กระทู้-08641 : มีข่าวมาฝากขอรับ:~ไทยเตรียมหาซื้อ เชื้อเพลิง ถ่านหิน ใช้ผลิต ไฟฟ้า ใน อนาคต

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

มีข่าวมาฝากขอรับ:~ไทยเตรียมหาซื้อ เชื้อเพลิง ถ่านหิน ใช้ผลิต ไฟฟ้า ใน อนาคต

ข่าว ประเทศ ไทย เตรียมหาซื้อ ถ่านหิน มาใช้ผลิต ไฟฟ้า โดย ถ่านหิน ที่ ไทย จะใช้เป็น ถ่านหิน ที่มี กำมะถัน ต่ำ จึงไม่ก่อให้เกิด ก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

          ประเทศไทยเตรียมหาซื้อเชื้อเพลิงถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในอนาคต เพราะมีปริมาณเพียงพอที่ใช้ได้นานถึง 200 ปี

          นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.)  กล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยก็มีไม่เพียงพอเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในอนาคต ไทยจึงจำเป็นต้องหาซื้อเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ  เข้ามาทดแทน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงถ่านหินที่มีใช้ได้นานถึง 200 ปี  ซึ่งถ่านหินที่ไทยจะนำเข้าเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพสูง  และมีกำมะถันต่ำ จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

          รวมทั้งพลังงานนิวเคลียร์ที่ไทยต้องเร่งเดินหน้าศึกษาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้นในอนาคต ที่สำคัญใช้ต้นทุนต่ำมากส่งผลให้ประชาชนลดการใช้ไฟฟ้าในราคาสูง จึงอยากให้ประชาชนไว้วางใจในความปลอดภัยของการสร้างโรงไฟฟ้า และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในประเทศ เพราะไทยมีเทคโนโลยีที่สะอาด และเกิดความปลอดภัยแล้ว

          ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยว่า กฟผ. ได้มีการเจรจาซื้อขายไฟฟ้าจากเมืองหงสา ประเทศพม่า เพื่อพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินส่งมาไทย  และโครงการร่วมลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา เพื่อขายส่งเข้าไทยระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย  และกฟผ. ด้วย


http://hilight.kapook.com/view/16985
electron approve [ 04 พ.ย. 2550 20:05:26 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ให้กำลังใจชาติไทย!!!! "-_-
baitan approve [ 04 พ.ย. 2550 20:14:20 ]
ความคิดเห็นที่: 2
ตามข่าวมาตั้ง แต่ปีที่แล้ว  แต่ประสบการณ์เก่าๆ  เรื่องถ่านหินในบ้านเราเป็นเรื่องราวที่เลวร้ายเอาการทีเดียวนะ อันที่จริงถ่านหินก็เหมือนเป็นทางเลือกอีกทางสำหรับวิกฤตพลังงาน  แต่ถ่านหินเนี่ยมันก็มีหลายชั้น หลายแบบหนา อย่างไรหากมิซ้ำรอยเดิมก็คงดี
ที่แน่ๆ  ถ่านหินก็นำพาไปสู่โลกร้อนอยู่ดีแลนา จักพอมีทางออกอื่นที่มิใช่พลังงานฟอสซิล เขื่อน ฤา นิวเคลียร์อีกไหมหนอ
ampelisciphotis approve [ 04 พ.ย. 2550 23:20:43 ]
ความคิดเห็นที่: 3
In my humble opinion (IMHO), this is "walking back into the canal".

Why do we need to dig out all these stuff and burn them? Nature has put CO2 out of harm's way by hiding it under the earth in such stable form but we are digging them up, burning them like crazy and release the CO2 back into the atmosphere again.

