กระทู้-08541 : การเทียบสีปลาหางนกยูง

Home » Board » ปลา

การเทียบสีปลาหางนกยูง

สวัสดีค่ะ น้องนณณ์ และท่านผู้รู้ท่านอื่นๆ  
พี่มีเรื่องรบกวนน้องอีกแหละ เคยรบกวนเรื่องหนอนจิ๋วมานานนมแล้วค่ะ...ให้ความรู้หน่อย คือว่านักเรียนของพี่เขาทำโครงงานวิทย์เรื่อง เอาพืชที่มีสารแคโรทีน เช่น ดาวเรือง แครอท พริก มะเขือเทศ มาทำให้แห้งแล้วผสมอาหารสูตรพื้นฐานให้ปลาหางนกยูงพันธุ์ไทยที่ไม่สวยที่สุดกินตั้งแต่มันยังเด็กๆ  เลี้ยงนานเข้าปลาหางนกยูงมันมีสีสวยขึ้น แต่เวลาจะเก็บข้อมูลพี่อยากให้นักเรียนเทียบสีเพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ผลทางสถิติ แต่พี่ก็จนปัญญาว่าจะเทียบกับอะไรดี แผ่นเทียบสีที่มีขายก็ราคาแพงมา.......ก ซื้อมาใช้แป๊บเดียวคงไม่คุ้ม น้องมีวิธีการอย่างไรช่วยแนะนำหน่อยที่ให้ค่าออกมาเป็นตัวเลขสามารถนำไปวิเคราะห์ผลทางสถิติได้
ขอบคุณมากๆ  ค่ะ
koy approve [ 22 ต.ค. 2550 20:06:01 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลแล้วเอาไฟล์มานับพิกเซลของสีได้ครับ

โดยพื้นฐานการเก็บไฟล์รูปภาพปกติ แต่ละพิกเซลจะประกอบด้วยสีสามสีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน (RGB)  แต่ละพิกเซลจึงประกอบด้วยตัวเลขสามชุด  ถ้ารูปนั้นเก็บแบบ 24 บิท ก็แปลว่า แต่ละสีถูกแทนด้วยเลข 8 บิท ซึ่ง มีค่าได้ 256 ค่า ไฟล์รูปภาพแบบ 24 บิทจึงมีค่าออกมาเป็นเลขสามชุดโดย แต่ละชุดมีค่าอยู่ในช่วง 0 ถึง 255 (เช่น 255 0 0 คือสีแดง 0 255 0 คือสีเขียว 0 0 0 คือสีดำ 255 255 255 คือสีขาว 100 100 100 คือสีเทา 200 200 200 ก็คือสีเทา  แต่จางกว่า 100 100 100)

แน่นอนว่าต้องควบคุมตัวแปรให้สม่ำเสมอตลอดการทดลอง ความเข้มแสงต้องเท่ากัน ระยะจากเลนส์ถึงวัตถุต้องเท่ากัน ใช้ระยะซูมเท่ากัน  

เคยมีนักศึกษาใช้วิธีนี้วัดขนาดของก้อนเนื้อจากฟิล์มเอ็กเรย์ วัดขนาดของไลเคนบนเปลือกไม้ วัดการเจริญเติบโตของสาหร่ายสไปรูไรน่า ซึ่ง อย่างหลังนี่ต้องมีการวัดความเข้มของสีด้วย ก็ได้ผลในระดับหนึ่งครับ คือจะเอาไปเปรียบเทียบกับการทดลองของคนอื่นยาก เพราะต้องมีการ Calibrate อุปกรณ์ทุกอย่างไป  แต่ ถ้าเปรียบเทียบกันเองในการทดลองเดียวกันนี่ ได้ผลดีทีเดียวครับ

