กระทู้-08658 : ตะลึง! อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

ตะลึง! อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ

ข่าว รายงาน อีก 8 ปี กรุงเทพฯ จมน้ำ สาเหตุหลักที่ทำให้ กรุงเทพฯ จมน้ำมีหลักๆ  2 ประการหลักๆ  คือ เกิดจาก กรุงเทพฯ มีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น  และเพิ่มขึ้นทุกปี
electron approve [ 07 พ.ย. 2550 16:20:55 ]
Nature__reply_51505.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
จากกรณีที่สถาบันเวิลด์วอทช์ซึ่ง เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ศึกษาวิจัยด้านสภาพแวดล้อมทั่วโลกระบุว่า จากการศึกษาของสหประชาชาติ (UN)  และอีกหลายสถาบัน พบว่า เมืองที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั่วโลกกำลังเผชิญกับอันตรายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และพิบัติภัยอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยพบว่า เมืองชายฝั่ง 21 แห่ง จากทั้งหมด 33 แห่งที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรสูงถึง 8 ล้านคนภายในปี 2558 มีความเปราะบางสูงมากที่จะถูกน้ำท่วม ซึ่ง  1 ในเมืองที่มีความเสี่ยงต่อภัยนี้ คือ กรุงเทพมหานคร  
 
          สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า มีความเป็นไปได้  แต่สิ่งที่องค์การสหประชาชาติ ออกมาระบุเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันบรรยากาศที่ห่อหุ้มผิวโลกของ เรานั้น เพิ่มความร้อนให้โลกอยู่ทุกขณะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในบรรยากาศโดยฝีมือของมนุษย์ ทำให้องค์ประกอบในบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป มีการปล่อยเผาผลาญเชื้อเพลิงต่างๆ  มากขึ้น ซึ่ง เป็นสาเหตุให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเป็นสองเท่า มีผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอีก 2 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อชีวิต และระบบนิเวศ ทำให้เกิดพายุ ลมฟ้าคะนองมากขึ้น และมีความรุนแรงขึ้นด้วย รวมทั้งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายซึ่ง เป็นผลทำให้เกิดน้ำทะเลสูงขึ้นตามด้วย
     
          สำหรับการเกิดน้ำท่วม ในกรุงเทพฯ  นั้น มีสาเหตุ หลักๆ  2 สาเหตุด้วยกัน ประการแรก เกิดจากกรุงเทพฯ มีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนดินเลน  อีกประการหนึ่งคือ น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจาก น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลาย ทำให้ปริมาณน้ำทะเลสูงขึ้น  และเพิ่มขึ้นทุกปี  
 
          องค์การสหประชาชาติวิเคราะห์ไว้ว่า ภายใน 10-15 ปี น้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 1-1.5 เมตร จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวลง รวมทั้งจากกรมแผนที่ทหารได้แสดงพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ  และปริมณฑลที่กำลังทรุดตัวลง โดยพื้นที่ที่มีการทรุดตัวลงมากที่สุดอยู่บริเวณ เขตบางกะปิ ซึ่ง มีการทรุดตัวไปแล้วประมาณ 100 เซนติเมตร  
 
          เมื่อเป็นเช่นนี้ การรับมือกับสภาวการณ์น้ำท่วมบริเวณที่ลุ่มตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลคือ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ป้องกันระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นเนื่องจากสภาวะโลกร้อน
 
          ในอนาคตการสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้ จะมีที่เก็บน้ำในลักษณะของแก้มลิงตามแนวพระ ราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่ง จะเป็นที่เก็บน้ำ  สำรองไว้ใช้ในงานเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง ซึ่ง อยู่ระหว่างชายฝั่งกับแนวเขื่อน หากทำเป็นเขื่อนคอนกรีต รถจะสามารถวิ่งบนเขื่อนได้ รวมทั้งตรงปากแม่น้ำทำทางให้เรือสามารถลอดผ่านได้ มีช่องทางระบายน้ำ ซึ่ง จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1 แสนล้าน-2 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเขื่อนรูปแบบใด โดยระยะทางในการสร้างเขื่อนปิดอ่าวประมาณ 100-200 กิโลเมตร การสร้างเขื่อนในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ
 
          ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยคณะวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์สัตว์น้ำเขตร้อนชื้นของ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ จะใช้เวลาในช่วง 2 ปีข้างหน้าศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศโลก พร้อมตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2503 เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง ขณะนี้  มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการแล้ว
 
          หากสร้างเขื่อนที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่ง มีความคดเคี้ยว จะทำให้ระยะทางของเขื่อนมีความยาวมาก และมีการก่อสร้างที่ลำบาก เพราะดินส่วนใหญ่เป็นดินเลน  แต่การก่อสร้างเขื่อนบริเวณปากอ่าวไทยจะทำได้ง่าย กว่า เนื่องจากลักษณะของพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นดินทราย สามารถตอกเสาเข็มลงไปได้ ทำให้เขื่อนมีความแข็งแรงทนทาน
 
