนถูกกว่า จะพ่นยาก็ง่าย จะใส่ปุ๋ยเคมีก็ง่าย ที่อเมริกาใช้เครื่งบินพ่นก็ยังคุ้ม เพราะทำไร่กันขนาดใหญ่มาก (ไม่เคยไป เคยดู แต่ในทีวี) แล้วมันคุ้มกันไหมกับสิ่งที่ต้องเสียไป จะมี biodiversity อะไรเหลือในแปลงที่มี แต่ข้าวโพด ข้าวบาเลย์ ที่มีขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา (สวนหลังบ้านสมาชิก siamensis ยังจะมีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าอีกมั้ง เห็นถ่ายรูปมาอวดกันบ่อยๆ )

ไม่ใช่เพราะการประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลหรือครับ ที่ทำให้ชาวไร่ชาวนาจนลงทุกวัน จนเป็นหนี้เป็นสิน ขาดดุลการค้าเพราะนำเข้าน้ำมัน ใช้เครื่องจักรทำเกิดมลพิษทั้งในน้ำ ในดิน ในอากาศ จากของเสียที่เกิดจากตัวเครื่อง ไหนจะน้ำมันเครื่อง ควันไอเสีย แทนที่จะเลี้ยง วัว ควาย ซึ่ง  ถ้าไม่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม ให้เค้ากินหญ้า เค้าก็ให้แรงงาน ให้ปุ๋ย carbon footprint แทบเป็นศูนย์นะครับ โคควายวายชีพได้ เขาหนัง (เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้ คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง เป็นชื่อเป็นเสียงได้  แต่ร้าย กับดี) เครื่องจักรเสีย ไม่มีเงินซ่อมก็ยังต้องผ่อนต่อ

ไม่ใช่เพราะการประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลหรือครับ ที่ทำให้เราขาดดุลการค้าอยู่ทุกวันนี้ ส่งออกข้าว ส่งออกน้ำตาล แลกกับเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่แสนแพง (ค่า know-how) แถมเสียทรัพยากรธรรมชาติอีก (ส่งมันสำปะหลังออกไปเป็นอาหารสัตว์นี่ เหมือนแถมปุ๋ยให้เค้าไปฟรีๆ  รากมันดูดไปจนเกลี้ยง)

ไม่ใช่เพราะอุตสาหกรรมหรือครับ ที่ทำให้ต้องสร้างเขื่อน เอาไฟฟ้าไปป้อนโรงงาน

ไม่ใช่เพราะอุตสาหกรรมหรือครับ ที่ทำให้คนหนุ่มสาว ต้องเข้ากรุงฯ  ทำงานในโรงงาน อยู่กินแบบแออัดยัดเยียด นอกจากจะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีปัญหาทางสังคมอีก คิดว่าทุกคนคงเคยเห็นชีวิตสาวโรงงานนะครับ ว่าชีวิตวันๆ  เป็นอย่างไร ผมคิดถึงเด็กๆ  ที่คุณลำพะเนียงพาไปเรียนในห้องเรียนธรรมชาติ พอโตขึ้นหลายคนอาจมีความจำเป็น ต้องเข้ามาทำงาน อยู่เป็นปลากระป๋องในกรุงเทพฯ  วันนั้นเเขาจะรู้ว่าบ้านที่จากมา มันน่าอยู่แค่ไหน

ผมว่าอุตสาหกรรมไม่ใช่คำตอบที่เหมาะกับโลกครับ จะไม่มีโลกให้อยู่ก็อุตสาหกรรมนี่แหละ

ถ้าเราไหวตัวทัน ผักพื้นบ้านที่เก็บด้วยมือนี่แหละ แมลงไม่กวนมากเหมือนผักสวน โตด้วยใส่ปุ๋ยคอก รสชาติดี ไม่มีสารเคมีตกค้าง จะเป็นทางออกครับ
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 2550 12:17:58
natee approve [ 25 ก.ย. 2550 22:05:50 ]
ความคิดเห็นที่: 17
เราต้องมองแยกส่วนสิครับ เราต้องไม่หวังว่ามันจะมี biodiversity ในสถานที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว การดูสิ่งแวดล้อมต้องดูทั้ง โครงสร้าง  และ หน้าที่ของมัน ดูทั้ง ชีวภาพ กายภาพ  และ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทุกคนปลูกข้าว ปลูกผัก หมักปุ๋ย เลี้ยงหมูกินเอง  และในทางเศรษฐศาสตร์แล้วก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกที่สุดของระบบเศรฐกิจโดยรวม

การบ้านยังไม่เสร็จหนังสือยังไม่ได้อ่านสอบ  แต่จะตอบคุณพี่นทีเรื่องนี้อาศัยสมอง  และ สมาธิ พอสมควร จึงขอแปะไว้ก่อนครับ
นณณ์ approve [ 25 ก.ย. 2550 22:37:06 ]
ความคิดเห็นที่: 18
เอิ้ก เอิ้ก ผมหาเรื่องใส่ตัว สอนนักเศรษฐศาสตร์ให้ว่ายน้ำซะแล้ว

รับแปะไว้ก่อนครับ โชคดีในการสอบนะครับ
natee approve [ 25 ก.ย. 2550 23:20:09 ]
ความคิดเห็นที่: 19
เปล่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ครับ ผมเป็น "เป็ด" ต่างหาก

ลป. เพิ่งเห็นว่าพี่นทีเขียนว่า รสชาด เท่าที่ตามอ่านการถกกันมา น่าจะลงตัวกันที่ รสชาติ ครับ
ลป๑. ยังไม่ได้อ่านหนังสือเตรียมสอบสักตัว คงต้องใช่ "โชค"เยอะเลยครับ
...แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 2550 23:29:10
นณณ์ approve [ 25 ก.ย. 2550 23:27:22 ]
ความคิดเห็นที่: 20
เหอๆๆ   เดียวผมเข้ามาอ่านต่อแล้วกันนะครับ "สนุกดีครับ" มีเหตุมีผลทุกความคิดเห็นเลยครับ  ฮ้อยย..!!!
aqueous_andaman approve [ 25 ก.ย. 2550 23:34:22 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ใบยูคาฯ  สามารถสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณหลากหลายค่ะ
เห็นว่าการทำการสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่บริสุทธิ์ของยูคาฯ  นี่ทำได้ยากมาก
เพราะต้องใช้ตัวทำละลายที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการสกัดสูง


ส่วนเรื่องการปลูกพืชเชิงเดียว แบบเกษตรเข้มข้น
จริงๆ  แล้ว (ตามความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ)
ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะว่าจากที่เห็นมามันทำลายรากฐานระบบเกษตรของบ้านเราไปมาก

 ถ้าลองนึกดู เมื่อก่อนเงาะแพง ชาวบ้านก็แห่กันไปปลูกเงาะ รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกเงาะ
ทุเรียน ลองกอง ลำใย มะขาม แพง ก็แห่กันไปปลูก จนเดี๋ยวนี้ปลูกกันแทบจะทุกภาค
อร่อยไม่อร่อย ไม่รู้ ปลูกได้ไม่ได้ไม่รู้ ขอปลูกไว้ก่อน

 แต่ตอนนี้ผลที่ออกมาคือ ผลิตพวกนี้ล้นตลาด (supply มากกว่า demand)
ราคาตก แทบจะแจกกัน (ตอนนี้ทางใต้ขายมังคุดได้โลละ 5 บาทก็ถือว่าดีสุดๆ )
เพราะมันมีมากเกินไป มันเกินความต้องการ
คราวนี้ราคาตก คนปลูก เจ้าของสวนก็เจ๊ง รัฐบาลก็ต้องมาช่วย
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไปสนับสนุนให้เค้าปลูก