ปล.  แต่ใช้ไฟล์ JPEG จากกล้องโดยตรงจะนับไม่ได้นะครับ เพราะมันไม่ได้เก็บทุกพิกเซลจริงๆ  มันมีการประมาณค่า แล้วเหมารวมเอาเป็นปื้นๆ  ไป จะสังเกตได้ว่าขนาดของไฟล์ JPEG จะไม่เท่ากัน ทั้งๆ  ที่รูปมีจำนวนพิกเซลเท่ากัน (กว้างคูณยาวเท่ากัน) รูปไหนมีบริเวณที่สีซ้ำกันมากๆ  ไฟล์จะมีขนาดเล็ก (จำนวนสีน้อย) ตรงนี้มีทางแก้สองทางคือ ใช้กล้องระดับที่เก็บเป็นไฟล์ RAW ได้ หรือไม่ก็เปลี่ยนไฟล์มาเป็น GIF หรือ BMP ก่อนแล้วค่อยนับ

โปรแกรม MATLAB มี Library ที่ทำพวกนี้อยู่แล้ว  ถ้ามีโปรแกรมอยู่แล้วนักเรียนน่าจะใช้ได้สบายๆ   แต่ MATLAB ราคาแพงมาก  ถ้าไม่อยากพึ่งแผ่นผีซีดีเถื่อน จะใช้ภาษาซีเขียนโปรแกรมเล็กๆ  มานับก็ได้ครับ
natee approve [ 23 ต.ค. 2550 01:15:44 ]
ความคิดเห็นที่: 2
K Natee คะ
ขอบคุณมากๆ  เลยสำหรับคำแนะนำค่ะ  แต่เด็กๆ  ที่ทำโครงงานนี้เป็นเด็กเกษตรผู้ยากจน  และไม่มีความรู้เรื่องการใช้กล้องติจิตอล ปัญหาต้องเกิดขึ้นแน่ๆ  มีวิธีอื่นแนะนำหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
koy approve [ 23 ต.ค. 2550 09:43:55 ]
ความคิดเห็นที่: 3
งั้นลองเปรียบเทียบกับชุดควบคุม(อาหารไม่เสริมแคโรทีน) ว่าจำนวนตัวที่สวย(โดยเน้นที่ออกโทนเหลือง-ส้ม)มีชุดทดลองละกี่ตัว เพราะบางทีชุดควบคุมก็อาจสวยขึ้นได้โดยบังเอิญ(เราไม่ได้ตั้งใจ  แต่เป็นกลไกในธรรมชาติ) ทำสัก 3 ครั้ง(ควบคุม กับเสริมแคโรทีน ทำอย่างละ 3 ครั้ง) หรือจะใช้รวดเดียวหลายๆ ตัวเลยก็ได้  แต่ไม่อยากแนะนำ เพราะ ถ้าเกิดความผิดพลาดแล้วให้ผลทางตรงข้าม เร่าจะไม่รู้ ที่ต้องระวังคือ ปลาที่เอามาทดลองต้องมั่นใจว่ามาจากประชากรเดียวกัน(ไม่รู้ว่าเอาปลามาจากไหน) จำนวนปลาเท่ากัน แล้วควรมากพอ เพราะเราไม่สามารถแยกเพศลูกปลาน้อยได้ เลยอาจเกิดปัญหาสัดส่วนเพศของทั้ง 2 ชุดมีความต่างกัน(สัก 50 ตัวต่อการทดลอง 1 ชุด/ครั้ง)   แต่ ถ้าเอาปลารุ่นแยกเพศได้แล้วก็ใช้จำนวนน้อยลงได้ ก็เลือกเอา แต่ตัวผู้มาลอง(สัก 30 ตัว) แล้วมาวิเคราะห์แบบ 2 way ANOVA  แต่ ถ้าเด็กเล็กเกินก็ใช่สถิติพรรณนาก็พอ แล้วอาจเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปลาสวยระหว่างชุดฯ  ด้วย t-test ก็พอแล้วครับ ดูตามความเหมาะสมสำหรับเด็ก

