กระทู้-08465 : มันคือตัวอะไรครับ?? ใช้แมงกะพรุนหรือเปล่า???

Home » Board » หอย

มันคือตัวอะไรครับ?? ใช้แมงกะพรุนหรือเปล่า???

กว่าจะเลือกกรุ๊ป ลงได้  ไม่รู้จะเลือกอะไรดี  ก็มันเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังนี้หน่า..!!!
พบอยู่ในตู้ทะเลเป็นจำนวนมาก ขนาดประมาณ 0.2-1.0 มิลลิเมตร
สันนิฐานขั้นต้นว่าเป็นแมงกะพรุน อะไรสักอย่าง??  น่าจะเป็นพวกแมงกะพรุนหัวกลับ up-site Down

ขอถามแล้วกันครับผม
-  มันคือแมงกะพรุนใช้หรือไม่?  ถ้าใช้คือชนิดไหนครับ??
-  มีวิธีการเลี้ยงหรือไม่ครับ?  อนุบาลที่ไรอัตรารอดน้อยทุกทีไป??
-  เค้ากินอะไร?  พอจะหาข้อมูลด้านต่างๆ  ได้ที่ไหนบ้างครับ??
 เอาคราวๆ  แค่นี้ก่อนแล้วกัน

เท่าที่เช็คมา : มีที่ PMBC ที่เดียว ที่มีการ"เพาะเลี้ยง"แมงกะพรุน
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับผม...
aqueous_andaman approve [ 08 ต.ค. 2550 02:50:06 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ปล. ขออภัยด้วยนะครับ ตู้ค่อนข้างจะเป็นรอยถึงเป็นรอยมากที่สุด หุๆ ... (กว่าจะถ่ายได้ก็แทบแย่ง)
aqueous_andaman approve [ 08 ต.ค. 2550 02:54:55 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ขอเวลาไปรื้อค้นสักครู่ ค่ำๆ  อาจจักมาขยายอะไรให้ฟังได้หนา
ampelisciphotis approve [ 08 ต.ค. 2550 09:06:05 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ขอบคุณมากๆ  ครับผม
aqueous_andaman approve [ 08 ต.ค. 2550 12:25:05 ]
ความคิดเห็นที่: 4
เดี๋ยวผมว่าคุ้นๆ นะ คนเลี้ยงปลาทะเลไม่ชอบเจ้าตัวนี้กัน???
ฉลามเสือ approve [ 08 ต.ค. 2550 15:34:13 ]
ความคิดเห็นที่: 5
 ถ้ามันกินได้ค่อยมาถามพี่ยายอ้วนเรื่องเมนูเด็ด นะน้อง a_a  ^ ^
อ่ะล้อเล่ง
ยายอ้วน approve [ 08 ต.ค. 2550 16:03:10 ]
ความคิดเห็นที่: 6
เป็นไปได้มั้ยครับว่าเป็น hydromedusa ของพวก hydrozoa ไม่ทราบว่ามีเยื่อ velum ตรงขอบร่มหรือเปล่าครับ  แต่ดูจากรูปคล้ายๆ ว่ามีครับ
coneman approve [ 08 ต.ค. 2550 20:16:33 ]
ความคิดเห็นที่: 7
-  ฝากพี่ampelisciphotis ด้วยละกันนะครับ ของคุณคร๊าบบ...

-  คุณฉลามเสือครับ พวกที่เลี้ยงปลาทะเลเค้าไม่ชอบกันหรือครับ?? ผมว่านะ มันมีในระบบแล้วทำให้ตู้ดูเป็นธรรมชาติดี "คล้ายเราจำลองระบบนิเวศในทะเลมาอยู่ในบ้านเลยละ" มันมาเติมส่วนที่ขาดหายไป

-  พี่ยายอ้วน เอาอีกแล้วนะครับ  ^_^  เหอๆๆ ...

