กระทู้-08421 : FW. mail==>>ภัยจากโลกร้อนอีกมุมหนึ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ ไวรัสกลายพันธุ์

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

FW. mail==>>ภัยจากโลกร้อนอีกมุมหนึ่งที่คุณอาจยังไม่รู้ ไวรัสกลายพันธุ์

>  ปัจจุบันใครๆ ก็บอกว่า เกิดภาวะโลกร้อน น้ำแข็งขั่วโลกจะละลาย น้ำจะท่วมโลก
>คงได้ยินกันจนชินหู
>แต่กว่าจะถึงวันนั้นมนุษย์อาจสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้วก็เป็นได้
>เพราะเจ้าตัวเล็กๆ  ที่เราเรียกมัน "ว่าไวรัส"  
>การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวันเราทุกคนอาจมองเป็นเรื่องที่เลวร้ายแต่สำหรับไวรัสกลับเป็นสวรรค์ที่พวกมันปราถนากันอย่างยิ่ง
>เพราะมันชอบที่จะอยู่ในอุณหภูมิสูงๆ  มันจะขยายพันธุ์โดยใช้เวลาอันรวดเร็ว
> และในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ควบคู่กันไปด้วย
>ไวรัสที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ก็จะปรับสภาพให้ตัวของมันมีความทนทานต่อยาที่เรากินเข้าไป
>หลายคนคงเริ่มสังเกตุว่าเราเป็นหวัดกันมากขึ้น และก็ยังนานขึ้นอีกด้วย และบนโลกของเราก็ยังมีการค้นพบเชื้อโรคชนิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ  
>เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาสซ์  โรคมือเท้าปากในเด็ก  และที่น่าวิตกอย่างยิ่งก็คือ
>กว่าที่เราจะคิดค้นยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลานาน
>อาจเป็นไปได้ว่ากว่าจะคิดได้มันก็พัฒนาสายพันธุ์ไปอีกแล้ว คำพูดที่ว่า
>อีก10-20 ปีข้างหน้า มนุษย์อาจสูญพันธุ์ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นจริงมากขึ้น
>เพราะไวรัสอาศัยเพียงอากาศในการพัดพาตัวเองไปเพื่อแพร่เชื้อของมัน
> และอากาศก็เป้นสิ่งที่เราขาดไม่ได้เสียด้วยซิ ......
>คงไม่ต้องบอกแล้วนะคะว่าผู้อ่านควรต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อที่จะรักษาโลกของเราไว้
electron approve [ 29 ก.ย. 2550 19:50:22 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ฮ้อยย...!!!!      "ไม่รู้่จะบรรยายอะไร"                                      ขอบคุณคุณelectronที่เอามาฝากครับ
aqueous_andaman approve [ 29 ก.ย. 2550 20:14:39 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เมื่อวานเพิ่งได้ดูสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของโลกร้อนที่ แถบตะวันออกกลาง
เค้าพบว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หลายชนิดที่เคยพบอยู่บริเวณป่าเมฆ แถบนั้น
ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้วในเวลาเพียงไม่กี่ปี สาเหตุมาจากโรคที่มาจากเชื้อรา
เมื่อ 30 ปีก่อน จะเกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่ตอนล่าง   แต่ปัจจุบันอุณหภูมิสูงขึ้น
เชื้อก็สามารถแพร่ขึ้นมาได้สูงขึ้น
ยายอ้วน approve [ 29 ก.ย. 2550 20:32:18 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ที่เคยรู้มา นอกจากไวรัสแล้วยัง มีจุลชีพอื่นๆ ที่ก่อโรคได้ ก็โตเร็วขึ้นหมดเลยครับ
GreenEyes approve [ 29 ก.ย. 2550 21:02:46 ]
ความคิดเห็นที่: 4
จะโทษใครได้ มนุษย์เราทำลายตัวเอง คิดว่าสามารถควบคุมธรรมชาติได้ น่าสงสาร
Engr91 [ 30 ก.ย. 2550 08:13:46 ]
ความคิดเห็นที่: 5
โลกร้อนคนเราก็ร้อนไปด้วยทั้งใจ และกายทางที่ดีควบคุมที่ตัวเราก่อน

             สาธุ........................
เด็กช่างฝัน approve [ 30 ก.ย. 2550 22:29:35 ]
Nature__reply_44864.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
มาเสริมเรื่องในทะเลเท่าที่พอทราบนะเจ้าคะ