หากอยากเทียบความเหลืองที่ต่างกันด้วย ก็ทำสเกลสีเอาเองเลยครับ(ลองนึกถึงโฆษณาผงซักฟอก หรือ whitening lotion)  แต่เรามาแปลงเป็นใสไปเหลืองๆ แบบปลาๆ (ต้องไปดูว่ามันเหลืองไปแบบไหนจะได้ทำสเกลได้ถูก)แล้วมากำหนดค่าเอาเอง เช่นใสเทาๆ  มีค่าเป็น 1 ออกเหลืองเรื่อๆ เป็น 2 .... จนถึงเหลืองสุดๆ แบบปลาหางนกยูง ก็เป็นคะแนนสูงสุด แล้วมาหาค่าเฉลี่ยคะแนน แต่ละชุด ซึ่ง มันจะยุ่งเวลามาเทียบความสวยรายตัวนี่แหละ ใครมีความเห็นป็นอื่นที่ง่าย หรือเหมาะกว่านี้ก็ช่วยด้วยครับ
knotsnake approve [ 23 ต.ค. 2550 14:27:13 ]
ความคิดเห็นที่: 4
หุๆ  ความเ็็ห็นดีๆ  กันทั้งนั้นเลยครับ "ยังกะเรียนวิชาวิธีระเบียบวิจัย"  ผมว่ายากเกินไปหรือป่าวหน้อ??  เด็กมัธยมอาจจะไม่เข้าใจนะครับ?? หรือเข้าใจก็ไม่รู้สิ

แต่ ถ้าลูกปลาที่ได้นำมาทำการทดลอง ได้จากพ่อแม่เดียวก็ดีไป  แต่ ถ้าหลายพ่อพันแม่ก็ต้องนำมารวมกันก่อน แล้วสุ่มประชากรในการทดลองอีกที่

เรื่องพวกนี้พูดกันยาวจริงๆ   ต้องว่ากันตั้ง แต่ต้นเลยหละครับ  "ว่าการทดลองของคุณพี่เป็นเช่นไร"  แบบแผนการทดลองเป็นแบบไหน  แล้วควรที่จะวางแผนการบันทึก และวิเคราะห์ผลไว้ก่อนแล้วหน้านี้

