ความคิดเห็นที่: 3
เข้าไปอ่านมาแล้วครับ แบบนี้เถียงกันหลายชาติแน่นอนเพราะ แต่ละคนเข้าใจคำว่า การอนุรักษ์ ไม่เหมือนกัน ไม่แยกประเด็นให้ชัดเจน ผมไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนให้ชื่อภาษาไทยว่า อนุรักษ์ จากภาษาอังกฤษ conservation เป็นการคิดค้นคำที่ตรงประเด็นที่สุด อนุรักษ์ มาจาก อนุ (อนู) + รักษา ซึ่ง เลือกใช้คำได้ดีมาก
เอาคำนิยามแบบเหน่งๆ ที่เคยเรียนมาตั้ง แต่จำความได้ก็แล้วกัน ซึ่ง ดร. นิวัติ เรืองพานิช อดีตคณะบดีคณะวนศาสตร์ เขียนไว้ว่า
การอนุรักษ์หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด และต้องกระจายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยทั่วถึงกันด้วย ฉะนั้นการอนุรักษ์จึงไม่ได้หมายถึงการเก็บรักษาทรัพยากรไว้เฉยๆ แต่ต้องนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
อ่านความหมายแล้วแจ่มแจ้งครับว่า การอนุรักษ์นั้นคือ การรู้จักใช้ทรัพยากร โดยมีเป้าหมายคือ
1. เกิดประโยชน์หลากหลาย (multiple use)
2. ใช้อย่างมีเหตุผล (rational use)
3. ใช้อย่างชาญฉลาด(wise use) กาละ และเทศะ ที่จะใช้
4. ใช้ให้ยาวนานที่สุด (sustainable use)
ที่นี้เราจะใช้ทรัพยากันยังงัยก็ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากร
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป
2. ทรัพยากรที่ทดแทนได้
3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
แล้วค่อยมาว่ากันไปไปทีละประเด็น เช่น การสร้างฝายต้นน้ำเป็นการอนุรักษ์หรือไม่? การถกเถียงหาเหตุผลก็ต้องแยกออกมาเป็นประเด็นตามประเภทของทรัพยากร ได้แก่
1. ทรัพยากรดิน และน้ำ (หรืออาจเป็นทรัพยากรกายภาพ)
2. ทรัพยากรชีวภาพ (ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ แมลง ฯ ลฯ )
3. ทรัพยากรมนุษย์ (คุณภาพชีวิต)
หลังจากนั้นจึงมาสรุปในภาพรวม แน่นอนครับการอนุรักษ์สิ่งหนึ่งย่อมมีการทำลายอีกสิ่งหนึ่ง อันนี้เป็นกฎของธรรมชาติ เพียง แต่ว่าสิ่งที่จะได้มา กับสิ่งที่เสียไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ในส่วนที่ดีต้องทำให้ดีขึ้นกว่า ส่วนที่เสียต้องหาทางแก้ไขหรือบรรเทาลง เมื่อมีแนวทางที่ชัดเจนก็สามารถหาข้อสรุปได้ โดยไม่เกิดข้อขัดแย้ง เพียงแค่นี้แหละครับ เรื่องถกเถียงด้านการอนุรักษ์ ต้องจบแน่นอน
...แก้ไขเมื่อ 05 พ.ย. 2550 14:05:24
สุรชิต
[ 05 พ.ย. 2550 08:21:45 ]