กระทู้-08689 : ประกาศการครองครองสัตว์คุ้มครองชั่วคราวปี 2550

Home » Board » อื่นๆ

ประกาศการครองครองสัตว์คุ้มครองชั่วคราวปี 2550

เอ่อ ไม่รู้ว่าจะเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายนะครับ
มาตอนกระแสการค้าสัตว์ป่ากำลังดังเชียว

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/042/38.PDF
ปีย์  [ 13 พ.ย. 2550 18:28:28 ]
ความคิดเห็นที่: 1
เอ๋ หรือว่าพี่ๆ  ทราบกันหมดแล้วนี่ พอดีไปเห็นมาเลยรีบเอามาโพสครับ
แฮะๆ  สงสัยจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน
ปีย์ [ 13 พ.ย. 2550 18:30:15 ]
ความคิดเห็นที่: 2
เพิ่งทราบข่าวมาวันนี้เหมือนกัน มีคนมาแจ้ง สำหรับผมเฉยๆ  เพราะใช้สมองพิจารณาดูแล้ว ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการค้าสัตว์ป่า หรือทำให้ลดการค้าสัตว์ป่าลงเลย

เห็นแว่วๆ  มาว่า ครั้งก่อนที่จดครอบครองกัน ทั่นก็ไม่มีการมา monitoring เรื่องประชากรสัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้น ลดลง หรือที่โยกย้ายถ่ายเทจากการครอบครองเลยแล้วจะช่วยอะไรขึ้นมา

งี้มีช่องทางสวมได้เห็นๆ   โลกในความเป็นจริงกับโลกที่ทั่นเค้าวาดไว้ในกระดาษเช็ดตูด มันต่างกันโขอยู่นะ รู้ทั้งรู้ยังเหมือนเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ หรือมีของหนักมาบังตาทั่นอยู่ หือ

อ่อ แล้วไอ่ปาหี่จับของกลางทำเป็นข่าวครึกโครมนั่นอีก พอลับหลังพวกไปเอาออกมาได้ งี้เค้าเรียกเลือกปฏิบัติ

เห่อๆ  บอกได้คำเดียว เอือมระอาไอ่ทั่นกรม...นี่จริงๆ  ครับ
B-Herp [ 13 พ.ย. 2550 21:23:42 ]
ความคิดเห็นที่: 3
เอาหน่าพี่ เราก็รู้ๆ กันอยู่มันกงกรรมกงเกวียนแล้ว ปล่อยมันไป เราก็คอยดู และซึมได้เมื่อไหร่ก็พลิกมันที...
ฉลามเสือ approve [ 14 พ.ย. 2550 08:32:06 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ปล่อยปละละเลยกันขนาดเจ้าหน้าที่ฯ (บางคน)ยังรับเงินค่าผ่านทาง?
สุวรรณภูมิ approve [ 14 พ.ย. 2550 11:10:10 ]
ความคิดเห็นที่: 5
แฮะๆ  
บรรยากาศเว็บนี้ต่างกับบอร์ดผู้เลี้ยงสัตว์เลยครับ
ทางโน้นดีใจกันใหญ่....

จริงๆ  แล้วการออกกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่านี่มันเอื้อให้ทำอะไรอย่างว่า
ให้ถูกต้องหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ

ทั้ง พรบ.สัตว์คุ้มครองของไทย
และ CITES ที่ดูเหมือนอยากให้ทำอย่างถูกต้อง ...แบบว่าค้าขายแบบถูกต้อง


ได้ข่าวแว่วๆ  ว่าพรบ.สัตว์คุ้มครองเปลี่ยนชื่อด้วยนะครับ
จากพรบ.สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า
เป็นพรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า

แฮะๆ  ผมเองไม่ได้คิดว่าสัตว์ป่าแตะต้องไม่ได้นะครับ
คนเคยกินเคยอยู่กับชาวบ้าน ชาวป่ามาคงรู้ดี
ว่าสัตว์ป่ากับชาวบ้านเค้าอยู่กันยังไง