-  ขอบคุณ คุณconemanมากครับผม  แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจศัพท์ที่คุณว่ามาเท่าไร พอดีไม่ได้เรียนวิชาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอ่ะครับ "ต้องขออภัยด้วย" ก็เลยไม่ค่อยเข้าใจศัพท์ "ตอนนี้ก็ศึกษาเองไปเรื่อยเปื่อย"

ตอนนี้ผมให้โรติเฟอร์มันกินครับ เลี้ยงมาได้ 2-3 อาทิตย์แล้ว ไม่ค่อยโตสักเท่าไร อัตรารอดก็น้อยพอควรเลยทีเดียว ลองให้อาร์ทีเมียเหมือนมันจะกินดีกว่าครับ  แต่อัตรารอดก็น้อยเช่นเดิม..  ฮ้อยย....
aqueous_andaman approve [ 08 ต.ค. 2550 23:31:11 ]
ความคิดเห็นที่: 8
น่าจะเป็นกลุ่ม  Hydrozoa  อย่างที่  coneman บอก หละครับ   แต่ เป็นพวกไหน นี่ ต้องให้ aqueous_andaman  ลองคีย์ดูเอง ครับ ... ลองเข้าไปดูเวปนี้ ครั้ง น่าจะ key ลง ระดับ Family ได้ เพราะ มองลักษณะ หลักๆ  ออก

http://www.ville-ge.ch/musinfo/mhng/hydrozoa/  

 ถ้าอยู่ในวัยเรียน ก็ ลองไป ห้องสมุดเอาหนังสือ plankton ของ อ ลัดดา มาเปิดๆ  เทียบ รูป ดู ... เวลาได้ชื่อคร่าวๆ  แล้ว เอาค้นต่อน่าจะหารายละเอียดต่อได้ ... ^^ ได้เรื่องไง เอามาเล่าสู่กันฟังอีก นะครับ
ball approve [ 09 ต.ค. 2550 00:30:38 ]
Mollusc__reply_45976.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
อิฉันเอง แต่เดิมก็เคย แต่ทำสัตว์พื้นทะเลนาเจ้าคะ เรื่องแพลงก์ตอนก็พอรู้ แต่หางอึ่ง เหนทีจักต้องไปหาหนังสือแพลงก์ตอนสัตว์ของ ศ. ลัดดามาเปิดอ่านด้วยเหมือนกัน เผื่อจักต่อหางอึ่งให้ยาวขึ้นบ้าง

อันเจ้าตัวนี้ จักลักขณาผิวพรรณ ก็คงหนีมิพ้นพวกแมงกระพรุนดอกเจ้าค่ะ  แต่มิใช่เจ้าตัวกลับหัว (upside down) ดังกระทู้เก่าของขรัวน็อตดอกนะ อันตัวนี้อิฉันเหนตรงกับท่านหอยเต้าปูน (จะเรียกหอยทรงกรวยดีไหมหว่า) คือเปนกลุ่ม Hydrozoa อันมี velum ฤาเรียกว่าเปนขอบร่มที่พับกลับเข้ามาข้างในหน่อยหนึ่ง ผิดกะเจ้าแมงกระพรุนหัวกลับ Cassiopea sp. ที่พี่น็อตเคยโพสต์ไว้เมื่อมาที่ภูเก็จ ตัวนั้นมันจักไม่มีขอบร่ม  แต่มีหนวดที่ปาก ที่เรียกว่า oral arm เรียงอยู่รอบๆ  ปากของมัน

ส่วนเรื่องมันกินอะไร เจ้าพวกนี้มันกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่ามันเปนอาหารแลหนา พี่ที่ aquarium ที่นี่เขาว่า เจ้าแมงกระพรุนหัวกลับ มันกินจุมาก เขาให้อาร์ทีเมียมันกิน ก็เห็นมันกินได้กินดี กินเยอะจนน่าฉงน ส่วนเรื่องอัตรารอด ขอผลัดไปถามพี่แกพรึ่งนี้เถิด ด้วยว่าตอนที่ตอบเนี่ยพี่แกก็คงหลับแล้ว ไอ้ครั้นจักไปเคาะถามหมีดีหมีร้ายจักโดนส่องเอา
ampelisciphotis approve [ 09 ต.ค. 2550 01:51:32 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ขอบคุณองค์หญิงกุ้งเต้นมากๆ  ครับผม  ^_^