         เขื่อนนี้นอกจากจะเป็นการกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้ามาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้อีกด้วย โดยรถที่วิ่งมา  จากด้านตะวันออกต้องการลง ภาคใต้จะไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ  สามารถวิ่งข้ามเขื่อนเพื่อเดินทางลงใต้ได้เลย เป็นการย่นระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 100 กิโลเมตร  
 
          "เป็นการช่วยระบายน้ำไม่ให้ทะลักเข้ากรุงเทพฯ   เพราะพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เนื่องจากสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม มีโรงงานตั้งอยู่จำนวนมากเป็นหมื่นโรง หากมีน้ำท่วมเกิดขึ้นคนงานจะตกงานกันเป็นแสนคน พื้นที่ในกรุงเทพฯ  ถ้ามีการกั้นน้ำที่ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างถาวร เพราะน้ำจะไปท่วมฝั่งธนบุรี พระประแดงแทน แล้วไหลย้อนกลับมา รวมทั้งการสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้นจะบดบังทัศนียภาพของโรงแรม และ บ้านเรือนของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นได้  และต้องเวนคืนที่ดินอีกด้วย"
electron approve [ 07 พ.ย. 2550 16:22:32 ]
Nature__reply_51507.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
อีกทั้งเรือที่ต้องการจอดจะไม่สามารถกระทำได้ การสร้างเขื่อนปิดปากอ่าวจึงเป็นวิธีที่ ดีที่สุดในการตั้งรับ สามารถจะป้องกันน้ำท่วมในหลายๆ  จังหวัดได้ ตั้ง แต่จังหวัดสมุทร ปราการ สมุทรสาคร สมุทร สงคราม ไปจนถึงบางปะกง  ถ้ามีการสร้างกั้นเฉพาะกรุงเทพฯ  ก็จะไปท่วม จ.สมุทรปราการไปจนถึงบางปะกง จากนั้นน้ำก็จะไหลย้อนกลับมาเกิดเป็นปัญหาเดิมๆ  เกิดขึ้นอีก  
 
           " ถ้าไม่ทำตอนนี้ ปล่อยรอให้ใกล้ๆ  เมื่อน้ำทะเลหนุน เข้ามาสูงขึ้นเรื่อยๆ  จะสร้างไม่ทัน และความเสียหายจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ  ระบบ เศรษฐกิจจะหยุดชะงักหมด กรุงเทพฯ จะค่อยๆ  จมน้ำไปเรื่อยๆ  อีกทั้งน้ำจืดก็จะไม่มีกิน เพราะน้ำทะเลจะหนุนเข้าไปในคลองประปา ทำให้น้ำประปามีรสเค็มกลายเป็นน้ำกร่อย ผู้คนเป็นล้านจะไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ เวลาน้ำเหนือลงมาปะทะกับน้ำทะเลที่ท่วมอยู่แล้วก็จะยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่ง อาจจะท่วมมากกว่า 2-3 เมตร ก็เป็นได้"
 
          หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมไม่ย้ายเมือง การย้ายเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล  และเวลานานมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯ  มีโบราณสถาน  และสถานที่สำคัญอยู่เป็นจำนวนมาก การจะย้ายวัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ สถานศึกษา มหาวิทยา ลัยจะย้ายไปตั้งไว้ที่ใด หากมีการทำกำแพงกั้นโบราณสถาน สถานที่ราชการ โรงเรียน โรง แรม โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย  และภูมิทัศน์ไม่สวยงาม
 
           อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับคนหลายสิบล้านคน อย่าวางใจ ชะล่าใจ ต้องรอให้เกิดวิกฤติ  ก่อนแล้วจึงคิดแก้ไข คิดทำ เพราะ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอาจสายเกินแก้ การสร้างเขื่อนนี้เป็นเพียงแนวคิดที่เกิดขึ้นมาจากนักวิชาการเท่านั้น ทุกคน ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือกัน เพราะนี่เป็นโครงการระดับชาติ รัฐจะต้องมีนโยบายเป็นโครง การระดับชาติ มีการดำเนินการ ต่อเนื่องกันในหลายๆ  รัฐบาล เพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 5-8 ปี ไม่ใช่รัฐบาลนี้เห็นชอบก็มีการดำเนินการ  แต่พอมีรัฐบาลใหม่ก็หยุดชะงักลง อาจทำให้เกิดความเสียหาย และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ  ขึ้นมา
     
           การที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยการปลูกต้นไม้ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก นับเป็นวิธีที่ช่วยได้ในระดับหนึ่ง  
     
            "ส่วนในเรื่องของการ เกิดภาวะน้ำท่วมนั้น ไม่ใช่ให้ประชาชนตระหนก แต่ต้องการให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นหรือช่วยกันผ่อนหนักให้เป็นเบาแทน เมื่อรับทราบข้อมูลต้องมีการตั้งข้อ สังเกตด้วยว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เตรียมตั้งรับกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะการป้องกันย่อมดีกว่า การแก้ไขอย่างแน่นอน"
     
           หากเป็นเรื่องจริง ยังจะรอให้ฟ้า ฝน ช่วยอยู่อีกไหม ??