Earth has cooled down and men are thriving. Now we are heating it all up again. What exactly are we doing?
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 00:01:08
natee approve [ 04 พ.ย. 2550 23:57:31 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ประเทศไทย มีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
แต่ที่ผ่านมาเนื่องจากทาง กฟผ.  และรัฐบาลได้ให้เหตุผลว่า
อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้ในการนำพลังงานดังกล่าวมาใช้มีราคาสูง

ทั้งที่ในประเทศอินเดีย  และ จีน รัฐบาลสนับสนุนให้มีการศึกษาการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ภายในประเทศ
เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีราคาต่ำลง
และตอนนี้ผลคือ ทั้งสองประเทศสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากพลังงานแสงอาทิตย์
โดยที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการใช้พลังงานฟอสซิล

.... สงสัย.... ว่าทำไม รัฐบาล ไม่สนับสนุนอย่างนี้บ้าง

ตอนนี้ได้ข่าวว่าอินเดียให้การสนับสนุนการศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม
เพื่อผลิตกังหันลมใช้เอง ที่มีราคาถูกกว่า  แต่ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับของชาติตะวันตก

.... สงสัย.... ว่าทำไม ประเทศไทย ไม่คิดได้อย่างเค้า
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 02:04:28
ยายอ้วน approve [ 05 พ.ย. 2550 01:51:05 ]
ความคิดเห็นที่: 5
เดี๋ยวก็เกิดปัณหาอีก เงินบังหน้าคนกันอีกหนแล้วครับ ได้เวลาปรับเปลี่ยนไรเล่นกันอีกแล้วสิ
ฉลามเสือ approve [ 05 พ.ย. 2550 02:53:21 ]
ความคิดเห็นที่: 6
พลังงานในรูปแบบอื่นก็มีการวิจัยอยู่บ้างครับ  หลายๆ สถาบันให้ความสำคัญทุกพลังงานขอรับ ทุกพลังงานมีความสำคัญหมดขอรับ ก็ต้องเลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดครับ พลังงานทุกรูปแบบมีดีเสียแตกต่างกัน

 แต่ที่ผมมองคือ  เราต้องมีแหล่งพลังงานเป็นของตัวเองบ้างครับ  ถ้าใช้แหล่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านซะหมด สมมติวันหนึ่งเรามีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วโดนตัดแหล่งพลังงาน แล้วเราจะเอาที่ไหนใช้
   ดังนั้นประเทศเราก็ควรจะมีแหล่งพลังงานที่สำคัญไว้จะเป็นการดีครับ

ทุกๆ คนเป็นคนไทย  และนี่ประเทศของเราครับ  ถ้าเราไม่เชื่อใจกันไม่ไว้ใจกัน แล้วเราจะไว้ใจใครได้อีก สิ่งที่ผิดพลาดที่ผ่านมาก็ให้เป็นบทเรียน และเป็นข้อคิดในการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป   ถ้าทำอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน มีกระบวนการที่โปร่งใส รู้จักความพอดี ก็จะไม่มีบัญหา  





 