อืม... แต่สุดท้ายผลประโยชน์คนตกกับคนไม่กี่คน

แต่ ถ้าอยากให้เพาะเลี้ยงหรือค้าขายอย่างถูกต้องจริง
ก็คงต้องปรับระบบ และวิธีคิดให้ลงตัวกว่านี้

ขนาดช้างใหญ่ๆ  มีคนขอให้ฝังชิปรายตัว ตกตัวละไม่เกินพัน
ยังให้เค้ารั้งรออยู่

ถ้าอยากส่งเสริมจริงก็ต้องวางระบบไม่ให้มีสัตว์ป่าตัวจริงหลุดมาปะปน
อย่างว่าเนอะครับ...

ท่าจะยาก
...
ปีย์ [ 14 พ.ย. 2550 11:46:54 ]
ความคิดเห็นที่: 6
อ่านคห. ของ B-Herp แล้วมันส์มากครับ ตรงๆ  จริงใจดี
เป็นเบื้องหน้าเบื้องหลังที่คนคอยติดตามมาพูดมาเล่าให้ฟัง

เห็นด้วยทุกประการ ทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร  ถ้าทำไปแล้วไม่ติดตามผล ควมคุม จับกุม จัดเก็บสถิติ ต่างๆ  นาๆ  ไหนๆ  ก็เสียเวลาเสียงบแล้ว ทำไมไม่ทำให้เลิศไปเลย
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 14 พ.ย. 2550 15:40:36 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ตอนที่ไปแจ้งคราวที่แล้ว ยังมีคุณป้าท่านหนึ่งถามเจ้าหน้าที่ว่า "นกหงหยก ต้องแจ้งไหม"  แต่เจ้าหน้าที่ท่านนั้นไม่ทราบ.......
นณณ์ approve [ 14 พ.ย. 2550 16:06:43 ]
ความคิดเห็นที่: 8
นกตัวที่พี่นณณ์พูดถึงใน #7 ผมเคยเห็นเจ้าหน้าที่ฯ ที่เข้ายึด( และจับกุมผู้ค้าไม่ค่อยได้)นกป่าในจตุจักรยึดเป็นของกลางด้วย นกหงส์หยกนี่หละครับไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อครับผมเดินเล่นอยู่พอดีเห็นเหตุการณ์ตลอดเลยเข้าไปบอกกับพี่ๆ ว่ามันเป็น"นกหงส์หยก"  ...น่าเศร้าจริงๆ ครับ
สุวรรณภูมิ approve [ 14 พ.ย. 2550 17:30:44 ]
ความคิดเห็นที่: 9
อโรวาน่าเงิน ของอเมริกาใต้ ก็ยึดมาแล้วโดยกรมประมงครับ
นณณ์ approve [ 14 พ.ย. 2550 17:33:40 ]
ความคิดเห็นที่: 10
นกค็อกคาเทลก็โดน......นกแก้วคุณไม่ต้องมาเถียง
งูหลามบอลไพธอน ก็โดน.......นี่งูหลาม ผิดกฎหมาย

โมเดลเต่าเรซิ่น........นี่ซากเต่า ผิดๆๆๆๆๆ
คนนั้น approve [ 14 พ.ย. 2550 20:46:27 ]
ความคิดเห็นที่: 11
มันต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงแน่นอน  ถ้าเกิดขึ้นจริง
อย่างน้อยๆ  อาจทำให้นักอนุรักษ์ในกะลาหลายคน ได้สัมผัสกับสัตว์เหล่านั้น จริงๆ เสียทีครับ จะได้มีความรู้จากการปฏิบัติกะเค้าบ้าง นอกเหนือจากการอ่าน ฟังเขาเล่ามา แล้วก็ เลียนแบบ เพื่อให้ตัวเองกลายเป็นนักอนุรักษ์ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย

ที่สำคัญที่สุด
ถ้าผู้ใช้  และผู้ ควบคุม กฏหมาย ยัง โง่ กว่าประชาชนคนเลี้ยงสัตว์
รับรองว่า ไม่นานก็คงสูญพันธุ์เรื่อยๆ
การอนุรักษ์ ต้องทำด้วยความเข้าใจ การห้าม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด  แต่ก็ได้ผลน้อยที่สุด เวลาอันยาวนาน แห่งการห้าม ได้พิสูจน์มาแล้วว่า มันไม่มีอะไรดีขึ้น ส่วนการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่  และการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า มันเสียแรง เสียเวลา  และเปลืองน้ำลายซะเหลือเกิน
คนห้าม ก็ห้ามได้ แต่ในกระดาษ จับได้ ก็เอาไปเก็บไว้อดๆ อยากๆ  ตายซะเกือบหมด ที่รอด ก็เอาของมาปล่อยเองซะงั้น เลี้ยงก็เลี้ยงไม่เป็นอย่าว่า แต่จะเพาะพันธุ์ ความรู้ก็ไม่มีจะแจกจ่ายให้ใคร ถามหน่อย ว่าการห้ามทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประชากรได้อย่างไร
รีสอรท์ โรงไฟฟ้า ความเจริญ การบุกรุกทำลายป่า สำคัญกว่าแค่ไหน ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องรอง ณ. ที่ที่ คุณนั่งเล่นคอมพิวเตอร์อยู่ตอนนี้  แต่ก่อน มันก็เคยเป็นป่า  และคงมีปลา สัตว์ป่ามากมาย เคยอาศัยอยู่ อาจเป็นสัตว์ที่มีอยู่ ณ. ที่ตรงนี้ที่เดียวในโลกก็ได้  และมันก็ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะสิ่งมีชีวิตอย่างคุณ
ตัวเองได้ครบทุกอย่างแล้ว ทำลายอะไรไปบ้างไม่รู้ รู้ แต่ว่า ตัวเองสบายแล้วล่ะมีบ้านอยู่ มีรถขับ มีไฟฟ้าใช้ มีเงิน ก็ได้เวลา โจมตีผู้ใช้ประโยชน์จากป่าแล้ว จะได้ทำให้ตัวเองดูสูงขึ้นหน่อย กลายเป็นนักอนุรักษ์ ทำเพื่อสัตว์ป่า ทำเพื่อส่วนรวม ผู้คนจะได้ยกย่อง เชิดชู
มองกันผิดประเด็นหรือเปล่า...
ดังนั้น  ถ้าจะทำทั้งที่ ก็ทำให้สมบูรณ์แบบครับ ไม่งั้น อย่าทำเลย เสียดายกระดาษ
ควบคุมทั้งการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสม รักษาป่าแหล่งที่อยู่ทุกๆ ประการ ให้ความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนโดย เจ้าหน้าที่ที่มีสมอง ขัดขวางผู้มีอิทธิพลในการทำลายป่า ส่งเสริมการรักษาสภาพแวดล้อม ทั้งในเมือง และนอกเมือง ร่วมมือกับประชาชน ในการอนุรักษ์ ทั้งในป่า  และ ทั้งในเมืองด้วยการเลี้ยง และเพาะขยายพันธุ์ที่ถูกต้อง
ไม่ใช่ แข่งกับ ประชาชน เพื่อ เอาหน้า หรือ เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน
ยกตัวอย่าง ตะพาบม่านลาย ปลาหมูอารีย์ ฯ ลฯ
คนเค้าเพาะกันไปตั้งนานแล้ววววว  ทำมึน ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่แก้กฏหมาย รอเราเพาะได้ก่อน จะได้ถูกบันทึกไว้ว่า เป็นคนแรกที่เพาะได้ แล้วก็ได้ เลื่อนขั้น ได้เงินเดือนเพิ่ม เอาไปเลี้ยงลูกเลี้ยงเมียของเราคนเดียว ส่วนประชาชน มันไม่มีสิทธิ์จะได้รับเกียรติอันนี้อยู่แล้ว เรามันชนชั้น กรรมสิทธิ์ เหอๆๆๆ
เสือตออีก ไม่แก้โว้ย ใครจะทำไม รอข้าเพาะได้ก่อน จะได้ดัง.... ใครจะเพาะแข่งกะข้า ข้าจะจับให้หมด ข้าจะขัดขวางทุกอย่าง เพื่อรักษากฏหมาย... เป็นต้นครับ รอไปเหอะ รอไปจน ไทยสูญสิ้น.... เขมร(แท้จริงเวียตนาม) สูญพันธุ์ อินโดฯ ครองเมือง ชั้นก็ยังเพาะไม่ได้อยู่ดี 555