งืม... เอาไงดี   (ขอตัวไปวัดขนาดปลาก่อน  แล้วจะแว๊ปมาต่อครับ)  ฮ้อย...
ปล. มีอีกวิธีครับ  อยากช่วยจริงๆ   เคยเป็นเด็กวิทย์บ้าโครงงานมาก่อน ได้ที่สองของภาคอีสานเอง  ฮ้อยย.....  เซ็ง.!!
aqueous_andaman approve [ 23 ต.ค. 2550 15:41:08 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ดีๆๆ  มาข่วยๆ กัน
knotsnake approve [ 23 ต.ค. 2550 15:51:54 ]
ความคิดเห็นที่: 6
K knotsnake  และ K aqueous_andaman
ขอบคุณก้อนใหญ่ๆ  เลยค่ะ สำหรับคำแนะนำต่างๆ  จะเขียนโครงการทดลองให้อ่านคร่าวๆ  นะคะ นักเรียนนำพ่อแม่พันธุ์ปลามาแยะมาก แล้วให้ผสมกันเองในปล่องบ่อขนาด 1.5 เมตร  เมื่อรวบรวมลูกปลาที่มีสีสัน และขนาดใกล้เคียงกันได้มากพอแล้ว ก็นำมาเลี้ยงด้วยอาหารปลาธรรมดา (เม็ดสีน้ำตาล) โดยการเอามาบดให้ละเอียดแล้วให้ลูกปลากินเป็นเวลา 2 อาทิตย์ จากนั้นก็นำมาทดลอง โดยการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด 4 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ โดยเลี้ยงในโหลแก้วขนาด 5 ลิตร ปล่อยลูกปลาหางนกยูงโดยไม่คัดเพศโหลละ 50 ตัว  แต่ก่อนหน้านี้เด็กได้ทำอาหารไว้แล้วคือใช้ ดอกดาวเรือง มะเขือเทศ  และแครอท ไปอบ และบดผสมอาหารสูตรพื้นฐานอัตราส่วน 1: 10 โดยมวล แล้วนำให้ลูกปลากินทุกวันวันละ 2 มื้อ เปลี่ยนน้ำ 50% ทุก 5 วัน เลี้ยง 60 วันเก็บผลการทดลองค่ะ ความคิดของดิฉันซึ่ง เป็นครูที่ปรึกษาจะเหมือนกับของ K knotsnake ค่ะ คือทำแผ่นเทียบสีแล้วเทียบเหมือนโฆษณาผงซักฟอก แล้วกำหนดคะแนน ให้นักเรียนนำไปคำนวณ ANOVA ค่ะ เพราะว่าแผ่นเทียบสีที่เรียกว่า Munsell นั้น ไปถามที่วิทยาศรม แพงมากเลยค่ะ (ขอโทษนะคะอยู่บ้านนอก หาอุปกรณ์ยากมาก) นักเรียนก็ไม่ค่อยจะมีสตางค์ ครูจึงต้องช่วยตลอดเวลา...จากที่เขียนมาทั้งหมดท่านทั้งหลายคิดว่าน่าจะใช้ได้หรือเปล่าค่ะ ขอความคิดเห็นค่ะ....ขอบคุณก้อนใหญ่ๆ  อีกครั้งหนึ่งค่ะ นักเรียนจะนำโครงการนี้ไปประกวดระดับภาคค่ะ.....
koy approve [ 23 ต.ค. 2550 16:54:40 ]
ความคิดเห็นที่: 7
K knotsnake ค่ะ
ขอเพิ่มเติมค่ะ งานทดลองของนักเรียนมีชุดควบคุมค่ะ คือให้อาหารสูตรพื้นฐานอย่างเดียวค่ะอีก 3 treatment คือ ดอกดาวเรือง มะเขือเทศ  และแครอท ค่ะ
ขอบคุณค่ะที่ช่วยเหลือเด็กน้อยตาดำๆ
koy approve [ 23 ต.ค. 2550 16:58:12 ]
ความคิดเห็นที่: 8
เดี๋ยวลองรอความเห็นเจ้าพ่อโครงงานอีกสักตั้งก็น่าจะดีไม่น้อย เผื่อได้ไอเดียแจ่มๆ ด้วยครับ
knotsnake approve [ 23 ต.ค. 2550 19:20:25 ]
ความคิดเห็นที่: 9
พลาดจนได้ ร่ายไปเสียยาวเลย ... เอิ้ก เอิ้ก

แต่ไม่เป็นไรครับ  ถ้าคิดจะใช้กล้อง และวิธีอย่างที่ว่า ผมมีกล้อง 1.5 Megapixel (หนึ่งจุดห้านะครับ ไม่ใช่สิบห้า) คู่ชีพตัวเก่าเก๋ากึ๊ก ที่ยินดีจะยกให้เด็กน้อยๆ  เอาไปเล่นเพื่อให้เป็นประโยชน์ได้ (กล้องนี้เคยใช้ทำวิจัยมาในลักษณะนี้ด้วย ได้ผลดีทีเดียว) สนใจติดต่อหลังไมค์ได้เลยครับพี่
natee approve [ 23 ต.ค. 2550 22:40:50 ]
ความคิดเห็นที่: 10
K natee คะ
ได้อ่าน คห.ที่ 9 แล้วซาบซึ้งในความมีเมตตามากเลยค่ะ แล้วจะให้ทำไงดี ให้เด็กนักเรียนติดต่อไปเองดีมั๊ยเอ่ย เด็กของดิฉันเป็นเด็กนักเรียนวิทยาลัยเกษตรฯ  ค่ะ
koy approve [ 23 ต.ค. 2550 23:29:49 ]
FishesPics_reply_47704.jpg
ความคิดเห็นที่: 11
ต้องขออภัยก่อนนะครับ เข้ามาดึกไปหน้อ..!!!!    "มันก็ไม่หน่อยหลอกครับ"  ฮ้อยย... วัดขนาดปลากันเหนื่อย