ญาติของคนรู้จักที่อยู่ทางใต้ เค้ามีสวนอยู่กลางป่า
สวนข้างๆ  เดี๋ยวก็หันไปปลูกกาแฟ เดี๋ยวแหไปปลูกทุเรียน
ยังไม่ทันจะได้ขายเอากำไร ราคาผลผลิตก็ตกซะแล้ว
ส่วนแกปลูกทุกอย่าง (สวนฉมรม) ปีนี้เงาะแพงขายเงาะได้เงน
อีกปีทุเรียนแพงก็ขายทุเรียน กาแฟแพงก็ขายกาแฟ

ไม่ร่ำรวยมหาศาล  แต่ไม่เคยต้องทุกข์ทนกับปัญญาราคาผลผลิตตกต่ำ
ไม่ต้องมานั่งทุกข์ใจเรื่องหนี้สิน เพราะไม่ต้องไปกู้เงินมาเพื่อปรับพื้นที่ทำเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว
 แต่อย่างนี้แกก็ส่งลูกเรียนจบปริญญาตรี ทำงานมีรายได้ทุกคน
 และแกก็สุขสบายไม่ต้องไปทุกร้อนเดินตามกระแสของโลกทุนนิยม


 และอยากบอกคุณนณณ์ว่า
ทุกคนคงจะมาเป็นชาวนาปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ไม่ได้
 แต่ชาวนาทุกคนทำแบบนี้พร้อมกันได้ค่ะ

บ้านยายอ้วนเองก็อยู่กับท้องไร่ท้องนา
พื้นที่นาที่บ้านแม้จะแล้งกันดาร
ปลูกข้าวเป็นพืชหลักได้อย่างเดียว แต่พวกเราก็ไม่ได้พึ่งพาแค่รายได้จากข้าว

เมื่อก่อนตอนที่พ่อกับแม่ยังมีเรี่ยวแรง
หลังบ้านของเราเลี้ยงหมู มีแม่พันธุ์ 3-4 ตัว เอาไว้ขายลูกๆ  
 ถ้าเหลือก็เลี้ยงไว้ขายเนื้อ
เลี้ยงเป็ด ไก่ ได้กินเนื้อกินไข่ พอขายพอกิน
มีวัว 7-8 ตัว ควาย 4-5 ตัว เอาไว้ขายลูก หรือ ถ้าเหลือก็เลี้ยงให้โตแล้วขายเนื้อ

ขี้วัว ขี้หมู พ่อก็เอาไปทำปุ๋ยใส่นา ข้าวที่นาของเราเลยงามน้ำหนักดีขายได้ราคา

รอบบ้านปลูกผักหลากหลาย ช่วงที่ชะอมงาม ก็ช่วยแม่ตัดชะอมไปขายในตลาดพอได้ค่าขนม
แถมยังเหลือหยอดกระปุกได้ซื้อตุ๊กตาตัวสวยๆ  มาเล่น
พริก มะกรูด มะนาว ตะไคร้ ใบกระเพราะ ก็ไม่เคยต้องหาซื้อเวลาจะผัดจะแกงบ้านยายอ้วนยังเคยปลูกกระเทียมกินเองด้วยนะคะ กระเทียมสดๆ  หอมๆ  อร่อยอย่าบอกใคร

ตำลึง กระถิน ริมรั้วมีให้กินทั้งปี ผลไม้ ฝรั่ง มะเฟือง ขนุน อ้อย ก็มีให้กินไม่มีเบื่อ

ในนามีข้าว นอกจากข้าวมีปู มีหอย มีกบ สระน้ำที่เอาไว้เก็บน้ำยามแล้ง
มีปลาให้กิน ให้ขายได้ ไม่อดอยาก


 ถ้าที่บ้านไม่มีอะไร เดินถามบ้านข้างๆ  ก็มี  และให้กันด้วยน้ำจิตน้ำใจไม่คิดสตางค์
หรือไม่ก็ขายด้วยราคาที่ไม่คิดกำไร

ที่บ้านยายอ้วนไม่มีมะม่วงมันอร่อยๆ   แต่บ้านเรามีขนุน
บ้านละแวกถัดไปเขาอยากกินขนุนเราก็ให้ แล้วฤดูมะม่วงเค้าก็เอามะม่วงมาให้เรา

นี่แหล่ะค่ะเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมของเราคนไทย
จริงๆ  ไม่ว่าภาคไหนก็คงไม่ต่างกัน

 ถ้าถามว่ายายอ้วนมีความสุขไหม มีความสุขมากค่ะ
เราไม่ได้ร่ำรวย มีธุรกิจเป็นของตัวเอง  แต่เราก็มีที่ดินทำมาหากินของเราเอง
บางครั้งยังรู้สึกว่าเรารวย  และมีความสุขกว่านักธุรกิจรวยๆ  เสียอีก
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 2550 02:59:43
ยายอ้วน approve [ 26 ก.ย. 2550 02:32:33 ]
ความคิดเห็นที่: 22
อ้อ... ยายอ้วนเคยไปดูงานที่บุรีรัมย์ ด้วยความบังเอิญ

ชาวบ้านในตำบลหนึ่ง เค้ารวมตัวกัน เพื่อจะอยู่รอดให้ได้กับระบบสังคม
และเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่นายทุนมักได้กำไรมากกว่าชาวนา

สุดท้ายเมื่อรวมตัวกันมาได้ 5 ปี
เค้ากลับรู้ว่า ที่ผ่านมาที่พวกเค้าปลูก แต่เข้า ใส่ปุ๋ยเคมี
รอฟ้า รอฝน เพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้พวกเค้าอยู่รอดได้

เค้าจึงเริ่มทำเกษตรผสมผสาน นำเทคโนโลยีมาพัฒนาการพื้นที่ปลูกข้าว
ใช้ภูมิปัญญาผันน้ำช่วยให้ข้าวในนางามแม้ไม่มีฝน
ในนาปลูกข้าว หลังบ้านปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา วัว ควาย หมู แล้ว แต่ว่าบ้านไหนจะสะดวก
มีที่ดินเหลือขุดสระเลี้ยงปลา มูลสัตว์เลี้ยงกับซังข้าวทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ และได้ขาย

ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยคิดจะปลูกเงาะ เพราะเห็นว่าที่ จ.ศรีษะเกษ เค้าปลูกได้ดี
แต่เมื่อพวกเค้าไปดูงานที่นั่น ได้รู้ว่าพื้นที่ของพวกเค้าไม่เหมาะสมที่จะปลูก
ก็เลยเลิกความคิด  และก็เป็นโชคดีที่ช่วงที่ผ่านมาราคาเงาะตกต่ำ

ตอนนี้เค้ารู้แล้วว่าพวกเค้ามีรายได้มากขึ้น  และรายจ่ายน้อยลง
ข้าวที่ปลูกโดยใช้วิธีชีวภาพแบบผสมผสาน ให้ปริมาณผลผลิตที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จากที่ได้พูดคุยกับชาวนา พวกเค้าภูมิใจที่ได้เป็นชาวนามากขึ้นกว่าก่อน
และมีความสุขกับรายได้ที่พอมีพอกิน
ยายอ้วน approve [ 26 ก.ย. 2550 02:45:07 ]
ความคิดเห็นที่: 23
เรายืนอยู่ตรงกลางพอดีน่ะ ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องใช้กระดาษมากมาย ตอนทำวิทยานิพนธ์ก็ผลาญไปเสียเป็นลังแลกความรู้ หรือการใช้เป็นอิเล็คทรอนิคไฟล์ ก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า อันมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ดี  และเราก็เลิกใช้ชีวิตอย่างนี้ไม่ได้เสียด้วยสิ
ทำได้แค่พอประทังการใช้ ให้คุ้มค่าที่สุด
ส่วนหนึ่ง ถ้ามองจากมุมมองของคนโลกทัศน์แคบอย่างเรา คงจะปฏิเสธไม่ให้ปลูกไปเลยได้ยาก ด้วยว่าจักเหมือนคนมือถือสากปากถือศีล  แต่จักคุมอย่างไรไม่ให้ปลูกไปทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยว่าความเสียหายคงไม่ได้มีแค่เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ  แต่จักมีเรื่องดิน เรื่องน้ำ อันจักต้องจัดการเป็นการใหญ่

