กระทู้-08713 : โรงนิวเคลียร์

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

โรงนิวเคลียร์

"พูดถึง "โรงนิวเคลียร์" ทีไร "ไซน์กระซิบ" ก็แอบไพล่ไปถามเรื่องเดิมๆ  อย่าง "องครักษ์" ไม่ได้...แค่เตาปฏิกรณ์วิจัยสเกลเล็กกว่าโรงไฟฟ้าหลายเท่านัก นอกจากจะสร้างไม่ได้ตามเป้า ไอ้ทุจริตผิดแปลกก็ตามตรวจสอบกันมาเกือบทศวรรษ ได้ข่าวว่า "ผล" น่ะ พอจะโชว์ได้แล้ว แต่ไฉนถึงไม่เปิดซะที หรือมันโยงใยพัลวันกับเหล่า "บุคลากรนิวเคลียร์" ที่มีอยู่น้อยนิด  ( และอาจจะเป็นชุดเดียวกับที่ต้องเกี่ยวข้องกับว่าที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชียร์กันอยู่ขณะนี้ก็เป็นได้ !! "

[ผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2550 11:43 น. , access 17/11.07]

How about Siamensis' s opinion krub.?
Rug Muang Thai  [ 17 พ.ย. 2550 14:55:33 ]
ความคิดเห็นที่: 1
อยากให้เข้าใจว่า เตาปฏิกรณ์วิจัย กะ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะสร้าง  คนละงาน คนละปัญหากัน
   - โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะสร้าง ต้องซื้อมาทั้งหมด ต้องนำเข้า ประเทศไทยไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ เพราะต้องสร้างให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โอกาสที่จะเกิดการทุจริตมีน้อย มิได้หมายความว่าไม่มี
   - ส่วนเรื่อง เตาปฏิกรณ์วิจัย เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในประเทศเสียส่วนใหญ่ บางอย่างอาจจะสามารถเปลี่ยนโครงสร้างได้


ในความคิดเห็นส่วนตัว>> เป็นไปได้ยากที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย เท่าที่สำรวจสอบถามมาได้ความว่า พอพูดถึงนิวเคลียร์ประชาชนส่วนใหญ่ยังรู้สึกกลัว เพราะจะนึกถึงโทษมากกว่าประโยชน์ ที่รู้จักกันก็คือ ระเบิดนิวเคลียร์   ทั้งๆ ที่พลังงานนิวเคลียร์ก็มีประโยชน์ไม่แพ้พลังงานชนิดอื่นๆ
electron approve [ 17 พ.ย. 2550 20:48:27 ]
ความคิดเห็นที่: 2
คุณอนันต์ โทษมหันต์
หอยงวงท่อ approve [ 18 พ.ย. 2550 10:41:01 ]
ความคิดเห็นที่: 3
ผมว่าทำกันดีๆ เถอะครับ อย่าเพิ่งทุจริตกันเลย เซ็ง
conti approve [ 18 พ.ย. 2550 19:22:43 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ผมว่ามันโกงกันยากครับมันมีองค์กรระดับโลกตรวจสอบครับ ไม่ได้ตามแบบไม่ผ่านแน่นอนครับปลอดภัยคุ้มค่า  แต่คนไทยขี้กลัว และคิดมาก มันก็ต้องประท้วงกันหน่อย..
Fisher approve [ 18 พ.ย. 2550 19:50:54 ]
ความคิดเห็นที่: 5
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้เกิยรติจาก ดร.ท่านนึงจากอเมริกา(ขออภัยจำชื่อไม่ได้ขอรับ) ทำงานบริษัทเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาบรรยายเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พูดถึงระบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบPWR เท่าๆ ที่ฟัง ระบบมีความปลอดภัยสูงมากขอรับ

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์ก็ได้ซื้อโปรแกรมSimulation ลิขสิทธิ์ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์PWR มาไว้ศึกษาอีกด้วย
electron approve [ 18 พ.ย. 2550 22:04:52 ]
ความคิดเห็นที่: 6
"ต้นทุนซ่อนเร้น ไม่บวกค่าความเสี่ยง

กำจัดกากนิวเคลียร์

อาจารย์เดชรัตได้อธิบายในเรื่องของต้นทุนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า ในหลายเวทีที่มีการถกเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มักชูประเด็นว่า มี "ต้นทุนต่ำที่สุด" เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้า ประเภทอื่นๆ   แต่เราลืมที่จะ "บวกค่าเสียโอกาสทางการเงิน" จากการลงทุนก่อสร้างลงไปด้วย คืออัตราดอกเบี้ย และค่าความเสี่ยงอื่นๆ  ที่จะ เกิดขึ้นกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือแม้ แต่ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากการกำกับดูแล, อัตราค่ารื้อถอนหลังโครงการที่ก่อนหน้านี้มีการประเมิน ไว้ที่ 1 เซ็นต์/หน่วย ซึ่ง ในปัจจุบันอัตราดังกล่าว "คงใช้ไม่ได้แล้ว" เมื่อคำนึงถึงความเสี่ยงเหล่านี้ก็จะเห็นได้ทันทีว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ  ได้