เอางี่แล้วกันนะครับเท่าที่อ่านมา  (เปรียบเทียบแบบง่ายๆ  เลย)  
ทำแผ่นเทียบสีเอาเอง จากเครื่องปริ๊นนี้หละครับ  
-  โดยการตั้งค่าต่างๆ  ดังเดิม  ให้เหมืนตอนซื้อเครื่องมาใหม่ๆ
-  ทำการสั่งพิมพ์  "โดยการใช้คำสั่งทดสอบเครื่องพิมพ์"
-  เครื่องปริ๊น จะพิมพ์สีออกมา แต่ละความเข้ม ของ แต่ละสี
-  กำหนดคะแนน ของ แต่ละความเข้มสี
-  ก็จะได้แผ่นตารางเทียบสีแบบคราวๆ  ครับ
-  นำแผนตารางเทียบสีนั้นมาเทียบค่า จาก...
-  ภาพปลาที่ถ่ายจากกล้อง
-  หรือเทียบจากตัวปลาโดยตรง  
-  ให้คะแนน และวิเคราะห์ผลการทดลองครับ

(ใช้วิธีนี้เพราะปลาหางนกยูงมีหลากหลายสีมากๆ  น่าจะใช้ได้นะครับ)

แต่ ถ้าปลามีสีเฉพาะเจาะจงลงไปจริงๆ  แล้วหละก็  (วิธีนี้เคยทำการทดลองในปลาทองเหมือนกันครับ)
ทำแผนเทียบสีขึ้นมาใหม่  (โดยการกำหนดเฉพาะเจาะจงเป็นสีไปครับ)  ปลาทองมีสีส้มเป็นหลักใช้ไม่ครับ
โดยตั้งค่าเครื่องปริ๊น ให้พิมพ์ออกมา แต่สีส้มเท่านั้น   “ แต่สั่งงานให้ออกมา แต่ละความเข้มสี”  งง กันป่าวหน้อ??
ทำการเทียบสี และให้คะแนนครับผม  

มีหมายเหตุไว้นิดนะครับ

หมายเหตุ
-   เราต้องบอกยี่ห้อเครื่องพิมพ์ / รุ่น
-   ชนิดการสั่งพิมพ์ / กระดาษ
-   เบอร์หมึกที่ใช้ในขณะนั้น
-   ควรจะบอก หรือวิเคราะห์ด้วยว่า แต่ละการทดลอง มีเพศผู้เท่าไร เพศเมียเท่าไร??
aqueous_andaman approve [ 24 ต.ค. 2550 02:51:39 ]
ความคิดเห็นที่: 12
อืม..แอบดู  ผมว่านักเรียนเล็กไปครับ
1. ควบคุมชนิดปลาให้คงที่สีเดียวทั้งหมด พันธุ์เดียวกัน  ถ้าเป็นพันธุ์ไทยอาจดูยากมาก  อายุเท่าๆ กัน
2. แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ควบคุม1 ปกติ1 กลุ่มละ 100
3. กำนหนดระยะเวลาเก็บข้อมูล เป็นระยะ 5-6 ระยะตามสัปดาห์หรือเดือน
   3.1 ควรดูการเจริญเติมโต
   3.2 สี ตารางมาตรฐานสี  มีครับ ตามเบอร์ได้เลย แต่คาดว่าเห็นความแตกต่างไม่มาก ให้เลี่ยงโดยการกำหนดระดับแบบหยาบๆ อาจเป็น 1-2-3 เด็กจะได้สามารถแยกได้ โดยการนับจำนวนการเปลี่ยนสีของปลาเก็บสถิติ
   3.3 หาค่าเฉลี่ย พอครับ แล้วนำมาเทียบกลุ่มปกติ มากน้อยกว่าพอครับ
4.  ถ้าต้องการทราบความแตกต่างของสารอาหาร ก็ควบคุมที่กลุ่มทดลองง่ายกว่าครับ หรืออาจแยกเป็นกลุ่มๆ
ละสารอาหารครับ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันสรุป
Fisher approve [ 24 ต.ค. 2550 08:07:04 ]
ความคิดเห็นที่: 13
แบบคุณฟิชเชอร์ว่ามาก็ง่ายดีครับ  อิๆ ...   "เลือกดูนะครับ ว่าถนัดแบบไหน"
aqueous_andaman approve [ 24 ต.ค. 2550 08:20:31 ]
ความคิดเห็นที่: 14
พี่ koy ส่งที่อยู่ให้ผมเลยครับ ที่ natinit@hotmail.com