เห็นทีตัวเราต้องเร่งสิกขากุ้งเต้น และเหาไม้บนบกแล้วกระมังเนี่ย ประเดี๋ยวมันล้มหายตายจากไปก่อน หมีดีหมีร้ายต้องเข้าไปเก็บในพม่า กัมพูชาแล้วคงลำบาก

เหมือนมีแฟนสองคนพร้อมกัน จะเลือกทางไหนก็ปวดใจทั้งนั้น.... เฮ้อออออออออออออ
หอยทากชรา approve [ 26 ก.ย. 2550 07:54:05 ]
ความคิดเห็นที่: 24
เห็นด้วยกับคุณ natee คห 16  และ คุณยายอ้วน คห 21-22
ประเทศเราสูญเสียสิ่งดีๆ  ไปมากมายนับไม่ถ้วนกับนโยบายพิมพ์เขียวของนักวิชาการที่ตามก้นอเมริกาโดยหลงลืมรากเหง้าของตัวเอง  แต่ละท้องที่ชาวบ้านมีการพัฒนาพันธุ์พืช และสัตว์ให้เหมาะกับสภาแวดล้อมนั้นๆ  อยู่แล้ว  แต่ทางการก็เอาพันธุ์ที่ตัวเองคิดว่าดีไปแนะนำส่งเสริมเหมือนกันทั้งประเทศทั้งๆ ที่ บางที่ไม่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมทำให้ต้องใช้ยา ใช้ปุ๋ยจากต่างประเทศ
ยุคหนึ่งกรมประมงนำปลาต่างถิ่นปล่อยลงทุกแหล่งน้ำทั่วประเทศ ทำให้ปลาท้องถิ่นหลายชนิดหายไป
กรมป่าไม้เอายูคาเข้ามา รัฐบาลที่แล้วมีนโยบายยางล้านไร่ ทำให้ป่าธรรมชาติหายไปมหาศาล
กรมชลประทานขุดลอกหนองธรรมชาติที่เคยมีผักพื้นบ้านหลากชนิด สัตว์น้ำนานาพันธุ์ที่ชาวบ้านเคยหาอยู่หากินอย่างอุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องเสียเงินต้องหายไป
อะไรคือการพัฒนา ?
หอยงวงท่อ approve [ 26 ก.ย. 2550 10:18:20 ]
ความคิดเห็นที่: 25
เอามาแปะ เพื่อเพิ่มความมันส์

http://www.bbc.co.uk/blogs/thereporters/markmardell/2007/09/tweet_wheat.html

EU เคยมีการ "จ้าง" ชาวไร่ ไม่ให้ผลิตเกิน คือปล่อยที่นาไว้ร้างๆ  บ้าง ปรากฎว่านอกจากได้ควบคุมผลผลิตแล้ว ยังทำให้เกิด "ที่อยู่" สำหรับสัตว์ด้วย ได้ biodiversity กลับมาเยอะเลย

เราไปนั่งพิจารณากันก่อนดีไหมครับ รอคุณนณณ์สอบเสร็จ จะขอเปิดกระทู้ว่ากันอีกที

ปล - พลาดไปหน่อยครับ จำได้สมัยเด็กๆ  ใช้ รสชาด เพราะ มีรส มีชาด (มีสีแดง) ปรากฎว่าบัญญัติใหม่ กลายเป็น รสชาติ ไปแล้ว คงเพราะเริ่มมีคน "กินชาติ" ได้ เลยรู้รสของการ กิน "ชาติ" ขึ้นมา เดี๋ยวนี้กินดาว(เทียม)ก็ได้ เอิ้ก เอิ้ก

ลป - บ้านคุณยายอ้วนอยู่แถวไหนครับ น่าไปเที่ยวจังเลย พาพวกเราไปดูงานหน่อยสิครับ
...แก้ไขเมื่อ 26 ก.ย. 2550 12:23:16
natee approve [ 26 ก.ย. 2550 12:17:15 ]
ความคิดเห็นที่: 26
อ่านแล้วต้องคิดเยอะๆ ครับ  มุมมองทุกคนก็มีเหตุมีผล  ว่า แต่ว่าทำไมชาวบ้านจึงปลูกหรือทำการเกษตรแบบตามๆ กันอะไรราคาดีไม่ต้องไปหาหมอดูหรือนักพยากรณ์ที่ไหนหรอกเราๆ ท่านๆ นี่ก็บอกได้ เดี๋ยวอีกปีสองปีราคามันก็จะถูกชนิดออกจากสวนก็ขาดทุน บางทีก็ไม่เก็บปล่อยเน่าขาดทุนน้อยกว่า  หรืออย่างฟาร์มกุ้งกุลาดำไงครับนาเลี้ยงสองปี 5ครอปแถมเลี้ยงหนาแน่นฟาร์มก็หนาแน่นอย่างกับสลัมกุ้งจุดจบก็อย่างที่เห็นๆ กัน
ก็คงมีคำถามว่าทำไมต้องแห่ปลูกแห่ผลิต ที่จริงชาวบ้านชาวสวนก็คงคิดแบบเดียวกันคงมีคนทำไม่มาก  แล้วหน่วยงานรัฐ คิดแค่ชาวบ้านหรืออย่างไร
ส่วนอุตสาหกรรมก็คงไม่ใช่ทิศทางที่น่ารังเกียจอะไรนัก ลองมองว่าเด็กชาวบ้านมีที่ดินโตมาทำเกษตรได้ก็เป็นเรื่องดี  เด็กเมืองอยู่ตึกแถวโตแล้วจะหาที่ดินได้อย่างไรก็คงต้องเดินไปสมัครงานโรงงานอุตสาหกรรมกินเงินเดือนไปสักบางส่วนพากเพียรเก็บงำคงมีวันที่มีที่ดินเป็นของสำหรับลูกหลาน แต่กว่าวันนั้นมาถึงคงไม่มีแรงยกจอบสับดินทำสิ่งที่ใฝ่ฝัน........นี่เรื่องจริงของคนบางคนหรือบางส่วนก็หมดแรงหมดฝันไปก่อน
ทำอย่างไรจึงจะมีทางสายกลางยูคาลิปตัสนี่ผมเคยเห็นแปลงทดลองแถบทุ่งกุลาร้องไห้หลายๆ แปลงมันแล้งขนาดวัวกินยอดยูคาได้ทั้งๆ ที่หลายๆ ข้อมูลบอกว่ายูคาไม่ควรปลูกในเมืองไทย   ถ้าผมเป็นวัวผมน่าจะขอบคุณที่มียูคาดีกว่าไม่มีอะไรกิน
อรรถ [ 26 ก.ย. 2550 12:40:17 ]
ความคิดเห็นที่: 27
"พอเพียง..น่าจะเพียงพอ" นะคะ
เนตรนภิศ approve [ 26 ก.ย. 2550 18:08:24 ]
ความคิดเห็นที่: 28
ไม่เคยคิดรังเกียจยูคาฯ   แต่นั่นแหละ หลักง่ายๆ คือ  ถ้ามีอะไรมากเกินไป ก็เป็นพิษ  หลักเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นการอธิบายพฤติกรรมของคนเท่านั้น อย่าใช้มันกำหนดชีวิตคน เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง มักวัดที่ต้นทุนที่แปลงค่าเป็นตัวเงิน โดยมีการตีค่าทรัพยากรต่ำกว่าความเป็นจริง โดยคิดจากมูลค่าที่คนกำหนดขณะนั้นไม่ได้คิดถึงผลกระทบต่อเนื่องของการสูญเสียทรัพยากรนั้นๆ  ดังนั้นคำตอบจากการใช้หลักเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมย่อมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเสมอ(โดยเฉพาะในประเทศไทย) งั้นผมลองยกตัวอย่างเชิงเดี่ยว..ให้เมืองไทยไม่ต้องทำลายป่าเพิ่มจากปัจจุบันด้วย  แต่ให้ปลูกยูคาลิปตัสในพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ แล้วมันยังเป็นการมีประสิทธิถาพสูงสุดอยู่หรือไม่   แต่ ถ้าผมจะยกตัวอย่างแค่นี้ หลายคนก็ต้องแย้งว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะปลูก แต่ยูคาฯ ทั้งประเทศ งั้นลองปลูกยูคาฯ ในพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลังเพื่อสนองการโปรโมทไหมล่ะ ไหนๆ ก็บอกว่ามันดีกว่าปลูกมันฯ  คิดว่าราคาจะยืนได้อย่างที่บอกไหม  อ่ะ..สมมติว่ามีการบริโภคกระดาษเพิ่มขึ้นทั่วโลก มันเลยส่งออกกระดาษได้อีก เลยยืนราคาประกันได้ คนปลูกก็ได้ตังค์ คราวนี้ตามธรรมเนียมแบบบ้านเรา ก็เลยขอถางที่ปลูกพืชอื่นแล้วมาปลูกยูคาฯ บ้าง ปัญหากกลับมาสู่วงจรเดิมๆ