เริ่มจากผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนต่อเหล่าแพลงก์ตอนพืช
ตัวเล็กสุดๆ  ก็เป็น bacterioplankton  และ picoplankton ซึ่ง ถึงจะตัวเล็ก แต่บทบาทไม่เล็ก เพราะเป็นผู้ผลิตเบื้องต้นหลักของห่วงโซ่อาหาร เมื่อโลกร้อน มีการเพิ่มปริมาณ UV  เจ้าแพลงก์ตอนพืชเล็กๆ  เหล่านี้ซึ่ง เป็นกลุ่มที่มี UV-screening pigment อยู่น้อย และเซลล์มีขนาดเล็กก็จะเกิดความเสียหายกับเซลล์ของแพลงก์ตอนเหล่านี้ นอกจากนี้ยังส่งผลยับยั้งการสังเคราะห์สารฟอสเฟตตัวที่จำเป็นต่อการสร้างอาหารของผู้ผลิตอื่นๆ  อีกด้วย

รูปเจ้าตัวน้อยจาก http://microbes.limnology.wisc.edu/images/freebacteriopg.jpg
ampelisciphotis approve [ 01 ต.ค. 2550 01:38:42 ]
Nature__reply_44872.jpg
ความคิดเห็นที่: 7
กลุ่มแพลงก์ตอนพืช
 การมี UV เพิ่มขึ้นไปทำลายเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง และโปรตีนในเซลล์ของแพลงก์ตอน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแลปงโครงสร้าง DNA อย่างรวดเร็ว แพลงก์ตอนพืชจะเกิดการกลายพันธุ์ และ/หรือตาย นอกจากนี้ UV ยังไปยับยั้งการเคลื่อนที่ของแพลงก์ตอนพืช และการอพยพขึ้นลงในคอลัมภ์น้ำอีกด้วย

รูปตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชจากของกรมประมงเจ้าค่ะ
http://www.fisheries.go.th/cf-chan/plankton/phyto-outdoor/skeletonema1.jpg
...แก้ไขเมื่อ 01 ต.ค. 2550 01:47:59
ampelisciphotis approve [ 01 ต.ค. 2550 01:47:36 ]
Nature__reply_44873.jpg
ความคิดเห็นที่: 8
กลุ่มสาหร่าย  และหญ้าทะเล
กลุ่มนี้กลุ่มที่อาศัยอยู่ที่พื้นท้องทะเล และไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาตามคอลัมน์น้ำได้ (ไม่เหมือนพวกตัวน้อยข้างบน  ถ้าแสงเข้มมาก พวกก็หนีลงมาข้างล่าง)  แต่จะอึดกว่าเจ้าตัวน้อยด้านบน สังเกตจากการที่หญ้าทะเลหลายๆ  ชนิดโผล่พ้นน้ำได้นานๆ  ก็ไม่ตาย  แต่ ถ้า UV เข้มเกิน พวกก็จะมีผลผลิตน้อยลงเพราะ UV ไปทำลาย  DNA, องค์ประกอบภายในรงควัตถุของเหล่าหญ้าทะเล และสาหร่ายเหล่านี้ และก็ไปยับยั้งการสังเคราะห์แสงเสียอีก

เอารูปหญ้าทะเล ที่อยู่ในท้องเจ้าตัวนี้มาให้ดูแทนนะ
ampelisciphotis approve [ 01 ต.ค. 2550 01:56:50 ]
Nature__reply_44875.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
แล้วกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ล่ะ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อแพลงก์ตอนสัตว์โดยทำให้จำนวนประชากรแพลงก์ตอนสัตว์ลดลง เนื่องจากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น  และปริมาณ UV ที่เพิ่มขึ้น โดยส่งผลต่อ DNA ของแพลงก์ตอนสัตว์  ความดกของไข่ และอัตราส่วนระหว่างเพศในแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิดเช่น copepods อีกด้วย โดยเฉพาะ copepods ที่พบบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงหลายชนิด

เอารูป copepod มาเป็นตัวแทนของกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์นะ รูปนี้เคยโพสต์ไว้ในกระทู้ hang on or run เจ้าค่า
ampelisciphotis approve [ 01 ต.ค. 2550 02:00:05 ]
ความคิดเห็นที่: 10
กลุ่มสัตว์หน้าดิน