http://hilight.kapook.com/view/17074
electron approve [ 07 พ.ย. 2550 16:24:06 ]
ความคิดเห็นที่: 3
 ถ้าคิดจะย้าย
ย้ายเมืองหลวง คงไม่ได้หมายรวมถึงย้ายโบราณสถานหรอกครับ  แต่หมายถึงไปสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ขึ้น ศูนย์กลางการปกครอง/การบริหารหรือหน่วยราชการในระดับประเทศก็ย้ายไป ส่วนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจอันใหนย้ายได้ก็ย้ายก่อน

ใกล้บ้านเรา ล่าสุดก็พม่าไงครับ ที่สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่
นกกินเปี้ยว approve [ 07 พ.ย. 2550 16:39:54 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ยังไงสักวันก็คงต้องจม  แต่ผมว่าไม่ใช่8ปีครับ การย้ายเมืองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
Alakazum approve [ 08 พ.ย. 2550 03:25:22 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ตอนเด็กๆ  เราจะได้เรียนว่าที่ราบลุ่มภาคกลางเกิดจากน้ำหลากพัดพาเอาตะกอนดินขึ้นมา ป่าชายเลนชะลอตะกอนดินไม่ให้ทะลักออกทะเล พื้นดินขยายตัวออกไป  แต่เมื่อเรามีเขื่อน(ซึ่ง ก็จำเป็นต้องมีตามเหตุ และผล) เรามีตึก บ้าน ถนน น้ำที่เคยท่วมเพื่อเพิ่มหน้าดินกลายเป็นความเดือดร้อน ป่าชายเลนบริเวณป่าแม่น้ำกลายเป็นถนน  และแหล่งอาศัย คลื่นทะเลโถมเข้าแผ่นดินได้โดยตรง ไม่ต้องโลกร้อน มันก็จมอยู่ดีนั่นแหละ เพียง แต่ผมไม่คิดว่าจะได้ทันเห็นในสิ่งที่คิดไว้ตอนเด็ก มันเร็วไปก็เท่านั้นเอง
จุ่มพรวด approve [ 08 พ.ย. 2550 11:14:47 ]
ความคิดเห็นที่: 6
พวกโรงงานที่แอบสูบน้ำบาดาลมาใช้ในปริมาณมหาศาลก็เป็นสาเหตุหนึ่งของแผ่นดินทรุดในเขตกรุงเทพ ฯ   และปริมณฑล
อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำ คือทำรถไฟให้ไปถึงอย่างน้อยทุกจังหวัด ขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าได้เที่ยวละมากๆ  ไม่ต้องเปลืองน้ำมันรถทัวร์ รถบรรทุกคันเล็กๆ  ที่ทำให้จารจรติดขัด ถนนพัง
...แก้ไขเมื่อ 08 พ.ย. 2550 11:43:48
หอยงวงท่อ approve [ 08 พ.ย. 2550 11:39:47 ]
ความคิดเห็นที่: 7
มันคลุมพื้นที่ถึงบ้านด้วยซิ...ต้องหัดว่ายน้ำ หากินในน้ำซะแล้วซิ
Fisher approve [ 08 พ.ย. 2550 11:45:25 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ย้ายไปอยู่ยอดดอย!!!
Montela_Hoya approve [ 08 พ.ย. 2550 13:07:01 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ช้าไปแล้ว........ไม่สามารถแก้ไขให้โลกเย็นขึ้นได้เลย  แต่ชะลอให้เกิดความร้อนสะสมน้อยลงได้ ทุกวิถีทางที่นักวิชาการฯ  แนะนำนั่นแหละ ต้องปฎิบัติอย่างจริงจัง ที่สำคัญต้องทำตลอด.....ทั่วทั้งโลก...ก็อาจจะพอมีหนทาง! ถึงจะน้อยมากๆ  ก็ตามนะ
SUPER DDT. [ 08 พ.ย. 2550 17:30:33 ]
ความคิดเห็นที่: 10
เล่ห์กลหาประโยชน์จากเรื่องโลกร้อน
ดูทั้งหมดที่: http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/Market166.htm

ดร.โสภณ พรโชคชัย {1}
   ประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย {2}

โลกร้อนขึ้นคงไม่มีใครสงสัย การรักษาสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่ดี  แต่การรณรงค์เรื่องโลกร้อนทำให้ใครได้ ใครเสียประโยชน์ ประเด็นนี้เป็นกรณีศึกษาของการโฆษณาชวนเชื่อในการทำให้ประชาชนมืดบอดหรือไม่  และถือเป็น “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับใครบางคนหรือไม่

   ทุกวันนี้ แทบทุกคนคงได้ยินเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน  และเชื่อว่าทุกคนที่ได้ฟังคงชักห่วงใยต่อโลกในประเด็นนี้เช่นกัน  แต่เมื่อนายอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากการรณรงค์เรื่องโลกร้อน {3} ผมกลับเริ่มสงสัยว่าสันติภาพไม่น่าจะเกี่ยวกับโลกร้อนโดยตรง ที่ผ่านมาคนอื่นที่โด่งดังเช่นท่านติช นัท ฮันห์ {4} ผู้นำพระสงฆ์ในสมัยสงครามเวียดนาม ก็ยังพลาดรางวัลนี้มาแล้ว ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ผู้คนมักเชื่อไปในแนวทางเดียวกันโดยไม่มีโอกาสไตร่ตรองด้วยเหตุผล ผมจึงขอเสนอบทความนี้เพื่อต่อกรกับการครอบงำ  และการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง


