ตามหาเฉพาะถิ่น...นันทบุรี ตอนที่ 2 หมายแรกของทริปน่านคราวนี้ก็คือ ดอยภูคา ครับ สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ถ่ายภาพไว้ก็คือเทียนสีชมพูสวยชนิดนี้ ...แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 2550 08:53:34 นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:30:39 ]
ความคิดเห็นที่: 1 ไปถึงก็เย็นๆ แล้ววันนี้ มีเวลาพอแค่กางเตนท์แล้วก็เดินเล่นถ่ายวิวเล็กๆ น้อยๆ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:31:37 ]
ความคิดเห็นที่: 2 ตกกลางคืน ก็ได้พี่นิคม ช่วยพาดูแมลงต่างๆ จากนั้นก็เดินเล่นกันเอง ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:32:26 ]
ความคิดเห็นที่: 3 หนอนหัวค้อน เกิดมาเพิ่งเคยเห็น นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:33:00 ]
ความคิดเห็นที่: 4 ฝากชาวหอย นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:33:37 ]
ความคิดเห็นที่: 5 กินเห็ด นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:34:00 ]
ความคิดเห็นที่: 6 ด้วงคีม น่าจะเป็นเพศเมีย ตัวไม่ใหญ่ครับ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:34:25 ]
ความคิดเห็นที่: 7 กิ่งกือน้อย นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:34:49 ]
ความคิดเห็นที่: 8 ฝากเจ้านกกินเปี้ยว นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:35:22 ]
ความคิดเห็นที่: 9 อุปสรรคอันใหญ่หลวงของค่ำคืน จะว่ามันสวยก็สวยดีนะ... นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:36:05 ]
ความคิดเห็นที่: 10 ถึงว่าเมื่อคืนหนาวจับใจ... นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:36:48 ]
ความคิดเห็นที่: 11 ไปดูเต่าร้างยักษ์เมืองน่านกันครับ สวยงามอลังการมาก ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าดึกดำบรรพเลย นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:39:59 ]
ความคิดเห็นที่: 12 ต้นนี้ปลูกอยู่หน้าที่ทำการ เห็นว่าอายุประมาณ 10 ปี สง่างามมากเลยครับ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:40:40 ]
ความคิดเห็นที่: 13 ไปหาดูของดีอีกชนิดที่เกิดมาผมยังไม่เคยเห็น นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:41:18 ]
ความคิดเห็นที่: 14 พบระหว่างทางจึงสอยใส่กล้องมาฝากเหล่าเซียนกล้วยไม้ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:41:53 ]
ความคิดเห็นที่: 15 เป้าหมายขึ้นอยู่ริมลำธารแห่งนี้ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:44:05 ]
ความคิดเห็นที่: 16 เจอกระโถนฤาษีแล้ว ต้องขอบคุณลุงจม ที่พาไปดู นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:46:18 ]
ความคิดเห็นที่: 17 เจอใกล้ๆ ที่ทำการฯ แมงมุมX นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:47:11 ]
ความคิดเห็นที่: 18 เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึง ใบของต้นชมพูภูคาครับ ดอกออกเดือนกุมภาพันธ์ เราจึงไม่ได้เห็นไปตามระเบียบ ก็ดีครับ มีอะไรคาใจบ้าง จะได้กลับมาอีก นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:48:13 ]
ความคิดเห็นที่: 19 ก่วมภูคา หรือ เมเปิ้ลภูคา ก็เป็นไม้เฉพาะถิ่นที่ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ดอยภูคาครับ นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:49:00 ]
ความคิดเห็นที่: 20 ขาลงจากดอย เห็นนกพวกนี้กินข้าวอยู่ริมทางก็เลยจอดถ่ายรูปมาสักหน่อย กระติ๊ดท้องขาว นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:49:48 ]