ปล. ผมละเขินๆ  กล้องมันแค่ 1.5 พิกเซล เดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือก็ทำได้มากกว่านี้แล้ว  แต่เลนส์ดีนะครับ ถ่ายทอดสีได้ตรง เอาไปลองดูครับ ไม่เสียหลาย เอิ้ก เอิ้ก

ขั้นตอน และระเบียบวิธีการทดลองผมคงช่วยไม่ได้  แต่เดี๋ยวผมจะลองขุดหาตัวอย่างโปรแกรมที่เล่นกับไฟล์รูปภาพไว้  ถ้ามีไฟล์มาจะได้ลองสาธิตให้ดูได้
natee approve [ 24 ต.ค. 2550 10:04:49 ]
ความคิดเห็นที่: 15
K aqueous_andaman ,K natee , K knotsnake , K Fisher   และคุณ...........
ขอบคุณมากค่ะ ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่าง วันนี้ไปวิทยาลัยฯ  เอาเรื่องต่างๆ  ที่เราคุยกันไปเล่าให้นักเรียนฟัง นักเรียนดีใจมากเลยค่ะ ขอบคุณด้วยความจริงใจอีกครั้งหนึ่ง
Koy [ 24 ต.ค. 2550 12:24:08 ]
ความคิดเห็นที่: 16
แม้ ท่านอาจารย์ และท่านประธานก็ว่ากันไปเยอะแล้วนิ ผมขอเสริมหน่อยแล้วกันครับ

๑. ปลาหางนกยูงไทย ไม่รู้เรื่องมากไปหรือเปล่า  แต่ปลาหางนกยูงไม่ได้เป็นปลาท้องถิ่นของไทย ดังนั้นจึงไม่มีปลาที่เรียกว่า หางนกยูงไทย ครับ มี แต่หางนกยูงจากต่างประเทศที่เอามาปล่อยในประเทศไทยนานแล้ว อาจจะเรียกว่าหางนกยูงป่าก็ได้ครับ  
๒. ปลาที่อาจจะเรียกว่าหางนกยูงไทย ที่ถูกเอามาปล่อย มีอยู่ด้วยกันอย่างน้อย ๒ ชนิดคือ Poecilia reticulata กับ ที่ตัวยาวๆ ใสๆ  ที่เรียกว่าปลากินยุง Gambusia affinis
๓.  ถ้าเป็นหางนกยูง ก็จะมีหลากสีในตัวเดียว  ถ้าเป็น ปลากินยุงจะเป็นปลาตัวใสๆ เหมือนหางนกยูงตัวเมียทั้งสองเพศ
๔. ผมไม่มั่นใจว่าสาร แคโรทีน มีผลกับสีอะไรของปลาบ้าง  ถ้ามีผล แต่สีเฉดเหลือง-แดง หางนกยูงไม่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะหางนกยูงโดยธรรมชาติไม่ได้เป็นปลาที่มีสีแดงมากมายอยู่แล้ว ซึ่ง ก็ไม่แน่ใจว่าสารแคโรทีน จะไปมีผลกับสีพื้นลำตัวหรือเปล่า คือสีพื้นแทนที่จะเป็นสีเขียวขุ่นๆ  มันจะกลายเป็นเหลืองเป็นแดงขึ้นมาหรือเปล่า  
๕.  ถ้าสารแคโรทีน มีผลกับพื้นตัว ผมว่าไม่น่าจะใช่หางนกยูงตัวผู้ เพราะมันมีสีอื่นปนเยอะ น่าจะใช่ แต่เพศเมีย หรือใช่ปลากินยุง เอาพวกตัวสีเขียวพื้นๆ นี่แหล่ะ น่าจะเห็นผลชัดกว่า เมื่อเทียบกับหางนกยูงตัวผู้ที่มีสีสันอื่นๆ  รวมไปทั้งสีสะท้อนแสงด้วย ไม่แน่ใจว่าที่บอกว่าเห็นผลชัดเจน มันส่งผลถึงทุกสีด้วยหรือเปล่าครับ?
๖. วิธีการวัดผลก็ทำแบบที่คุณน๊อทว่า คือให้มีกลุ่มควบคุม ที่ไม่ได้ให้สารเพิ่ม แล้วเปรียบเทียบ
๗. สเกลสี  ถ้าคุณ a_a ใจดีก็ปรินท์ส่งไปให้น้องๆ เค้าหน่อย  ถ้าไม่ได้ วิธีง่ายที่สุดคือทำเองครับ มันจะใช่เทียบผลได้  แต่คงจะไปเทียบกับการทดลองของที่อื่นไม่ได้ ลองเล่นง่ายๆ  ก็ใช้สีน้ำแหล่ะครับ เริ่มต้นด้วยสีขาว ป้ายไว้กับกระดาษ หยดสีเหลืองลงไป ๑ หยด คนให้เข้ากัน ป้ายไว้ หยดลงไปอีกหยด คน แล้วก็ป้ายไว้ แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ  ก็จะได้ตารางที่มีสีไล่กัน