An Inconvenient Truth: เท็จหลายเรื่อง

   ท่านที่อ่านหนังสือหรือชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth (AIT) {5} “คงรู้สึกตรงกันอย่างหนึ่งว่า อยากทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน . . . คงจะไม่เป็นการเกินเลยไปนัก หากจะเรียกขบวนการดังกล่าวว่าเป็นภารกิจกู้โลก เพราะวิกฤตการณ์เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนนั้นเกิดขึ้นแล้วจริงๆ   และกำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลเกินจินตนาการ” {6} วลีที่อ้างถึงนี้สะท้อน “อารมณ์” ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม AIT เป็นการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง  และยังแสดงข้อมูลที่เป็นเท็จหลายเรื่อง {7} ซึ่ง สังคมมักไม่มีโอกาสรับรู้ เช่น:

   1. การมองด้านเดียว: AIT ไม่เคยมองถึงบทบาทที่จำเป็นของน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน (Hydrocarbon) ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนจน ช่วยเพิ่มอายุขัยของประชากร ฯ ลฯ  AIT ละเลยอัตราการตายที่สูงขึ้นในยามที่โลกเย็นลงในอดีตที่ผ่านมา

   2. ความเข้าใจผิด: สาเหตุหลักของการตายของมนุษย์ปัจจุบันไม่ใช่เป็นเพราะภัยธรรมชาติ คล้ายกับการตื่นกลัวไข้หวัดนกจนเกินเหตุทั้งที่โรคปอดบวมทำคนไทยตายมากมาย โดยในปี 2550 ไม่พบคนป่วย และตายด้วยไข้หวัดนกในประเทศไทย  แต่คนไทยป่วยด้วยโรคปอดบวมจนต้องนอนโรงพยาบาลถึง 88,841 ราย  และตาย 765 รายในปี 2549 {8} นอกจากนี้ AIT ยังอ้างทำนองว่านักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกับตน  แต่ความจริงเสียงส่วนใหญ่เห็นตรงข้ามกับ AIT

   3. การพูด “ใส่ไข่” จับเอาปรากฏการณ์ครั้งคราวมาเป็นสรณะ: การอ้างว่าหมีขั้วโลกจมน้ำตายเพราะน้ำแข็งละลายทั้งที่เป็นเพราะพายุ การกล่าวถึงฝนตกหนักถึง 37 นิ้วในนครมุมไบในปี 2548 ทั้งที่ตลอด 45 ปี ไม่พบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นเลย การโยงเรื่องโลกร้อนกับอุทกภัยในจีนเมื่อเร็วๆ  นี้ ทั้งที่ใน 1-2 ศตวรรษก่อนมีอุทกภัยที่รุนแรงยิ่งกว่านี้มากมาย การโทษว่าโลกร้อนทำให้แนวปะการังเสียหายทั้งที่เป็นเพราะปัจจัยทางเฉพาะภูมิภาค ปัจจัยทางสังคม และอื่นๆ  การกล่าวว่าธารน้ำแข็งเกาะกรีนแลนด์จะเลื่อนลงสู่ทะเลทั้งที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ไม่มีทางออก

   4. การพูดผิดความจริง เช่น การอ้างว่าโลกร้อนในอดีตเป็นเพียงระยะสั้น ทั้งที่มีระยะเวลานับร้อยปีในอดีตที่เคยร้อนกว่าปัจจุบัน จนทำให้ครั้งหนึ่งชาวไวกิ้งสามารถไปตั้งถิ่นฐานในเกาะกรีนแลนด์ที่หนาวเย็นในขณะนี้ได้ การอ้างว่าโลกร้อนขึ้นมากทั้งที่เพิ่มเพียง 0.17 องศาเซลเซียสในรอบ 30 ปีล่าสุด  และร้อนขึ้น 0.5 องศาเซลเซียสในรอบ 100 ปี  และที่ผ่านมาก็มีลักษณะขึ้นๆ  ลงๆ  การอ้างว่าคลื่นร้อนยุโรปที่ทำให้คนตายมากมายเป็นผลจากโลกร้อนทั้งที่เป็นเพราะสาเหตุอื่น