นีกแล้วว่าไม่ใช้เจ้าหัวกลับแลเนี้ยะ!!!  เพราะเลี้ยงตั้งนาน มันไม่ยอมโตสักทีฃ
ยังไงฝากองค์หญิงกุ้งเต้นด้วยนะครับ   ขอบคุณครับ
aqueous_andaman approve [ 09 ต.ค. 2550 02:17:38 ]
ความคิดเห็นที่: 11
อ้อ...ขอบคุณ คุณบอลสำหรับลิงค์ดีๆ  ครับ เกือบลืมไปเลย "เข้าไปดูแล้วครับ  แต่วุ่นวายไปหมด"  หุๆ ..
aqueous_andaman approve [ 09 ต.ค. 2550 02:19:24 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ต้องขอโทษคุณ aqueous_andaman ด้วยครับ ที่ไม่ได้อธิบายศัพท์ให้เข้าใจ  แต่กระนั้นพี่กุ้งเต้นก็กรุณานำภาพมาประกอบ และอธิบายไว้แล้ว ขอบคุณครับ ส่วนคำว่า hydromedusa นั้น medusa ใช้เรียกรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายร่มหรือรูปถ้วย ดังที่เห็นในแมงกระพรุนครับ ฝรั่งเรียกรูปร่างแบบนี้ว่า medusa ซึ่ง  ถ้าเป็นสัตว์ในกลุ่ม hydrozoa ซึ่ง มีรูปร่างแบบนี้ เราก็เรียกว่า hydromedusa  แต่ ถ้าเป็นกลุ่มแมงกระพรุนที่เราเห็นทั่วไปเราก็เรียกว่า scyphomedusa ครับ ตามชื่อชั้น (class) ของเค้านั่นเองครับ
coneman approve [ 09 ต.ค. 2550 13:57:59 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ไม่เป็นไรครับผมคุณ coneman ผมก็พยามเรียนรู้ไปเรื่อยๆ  หละครับ "medusa" ก็พอจะเดาหรือแปลออกบ้าง  แต่อย่างศัพท์เทคนิคยากๆ  ทางสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเลยนั้น ผมเดา และแปลไม่ออกเลยจริงๆ  ตอนนี้ก็หาอ่าน เปเปอร์ไปเรื่อยเปื่อย "ขอบคุณนะครับ สำหรับคำแนะนำ+อธิบาย" ^_^
aqueous_andaman approve [ 10 ต.ค. 2550 02:36:22 ]
ความคิดเห็นที่: 14
สวัสดีค่ะ
ขออนุญาติเล่าคร่าวๆ  ก่อนว่าเจ้าสัตว์รูปร่างทรงกระดิ่งใน Phylum Cnidaria (เดิม Coelenterata) นี้มีอยู่ 2 class คือ Scyphozoan  และ Hydrozoan (ปัจจุบันถูกยกระดับให้เป็น superclass แล้ว) โดย Scyphozoan ก็คือแมงกะพรุนทั่วไปที่เรากินในสุกี้หรือเย็นตาโฟนั่นเอง (เรียกพวกนี้ว่าเป็น true jellyfish)