ส่วนใหญ่จะทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนไหวหนีไปอยู่ในที่ลึกกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และรังสี UV  แต่สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ยังได้รับผลกระทบเนื่องจากปริมาณอาหารที่ลดลง (ตามที่เล่าไว้ด้านบน) นอกจากนี้ในสัตว์บางกลุ่มเช่นปะการังที่ symbiosis กับ zooxanthellae เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสาหร่ายเซลล์เดียวมีการสูญเสีย pigment ภายใน และปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียว เมื่อสาหร่ายเซลล์เดียวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อปะการังผลิตออกซิเจนมาก (oxidative stress) ทำให้ออกซิเจนเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปที่มีพิษต่อปะการัง ดังนั้นเมื่อมีขบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นปะการังจึงมีกลไกในการปรับตัวโดยการขับสาหร่ายเซลล์เดียวที่อยู่ในเนื้อเยื่อออกเพื่อลดการผลิตออกซิเจนที่เพิ่มขึ้น โดยการขับสาหร่ายเซลล์เดียวออกจากร่างกาย ที่เรียกกันทั่วไปว่าปะการังฟอกขาวน่ะเอง

ไว้หาอะไรเจอเพิ่มค่อยมาเล่าต่อนะเจ้าคะ
ampelisciphotis approve [ 01 ต.ค. 2550 02:03:55 ]
ความคิดเห็นที่: 11
ฮ้อยย...  อ่านแล้วก็ ใจหายไม่นอนเลย  โลกเราจะไปเมื่อไรกันหน้อ..???  ขอบคุณพี่กุ้งเต้นสำหรับข้อมูลดีๆ  ครับ
aqueous_andaman approve [ 01 ต.ค. 2550 02:58:57 ]
ความคิดเห็นที่: 12
สงสัยว่า ทำไมโลกร้อน ถึงไปเกี่ยวปริมาณ UV เพิ่มขึ้น ละครับ
ผมเข้าใจว่า UV น่าจะไปเกี่ยวกับ ปัญหา ozone depletion หรือเปล่าครับ
GreenEyes approve [ 01 ต.ค. 2550 19:18:38 ]
ความคิดเห็นที่: 13
เมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย(เปรียบเสมือนรถไม่มีฟิล์มกรองแสง)>>>> ทำให้แสงแดดผ่านเข้ามาได้เต็มๆ >>>>แสงแดดมาก UV ก็มาก เพราะ UV มากับแสงแดด>>> ทำให้โลกร้อนมาก

                      แสดงว่า  โอโซนต้องถูกทำลายก่อน  แล้วส่งผลทำให้โลกร้อน.....
electron approve [ 01 ต.ค. 2550 20:37:51 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น
และปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศที่ถูกทำลาย
การตัดไม้ทำลายป่า ซึ่ง เป็นการลดจำนวนผู้ช่วยลดก๊าซ CO2

กระบวนการเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตโลกร้อนค่ะ
...แก้ไขเมื่อ 02 ต.ค. 2550 16:02:01
ยายอ้วน approve [ 02 ต.ค. 2550 02:41:49 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ก๊าซโอโซนก็มีทั้ง โอโซนที่ดีเเละไม่ดีนะครับ...
.....ก๊าซโอโซน  หรือ  ออกซิเจนเข้มข้น  เป็นก๊าซเฉื่อยชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก  เป็นก๊าซที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา  ส่วนใหญ่จะอยู่ในบรรยากาศชั้น  สตาโทสเฟีย  (Stratosphere)  ที่ระดับความสูงมากกว่า  25  กิโลเมตร  พบประมาณ  85-90  เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่เหลือประมาณ  10   เปอร์เซ็นต์  กระจายอยู่ในชั้นโทรโพสเฟีย  (Troposphere)   และเมโซสเฟียร์  (Mesosphere)  โดยโอโซนในชั้นสตาร์โทสเฟียร์  มีหน้าที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์   และก๊าซโอโซนในชั้นโทโพสเฟียร์ริคหรือโอโซนในชั้นโทโพสเฟียร์เมื่อปนเปื้อนในบรรยากาศ  เเละ ถ้ามีความเข้มข้นอยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐานจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์  พืชผลทางการเกษตร  ป่าไม้   และระบบนิเวศ
.....สำหรับโอโซนในชั้นบรรยากาศระดับล่าง  จัดเป็นสารมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารตั้งต้นในปฏิกิริยาการเกิดก๊าซโอโซน  ได้แก่  ไนโตรเจนออกไซด์  (No x),  คาร์บอนมอนออกไซด์  (CO),  มีเทน  (CH4),  ฟอร์มาดีไฮร์  (HCHO),  อีเทน  (C2H6),  อะซีทิลดีไฮร์  (CH3CH(=O))   และสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้  (VOC)  รวมทั้งไอน้ำในอากาศซึ่ง จะได้รับปฏิกิริยาจากแสงแดดทำให้เกิดการแตกตัวของออกซิเจน  เกิดเป็นอะตอมของออกซิเจนอิสระ และเกิดการรวมตัวกันเกิดเป็นก๊าซโอโซนขึ้นในระดับพื้นล่างในชั้นโทโพสเฟียร์  ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากการคมนาคม และจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งผลกระทบเพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ   โดนเฉพาะพืชซึ่ง ได้รับความเสียหายมาก  เนื่องจากก๊าซโอโซนมีผลกระทบต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา และชีวเคมีของพืช ถ้าพืชไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มี่ปริมาณของก๊าซโอโซนสูงจะทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่นั้นได้ และอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์หรือสูญพันธุ์ซึ่ง จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ...ซึ่ง ก็เป็นผลมาจากภะวะเรือนกระจกเหมือนกันครับ
วิโรจน์ approve [ 02 ต.ค. 2550 11:16:14 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ
electron approve [ 03 ต.ค. 2550 03:02:59 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ตอนนี้ตัวที่เป็นปัญหาหลักคงไม่ใช่รูโหว่ของชั้นบรรยากาศแล้ว เหมือนว่าเคยเห็นภาพแสดงรูโหว่อันนี้  แต่จำไม่ได้ว่าจากไหน ที่แสดงผลในทางที่ดีมาก ดังนั้นปัญหา UV ก็จะลดระดับลง  แต่ตัวการสำคัญตอนนี้คือผลผลิตจากการเผาผลาญไฮโดรคาร์บอนทั้งหลาย ซึ่ง นอกจากเป็นตัวกันความร้อนออกจากโลกแล้ว มันยังเพิ่มความเป็นกรดให้กับโลก แม้ แต่ในทะเลที่ว่ามีตัวตัวปรับสมดุลกรด-ด่างเจ๋งๆ แล้วยังเอาไม่อยู่เลย  สิ่งที่ผมอึ้งมาแล้วคือ pH ของน้ำทะเลเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ยากที่จะต่ำกว่า 8 ( ถ้าไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งมลพิษที่เป็นกรด หรือป่าชายเลน)  แต่เมื่อต้นปีนี้ ที่ระนองเหลือไม่ถึง 7.5 แล้ว(ตอนบ่าย) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบรุนแรงก็ได้แก่พวกที่ต้องสะสมแคลเซี่ยม ที่จะกลายเป็นฝ่ายถูกดึงแคลเซี่ยมสู่ระบบนิเวศแทน ดังนั้นปะการังก็ซวยอยู่ดี

มาประเด็นไวรัส หรือเชื้ออื่นๆ  ในขณะที่กลุ่มก่อปัญหาพัฒนาตัวได้ ดังนั้นกลุ่มที่จัดการพวกนี้ก็น่าจะพัฒนาตัวได้เหมือนกัน เราอย่าไปกลัวมากนักเลย เอาเป็นว่าเรามาทำตัวของเราเองเพื่อลดความเสี่ยง และปัญหาก่อนดีกว่า เพราะถึงกลัวไปก็ช่วยอะไรไม่ได้หากเอา แต่กลัว หรือคิดง่ายๆ ว่า อย่างน้อยก็จะมีเพื่อน(ผี)ร่วมรุ่นไม่น้อยเลย ไม่เหงาแน่ๆ ครับ
knotsnake approve [ 04 ต.ค. 2550 11:07:43 ]
ความคิดเห็นที่: 18
พอดีเจอะบทความอีกเรื่อง อยู่ใต้จมูก เกี่ยวกับเรื่องการแก้ตัณหา เอ๊ยปัญหาโลกร้อนด้วยแพลงก์ตอน ลองเอาไปอ่านแลถกกันดูหนาเจ้าคะ

http://www.pmbc.go.th/News/newtop/seacdc3.pdf
ampelisciphotis approve [ 04 ต.ค. 2550 13:39:52 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ตอนนี้ยายอ้วนก็ลดการใช้ขยะ  ถุงพลาสติก
แยกขยะก่อนทิ้งค่ะ
ยายอ้วน approve [ 04 ต.ค. 2550 23:28:08 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ลดลมหายใจจะช่วยด้วยไหมเนี่ย

ปัญหาโลกร้อนก็มีคนแนะทางแก้แล้ว  แต่ปัญหาร้อนใจก็..ลดการใช้กิ๊ก แยกกิ๊กก่อนทิ้ง อิ อิ
knotsnake approve [ 05 ต.ค. 2550 09:21:37 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org