สรุป...
ถ้าจะให้ได้ผลจริงๆ  มันเรื่องใหญ่ ใกล้เคียงความฝัน
ถ้าจะทำแค่นี้ ผลที่จะเกิดขึ้น อย่างน้อยๆ ..... (กลับไปอ่านย่อหน้าแรก)
RoF approve [ 14 พ.ย. 2550 23:37:50 ]
ความคิดเห็นที่: 12
จริงครับจริง คุณ RoF
ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมคนของรัฐจึงไม่ร่วมมือกับนักเพาะเลี้ยงที่มีศักยภาพช่วยกันเพาะพันธุ์พันธุ์สัตว์หายาก ช่วยกันศึกษาวิจัยโดยรัฐเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย  และทำฐานข้อมูลผู้เพาะเลี้ยง ประเทศเรามักเป็นแบบนี้ไม่ดึงเอาคนที่มีความสามารถมาใช้ให้เกิดประโยชน์
หอยงวงท่อ approve [ 15 พ.ย. 2550 13:21:05 ]
ความคิดเห็นที่: 13
คนเพาะมันมีน้อย...คนทำลายมันมีมากกว่าไงครับ  คนเพาะได้ตังน้อย...คนทำลายให้ตังค์มากกว่าอีกนั่นแล
เชื่อไหม..ผมเคยเลี้ยงหงษ์หรือห่านต่างประเทศออกลูกออกเต้ามาหลายตัว..วันดีก็มีคนมาถามจะยึดของเราไป.. โมโหฉิบ..แทบยิงมันออกจากบ้านเชียว  กว่าเอาคืยได้มันทำของเราตายไป 2 ตัวเลยเลิกเลี้ยงเเลย
อีกอย่างเชื่อเปล่ามันจะมายึดนกยูงอินเดีย..พอดีมันผสมกับนกยูงบ้านเราที่เมืองกาญจน์ เขารู้ว่าผมชอบยกให้มา 2 คู่ ผมเลี้ยงที่เชียงรายก็เลี้ยงแบบปล่อยคิดว่าจะสำรวจ ดันจะจับของเราไปอีก พอดีท่าน สส.ผู้หนึงงช่วยผมไว้ท่าน คิดแล้ว..ฮืม..
        จริงแล้วก่อนที่จะทำอะไร มันควรมีวิธีการคิดมากกว่าตามอง อย่าเอากฏกติกามาจับมันทุกอย่างทุกเรื่องก็ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารได้ กฏที่ดีมันต้องผ่อนหนักเบาได้  ถ้ามันบวกก็ต้องผ่อนปรน  ถ้ามันลบจับไปเลย
Fisher approve [ 15 พ.ย. 2550 15:28:48 ]
OthersPics_reply_54230.jpg
ความคิดเห็นที่: 14
เอาเตือนใจ..ครับ
Fisher approve [ 16 พ.ย. 2550 12:52:22 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ผมมองปัญหาจากคนที่อาศัยอยู่ในโลกสีเทา