   ในประเทศอังกฤษ มีการฟ้องศาลให้ห้ามฉาย AIT ในโรงเรียนมัธยม ศาลเห็นว่า AIT มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผิดไปถึง 9 ประการ  แต่ให้ฉายได้โดยต้องเพิ่มเติมข้อมูลที่ถูกต้อง  และให้ครูที่จัดฉายต้องชี้ให้นักเรียนเข้าใจถึงข้อผิดพลาดของ AIT ด้วย {9}  แต่ในประเทศไทย เรากลับปล่อยให้ฉายหลอกลวงประชาชนอย่างหน้าตาเฉย ตัวอย่างความผิดพลาดสำคัญ ได้แก่ การกล่าวว่าหิมะบนยอดเขาคิลิมันจาโรซึ่ง สูงถึง 6 กิโลเมตร ละลายเพราะภาวะโลกร้อน  แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นแย้ง สาเหตุการละลายคงเป็นเพราะแสงอาทิตย์ การใช้ที่ดินโดยรอบตลอดจนความร้อนใต้พิภพหรืออื่นๆ  เพราะหากแม้ผิวโลกจะร้อนขึ้น อุณหภูมิบนยอดเขาก็ยังต่ำกว่าจุดเยือกแข็งอยู่ดี


นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นแย้ง

   กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ 19,000 คนได้ร่วมกันลงชื่อใน The Petition Project {10} ว่า จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าการใช้ Hydrocarbon เพิ่มขึ้นทำให้เกิดภาวะโลกร้อนหรือภาวะเรือนกระจก แต่อย่างใด แม้โลกได้ร้อนขึ้นเล็กน้อย ก็ไม่ได้มีผลเสียหายร้ายแรง (อาจมีไวรัสบางชนิดเกิดขึ้น  แต่ในช่วงโลกเย็นก็อาจเกิดโรคอื่น)  แต่กลับเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกในเขตอบอุ่น การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นผลดีต่อชีวิตสัตว์ และทำให้การเพาะปลูกพืชผลได้มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงหนุนให้สหรัฐอเมริกาไม่ลงนามในพิธีสารเกียวโต {11} ซึ่ง ได้กำหนดข้อผูกพันทางกฎหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคี

   บทวิพากษ์ของ The Petition Project ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า

   1. การกลับหนาว-ร้อนของโลกมีลักษณะที่เป็นวัฏจักร ไม่ใช่มี แต่ร้อนขึ้นอย่างเดียว ที่ผ่านมามียุคน้ำท่วมโลก  และยุคน้ำแข็งสลับกันมาหลายครั้งแล้ว

   2. ธารน้ำแข็งเริ่มละลายมานานก่อนการใช้ Hydrocarbon เสียอีก  และละลายเร็วในอัตราเดียวกันมาตลอด 150 ปีแล้ว

   3. อากาศที่ร้อนขึ้นเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ภาวะเรือนกระจกอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังมีสาเหตุอื่นอีกมาก เช่น แสงแดด เมฆ ความชื้น การเปลี่ยนแปลงของผิวน้ำในมหาสมุทร ความร้อนใต้พิภพ ฯ ลฯ

   4. พายุทอร์นาโดมีแนวโน้มลดลง ส่วนพายุเฮอริเคนจากมหาสมุทรแอตแลนติก ก็มีแนวโน้มคงที่ พายุขนาดใหญ่ เช่น Katrina {12} ในปี 2548 อาจเกิดได้เป็นครั้งคราว เราจึงไม่ควรถือเอาปรากฏการณ์ชั่วคราว มาทึกทักปะติดปะต่อกับภาวะโลกร้อน

   5. ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 7 นิ้วในรอบศตวรรษ แต่เพิ่มมาก่อนยุคที่ใช้ Hydrocarbon ด้วยซ้ำไป

   6. ป่าไม้ (ไม่ใช่สวนป่า) ในสหรัฐอเมริกาได้รับการปลูกเพิ่มขึ้น 40% ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการปลูกป่าก็อาจไม่ได้ช่วยแก้ไขโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญนัก {13}


อย่าให้ใครลวงให้ตื่นตูม

   มีอยู่ภาพหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นภาพทะเลสาบ Aral Sea ในคาซัคสถาน {14} ซึ่ง  แต่เดิมมีขนาดใหญ่มาก  แต่กลับแห้งไป มีเรือจอดอยู่บนพื้นคล้ายทะเลทราย ภาพดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้ห่วงใยโลกเป็นอย่างยิ่ง  แต่ก็เป็นภาพแห่งการโกหกอย่างร้ายกาจ เพราะการเหือดหายไปของทะเลสาบนี้ เป็นผลมาจากการสูบน้ำ และเป็นที่คาดหมายมานานแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนแม้ แต่น้อย



    ถ้าวันนี้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ ระดับเดียวกับ “กรากะตัว” ในอินโดนีเซียเมื่อปี 2426 เราคงลืมเรื่องโรคร้อนในบัดดล  และนึกว่าโลกต้องแตกแน่แล้ว เพราะ “แรงระเบิดนั้นคร่าชีวิตทุกคนที่ยังอยู่บนเกาะ พื้นที่ร้อยละ 65.52 ของเกาะกลายเป็นเ ถ้าธุลี (รวมทั้งแก๊สมากมาย) ลอยสูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร ในรัศมี 240 กิโลเมตร เ ถ้าธุลีบดบังแสงอาทิตย์จนมืดมิดคล้ายตอนกลางคืน . . . อยู่ห่างถึง 4,776 กิโลเมตรก็ได้ยิน (เสียงระเบิด) . . . เกิดคลื่นสึนามิ สูงกว่า 30 เมตร เดินทางไปถล่มเกาะหลายแห่ง แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตรวจจับได้แม้ แต่ที่สหราชอาณาจักร รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ประมาณ 36,000 คน (อากาศยังเย็นลง 1.2 องศาทั่วโลกเป็นเวลาถึง 5 ปี)” {15} ดังนั้นเราจึงไม่ควรปริวิตกกับปรากฏการณ์ชั่วคราวจนเกินเหตุ


กรณีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในไทย

   หลายคนเน้นใช้ความรู้สึกมาบอกว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ  รุนแรงขึ้น  แต่ความจริงก็คือ พายุหมุนเขตร้อนที่เข้ามาในประเทศไทยมีปริมาณลดลงตลอดในช่วงปี 2494-2549 รวมทั้งอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง พ.ศ.2539-2549 ก็ไม่แตกต่างกันเลย {16} ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับลดลงนับ แต่ปี 2483 ที่สำรวจ {17} ความรู้สึกที่ไม่อิงข้อมูล มักทำให้คิดตรงข้ามกับความจริง  และมักจะรีบเชื่อเมื่อมีผู้ทำให้ตกใจ


.
.
.
.
.
.


   ส่วนที่เห็นน้ำท่วมโบสถ์วัดขุนสมุทร {18} นั้น คงเป็นเพราะการทรุดตัวของดินจากผลของการสูบน้ำบาดาลเกินขนาด การทำลายป่าชายเลน การพังทลายของตลิ่ง และอื่นๆ  ซึ่ง เป็นมาโดยตลอด ไม่ใช่เพราะภาวะโลกร้อน แต่อย่างใด เป็นธรรมชาติรอบอ่าวไทย ที่บางส่วนของพื้นที่อาจถูกกัดเซาะ บางบริเวณก็กำลังเกิดที่งอก ในสมัยโบราณ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่เดิมเป็นทะเลทั้งหมด ทุกวันนี้ใต้ท้องนาในจังหวัดอยุธยา ยังขุดทรายมาขายกันได้เป็นล่ำเป็นสัน วัดเจดีย์หอยที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ก็ยังพบเปลือกหอยทะเลมากมาย แค่น้ำทะเลกัดเซาะวัดขุนสมุทร และบริเวณใกล้เคียงเพียงเท่านี้ ยังเทียบอะไรไม่ได้กับการเกิดภาคกลางของประเทศไทย แต่อย่างใด



   ในประเทศไทยของเรา การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศยังเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา  และเอ็นโซ ตามกระแสน้ำอุ่น {19}  แต่กลับมีการกล่าวอ้างว่าเป็นเพราะภาวะโลกร้อนเป็นสำคัญ


สิ่งที่ต้องคิดทบทวน

   โปรดอย่าไพล่เข้าใจผิดว่า เราไม่ควรใส่ใจกับเรื่องโลกร้อน และพาลเข้าใจว่า เราละเลยการรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน บทความนี้เพียงมุ่งตรวจสอบการโฆษณาชวนเชื่อที่ขาดจรรยาบรรณ ทำให้สังคมขาดความรอบรู้ และเกิดการคิดอย่างไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เราควรมีเวทีการถกเถียงเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนในวงกว้าง เป็นการส่งเสริมสังคมอุดมปัญญา มีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่สังคมที่สัก แต่เชื่อกันด้วยศรัทธาอย่างมืดบอดอันถือเป็นอันตรายต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และปัญญา-ความรู้ของประชาชนในระยะยาว

   การใช้อวิชชาหลอกล่อให้คนเชื่อ เป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประหนึ่งเห็นชาวบ้านเป็นวัวควายที่อธิบายกันดีๆ  ไม่ได้ ต้องหลอกล่อด้วยความกลัวถึงผลร้ายของภาวะโลกร้อนจนเกินจริง  และด้วยการใช้ความน่ารัก-น่าสงสารของคน สัตว์ และสิ่งของเพื่อให้คล้อยตาม โปรดสังเกตว่า “หมัดเด็ด” ในการปิดปากผู้สงสัยเรื่องโลกร้อนก็คือการป้ายสีพวกเขาว่าเป็นผู้ไม่หวังดีต่อโลก เราจึงควรมีการวินิจฉัยด้วยตนเองให้ชัดเจนตามหลักธรรมกาลมสูตร {20} ก่อนที่จะเชื่ออะไรง่ายๆ

   ผู้ที่กล้าพูดความจริงบางส่วนเพื่อเอาประโยชน์ใส่ตนนับเป็นผู้ที่น่ากลัว สังคมพึงทราบว่าบ้านของนายอัล กอร์เองกลับใช้ไฟฟ้ามากกว่าคนอเมริกันทั่วไปถึง 20 เท่า ใช้เงินค่าไฟฟ้า และแก๊สรวมกันปีละเกินกว่า 1 ล้านบาท {21} คนทำดีพูดดีเรื่องโลกร้อนอาจสั่งสมบารมีจนได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา บางคนได้อาชีพเป็นนักอนุรักษ์ นักประท้วง นักแบกป้ายเพื่อ “กู้โลก” หาเลี้ยงชีพไปได้ชั่วชีวิต เป็นต้น

