กระทู้-08563 : กรายภารตะ

Home » Board » ปลา

กรายภารตะ

กรายแดนภารตะ Chitala chitala  แตกต่างจากกรายแดนสยาม ด้วยลำตัวยาวกว่า และแถบสีเงินที่พาดเป็นบั้งๆ  อยู่บริเวณส่วนหลัง
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:40:09 ]
FishesPics_reply_47911.gif
ความคิดเห็นที่: 1
ยุวชนภารตะยังไม่มีบั้งเงินบนหลัง
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:46:14 ]
FishesPics_reply_47912.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
ตลาดสดกอลกาต้า กับกรายอินเดียขนาดกว่า ๑๐ กิโลกรัม
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:47:37 ]
FishesPics_reply_47917.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
สะตือ Chitala lopis จากแม่น้ำโขง
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:53:56 ]
FishesPics_reply_47919.jpg
ความคิดเห็นที่: 4
ตองลายปลาวงศ์ปลากรายสุดสวยจากแม่น้ำโขง Chitala blanci
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:55:29 ]
FishesPics_reply_47920.jpg
ความคิดเห็นที่: 5
กราย Chitala ornata
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:56:53 ]
FishesPics_reply_47922.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
น้องนุชสุดท้อง ปลาสลาด Notopterus notopterus
Plateen approve [ 25 ต.ค. 2550 00:58:13 ]
ความคิดเห็นที่: 7
สุดยอดครับอ.Plateen อยากเหนมานานแล้วตัวนี้ ขอบคุณที่นำมาให้ชมกันครับ
Alakazum approve [ 25 ต.ค. 2550 02:24:34 ]
ความคิดเห็นที่: 8
มองปุ๊บ!  นึงถึงปลาทอดมันอันดับแรกเลย   เอิ๊กๆ




มัน สามารถผมสข้ามสายพันธุ์ได้รึเปล่าขอรับ ?
ถ้าได้มันจะออกมาลักษณะไหนครับ
แล้ว ถ้าไม่ได้เพราะเหตุใด
                       
รบกวนผู้รู้ชี้แนะกระผมทีครับ



ขอบคุณครับ
electron approve [ 25 ต.ค. 2550 02:29:28 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ไม่เคยให้ความสนใจ..อืมแปลกดี  ดูตัวเกล็ดมันวาวดีจัง  การข้ามพันธุ์คิดว่าไม่มีปัญหาได้อยู่แล้ว ต้องดูว่าทำไปทำไมก่อน  ถ้าโตเร็วกว่าของบ้านเรา หรือรสชาดเนื้อดีกว่า ค่อยนำมาพัฒนาสายพันธุ์
Fisher approve [ 25 ต.ค. 2550 07:34:44 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ตัวในภาพอยู่ที่ไหนครับ
Fisher approve [ 25 ต.ค. 2550 08:04:09 ]
ความคิดเห็นที่: 11
นี่ไงครับ การผสมข้ามสายพันธุ์ เพื่อพัฒนาปลาสวยงาม
กรายทอง+ตองลาย = กรายเสือดาว

http://ninekaow.com/wbs/view.php?id=34581
นู๋หนึ่ง [ 25 ต.ค. 2550 08:32:53 ]
ความคิดเห็นที่: 12
สวยดีจังครับ ขอบคุณสำหรับรูปภาพ และข้อมูลครับอ. Plateen
Due_n approve [ 25 ต.ค. 2550 09:22:35 ]
ความคิดเห็นที่: 13
อะไรทำให้ electron เห็นปลาหลายชนิดในสกุลเดียวกันแล้วคิดคำถามแรกว่า "ผสมข้ามพันธุ์ได้ไหมครับ?"  
อันนี้ถามจริงๆ นะครับ อยากรู้มาก  อยากทราบว่าเป้าหมายในการถาม คืออะไร  และต้องการ "ผสมข้ามพันธุ์" เพื่ออะไร?
นณณ์ approve [ 25 ต.ค. 2550 09:40:06 ]
ความคิดเห็นที่: 14
โอ้ว ปลากรายจากแดนภารตะ งดงามจริงๆ
ฉลามเสือ approve [ 25 ต.ค. 2550 09:55:01 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ได้ความรู้ และน่าสนใจมากจริงๆ  ครับคุณ Plateen
ผมอยากทราบว่า
1.ปลาในกลุ่มปลากรายมีกี่ชนิดครับ ช่วยแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับอนุกรมวิธานของปลากลุ่มนี้ให้หน่อยนะครับ
2.ลักษณะที่ใช้แยกสกุล Chitala กับ Notopterus คืออะไรครับ
3.ปลาในกลุ่มปลากราย นอกจากพบที่อินเดียแล้วมีพบกระจายตามธรรมชาติที่ไหนบ้างครับ น่าสนใจมากๆ  เลยครับในเชิง biogeography
หอยงวงท่อ approve [ 25 ต.ค. 2550 10:57:25 ]
ความคิดเห็นที่: 16
คือว่าจาก #3  และ #4 ขอรับ   อยู่ในแหล่งน้ำเดียวกัน กระผมเลยสงสัยว่ามันจะผสมกันในธรรมชาติรึเปล่าขอรับ
electron approve [ 25 ต.ค. 2550 16:03:31 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่ามันผสมข้ามกันในธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือคนทั้งนั้น คงรอผู้รู้เสริมให้ครับ สงสัยมันคุยกันไม่รู้เรื่อง เลยอดผสมข้ามกัน
Fisher approve [ 25 ต.ค. 2550 19:46:52 ]
ความคิดเห็นที่: 18
แท้จริงแล้ว ๓,๔,๕  และ ๖ อยู่ในแหล่งน้ำเดียวกันครับ หาก แต่ว่า ปลามันคงไม่ชอบลองแปลกๆ  มั๊งครับ
Plateen approve [ 26 ต.ค. 2550 00:46:53 ]
ความคิดเห็นที่: 19
It have isolation machanisms by courtship behaviour, breeding niche and season, so no cross breed in this group naturally.
waterpanda approve [ 26 ต.ค. 2550 12:55:17 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ขอบคุณ คุณFisher  คุณPlateen คุณwaterpanda   มากๆ ขอรับ

แต่ก็ยังมีคนเอามันมาผสมข้ามสายพันธุ์จนได้
electron approve [ 26 ต.ค. 2550 14:47:06 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org