          (พูด มันง่าย  แต่เวลาทำก็...... เหอๆ )
electron approve [ 05 พ.ย. 2550 03:22:20 ]
ความคิดเห็นที่: 7
คงต้องไปสร้างที่ห่างร้างไกลคนแหละครับ รวมทั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วย ที่แบบนั้นหายากเสียด้วย สร้างแถวบ้านใครใครยอมบ้างล่ะครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 05 พ.ย. 2550 08:49:54 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ข่าวอกมาว่าในอนาคตจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริงๆ ด้วย ก็คงหนีไม่พ้นภาคอีสานแน่ๆ  เตรียมฝึกเดินประท้วงกันำได้เลย  แต่ในโลกเรามีเตาที่ทำงานแล้วมากกว่า 200 เตาแล้วนะครับ
Fisher approve [ 05 พ.ย. 2550 08:58:25 ]
ความคิดเห็นที่: 9
 ถ้าเป็นประเทศอื่นที่มีสวัสดิการสังคมดี และการเมืองไม่ฟอนเฟะเหมือนประเทศเราผมสนับสนุนให้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ " แต่นี่ประเทศไทย" โดยส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าทำโดยรัฐบาลไทย,กฟผ. ไม่ปลอดภัยแน่นอน เพราะมีปัจจัยเรื่องเงินใต้โต๊ะเงินกินนอกกินในอีกเพียบ แทบจะฟันธงได้เลยครับว่าไม่ปลอดภัย
คงต้องบอกอย่างพี่Fisherว่าอาจต้องมีการประท้วงใหญ่จริง ในประเทศที่พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสูงๆ แล้วยังมีการผิดพลาดในการควบคุมกระบวนการผลิตเตาปติกรณ์นิวเคลียร์ เช่นรัสเซีย หรือเมื่อเร็วๆ นี้ที่ญี่ปุ่นก็มีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ขนาดประเทศที่การเมืองไม่ฟอนเฟะเขายังพลาดได้มากมาย ในไทยน่าจะหาพลังงานอื่นทดแทนพวกนิวเคลียร์ เขื่อน  และถ่านหิน ตั้งนานแล้ว
สายลม  และแสงแดด รวมถึงพลังงานจากพืชน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่สุด  แต่"หาช่องทางโกงยากกว่า" รัฐบาลเลยไม่คิดจะทำ ผมว่าเอาเข้าจริงๆ พลังลม และแสงอาทิตย์ ถ้ามีการพัฒนาอย่างจริงจังแล้วต้นทุนถูกกว่าพลังนิวเคลียร์ ถ่านหิน และเขื่อนแน่นอน
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 14:06:02
Alakazum approve [ 05 พ.ย. 2550 14:04:29 ]
ความคิดเห็นที่: 10
ตามพี่ Alakazum บอกแหละครับ  ถ้าไม่มีใต้โต๊ะก็อยากได้อยู่นะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เนี่ย  แต่คือว่า ถ้าเกิดประเทศไทยทำออกมาไม่ตามสเป็ก งานนี้ ใครจะรับผืดชอบครับพี่น้องงงง
conti approve [ 05 พ.ย. 2550 18:29:49 ]
ความคิดเห็นที่: 11
อ้าว! อะไรๆ ก็จะลง แต่อีสาน ยังไงกันหว่า
baitan approve [ 05 พ.ย. 2550 20:36:38 ]
ความคิดเห็นที่: 12
คือการที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ต้องผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานปรมณูนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ(IAEA)    นั้นก็หมายความว่าได้ตามสเป็กครับ   ถ้าไม่ผ่านIAEA ก็สร้างไม่ได้ครับ
 และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มีอยู่หลายแบบครับ มีระบบความปลอดภัยเต็มที่อยู่แล้ว

จะให้รับประกันว่าไม่มีอุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ100%คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ  ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิด ทุกคนรักชีวิตตัวเองหมดครับ  เจ้าหน้าที่ในโรงไฟฟ้าก็รักชีวิต เช่นกัน      Ex. จะให้กัปตันรับปากว่าเครื่องบินจะไม่ตกก็คงเป็นไปไม่ได้  แต่ ถ้าถามกัปตันว่าอยากให้เครื่องตกรึไม่ ก็คงได้คำตอบว่าไม่  

ตอนนี้รู้สึกว่ามี จีน,ญี่ปุ่น,รัสเซีย,แคนดานา มาเสนอขายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ กฟผ. บ้างแล้วครับ  แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ แต่อย่างใด
                                   _______________________________________
                       
                      -  ถ้าพูดถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ ปัญหาอีกอย่างก็คือ เราต้องมีบริเวณมากพอที่จะติดตั้งเซลส์แสงอาทิตย์ครับ ประมาณว่าพื้นที่ซัก1จังหวัดเลยที่เดียว ถึงจะได้กำลังกระแสไฟฟ้ามากพอเท่ากันโรงไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ      อีกอย่างเราไม่สามารถนำพลังงานจากเซลส์แสงอาทิตย์มาใช้ได้โดยตรง เราต้องทำการแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อมาเก็บไว้ในแบตเตอรี่เสียก่อน(แบตเตอรี่ก็เป็นขยะมีพิษเช่นกัน) จากนั้นจึงเอาพลังงานจากแบตเตอรี่เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้ามาใช้ตามบ้านเรื่อนได้ อีกอย่างเซลส์แสงอาทิตย์ราคาก็ยังสูง

                      - ส่วนพลังงานลม กังหันลม1ตัว ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้บ้านได้แค่2หลัง   กังหันลมจะเหมาะกับบริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลมากกว่าขอรับ อีกย่างก็มีปัญหามลพิษทางเสียงจากกังหันด้วย

                       - พลังงานนิวเคลียร์ปัญหาคือแร่ยูเรเนียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่หมดอายุแล้ว จะยังปลดปล่อยรังสีออกมาอยู่เป็นเวลานาน(กากกัมมันตภาพรังสี) จะต้องมีการจัดเก็บกากกัมมันตรังสีให้ปลอดภัย  แต่ให้พลังงานไฟฟ้ามากกว่า2แบบแรก
                 