ผมไม่ขัดข้องหรอกสำหรับยูคาฯ   แต่ขอเหอะ..อย่าเห็นมันเป็นพระเจ้าเลย  ผมไม่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุด  แต่ขอสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเรา
knotsnake approve [ 26 ก.ย. 2550 23:02:28 ]
ความคิดเห็นที่: 29
ได้ยิน และได้สัมผัสมานานแล้วสำหรับเรื่องยูคา
อย่างอื่นคงพูดได้ไม่ชัดเจน  แต่ที่ช้างสุรินทร์ไม่มีหญ้ากินอยู่ทุกวันนี้
ก็เพราะโครงการ "อีสารเขียว" เร่งปลูกยูคาทดแทนพื้นที่ป่าทรุดโทรม

เขียวยูคาฯ   แต่หญ้า  และต้นไม้อื่นๆ  ไม่มี ช้างไม่กินใบยูคา  และก็ไม่มีพืชอย่างอื่นให้กิน
ควาญช้างปลูกข้าวเลี้ยงตัว  แต่ไม่พอเลี้ยงช้าง
ยามหมดหน้าทำนาก็ต้องพาช้างตระเวนออกมาหาเงิน
เคยถามพวกเค้า (ควาญ) เค้าบอกว่าไม่มีใครคิดอยากจะออกมาอยู่นอกแผ่นดินเกิดกันหรอก
แต่เมื่ออยู่แล้วแม้ไม่อดตาย  แต่ช้างอด เค้าเป็นควาญโดยเลือดเนื้อ
ไม่อาจปล่อยให้ช้างอดตายต่อหน้า ต่อตาได้หรอกค่ะ
คิดแล้วเศร้าใจ
ยายอ้วน approve [ 26 ก.ย. 2550 23:32:44 ]
ความคิดเห็นที่: 30
พี่ยายอ้วน พูดแล้วอยากกลับบ้านจังเลย  "พฤศจิกาปีนี้กลับบ้านไปงานช้างดีกว่า"  เห่อ...
aqueous_andaman approve [ 26 ก.ย. 2550 23:40:23 ]
ความคิดเห็นที่: 31
อ่านเหนื่อยเลยครับ ชอบความคิดเห็นที่หลากหลาย ผมเองคิดไม่ได้อย่างนั้น คือคิดไม่ได้ลึกซึ้งอย่างนั้นนะครับ ที่อ่านมาพอจะเข้าใจตรงที่ คุณ ยายอ้วน  บอกเล่ามา ทำให้นึกถึงหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างจริงๆ  ขอบคุณครับ
JJ approve [ 27 ก.ย. 2550 08:40:25 ]
ความคิดเห็นที่: 32
กระทู้นี้ก็คงบอกอะไรให้เราระลึกได้บ้าง
http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=8377
knotsnake approve [ 27 ก.ย. 2550 14:58:08 ]
ความคิดเห็นที่: 33
ตอบคุณ natee ขอโทษนะคะที่ช้าไปหน่อย

บ้านยายอ้วนอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ  กลางทุ่งนา ที่จังหวัดสุรินทร์ค่ะ
เดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ไม่มีแรง เลี้ยงหมู วัว ควาย ไก่ เป็ด
ยายอ้วนก็มาเรียนอยู่กทม. เลยไม่มีใครช่วยแก
เมื่อตอนเด็กๆ  ตื่นเช้าก็พาวัวออกไปกินหญ้า ให้ข้าวหมู
เย็นๆ  กลับมาก็จูงวัวเข้าคอก
หน้าแล้ง ก็ตามแม่ไปขุดหอย ขุดปู เก็บผักนามาทำกับข้าวกิน
ถึงเดี๋ยวนี้จะไม่ค่อยได้มีโอกาสทำอย่างนี้แล้ว

แต่เรือกสวน ไร่นา ของชาวบ้านแถบนี้ ก็ยังมีวิถีคล้ายกันอย่างนี้ค่ะ
...แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 2550 21:12:46
ยายอ้วน approve [ 27 ก.ย. 2550 20:35:07 ]
ความคิดเห็นที่: 34
ผมติด siamensis เพราะการแสดงออกซึ่ง เหตุผลต่อกันแบบนี้แหละครับ อ่านแล้วมันให้มุมมองที่กว้างขึ้น และสามารถต่อยอดทางความคิดได้เรื่อยๆ  ไว้จะรอติดตามตอนต่อไปปครับ อย่าให้รอนานนะครับ
ปลาคาบของ approve [ 27 ก.ย. 2550 21:39:50 ]
ความคิดเห็นที่: 35
ป่าเสื่อมโทรมไม่มีหรอกครับ ธรรมชาติมันฟื้นตัวของมัน
เองได้ บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อจะหาเรื่องเอาพื้นที่ป่าธรรมชาติไปทำอย่างอื่นเพื่อผลประโยชน์
ทางการเมืองมากกว่า
หอยงวงท่อ approve [ 29 ก.ย. 2550 16:26:06 ]
ความคิดเห็นที่: 36
ขอตอบข้อสงสัยทุกคำถามนะครับ ต้นกระดาษ AA คือ ไม้ยูคาลิปตัส ที่ผ่านการวิจัยมากว่า 25 ปี จนปัจจุบัน ได้กล้าพันธุ์ดี ที่สามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้น ดินเค็ม ที่มองเห็นเป็นเกลือสีขาวๆ เด่นชัด ลักษณะกล้าแข็งแรง ไม่มีรากแก้ว เนื่องจากทางบริษัทขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงได้ลักษณะเหมือนกันทุกต้น เจริญเติบโตสม่ำเสมอกัน  และยังโตเร็วกว่าไม้ยูฯ ทั่วไป สามารถตัดขายได้ ภายในระยะเวลา 3-5 ปี ให้ผลผลิตสูง สามารถปลูกร่วมกับพืชอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นนาข้าว ไร่อ้อย มัน พริก ถั่ว งา ข้าวโพด ฯ ลฯ  เนื่องจากต้นกระดาษ ไม่มีรากแก้ว ลักษณะรากของต้นกล้าจะทิ้งตั้วลงในแนวดิ่ง ไม่แผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง เหมือนไม้ยูฯ ทั่วไป ส่วนเรื่องที่ดูดกินธาตุอาหาร หรือว่าน้ำ นั้น จากการวิจัย ต้นกระดาษดูดน้ำน้อยกว่า กล้วยที่เราปลูกทั่วไปเสียอีก น้อยกว่า อ้อย มันสัมปะหลัง กระถินณรงค์ เสียอีก การดูแลรักษาง่าย แค่ระวังไฟไหม้ย่างเดียวก็พอ ใส่ปุ๋ยบ้างช่วงหลังปลูก  และก็ทำแนวกันไฟ ในหน้าแล้ง ใครมีข้อสงสัย โทรมาได้ครับ ที่เบอร์ 1759 หรือ ถ้าอยู่โซน นครราชสีมา ชัยภูมิ โทรมาเบอร์มือถือสอบถามได้ครับที่เบอรื 0899113411 ยินดีให้คำแนะนำครับ
ooNoNoo [ 04 ต.ค. 2550 17:17:52 ]
ความคิดเห็นที่: 37
คุณooNoNoo  ลองอ่านปัญหาข้างต้นอยู่ยังครับ    อย่างเรื่องของสารเคมีในใบยูคาฯ  เมื่อมันร่วงลงใน แต่ละพื้นที่ มันเป็นอันตราย หรือมีผลกระทบอย่างไร เป็นต้น  ส่วนเรื่องสายพันธุ์  การเจริญเติบโต ผมพอจะทราบบ้าง เพราะเคยซื้อมาปลูก( แต่น้ำท่วมตายแล้ว)
                                 