   การบิดเบือนความจริงเคยส่งผลเสียหายมากมายมาแล้ว เช่น การที่ NGO บางแห่งเคยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จอย่างร้ายแรงว่า ประเทศไทยมีโสเภณี 2 ล้านคน ทำให้พจนานุกรมลองแมน เคยให้คำจำกัดความของกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครแห่งโสเภณีในปี 2536 {22} จะสังเกตได้ว่านักเคลื่อนไหวทางสังคมมักพยายามโฆษณาว่าปัญหาที่ตนเกี่ยวข้องอยู่มีขนาดใหญ่ ด้วยหวังให้สังคมให้ความสนใจ  แต่น่าเสียดายที่ทุกคนก็ใช้วิธีเดียวกันจนเฝือ สังคมเลย “มึน”  และกลับคิดว่าปัญหาทั้งหลายนั้นสุดแก้ไข กลายเป็นปัญหาโลกแตกไป

   ทางออกสุดเท่ห์ของการแก้โลกร้อนก็คือการปลูกป่า (ซึ่ง ถือเป็นรูปแบบการทำดีที่นำสมัย และมีระดับ ไม่ใช่พื้นๆ  แบบการบริจาคให้มูลนิธิการกุศล) โดยไม่นำพาว่าจะรณรงค์ปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจัง ปีหนึ่งๆ  ป่าไม้ไทยถูกทำลายไปมหาศาลกว่าป่าที่ปลูกใหม่ ต้นไม้ที่ปลูกอย่างลูบหน้าปะจมูกนี้ก็คงตายไปมากกว่าจะอยู่รอดได้ บาปของแฟชั่นการปลูกป่านี้ก็คือการช่วยบิดเบือน ปกปิดไม่ให้อาชญากรรมทำลายป่าได้รับการตระหนักโดยสังคมส่วนรวม

   การเคลื่อนไหวเรื่องนี้ยังอาจถือเป็นการเบี่ยงประเด็นสาระสำคัญของปัญหาในโลกนี้ อันได้แก่ โรคภัยไข้เจ็บที่เผชิญอยู่ทุกวัน การกดขี่เอารัดเอาเปรียบต่อผู้ด้อยโอกาส สงคราม และการก่อการร้าย อำนาจเผด็จการที่ปิดกั้นเสรีภาพประชาธิปไตย ตลอดจนการปล้นสดมภ์ของประเทศมหาอำนาจต่อประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น บางที ถ้าเราเอาเงินรณรงค์เรื่องโลกร้อนไปช่วยคนทุกข์ยากทางอื่น ยังอาจได้ประโยชน์ต่อสังคมมากกว่านี้

   บางที “นักบุญ” ที่พูดกับท่านถึงภาวะโลกร้อนนั้น แท้จริงอาจเป็น “ซาตาน” ผู้ก่ออาชญากรรม ตักตวงประโยชน์ทางการเมือง ฉกฉวยหาประโยชน์เฉพาะตน คนที่กล้า “แหกตา” พวกเราถึงเพียงนี้ น่าจะเป็นบุคคลอันตราย เราควรรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน  แต่เราก็ควรส่งเสริมการระดมความคิด ถกเถียงค้นคว้าอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และมีสติ  และต่อต้านความงมงายอย่างมืดบอดในทุกรูปแบบ ประเทศชาติจึงจะเจริญด้วยสังคมอุดมปัญญาที่แท้จริง

ที่มา:
{1}   ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน และนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ ยังเป็นกรรมการที่ปรึกษาหอการค้าไทยสาขาอสังหาริมทรัพย์ ผู้แทนสมาคมประเมินค่าทรัพย์สินนานาชาติ (IAAO) ประจำประเทศไทย  และกรรมการสภาที่ปรึกษา Appraisal Foundation ซึ่ง ก่อตั้งโดยสภาคองเกรสเพื่อการควบคุมการประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกา Email: sopon@thaiappraisal.org

{2}   มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มุ่งให้ความรู้แก่สาธารณชนด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ และการพัฒนาเมือง ปัจจุบันเป็นองค์กรสมาชิกหลักของ FIABCI ประจำประเทศไทย ถือเป็นองค์กรเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยจนได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiappraisal.org

{3}   ข่าว “'อัล กอร์'-ไอพีซีซี โนเบลสันติภาพ” ไทยรัฐ 13 ต.ค. 50 http://www.thairath.com/offline.php?section=hotnews&content=64404

{4}   รายละเอียดเกี่ยวกับพระติช นัท ฮันห์ http://en.wikipedia.org/wiki/Nhat_Hanh ซึ่ง เป็นหนึ่งผู้ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ  แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก

{5}   เว็บไซต์เกี่ยวกับภาพยนต์นี้ดูได้ที่ http://www.climatecrisis.net  และ http://www.an-inconvenient-truth.com

{6}    เพชร มโนปวิตร บทความ “รายงานโลกใบใหญ่ / สิ่งแวดล้อม : An Inconvenient Truth กับภารกิจกู้โลก” ในนิตยสารสารคดี พฤศจิกายน 2549: http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=633