 แต่ Hydrozoan เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างกันตรงชั้นเนื้อเยื่อของมันมีแค่ 2 ชั้น คือ epidermis  และ gastrodermis ไม่มีชั้น jelly ตรงกลาง (จึงทำให้ไม่สามารถเอามาตากแห้งกินได้) พระเอก Hydrozoa ในบ้านเราก็คือเจ้าแมงกะพรุนน้ำจืด Craspedacusta sp. อันโด่งดังที่ลำน้ำเข็กนั่นไงคะ ทีนี้เนื่องจากเจ้า Hydrozoan ไม่มีเนื้อเยื่อชั้นกลางจึงต้องมี velum เป็นเนื้อเยื่อแผ่นบางๆ  ตามขอบด้านในของร่มเพื่อพยุงโครงสร้าง  และทำให้ว่ายน้ำได้ จึงเป็นลักษณะเด่นอีกอันหนึ่งที่ใช้จำแนก Hydrozoan ค่ะ (โดยทั่วไปเราจะไม่ค่อยเรียก Hydrozoan ว่าเป็นแมงกระพรุน  แต่ก็สามารถอนุโลมใช้ได้ค่ะ)
หมีเป้แดง approve [ 10 ต.ค. 2550 13:51:09 ]
ความคิดเห็นที่: 15
กลับมาหาพระเอกของเราในครั้งนี้บ้าง จะเห็นว่าโครงสร้างของกระดิ่ง (หรือร่ม) บาง และใส มากจนเห็นรอยของตู้ของคุณ aqueous_andaman  เลยทีเดียว จึงเป็นเหตุผลเดียวที่ทำให้เดาเอากว้างๆ  จากใน class Hydrozoan เนื่องจาก velum (ตามที่คุณ ampelisciphotis ชี้ไว้) ไม่ชัดเจนนัก  และมองไม่เห็นท่อลำเลียงอาหารตามแนวรัศมี (radial canals) แถมส่วนช่องปาก และกระเพาะอาหาร (oral  และ manubrium) ก็ยังพัฒนาไม่ชัดเจนนัก  และยังมองไม่เห็นส่วน gonad (อวัยวะสืบพันธุ์) อีกด้วย (- _ -!)  ซึ่ง ตรงจุดนี้เป็น key สำคัญที่จะใช้จำแนกในระดับ Order

 แต่ลักษณะเด่นของพระเอกตัวนี้ก็คือtentacle (หนวด) ของมันติดกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 เส้น มีจำนวน 9 กลุ่ม (โชคดีจังเป็นลักษณะเด่นที่นับได้ง่าย ^__^) ซึ่ง เป็นลักษณะเด่นของ Hydrozoan ที่อยู่ใน Family Cladonemidae ซึ่ง ดูเหมือนจะมีอยู่แค่ Genus เดียวก็คือ Cladonema นั่นเอง

  ถ้ามันโตขึ้นมากกว่านี้น่าจะมองเห็น radial canal ที่ตรงกันกับ tentacle ด้วย นอกจากนี้ยังมองเห็นการเรียงตัวของ nematocyst (เซลล์เข็มพิษ) เป็นวงแหวนรอบ tentacle  และที่เห็นไม่ชัดคือตุ่มที่อยู่ตรงปลาย tentacle  ถ้า คุณ aqueous_andaman   สามารถเอาไปถ่ายรูปใต้กล้องจุลทรรศน์ได้มันน่าจะมีลักษณะเป็น adhesive organ ที่ทำให้เจ้าพวกนี้ยืดเกาะกับสาหร่ายหรือพื้นผิวได้ด้วย
...แก้ไขเมื่อ 10 ต.ค. 2550 14:52:59
หมีเป้แดง approve [ 10 ต.ค. 2550 13:53:45 ]
ความคิดเห็นที่: 16
โดยสรุปเบื้องต้นแล้ว คงบอกได้แค่ระดับ genus เท่านั้น  แต่ ถ้าจะให้เดาจากการกระจายพันธุ์ด้วยอาจจะเดาว่าเป็น Cladonema japonica ก็คงได้ เห็นเขาว่ามักจะพบได้บ่อยในระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ  แต่ต้องเล่าสู่กันไว้ก่อนว่า Identification key  และ Description ของสัตว์ใน Phylum นี้หาได้ยากมาก  และ key character หลายลักษณะต้องสังเกตใต้กล้องจุลทรรศน์จึงจะบอกได้ชัดเจนค่ะ
หมีเป้แดง approve [ 10 ต.ค. 2550 13:54:56 ]
Mollusc__reply_46075.jpg
ความคิดเห็นที่: 17
อ้อ ขอเพิ่มเติมของคุณ coneman นิดหนึ่งค่ะ