เห็นว่า ปัญหาสัตว์ป่าเมืองไทย อีกสิบชาติ ก็แก้ไม่ได้ครับ  ถ้ายังมี แต่คนยึดติดกับ ตัวกรู ของกรูมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม (หมายถึงทั้งสองขั้ว)

อีกอย่างไอ่พวกเหลือบไร ที่มันคอยเกาะดูดแสวงหาผลประโยชน์จากสัตว์ป่า ก็มีมาก โดยเอาคำว่า อนุรักษ์อันสวยหรูมาอ้าง (หมายถึงทั้งสองขั้วอักเช่นกัน)

เป็นผมจะไม่มานั่งเถียงหาความ เพือเอาชนะกัน

แต่จะถามตนเองว่า ในการณ์นี้ เราจะใช้ความรู้ ประสบการณ์ หรือพลกำลังทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้อย่างไรบ้าง ใช้ แต่น้ำลายก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรมันดีขึ้นมา

ฝากไว้อีกซักนิด ไหนก็ปิดให้ครอบครองใหม่ละ ควรย้อนไปศึกษา และแก้ species list ในพรบ. ฉบับเดิมด้วย สัตว์ป่าหลายๆ ชนิดไม่ได้มีสถานภาพน่าเป็นห่วงเลยกลับมีรายชื่อ  และอีกหลายชนิดสถานภาพน่าเป็นห่วงมาก กลับไม่ได้รับความสนใจ หลายๆ ชนิดสถานภาพไม่ชัดเจนอย่างยิ่ง แล้วอีกบางชนิด เช่น จระเข้ ที่มีสถานภาพซ้ำซ้อน คือติดทั้งพรบ. ป่าไม้ (จระเข้เป็นสัตว์ป่า)  และพรบ. ประมง (กรมประมงอ้างว่าจระเข้เป็นสัตว์น้ำ เช่นเดียวกับปลา ทั้งๆ ที่จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานแท้ๆ ) ก็ควรจัดการให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการปฎิบัติ

สิ่งที่ควรทำ และจำเป็นต้องทำ ก็เร่งทำด้วย กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง
...แก้ไขเมื่อ 17 พ.ย. 2550 10:35:18
B-Herp approve [ 17 พ.ย. 2550 10:24:17 ]
ความคิดเห็นที่: 16
ทำไมจึงไม่เน้นการป้องกันไม่ให้มันโดนจับออกมา???
ทำไมจึงเน้นการไล่จับไอ่ที่มันหลุดออกมาแล้ว???

คำตอบ??? เพราะอย่างแรกทำยากกว่า ต้องรัดกุมตลอดเวลา?  และทำแล้วก็ไม่ดังอะไร?  
ส่วนอย่างหลังทำง่ายกว่า ได้หน้ามากกว่าด้วย?
...แก้ไขเมื่อ 17 พ.ย. 2550 12:09:13
snakeeater approve [ 17 พ.ย. 2550 12:08:43 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ม่ายช่าย....อย่างแรกมันเสียงบประมาณมาก และเหนื่อย
อย่างที่สอง...ได้ตังค์มากดีต่างหาก
Fisher approve [ 17 พ.ย. 2550 12:42:31 ]
ความคิดเห็นที่: 18
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า
ปัญหาเรื่อง แหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า  และสัตว์น้ำ สำคัญที่สุดครับ
ตะพาบไทย เมื่อก่อน พบได้ทั่วไปหมด  แต่ทำไมตอนนี้หายาก
กรม... มองไม่เห็นคุณค่าตะพาบไทย  แต่กลับ ส่งเสริม ให้คนเลี้ยง ตะพาบไต้หวัน กันมากมายมหาศาล
โปรโมทกันเข้าไป ทุ่มเทเงินกันเข้าไป เลี้ยงกันทั่วทุกจังหวัด
พอราคาตกฮวบ
ก็กลาย เป็นสัตว์เลี้ยง ตามสวนจตุจักร  และที่ร้ายกาจที่สุด กลายมาเป็น สัตว์สำหรับปล่อยเพื่อ ทำบุญ
กรม... คิดได้เพียงสั้นๆ  มองเห็นเพียงอะไรที่ตั้งอยู่ตรงหน้า
แต่สมองของเขา ไม่สามารถคิดไกลไปกว่านั้น ตลอดจนไกลไปถึงผลร้ายที่จะตามมา
เลี้ยงเบื่อ ก็ปล่อย น้ำท่วมก็หลุด อยากได้บุญ ก็ซื้อปล่อย ฯ ลฯ
ดังนั้น นอกจากการทำลายแหล่งที่อยู่ของสัตว์ ด้วยน้ำมือคนโดยตรงแล้ว
การทำลาย  และแย่งชิง ของสัตว์ด้วยกันเอง ก็น่ากลัวไม่แพ้กัน
สรุปก็ฝีมือคนทั้งนั้น