{7}   โปรดอ่านบทวิพากษ์ภาพยนต์เรื่อง An Inconvenient Truth ได้ที่ Marlo Lewis  “A Skeptic's Guide to An Inconvenient Truth”: http://www.cei.org/pages/ait_response-book.cfm  และ Mary Ellen Tiffany Gilder “Diagnosing Al Gore: Truth in the Balance” http://sitewave.net/news/MaryEllenGilder.htm

{8}   ฝ่ายวิเคราะห์ และประมวลข่าวสาร สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข 11 ตุลาคม 2550: “ในปี พ.ศ. 2549 . . . ผู้ป่วยโรคปอดบวมที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอีก 88,841 ราย/ ตาย 765 ราย ซึ่ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นต้นเหตุ สำหรับในปี พ.ศ. 2550 จนถึงสัปดาห์ที่ 39 . . . มีรายงานผู้ป่วย. . . โรคปอดบวมที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอีก 60,188 ราย ตาย 619 ราย . . . อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของกรมควบคุมโรคในปี 2550 นี้ยังไม่พบผู้ป่วยจากโรคไข้หวัดนก หรือผู้เสียชีวิต” ที่ http://www.moph.go.th/show_hotnew.php?idHot_new=9516

{9}   โปรดอ่านข่าว “Gore climate film's nine 'errors'” BBC News, October 11, 2007: http://news.bbc.co.uk/1/hi/education/7037671.stm

{10}   โปรดดูรายละเอียดของโครงการนี้ได้ที่ Petition Project http://www.oism.org/pproject/s33p1845.htm

{11}   พิธีสารเกียวโต Kyoto ดูรายละเอียดภาค ภาษาอังกฤษฉบับเต็มได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Kyoto_Protocol หรือภาคภาษาไทยได้ที่ http://www.jgsee.kmutt.ac.th/greenhouse/unfccc/unfccc.php#unfccc

{12}   ดูรายละเอียดพายุ Katrina ถล่มนครนิวออลีนส์ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Hurricane_Katrina

{13}   ผลการศึกษาของ Lawrence Livermore National Laboratory เรื่อง “Plant a tree and save the Earth?” ที่ http://www.llnl.gov/pao/news/news_releases/2006/NR-06-12-02.html  และเรื่อง “Models show growing more forests in temperate regions could contribute to global warming” ที่ http://www.llnl.gov/pao/news/news_releases/2005/NR-05-12-04.html

{14}   อ่านรายละเอียด Aral Sea ได้ที่ http://unimaps.com/aral-sea/print.html

{15}   อ่านรายละเอียดภูเขาไฟกรากะตัวได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7

{16}   ข้อมูลพายุจากกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ www.tmd.go.th/programs/uploads/cyclones/track-56y.pdf  และข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนจาก http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/table/files/1100400/2549/000/00_1100400_2549_000_000000_00500.xls

{17}   ข่าว “อัล กอร์ มั่ว น้ำทะเลอ่าวไทยลดลงทุกปี” ไทยรัฐ 17 ตุลาคม 2550 http://www.thairath.com/news.php?section=society03&content=64807  และข่าว “อย่าตระหนก โลกร้อนไม่ทำให้กรุงเทพจมบาดาล” http://www.tei.or.th/hotnews/071116-globalwarming1-manager.htm

{18}   โปรดดูได้ที่เว็บไซต์วัดขุนสมุทร สมุทรปราการ http://www.khunsamut.com

{19}   ปรากฎการณ์เอลนีโญ และลานีญา โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=17

{20}   กาลามสูตร 10 คือ อย่าปลงใจเชื่อ 1.ด้วยการฟังตามกันมา 2.ด้วยการถือสืบๆ  กันมา 3.ด้วยการเล่าลือ 4.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5.ด้วยตรรก 6.ด้วยการอนุมาน 7.ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8.เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน 9.เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ  และ 10.เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา เราจะเชื่อก็ต่อเมื่อพิจารณาเห็นด้วยปัญญา (ที่มาคือ http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002684.htm)

{21}   ข่าว “เมื่อกระแสโลกร้อนย้อนมาเล่นงานอัล กอร์” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ 7-15 มีนาคม 2550 โปรดอ่านข่าวภาษาอังกฤษที่ http://www.guardian.co.uk/international/story/0,,2022869,00.html (The Guardian)  และ http://www.usatoday.com/news/washington/2007-02-27-gore-house_x.htm (USA Today)

{22}   โปรดอ่านข่าวดังกล่าวได้ที่ http://www.prospect-magazine.co.uk/article_details.php?id=6889

หมายเหตุ:   โปรดอ่านเพิ่มเติมในกระทู้ “กระทู้รวมพล คนที่ ‘ไม่เชื่อ’ ว่ามนุษย์ทำให้โลกร้อน”  และประจักษ์หลักฐานรวมทั้งความเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ  ที่มีต่อกระทู้นี้ http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X5912617/X5912617.html
sopon [ 08 ธ.ค. 2550 05:56:06 ]
sopon@thaiappraisal.org

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org