                                                           ขอบคุณครับ
electron approve [ 04 ต.ค. 2550 20:52:40 ]
ความคิดเห็นที่: 38
อืม..คิดง่ายดีเนอะ ที่บอกว่ายูคาฯ พันธุ์ AA ดูดน้ำน้อยกว่ากล้วย เป็นการให้ความจริงเชิงบิดเบือนอย่างร้ายแรงขอรับ แน่นอนว่าต้น AA ดูดน้ำน้อยกว่ากล้วย เพราะถิ่นดั้งเดิมของมันก็คงไม่มีน้ำให้ดูดมกมายอยู่แล้วแล้วสิ่งที่มันให้คืนพื้นดินมีอะไรบ้างขอรับ ผมยังไม่เคยเห็นกล้วยที่ไหนดูดน้ำแล้วดินแห้งเลยนะขอรับแม้ว่าจะเป็นหน้าแล้ง   แต่ ถ้าจะเทียบกับมันสำปะหลังผมก็คงจะไม่ขัดข้อง  แต่หากชาวไร่มันฯ ใช้พื้นที่เป็น ผมว่าเราจะใช้ดินได้ยั่งยืนเหมือนกัน

ผมเชื่อ..ว่าคุณ ooNoNoo บอกความจริงมาทั้งนั้น  แต่เป็นการยกความจริงในส่วนดีมาเท่านั้น คุณให้ข้อมูลในเชิงเส้นตรงเช่นเดียวกับ 1+1=2 หรือหากเขียนสมการก็คงอยู่ในรูป Y = a+bX ซึ่ง ในธรรมชาตินั้นไม่มีความสัมพันธ์ใดเป็นเส้นตรงหรอก เส้นตรงที่เห็นนั้นเป็นการมองระยะสั้น อย่างผิวโลก หากเรมองในระยะ200 เมตร ก็เห็นเป็นแนวระนาบตรง  แต่คุณจะมองเห็นพื้นผิวไปได้ไม่เกิน 10 กม.หรอกหากยืนมองจากระนาบเดียวกัน(ระยะจริงเท่าไหร่จำไม่ได้  แต่ไม่เกินนี้)

มาย้ำว่าไม่ได้ห้ามปลูก AA  แต่ขอให้ไม่เกินระดับที่เหมาะสมกับประเทศไทย
knotsnake approve [ 05 ต.ค. 2550 10:19:00 ]
ความคิดเห็นที่: 39
อืม.... เข้ามาแสดงความเห็นบ้างดีกว่า ช่วงนี้มิใคร่ได้แวะเวียนเข้ามาด้วยว่ากิจนิมนต์นั้นรัดรึง (ห้ามใช้ ล. ลิง) เหลือเกิน เท่าที่อ่านๆ  มา กระผมเห็นด้วยกับ knotsnake ขรัวท่าน ด้วยว่า ที่เรากำลัง "ถก" ประเด็นกันอยู่นี้มิใช่ว่าจักมิให้ปลูก  แต่อยากให้ดูระดับความเหมาะสม เพราะเท่าที่กระผมสังเกตแถวตะวันออก ก็มีเยอะที่มาปลูกต้นกระดาษ  แต่อยากถามว่า เราได้มีระบบการจัดการที่ดีหรือไม่ หรือว่าเป็นเพียงการจัดการที่เป็นแบบ fake (เหมือนการถ่ายภาพที่บางครั้งต้องการให้รูปออกมาดูดีก็ย่อมต้องมีการจัดฉากบ้าง) ที่กระผมกังวลน่ะ ไม่ได้กังวลเรื่องน้ำเรื่องท่าหรอกขอรับ ด้วยว่าที่ท่าน ooNoNoo (ชื่อท่านเพราะดี เป็น parindrom คืออ่านไปหน้ากับย้อนหลังได้คำเหมือนกัน ซึ่ง อาจจะบอกนัยอะไรบางอย่างได้ กระมัง)  ด้วยว่ากล้วเป็นพืชอวบน้ำ ด้วยว่าต้น กาบ มันก็มีน้ำเยอะ ยูคา (uca ตรงข้ามกับ Imaica (ไอไม่คา) ) มันคงไม่อวบน้ำกระมัง เอาเถิดเรื่องมันมิเกี่ยวข้องกัน ที่กระผมกลัวคือว่า เจ้าพวกสารเคมีที่ต้นกระดาษมันทิ้งไว้ในใบเวลาใบหล่น,มากว่าขอรับ ไม่แน่ใจว่าเรียกว่า alleopathy หรือป่าว  แต่กระผมชอบเรียก อัลลีโลคาที่ ด้วยว่ามีที่ใด ต้นไม้อื่นตายเรียบ ถามว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารเคมีเหล่านี้ ต่อสิ่งมีชีวิตที่เคย  และ/หรือ ยังอยู่ในบริเวณนั้นจักเป็นเยี่ยงไร มีผลกระทบแค่ไหน  และความหลากหลายทางชีวภาพของเราจักหายไปเท่าใด  ถ้าการจัดการมิได้ดีพอ รวมถึงการเสื่อมโทรมของดิน เนื่องจากปลูกพืชชนิดเดียวกันตลอด นานๆ  ไปอาจจะทำให้เดินเสื่อมสภาพได้ แล้ว ถ้าพื้นที่แถบนั้นใช้ปลูกต้นยูคามิได้แล้วไซร้ จักเอาไปทำเยี่ยงไรได้อีกเล่า หรือว่าเวียนที่ไปเรื่อยๆ   ขอรับ  มิทราบว่าท่าน ooNoNoo พอจักอรรถาธิบายประเด็นนี้ได้ให้หายเป็นห่วงหน่อยได้หรือไม่ขอรับ เรื่องของธุรกิจ ก็คือเรื่องของธุรกิจ ยากที่จักหาจุดเชื่อมโยงระหว่างการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน และธุรกิจให้มาพบจบกันได้ (กระผมเชื่อว่าอย่างนั้น) กระผมเคยเห็นมาก็หลายที่ ที่ว่าเบื้องหน้านั้นภาพลักษณ์ออกมาดูดี  แต่ภายในนั้นเล่า อันนี้พูดมากก็ไม่ดี    อ้อ กระผมมิได้ว่า บริษัทของท่าน ooNoNoo นะขอรับ แค่เปรียบเปรย ด้วยความเห็นส่วนตัว
 ก็ไม่ทราบว่าท่าน ooNoNoo จักแวะเวียนมาอ่านกระทู้อีกหรือไม่ ก็ได้ แต่บ่นไปตามเรื่องตามราว ตามประสาหอยทากแก่ๆ  ตัวหนึ่งขอรับ ต้องขออภัย ถ้าแสดงความเห็นใดในทางเขลา ด้วยว่ามิใคร่มีความรู้เรื่องพืชสักเท่าใด
หอยทากชรา approve [ 06 ต.ค. 2550 09:28:47 ]
ความคิดเห็นที่: 40
มาเห็นด้วยกับพี่น้อทอีกคนค่ะ
รอให้คุณ โอโนโน่ มาตอบคำถามของพวกเราอยู่นะคะ
ยายอ้วน approve [ 07 ต.ค. 2550 04:10:01 ]
ความคิดเห็นที่: 41
ก๊อปมาจากเทรคกิ้งไทย