                  ที่กล่าวมา:พลังงานทั้ง3รูปแบบ เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ไม่มีการปล่อยควันของเสีย ไม่ทำให้โลกร้อน

การที่เศรฐกิจจะดีขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น ความต้องการของมนุษย์มากขึ้น คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าไม่มีแหล่งพลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย  แต่ก็ต้องเลือกแหล่งพลังงานที่ว่าเหมาะที่สุดในหลายๆ ด้านขอรับ
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 20:52:11
electron approve [ 05 พ.ย. 2550 20:42:27 ]
ความคิดเห็นที่: 13
อีสานคงไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรอกขอรับ เหมาะสมกับการเก็บกากกัมมันตภาพรังสีมากกว่า เพราะมีหลุมเกลือ ป้องกันรังสีรั่วไหลเป็นอย่างดี
หรือไม่ก็มีแหล่งยูเรเนียมชั้นดี ก็คงต้องไปหาที่อีสาน
electron approve [ 05 พ.ย. 2550 20:48:34 ]
ความคิดเห็นที่: 14
วันนี้ไปนั่งเรียน วิชาหนึ่งเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
อาจารย์บอกเบาๆ  ให้พอได้ยินว่า
จังหวัดที่มีความเหมาะสมในการฝังกากปฏิกร คือ จ.เลย  และ จ.เชียงราย
จริงเท็จอย่างไร ไม่ทราบได้
เพราะอันนี้แค่ได้ยินมาค่ะ


ส่วนตัวไม่ได้ต่อต้านโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (คือเห็นด้วยกับน้อง Alakazum อย่างยิ่ง)
แต่ก็ยังอยากให้พื้นที่บางส่วนที่สามารถใช้พลังงานทางเลือกอื่น
(ไม่สนับสนุนให้ใช้แหล่งพลังงานจากแหล่งเดียวเท่านั้น)
อย่างที่คุณ electron บอกมา เมืองแถบชายฝั่งทะเล ก็ลองหันมาใช้พลังงานลมบ้าง
หรือจังหวัดในภาคอีสาน ก็หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์บ้าง (คงไม่ถึงกับต้องใช้พื้นที่ทั้งจังหวัดนะคะ ^^)
เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางด้านการใช้พลังงาน
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 23:09:40
ยายอ้วน approve [ 05 พ.ย. 2550 23:08:34 ]
ความคิดเห็นที่: 15
เห็นด้วยกับ #3  และ 9 มากๆ
#4 ,5 สงสัยกลัวไม่ได้ใต้โต๊ะอย่างว่า
#14 น่ากลัวมากๆ  ครับ เป็นจังหวัดที่ธรรมชาติสวยงามทั้งสองเลย อาจารย์ได้ให้เหตุผลรึเปล่าครับว่าทำไมจึงเป็นสองแห่งนี้
หอยงวงท่อ approve [ 06 พ.ย. 2550 10:36:27 ]
ความคิดเห็นที่: 16
#15 ใช่ค่ะ จังหวัดทั้งสองล้วนสวยงามด้วยธรรมชาติ น่ากลัวจริงๆ
การเป็นแหล่งเก็บกากจะไม่ยิ่งน่ากลัวกว่าเป็นที่สร้างโรงงานอีกเหรอ
baitan approve [ 06 พ.ย. 2550 12:18:09 ]
ความคิดเห็นที่: 17
หรือเอาไปไว้บ้านผมดีกว่า เผื่อ...... ก็หายไปแค่ภาคเดียว  ผมเชื่อว่าระบบการจัดการดีไม่น่ามีปัญหาได้ครับ ไม่ต้องกลัวใต้โต๊ะใต้เก้าอี้ไม่มีแล้ว        เดี๋ยวนี้เขาวางกันบนโต๊ะเลยครับ ......สัญญาการจัดจ้าง และดูแล
Fisher approve [ 06 พ.ย. 2550 13:46:46 ]
ความคิดเห็นที่: 18
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นขอรับ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สร้างจะต้องซื้อจากต่างชาติครับ  ฉะนั้นต่างชาติก็ต้องเป็นผู้เสนอราคาให้ถูกต้องใช่ไหมครับ  สเป๊กของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สร้างไม่สามารถเปลี่ยนได้ครับ ต้องสร้างตามแบบที่ว่างไว้  
ในระดับนี้ ถ้ามีเรื่องใต้โต๊ะใต้ดินก็ถือว่าเป็นสิ่งเลวร้ายมาก