หน่วยงานเดียวกัน ทำหน้าที่ทั้ง ทำลาย  และ อนุรักษ์(แบบโง่ๆ ) ไปพร้อมๆ กัน
แล้วจะเอาอะไร กับ ประชาชน ตาดำๆ ครับท่าน?
RoF approve [ 17 พ.ย. 2550 14:21:34 ]
ความคิดเห็นที่: 19
#15..."ฝากไว้อีกซักนิด ไหนก็ปิดให้ครอบครองใหม่ละ ควรย้อนไปศึกษา  และแก้ species list ในพรบ. ฉบับเดิมด้วย สัตว์ป่าหลายๆ  ชนิดไม่ได้มีสถานภาพน่าเป็นห่วงเลยกลับมีรายชื่อ   และอีกหลายชนิดสถานภาพน่าเป็นห่วงมาก กลับไม่ได้รับความสนใจ หลายๆ  ชนิดสถานภาพไม่ชัดเจนอย่างยิ่ง แล้วอีกบางชนิด เช่น จระเข้ ที่มีสถานภาพซ้ำซ้อน คือติดทั้งพรบ. ป่าไม้ (จระเข้เป็นสัตว์ป่า)   และพรบ. ประมง (กรมประมงอ้างว่าจระเข้เป็นสัตว์น้ำ เช่นเดียวกับปลา ทั้งๆ  ที่จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานแท้ๆ  ) ก็ควรจัดการให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการปฎิบัติ"

ขอแก้ความเข้าใจเรื่อง พรบ.ฯ  ในประเด็นที่เข้าใจว่าซ้ำซ้อนแล้วกันครับ จระเข้นั้นตามนิยามจะเป็นสัตว์ป่าจำพวกสัตว์น้ำครับ แม้ในทางชีววิทยาจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานก็ตาม เช่นเดียวกับปลาวาฬ โลมา พะยูน ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตามกฎหมายก็ถือว่าเป็นสัตว์ป่าจำพวกสัตว์น้ำ แล้วที่ผมว่าไม่ซ้ำซ้อนกันเพราะทั้งกรมป่าไม้ กรมอุทยาน  และกรมประมงถือกฎหมายด้านการอนุรักษ์(แม้ในกระดาษก็เหอะ)ฉบับเดียวกัน  แต่แบ่งจำพวกสัตว์ที่ต้องเป็นเจ้าภาพหลักไปตามนิยามใน พรบ.หลักของกรมนั้นๆ   ที่น่าสับสนมากกว่าจระเข้ก็คงเป็นเต่า เพราะมีเต่าบกหลายชนิดมาขึ้นกับกรมประมง แล้วเต่าน้ำหลายชนิดไปอยู่กรมอุทฯ  ทำเอาผมงงไปเลย ไอ่ที่อยู่นอก พรบ.สงวนฯ นั้นยิ่งกว่านี้หลายขุมครับ

ปล. ปลาก็เป็นสัตว์ป่าตาม พรบ. เช่นกันนะครับ
knotsnake approve [ 02 ม.ค. 2551 19:14:20 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org