เมื่อวานพึ่งเห็นโฆษณาในทีวี

มันมีใจความประมาณว่า เชิญชวนให้ทุกคนปลูกต้นกระดาษดับเบิ้ลเอ ผมก็งงว่า ต้นไม้อะไรหว่า

ปลูกแล้วจะรวย  ต้นอะไรหว่าทำไม่ไม่ยอมใช้ชื่อต้นไม้จริงๆ นึกว่าประมาณจะทำโฆษณาแบบขำๆ

ให้เป็นกิมมิคเป็นทอล์คออ๊ฟเดอะทาวน์เล่นๆ

 แต่พอมองชัดๆ อีกครั้งเพราะมันโผล่มาแวปเดียว ก็อ๋อ.................เลย

ต้นยูคาลิปตัสนี่เอง

ก็เลยถึงบางอ้อทันที

ที่เขาไม่ยอมใช้ชื่อชัดๆ จริงๆ เพราะสาเหตุน่าจะมาจาก ต้นยูคา เป็นต้นไม้ที่หญ้าคายังกลัว

สาเหตุก็มาจากในใบยูคามีเคมีมีน้ำมันที่เราสกัดเอามาทำน้ำมันยูคาลิปตัสในยาดม

เมื่อใบของมันร่วงลงดินน้ำมันในใบของมันนั้นจะคลุมดินเอาไว้ และสารเคมี..น้ำมันต่างๆ ..ละลายออกมาทำให้ต้นไม้

 สัตว์ที่อาศัยอยู่บนดิน และใต้ดินกระเจิงหายหมดเพราะอยู่ไม่ได้    

 และเมื่อปลูกทิ้งไว้นานๆ

ผืนดินผืนนั้นจะใช้ปลูกอะไรไม่ได้อีกนอกจากยูคาเท่านั้น

เหมือนนากุ้ง ที่วอดวายเรียบร้อยแล้ว


แล้วเราควรจะสนับสนุนโรงงานกระดาษโรงนี้มั้ยเนี่ย  เพราะมันจะทำลายพื้นดินทั้งหมด

ตัวผมเองอยู่ในเมืองไม่เท่าไหร่เพราะไม่ได้ปลูก  แต่ชาวบ้านตาดำๆ ทีไม่รู้อิโหน่อิเหน่จะทำไงล่ะ

ชิวิตนี้มีที่ดิน20ไร่ปลูกยูคาได้10-20ปีที่เหลือปลูกอะไรไม่ได้แล้วพื้นดินประเทศไทยไม่ซิ...หายวายวอดหมดรึนี่

ช่วยกันคิดหน่อยสิ


******เรื่องนี้ผมว่าทางบริษัทกระดาษรู้อยู่เต็มอกนั่นแหละ  

 ถึงผลกระทบที่จะเกิดในอนาคต ถึงไม่ยอมใช้ชื่อยูคาให้เต็มปากเต็มคำ******
55 [ 10 ต.ค. 2550 13:04:15 ]
ความคิดเห็นที่: 42
ผมว่า ก็ต้องคุยกันยาวเลย  แถวบ้านผมเต็มไปด้วยป่าAA ไปหมดแล้ว   ถ้าไปปลูกเอง บริษัทก็จะมาซื้อที่ซะเอง แล้วก็ปลูก

ผมมีเพื่อนทำงานที่นั้น ยังไงจะลองสอบถามให้อีกแรงขอรับ
electron approve [ 11 ต.ค. 2550 00:49:38 ]
ความคิดเห็นที่: 43
เท่าที่ผมปลูกพันธ์ K7 ก็ไม่ได้เสียหายอะไรเลยปลูกบนคันนา ข้าวก็ได้เก็บเกี่ยวทุกปีผลผลิตก็เหมือนเดิม แถมยังได้ตัดยูคาขายอีก ส่วนที่ปลูกในไร่ ปลูก 5X3 ตามร่องก็ปลูกมันสำปะหลังแซมลงไป มันก็ให้ผลผลิตดี เพียงแค่ดูแลให้ดีแค่นั้นเอง
MCP [ 11 ต.ค. 2550 09:49:46 ]
ความคิดเห็นที่: 44
^
^
^
กรณีปลูกแซมแล้วได้ผลอย่างนั้น ผมก็ไม่ได้ขัดข้องเรื่องการปลูกแซมครับ(ว่าไปแล้วก็ไม่ขัด แต่แรก) สิ่งที่ห่วงคือการปลูกเชิงเดี่ยวในปริมาณที่สูงเกินต่างหากที่ยังกังวล
knotsnake approve [ 11 ต.ค. 2550 11:49:10 ]
ความคิดเห็นที่: 45
อ่านความเห็นของหลายท่านแล้วมีความคิดที่ให้แง่คิดหลายๆ ด้าน  แต่ที่ต้องมาอ่านเพราะน้องสาวเค้ามีความคิดว่าจะปลูกต้นกระดาษเอเอ เราก็สงสัยว่าต้นกระดาษเอเอ มันเป็นต้นอะไรเป็นแบบไหนไม่เคยเห็น  แถวบ้านเราก็ไม่มีใครปลูกกัน จะเห็นปลูกก็ แต่ต้นยูคาเท่านั้น พอมาอ่านแล้วถึงบางอ้อเลย ที่แท้ข้างๆ  สวนเราก็มีปลูกนี่
ที่สวนเราปลูกผลไม้ หลายอย่างมาก ปลูกไว้กิน เหลือก็แจกเพื่อนบ้าง ขายบ้าง มีผลไม้กินทั้งปี เพราะปลูกหลายๆ  อย่างจะออกผลไม่พร้อมกัน เช่น มะม่วง ขนุน มะพร้าวน้ำหอม ลำใย ส้มโอ ชมพู ทับทิม น้อยหน่า มะกอกน้ำ ฯ ลฯ   และ แบ่งที่ ครึ่งหนึ่งทำนาข้าว  ซึ่ง ก็ได้ผลดี  แต่ อยู่มาไม่นานก็มีนายทุนมาเช่าที่ข้างๆ  ปลูกต้นยูคา สวนผลไม้ ที่อยูใกล้สวนยูคา ไม่งอกงามเหมือน แต่ก่อน มันค่อย เหี่ยว แล้วก็แคระแกน ไม่ได้กินผล เราจึงไปซื้อ ต้นมะขามเทศมาปลูก ตามแนวรั้ว ด้านที่ติดกับสวนยูคา เพื่อกั้นรากของมันไม่ให้ รุกลามเข้ามาในสวนผลไม้เรามากไปกว่านี้ ปรากฏว่า ต้นมะขามเทศไม่งาม และไม่ได้ผล ส่วนหญ้าในสวนของเราไม่ขึ้น เลย ซึ่ง มีระยะห่างจากสวนยูคาประมาณ 100 เมตร  และต้นมะขามเทศไม่เคยได้กินผลแบบสมบูรณ์เลย ซึ่ง น่าจะมีผลมาจากใบยูคาร่วงมาใส่ ซึ่ง ความคิดที่น้องสาวเราจะปลูกต้นกระดาษเอเอ เป็นอันต้องหยุด เพราะมันก็คือ ต้นยูคานี่เอง ขอบคุณ ที่ได้เข้ามาอ่าน เว็ปนี้ ปกติไม่ค่อยได้เข้ามาอ่าน คิดว่ามีประโยชน์มาก อ่านแล้วชอบ ต่อไปคงจะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ  ขอบคุณทุกความคิดเห็น
Mai
Korat
Mai [ 19 ต.ค. 2550 16:02:48 ]
sommai@mqk.co.th
ความคิดเห็นที่: 46
ที่อยู่ของข้อมูลต้องชัดกว่านี้  ขอบคุณ
DoN [ 03 พ.ย. 2550 21:06:39 ]
dondago@sanook.com
ความคิดเห็นที่: 47
ที่อยู่ของข้อมูลต้องชัดกว่านี้  ขอบคุณ
DoN [ 03 พ.ย. 2550 21:08:46 ]
Dondagon@sanook.com
ความคิดเห็นที่: 48
ยูคาอยู่ที่ ออสเตเลียมานานเกือบล้านปีแล้วเกาะออสเตเลียก็ยังอยู่เหมือนเดิม
รำคาญคนเมืองจิงๆ  ดี แต่โม้ และบ่น ของดีๆ ไม่รู้จักเอามาใช้ เฮ่อ
แอบเบอลิจิน [ 26 พ.ย. 2550 18:10:25 ]
jubtjang@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 49
อยากรู้จักต้นกระดาษชอบดินแบบไหน จะชอบน้ำมากไหม  และแดดล่ะจะชอบหรือเปล่า ใครก็ได้ช่วยบอกที....รอคำตอบอยู่นะคะ
จากคนไม่รู้ [ 28 ธ.ค. 2550 20:54:54 ]
ความคิดเห็นที่: 50
จริงๆ แล้วคนที่เป็นฝ่ายวิจัยผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ไม่ว่าจะจากพืช-สัตว์ต่างถิ่น หรือว่าโครงการก่อสร้างต่างๆ ) ควรเป็นหน่วยงานอิสระ (อาจเป็นหน่วยงานหรือองค์กรผสมระหว่างรัฐบาล-NGOs) เพราะจากข้อมูลต้นกระดาษที่ Double A ให้ ก็น่าจะเป็นข้อมูลที่ทางบริษัทเป็นฝ่ายประกาศ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ระดับไหน เป็นจริงรึเปล่า การปล่อยให้เป็นเรื่องข่าวลือว่าดีแบบนั้น หรือไม่ดีแบบนี้ กลับกลายเป็นเรื่องดีของทางบริษัท กว่ารัฐบาลหรือประชาชนจะรู้ตัวทัน ที่ดินบ้านเค้าอาจจะแห้งผากไปแล้ว ทำไมเมืองไทยเป็นแบบนี้ทุกทีเลย ดูสุวรรณภมิสิ คิดได้ยังไงเอาสนามบินไปวางไว้ในพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งอยู่อาศัยของนก แถมมีดินอ่อนนุ่มอีก คนทำประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็เป็นรัฐบาล แล้วรัฐบาลจะสร้าง แล้วใครจะไปหยุดได้
กลับมาว่าที่ต้นกระดาษ อยากให้หน่วยงานอย่างกระทรวงเกษตรเข้ามาดูอย่างจริงจัง เนื่องจากบ้านเราอุตสาหกรรมกระดาษโตเร็วมาก หากไม่ประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง อาจจะสายเกินแก้ได้
ไผ่ [ 08 ม.ค. 2551 17:10:37 ]
polaromonas@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 51
ต้นดั๊บเบิ้ล เอ คือ ต้นยูคาที่พัฒนาสายพันธุ์  แต่บางคนก็ยังคงคิดว่ามันเป็นต้นยูคาดั้งเดิมอยู่ดี
ทาง AA เค้าทุ่มเงินไปหลายร้อยล้านในการพัฒนาวิจัย
แต่คนก้อยังคิดว่ามันเป็นต้นยูคา ที่ให้ผลร้ายอยู่นั่นแหล่ะ
กบหนอกบ