ความคิดเห็นที่: 21 ลาดอยภูคากันด้วยภาพ ถนนอันคดเคี้ยวสำหรับภาพเหล่าแมลงกลางคืน ไว้จะเอามารวมกันไว้ในกระทู้เดียวเพื่อง่ายแก่การจำแนกแล้วกันครับ เพราะมันเยอะมากเลย ...แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 2550 08:54:45 นณณ์ [ 15 พ.ย. 2550 08:52:44 ]
ความคิดเห็นที่: 22 คห.๑๒ สง่างามมากจริงๆ ด้วย กุ๋ยป่า [ 15 พ.ย. 2550 09:20:33 ]
ความคิดเห็นที่: 23 รูปหอยสวยอีกแล้วครับ ปรกติไม่ค่อยพบ slug # 5 บ่อยนักในประเทศไทย หรืออาจจะเป็น semislug ที่ mantle คลุมเปลือกไว้หมด ......แปลกดีครับ Amphidromus [ 15 พ.ย. 2550 09:55:04 ]
ความคิดเห็นที่: 24 ขอบคุณครับ JJ [ 15 พ.ย. 2550 10:50:18 ]
ความคิดเห็นที่: 25 และแล้วก็เห็นประโยชน์ของขุมไขเมื่ออุณหภูมิต่ำลงไปที่ 9.6^Cขำ ขำ จ้า tavon [ 15 พ.ย. 2550 15:40:47 ]
ความคิดเห็นที่: 26 #8 ดูจากขาเดิน และรูปทรงกระดองแล้ว น่าจะเป็นปูน้ำตกสกุล Potamon ครับยกเช็คลิสต์ และรายงานมอ้างก็ต้องบอกว่า มีการพบปูน้ำตกที่น่านแล้ว 1 ชนิดที่อ.สา คือ Potamon nan Ng & Naiyanetr, 1993 นกกินเปี้ยว [ 15 พ.ย. 2550 18:32:56 ]
ความคิดเห็นที่: 27 #14- Dendrobium strongylanthumบางคนเรียกเอื้องข้าวเหนียวดำ หาดูไม่ง่ายนะเนี่ย Mb. [ 15 พ.ย. 2550 21:10:29 ]
ความคิดเห็นที่: 28 พี่ฝนแรกบอกว่าอยากเห็นว่ามันเกาะยังไง นณณ์ [ 16 พ.ย. 2550 09:19:46 ]
ความคิดเห็นที่: 29 #4 หอยทากห่อเปลือก Megaustenia sp. สีส้มจัดจ้านจริงๆ #5 อย่างที่คุณ Amphidromus ว่า เจ้านี่เป็นสมาชิกในกลุ่มหอยทากลดเปลือก(semi slug) สังเกตุให้ดีจะเห็นเปลือกเป็นแผ่นแบนๆ บางๆ คล้ายเล็บ ถูกปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ mantle จนมิดอยู่ตรงกลางลำตัว#9 เจ้าทากสีเขียวแบบนี้ ผมเคยโดนกัดที่ซาบาร์เมื่อครั้งไปลุยภูเขาหินปูนที่นั่นกับคุณ Amphidromus และ ท่านอาจารย์สมศักดิ์ ปัญหา เมื่อหลายปีก่อน มันกัดเจ็บมาก สะดุ้งโหยงเลย ลองถามผู้เชี่ยวชาญทากของเมืองไทย ว่าที่ อ.ดร.ธงชัย งามประเสริฐวงศ์ ท่านบอกว่าทากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการต่ำ ยังไม่มีการพัฒนาสารระงับความเจ็บปวดเมื่อกัดเหยื่อไม่รู้ตัวที่คุณนณณ์เจอกัดเจ็บเหมือนกันรึเปล่า ? หอยงวงท่อ [ 16 พ.ย. 2550 11:48:44 ]
ความคิดเห็นที่: 30 ผมโดนกัด แต่ไม่รู้สึกครับผม โดนที่ง้ามนิ้วเท้า รู้ตัวตอนที่เลือดไหล แล้วมันเริ่มเปียกๆ ในรองเท้า ก็ล้างแผลด้วยเอลกอฮอล แล้วทาด้วยยาขี้ผึ้งสูตรพิเศษของเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าเลือดหยุดไหล และแผลหายสนิทแล้วครับ มันสวยดีนะครับไอ้ทากแบบนี้ เจอตัวใหญ่ๆ เกาะ จะหยุดถ่ายรูปก็ไม่กล้า ต้องรีบเดินหนี ไอ้ตัวนี้มานั่งแกะตอนถึงถนนลาดยางแล้ว เหอ เหอ นณณ์ [ 16 พ.ย. 2550 14:20:15 ]
ความคิดเห็นที่: 31 ผมเคยได้มีโอกาสได้ไปช่วย อ.ธงชัย นับประชากรทากที่ อช.เขาใหญ่ ท่านใช้วิธีเอา กย. ที่ทากันยุงนี่แหละครับ ทารองเท้าให้ทั่ว ได้ผลดีจริงๆ ครับ พอทากจะไต่ขึ้นรองเท้าเรา มันจะสะดุ้งถอยกลับทันที แต่ ถ้าคุณนณณ์ไปเดินป่าแถวดอยอินทนนท์ต้องระวังหู และคอด้วยนะครับ ที่นั่นมีทากบางชนิดที่รอจังหวะเกาะเหยื่ออยู่บนใบไม้ด้วย หอยงวงท่อ [ 18 พ.ย. 2550 12:01:11 ]
ความคิดเห็นที่: 32 ปีนี้ท่าจะหนาวมาก งั้นยายอ้วนต้องรีบสะสมไขมันเสียแล้ว (สะสมเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ไม่ใช่เพื่อกินนะคะ) เดี๋ยวจะไม่ทันกาล ยายอ้วน [ 18 พ.ย. 2550 13:36:21 ]
ความคิดเห็นที่: 33 เหอ เหอ เรื่องทากที่อินทนนท์เกาะส่วนบน ต้องถามไอ้ลูกทุ่งครับ โดนเข้าที่ซอกตา! นณณ์ [ 18 พ.ย. 2550 20:49:15 ]
ความคิดเห็นที่: 34 ขอจำเทคนิคกันทากไปใช้ครับ ว่า แต่ไม่มีแมลงปอบินผ่านหน้ากล้องบ้างหรอครับพี่? ฮาๆๆ Due_n [ 20 พ.ย. 2550 19:46:32 ]