คำว่า Hydromedusa นั้นใช้เรียกสัตว์ที่อยู่ใน subclass Hydroidomedusa (ปัจจุบันเป็น class) ซึ่ง มีวงชีวิต 2 ช่วงคือ รูปร่างเป็นร่ม หรือกระดิ่ง เรียก Medusa (sexual reproduction)  และ เป็นหน่อ เรียก polyp (asexual reproduction) ค่ะ

 และเพิ่มเติมของคุณ ampelisciphotis ว่า Hydrozoa เองตรงปลายของ manubrium ก็มีช่องเปิดเป็นปาก และอาจเรียกตรงนั้นว่าเป็น oral arm หรือ oral lobe ก็ได้ค่ะ

ภาพที่แนบมาเป็น genus Gonionemus เป็น Hydromedusa ที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่ง (รองจาก Craspedacusta)
...แก้ไขเมื่อ 10 ต.ค. 2550 14:26:18
หมีเป้แดง approve [ 10 ต.ค. 2550 14:13:30 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณ คุณหมีเป้แดงมากๆ ครับ
นณณ์ approve [ 10 ต.ค. 2550 14:31:37 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ขอบคุณ คุณหมีพูมากๆ  ครับ (หมีเป้แดง "น่าจะเป็นหมีพูนะ" หุๆ ...)
ตอบได้ละเอียด ได้ใจมากๆ  ครับผม อ่านแล้วถึงบางอ้อเลยละครับ  เข้าใจง่ายดี

ยังไงรบกวนขอเมล์ติดต่อกลับหน่อยจะได้ไม่ครับ  "เพราะมีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกหลายชนิด ในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ" ที่ไม่รู้จักชื่อ  " และผมพยายามเลี้ยงให้โตเป็นตัวเต็มวัยอยู่ครับ"  ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
                                                                      จักเป็นพระคุณอย่างสูง
aqueous_andaman approve [ 11 ต.ค. 2550 00:03:06 ]
j.polpermpul@gmail.com
ความคิดเห็นที่: 20
หมีเป้แดงคือ Paddington Bear ครับ หมี Pooh ไม่ใช้เป้ครับ a_a เอิ้ก เอิ้ก
natee approve [ 11 ต.ค. 2550 09:42:50 ]
Mollusc__reply_46187.jpg
ความคิดเห็นที่: 21
เสียใจด้วยค่ะ ไม่ถูกต้องทั้งสองตัวเพราะหมีเป้แดงตัวนี้เป็นหมีสีน้ำตาลค่ะ

สำหรับคุณ aqueous_andaman : ต้องขอโทษอย่างแรงเพราะหมีเป้แดงไม่ค่อยเชี่ยวชาญการเลี้ยงสัตว์หรอกค่ะ  แต่พอดีมีความรู้เกี่ยวกับพวก Cnidaria (โดยเฉพาะ Hydrozoan) มากกว่ากลุ่มอื่นเท่านั้นเอง

แต่ ถ้าอยากได้ความรู้บางเรื่อง แล้วหมีเป้แดงช่วยได้ก็ยินดีค่ะ ^__^
...แก้ไขเมื่อ 11 ต.ค. 2550 12:58:20
หมีเป้แดง approve [ 11 ต.ค. 2550 12:55:01 ]
urasri407@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 22
ดีใจยิ่งนัก ได้สมาชิกชาวช่างทาง inver เพิ่มมาอีกคนแหล่ว จักได้มารังสรรสังคมอุดมปัญญากัน
ampelisciphotis approve [ 11 ต.ค. 2550 13:16:18 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org