ก็ปลูกอ้อย ปลูกมัน กันเข้าไปละกัน... กำไรก็น้อย กินดินก็เยอะ...
ช่วยคิด [ 13 ก.พ. 2551 16:30:22 ]
amnaj_b@thaimail.com
ความคิดเห็นที่: 52
เข้าใจว่าคนที่มีอคติต่อต้นยูคาลิปตัสแบบเก่าๆ ก็เพราะเขายังไม่รู้จักต้นกระดาษดับเบิ้ลเอดี ต้นกระดาษดับเบิ้ลเอเขา
ปลูกกันทั่วบ้านทั่วเมือง เป็นสายพันธุ์ใหม่ไม่มีรากแก้ว ก่อนที่จะวิจารณ์อะไรขอให้ดูข้อมูลก่อนนะครับ ผมทำงานกับ
บริษัทนี้
ถ้ามีผู้สนใจที่จะปลูกหรือต้องการคำแนะนำก็โทรมาปรึกษาได้นะครับ เบอร์ 081-3729029  เพราะว่าปลูกแล้วได้รายได้เสริมครอบครัวจริงๆ  ปลูกอะไรก็ดีหมดนะครับ อยู่ที่ว่าเขาจะเลือกปลูกอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อเขามากที่สุด
สมมติว่าคุณมีที่ว่างเปล่าสัก 10 ไร่ ไม่เคยได้ทำอะไรมันเลยซักครั้งปล่อยเสียภาษีเล่นๆ ลองหาอะไรปลูกเข้าไปสิครับ
อย่างน้อยมันก็สร้างรายได้ให้คุณบ้างนอกเสียจากว่าคุณขี้เกียจทำมันเท่านั้นเองคุณก็จะไม่ได้อะไรจากดินที่ว่างเปล่านั้นเลย อีกประเด็นที่บอกว่าปลูกต้นกระดาษแล้วดินเสีย ผมสัมผัสกับชาวบ้านจริงๆ ไม่ได้นั่งแป้นพิมพ์ ในออฟฟิต ผมรู้ดีที่สุดว่าปลูกแล้วทำให้ดินเสียหรือไม่ ปลูกข้าวไม่ได้เหรอ ปล่าวครับ ผมเจอชาวบ้าน เกษตรกรเขาก็ต้อนรับผมดีทุกคนไม่เห็นมีใครไล่ผมออกจากบ้านเพราะผมไปบอกให้เขาปลูกต้นกระดาษหรอกครับ มี แต่เขาภูมิใจว่าอย่างน้อย 3-5 ปี เขาก็มีรายได้จากการปลูกต้นกระดาษดับเบิ้ลเอ ครับ  ถ้ามีใครมีความเห็นแย้งจากนี้ก็ได้  ถ้าคุณมาสัมผัสเกษตรกรที่ปลูกต้นกระดาษกับผมจริงๆ  คุณกล้าไปกับผมไหมละครับ ผมรับประกันได้คุณจะโดนด่ากลับมาด้วยซ้ำไป
AA [ 22 มี.ค. 2551 18:27:32 ]
yuttana_madee@yahoo.com
ความคิดเห็นที่: 53
คุณ AA พูดถูกนะครับ เพราะชาวบ้านที่เค้าปลูกกัน เค้าไม่รู้หรอกอินเตอร์เนตคืออะไร  ถ้าเค้าตอบได้เค้าก็เล่นงานพวกที่คัดค้านแนนอน ยิ่งชาวอิสานรวมทั้งผม ไม่ได้มีรายได้จากที่อื่นมี แต่ที่ป่าที่นาที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงชีวิต ทำสวนทำนาไม่เห็นร่ำรวยกับใคร เมื่อเจอยูคาที่เค้าบอกว่าปลูกแล้วรวย  และมันก็ขายได้จริงในเวลาไม่กี่ปี แถมไม่ต้องดูแลอะไรเยอะเหมือนยาง เค้าก็ปลูกสิครับ  ถ้าบอกว่าอีกหน่อยเหลนโหลนจะไม่สามารถทำอะไรจากดินแปลงนี้ได้ จริงหรือครับ เหลนโหลนจะงอมืองอเท้าเอามรดกชิ้นยอดอย่างนั้นเหรอ ก็ปรับปรุงใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ไปสิ ดีแล้วที่ปู่ย่า ตาทวดมีที่ดินใว้ให้  แต่ที่แน่ๆ ลูกหลานตาดำๆ ที่มีชีวิตอยู่ตอนนี้ก็ไม่อดอยากเท่าที่ควร
nook [ 24 มี.ค. 2551 22:26:27 ]
ความคิดเห็นที่: 54
อีกหน่อยก็ได้กินกระดาษแทนข้าวเชื่อเราดิ
เพราะว่า เดี๋ยวนี้พวกนายทุนมันไปซื้อที่นามาปลูกต้นยูคาลิปตัสเนี้ยแหละ
แถมจะต้องเอาที่ติดคลองชลประทานด้วย แถวนครปฐมเนี้ยแหละไม่ใกล้ไม่ไกลมากด้วย
แถว ดอนตูม ตอนหวาย เนี้ยแหละ
สงสารคนไทย [ 09 เม.ย. 2551 11:06:21 ]
ความคิดเห็นที่: 55
เป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังสนใจในการปลูกต้นกระดาษ   และไม่เชื่อหรอกเกี่ยวกับสภาพที่ไม่สมดุลในสภาพแวดล้อม  อยู่นครปฐม ใครมีข้อมูลเกี้ยวกับการหาต้นกล้า การปลูก ดูแลรักษา  แผ้มีประสบการณ์   ขอข้อมูลด้วยครับ
satthakon [ 19 เม.ย. 2551 09:13:44 ]
satthakon@hotmali.com
ความคิดเห็นที่: 56
ทุ่งกุลาร้องให้ เมื่อก่อนแล้งมาก เหมือนทะเลทราย พอเอาต้นกระดาษไปปลูกตามคันนา 10 ปีให้หลัง ไปดูสิ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญอีกแห่งของประเทศไทย ข้าวที่ปลูกร่วมกับต้นกระดาษก็ไม่เห็นมีผลเสียอะไร คุณลองไปตัดของเค้าทิ้งสิ รับรอง ชาวบ้านเอาคุณตายแน่ เพราะไปทำลายค่าปุ๋ยค่ายา ค่าแรงขอเค้า ทำไมถึงพูดแบบนี้ ก็เพราะเค้าเอาต้นกระดาษที่ปลูกตามคันนาไปขายเอาเงินมาซื้อปุ๋ย ซื้อยา มาใส่นาข้าวของเค้ายังไงละ
จริงๆครับ [ 25 เม.ย. 2551 13:23:42 ]
ความคิดเห็นที่: 57
ครั้งแรกก็คิดจะปลูกครับจัดแจงหาซื้อที่ซื้อทางเลยละก็กะจะปลูกแบบผสมผสานไปเสาะหาที่เค้าปลูกแบบที่เราจะทำ
โอ๊ยๆๆๆๆ ไม่ใช่ผมร้อง แต่เป็นคนที่ปลูกที่ผมไปศึกษานี่แหละปลูกแซมต้นมะขามหวานมี แต่ต้นจริงๆ เลยไม่รู้ว่าม้นหวานจิรงหรือเปล่าอันนี้เจ้าของพูด ในสวนมะม่วงใบมะม่วงก็หงิกเหลือเท่าใบยูคานั่นแหละยังๆ ใครบอกมันกินน้อย
เมื่อก่อนในร่องพริกนำข้งจะขอดบ้าง แต่ก็ไม่แห้งพอมันโตตอนนี้ปั้มเข้าเดือนละสองครั้งรอกท่องร่องกะจะได้ปูได้ปลา
มี แต่ใบยูคานะโยม
หัวทิ่มดิน [ 01 พ.ค. 2551 21:47:00 ]
www.firmsaraburi@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 58
ทางนี้เลยครับ.....ปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ๊ลเอ สายพันธุ์ใหม่
"พันธุ์เนื้อเยื้อ ไม่มีรากแก้ว โตไว กำไรงาม น้ำหนักดี" ไม่ทำให้
ดินเสี่ยม ตัดขายได้ใน 3 ปี ปลดหนี้ ธ.ก.ส.แน่นอน
   หากคุณสนใจคิดจะปลูกยูคาลิปตัส ต้องปลูกต้นยูคาฯ  สายพันธุ์ใหม่เท่านั้น ปลูกได้ผลผลิต
ดี นั่นคือ "ต้นกระดาษดั๊บเบิ๊ลเอ" ของ Double A ผู้ผลิตกระดาษ Double A รายใหญ่ที่สุด
   เราคิดค้น ทดลอง ปรับปรุง และพัฒนาสายพันธุ์ยูคาลิปตัสมากว่า 25 ปี เพื่อให้ได้ต้นยูคาฯ
ที่มีคุณภาพ โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ คืนกำไรให้เกษตรกรได้ภายใน 3 ปี และไม่ทำลาย
หน้าดินให้เสี่ยม พืชข้างเคียงเจริญเติบโตเหมือนเดิม รายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติของ "ต้นกระดาษดั๊บเบิ๊ลเอ" พันธุ์เนื้อเยื้อ
1. ไม่มีรากแก้ว  เป็นลักษณะการปรับปรุงสายพันธุ์เนื้อเยื้อ เป็นรากฝอย เพื่อไม่ให้รากดูดน้ำ
มาก  และไม่รบกวนพืชข้างเคียง ทำให้พืชอื่นๆ  เติบโตได้เหมือนเดิม
2. ลำต้นตรง โตเร็ว   Double A ได้คิดค้น และพัฒนาสายพันธุ์ต้นกระดาษให้โตเร็ว ปลูกได้ทุกพื้นที่
ทุกสภาพดิน โตดีทุกต้น ทำสำคัญสามารถตัดขายเพิ่มรายได้ภายใน 3 ปี แน่นอน
3. ริดกิ่งเอง  เราพัฒนาสายพันธุ์ให้ต้นกระดาษสามารถริมกิ่งเองได้ตามธรรมชาติ เมื่อไม้อายุ 3 ปี
พร้อมตัดลักษณะต้นจะไม่มีกิ่งมาก ไม่โคล่นล้มง่าย เพราะใบสามารถลู่ลม ปลูกได้ง่ายทั้งหัวไร่
ปลายนา สระน้ำ หรือปลูกเป็นแปลงก็ยิ่งดี