                                 __________________________________
จากที่ได้ศึกษามา ก็อยากมาอธิบายให้ฟังแลกเปลี่ยนกันขอรับ

          กิจกรรมของมนุษย์ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยง  ไม่ว่าเรากำลังทำงาน  ขับรถในท้องถนน นั่งบนเครื่องบิน  หรือนั่งดูทีวีอยู่บ้าน  ในทุกๆ กิจกรรมจะมีการแบ่งความรับผิดชอบสำหรับความปลอดภัยของบุคคลหรือ  บุคคลอื่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง หรือเกิดขึ้นในบริเวณที่มีกิจกรรม  ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมีความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าการซื้อ และการใช้ผลิตภัณฑ์จะไม่ประสบอันตรายที่ไม่เคยรู้หรือไม่คาดคิดมาก่อน  ในลักษณะเดียวกัน  การจัดการในสถานที่ทำงานแห่งหนึ่งจะต้องรับผิดชอบในการจัดหาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานรวมถึงสาธาณะชน และ ในขณะเดียวกันพนักงาน แต่ละคน และสาธารณชนควรจะตระหนักถึงอันตรายเบื้องต้นที่อยู่รอบตัว และระมัดระวังด้วยสามัญสำนึกที่จะป้องกันตัวเองด้วย
           

  มาตฐานความปลอดภัย
               มาตรฐานความปลอดภัย และมาตรการควรถูกสร้างขึ้นจากการพิจารณาข้อมูลความปลอดภัยของประชาชนทั้งที่ทำงาน และเวลาไม่ทำงาน  ในยุคต้นๆ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  พนักกงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควรจะมีความปลอดภัยการกว่าขณะที่ปัฏิบัติงาน  หลักการนี้มีพื้นฐานที่ว่า  แต่ละคนจะควบคุมตนเองในขณะทำงานหรือในสภาพแวดล้อมการทำงานน้อยกว่าการควบคุมตนเองในชีวิตส่วนตัว  ดังนั้น  พนักงานจะต้องได้รับความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่ามาก  เป้าหมายทั่วไปสำหรับพนักงาน  คือต้องมีความปลอดภัยขณะทำงานมากกว่าอยู่ห่างจากที่ทำงาน 10 เท่า ในประเทศแคนนาดานี่เป็นตัวอย่างของมาตรฐานสูงเพราะว่าความปลอดภัยของสาธารณะชนอยู่ในระดับสูง
         เพื่อจะทำให้แน่ใจว่าพนักงานในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์  มีความปลอดภัยเท่ากับพนักงานในโรงไฟฟ้าชนิดอื่นซึ่ง ความเท่าเทียมของความภัยสัมพัทธ์จึงเป็นข้อกำหนดที่จะทำให้ได้ค่ามาตรฐานเชิงตัวเลข
        มีมาตรฐานเชิงตัวเลขอื่นที่กำหนดว่า พนักงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องปลอดภัยจณะทำงานเป็น 2 เท่าของพนักงานที่ปฏิบัติการที่ส่วนอื่นๆ

       เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรฐานของโรงงานนิวเคลียร์ แต่ละโรงงานมีความปลอดภัยเท่าเทียมกัน จึงมีแนวคิดที่ว่า  พนักงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควรมีความปลอดภัยเท่ากับพนักงานที่ทำงานในโรงงานที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัยอย่างเดียวกัน  สำหรับโรงงานในแคนนาดามีมาตรฐานอย่างน้อยเท่ากับมาตรฐานของโรงงานในแถบอเมริกาเหนือ
 
 Nuclear targets  
          employee fatalites                              <  2 per 100 million worker-hours;
          employee permanent disabilities  < 2 per 100 mmillion worker-hours;
          employee temporary disabilities   < 0.4 per 200,000 hours worked;
          employee risk of disabiling injury   < 10 day lost per 200,000 hours worked;


ref: ความบางตอนจากวิชา Nuclear power plant systems and operation
electron approve [ 06 พ.ย. 2550 18:34:51 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org