๖.
นณณ์ approve [ 24 ต.ค. 2550 15:16:41 ]
ความคิดเห็นที่: 17
เห็นด้วยกับคุณนณณ์  ปลาหางนกยูงที่ถูกทิ้งโดยไม่ได้คัดพันธุ์ จะมีสี และรูปแบบของลายต่างกันมากๆ  การใช้วิธีเทียบสีน่าจะไม่เหมาะกับปลาชนิดนี้  ถ้าเราเอาที่ความสวยงามว่าอาหารที่ให้ทำให้ปลาสวยขึ้นหรือไม่ผมว่าไม่ต้องเทียบสีให้ยุ่งยากครับ   ใช้วิธีการแบบเดียวกันกับการชิมอาหารผมจำชื่อเรียกไม่ได้ตอนที่เรียนProduct เขากํใช้วิธีนี้กัน คือแยกชนิดของอาหารทดลองแล้วให้คนอย่างน้อย 10 คนขึ้นไปชิม สรุปผลแล้วนำมาวิเคราะห์ได้ ความสวยของปลาก็มีลักษณะเดียวกับรสชาดของอาหารครับ  ดังนั้น ถ้าใช้วิธีการให้อาสาสมัครเป็นผู้ให้คะแนน(โดยเน้นที่สีเป็นหลัก)ก็จะได้ผลออกมาว่าการเล้ยงด้วยอาหารชนิดไหนจะทำให้ปลามีสีสวยที่สุดครับ ง่า และไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ยุ่งยากด้วยครับ
ช้าง [ 24 ต.ค. 2550 16:36:04 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณกับทุกความเห็นค่ะ จะนำไปพิจารณา และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคุณวุฒิ และวัยวุฒิของนักเรียน ผลออกมาเป็นอย่างไร จะเล่าให้ฟังภายหลังนะคะ
koy approve [ 24 ต.ค. 2550 20:23:32 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ผมว่าไม่ควรกังวลมากนักครับ เพราะมันคือการทดลอง หากเราคาดหวังแล้วเลือกตัวให้ผลที่คาดหวังเท่านั้นก็ไม่ช่การทดลองสิ
knotsnake approve [ 24 ต.ค. 2550 22:59:33 ]
ความคิดเห็นที่: 20
อย่างพี่น็อตพูดมาตอนท้ายนี้  ถูกต้องที่สุดแล้วคร๊าบๆๆๆ ....  "ห้ามเมคนะครับผม"  หุๆ ..
aqueous_andaman approve [ 25 ต.ค. 2550 02:05:52 ]
ความคิดเห็นที่: 21
อืม..ได้อย่างก็สรุปมันอย่างนั้นแหละ แล้วค่อยสานต่อเอาภายหลังก็ได้ ส่วนตัวคิดว่ายังเด็กเอาง่ายๆ  ให้สามารถทำได้ และคิดเองได้ลงมือทำเองได้ ก็น่าจะดีแล้ว คิดมากจะกลายเป็นระดับ ปริญญา ไปครับ เรื่องค่าสถิติก็ใช้แค่ค่าเฉลี่ยก็สรุปเทียบกันได้แล้วครับ หรือ ถ้าพอรู้จัก ที-สกอร์ หรือ ไคสแคว ก็น่าจะได้
Fisher approve [ 25 ต.ค. 2550 08:03:03 ]
ความคิดเห็นที่: 22