พันธุ์ต้นกระดาษ ปลูกในภาคอีสาน 2 สายพันธุ์
 ต้นกระดาษมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ขอยกตัวอย่างการปลูกในภาคอีสานที่เป็นที่นิยมกันมาก
1. พันธุ์ K51 เหมาะกับพื้นที่ดินที่แห้งแล้ง น้ำท่วมไม่ถึง ที่ดอน ซึ่ง จะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
ทนแล้ง ทนโรคต่างๆ  ลำต้นจะตรงสูง ใบไม่เยอะ ไม้ 3 ปี เฉลี่ยต้นละ 70 ก.ก. กำไรแน่นอนครับ
2. พันธุ์ K7  เหมาะกับพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมบ้าง ที่ดินที่มีความชื้นตลอดทั้งไป ปลูกได้ทั้งหัวไร่ คันนา
เป็นรั้ว เป็นสวนได้ นิยมปลูกตามคันนามาก น้ำหนักดี ให้ผลผลิตต่อต้นสูง
                      "Double A รับประกันซื้อต้นกระดาษคืนทุกต้น ทุกตัน แน่นอน"

  ยังมีข้อมูลด้านวิชาการเกี่ยวกับการปลูกต้นกระดาษดั๊บเบิ๊ลเออีกมาก เช่น วิธีการปลูก
การดูแลรักษา การตัดจำหน่าย  และการปลูก/ไร่ ใช้จำนวนกี่ต้น ระยะการปลูกที่เหมาะสม
หากท่านใดสนใจอยากจะปลูกไว้เป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือน  และเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่
โทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณอดิศร  โทร.085-8352350 ,Call Center 1759
adisorn [ 06 พ.ค. 2551 11:15:50 ]
sorn_se@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org