หวัดดีค่ะ คือว่าทำโครงงานนี้เหมือนกันค่ะ  และอาจารย์ที่ รร. ค่อนข้างละเอียดค่ะ ตอนนี้อยู่ม.5ค่ะอยากทราบว่า การทำโครงงานต้องละเอียด และดีถึงขั้นไหนดีคะมีอะไรช่วยแนะนำหน่อยได้มั้ยคะ ม.5นี่ควรจาทำความยากง่าย  และความละเอียดได้ถึงไหนคะ อาจารย์ให้เกรดยากมากๆ แล้วเพื่อนๆ มี แต่โครงงานดีๆ  กลัวเกรดไม่ดี ขอความกรุณาท่านผูมีความชำนาญด้านนี้ช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ขอบคุณมากค่ะ
vioza [ 24 ม.ค. 2551 21:39:44 ]
vioza_kaf@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 23
อยากให้โครงงานเจ๋งๆ ทำไงดี เครียดๆๆๆ  อยากได้เกรด4อ่ะค่ะ  แต่คิดไม่ออกว่าจาทำไงให้โครงงานออกมาดูดีอ่ะ อยู่ม.5 ควรทำยังไงถึงจาเรียกว่าดี หุๆ ตอนนี้โครงงานยังไม่ไปถึงไหนเลยค่ะ ปลาก้อยังไม่ทดลองเลี้ยง อาหารก้อยังไม่ลองทำขึ้นมา
ตาย!! เหลือเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ช่วยมาให้คำแนะนำหน่อยนะคะ
ตอนนี้กำลังร้อน"ใจ"มากๆ กลัวได้เกรด1.5 วิชาโครงงาน วู้ววว
.... [ 24 ม.ค. 2551 21:52:50 ]
vioza_kaf@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 24
สวัสดีค่ะ  ทำโครงงานเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ  
มีคนสนใจเยอะเหมือนกันนะคะ
ยังไงช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ
อยากให้มันดูน่าเชื่อถือมากที่สุดน่ะค่ะ  ว่าสีมันเข้มขึ้นจริงๆ อ่ะค่ะ
 ขอบคุณล่วงหน้านะคะ
sherbet [ 24 ม.ค. 2551 22:59:41 ]
k_t_a_ka@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 25
ใครรู้วิธีเปลี่ยนเพศปลาหางนกยูงช่วยด้วยน่ะค่ะ
นู๋เมย์ [ 02 ก.พ. 2551 10:17:36 ]
nu_may99@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 26
สวัสดีค่ะ ท่านผู้รู้ทุกๆ ท่านนะค่ะ

คือว่า ดิฉันมีเรื่องที่จะขอรบกวนหน๋อยนะค่ะ คือว่า อยากจะทราบว่าจะมีที่ไหนที่จะสามารถแยกสีของภาพถ่ายออกมาเป็นค่า RBG ที่เป็นมาตรฐานบ้างค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ
สงสัย [ 08 พ.ค. 2551 13:53:19 ]
l_thitta@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org