"ยกตัวอย่างเช่น การหักค่าเสียโอกาสของเงินลงทุนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ร้อยละ 5 ก็ยังสามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่ง ต้นทุนอยู่ที่ 4.9-5.7 เซ็นต์/หน่วย หรือ เท่ากับ 1.71-2.00 บาท/หน่วย  แต่เมื่อมองที่ค่าเสียโอกาสที่ร้อยละ 10 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วจะไม่สามารถแข่งขันได้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงได้ ต้นทุนจะพุ่งไปอยู่ที่ 6.8-8.1 เซ็นต์/หน่วย หรือมีต้นทุนอยู่ที่ 2.38-2.84 บาท/หน่วย" อาจารย์เดชรัตกล่าว

นอกจากนี้ยังมี ต้นทุน "ซ่อนเร้น" หรือการลงทุนด้านสาธารณะที่สูงกว่าประเภทอื่นๆ  เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ "มากกว่า" โรงไฟฟ้าอื่นๆ  หรือต้องรวมตั้ง แต่ขั้นตอนวิจัย และพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ถือว่าใช้งบประมาณค่อนข้างสูง คิดเป็นร้อยละ 50 ของการลงทุนทั้งโครงการแล้ว

สิ่งเหล่านี้ยังไม่รวมต้นทุนในขั้นตอนของการกักเก็บกากนิวเคลียร์ เพราะแท่งเชื้อเพลิงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีอายุประมาณ 1,000 ปี กว่าที่สารกัมมันตภาพรังสีจะค่อยๆ  สลายตัวไป ก่อนหน้านี้ได้มีแนวคิดที่จะนำกากนิวเคลียร์ไปฝังเก็บไว้ในเหมืองแร่โปแตช "ผมจึงอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ดีก่อนด้วยว่าจะมีทางเป็นไปได้หรือไม่"

[Prachachat online, access วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3950 (3150)]

Please accept my apology as long paragraph but important Krub.
Rug Muang Thai [ 19 พ.ย. 2550 15:49:53 ]
ความคิดเห็นที่: 7
ยอมรับครับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้นทุนสูงขอรับ  เพราะเป็นไฮเทคโนโลยี ระบบต้องดี ต้องได้มาตรฐาน


ถ้าต้องการลดปัญหาโลกร้อนก็ต้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วมิใช่หรอครับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ


กากนิวเคลียร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกครับ  นำมาสกัดแยกเอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้อีกขอรับ
electron approve [ 19 พ.ย. 2550 19:47:25 ]
ความคิดเห็นที่: 8
โกงกินทั้งปีทั้งชาติ
baitan approve [ 19 พ.ย. 2550 20:03:51 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ต้องช่วยกันประหยัดพลังงานครับ
หอยงวงท่อ approve [ 20 พ.ย. 2550 19:09:11 ]
ความคิดเห็นที่: 10
การประหยัดพลังงานก็เป็นอีกวิธีที่ทุกคนต้องทำอยู่แล้วครับ  

ถ้าภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นเราก็จำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้น   และพลังงานนั้นต้องมีเสถียรภาพที่ดีด้วยขอรับ
electron approve [ 21 พ.ย. 2550 00:14:16 ]
ความคิดเห็นที่: 11
จะมีวิธีพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่มีอยู่ให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นไหมครับคุณ electron
หอยงวงท่อ approve [ 21 พ.ย. 2550 09:23:57 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ใช้ไฟฟ้าแบบไม่เพิ่มปัญหาโลกร้อน ควรจะทำพวกพลังงานหมุนเวียนธรรมชาติให้ต้นทุนต่ำลงให้ได้ครับ ทั้งกังหันลม (เช่นของคุณบรรจง ขยันกิจ ซึ่ง ใช้ในครัวเรือน ต้นทุนไม่สูงมาก) พลังงานแสงอาทิตย์  และพลังคลื่นจากทะเล
...แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 2550 12:10:27
นกกินเปี้ยว approve [ 21 พ.ย. 2550 12:09:43 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ตอบแทนคุณ electron   ความคิดเห็นที่ 11
ต้องสร้างความเข้าใจกันก่อนนะครับ  ว่าพลังงานของเขื่อนที่จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้านั้น มีขีดจำกัดนะคับ เพราะฉนั้นการที่จะพัฒนาเขื่อนขึ้นมาได้ก้อไม่คุ้มค่ากับการที่เราต้องทำลายป่าเป็นจำนวนมาก  ไฟฟ้าในปัจจุบันที่เราใช้ในตอนนี้ส่วนน้อยมากมากมากที่มากจากเขื่อนนะครับ
davinchi [ 21 พ.ย. 2550 13:28:53 ]
chirachart@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 14
ก็อย่างที่คุณdavinchi อธิบายไว้ครับคุณหอยงวงท่อ  โรงไฟฟ้าในประเทศไทยตอนนี้จะใช้ถ่านหินกะน้ำมันเตาเป็นหลัก โรงไฟฟ้าพลังงานจากเขื่อนไม่พอขอรับ        
          อีกอย่าง ถ้าสร้างเเขื่อนที่เรากันเทือกเขาเพื่อกักเก็บน้ำปริมาณมาก ทำให้ป่าไม้เสียหาย เรื่องบุกรุกที่ป่าอีก สัตว์ป่าอีก  ถ้าบริวเรณป่าแถบนั้นเป็นที่อยู่ของสัตว์หายากหรือสัตว์สงวนหละครับ


อย่างที่คุณนกกินเปี้ยว บอกก็ถูกต้องครับ เหมาะกับครัวเรือน   แต่ ถ้าพูดถึงภาคอุตสาหกรรม หรือในส่วนที่ต้องการพลังงานไฟฟ้ามากๆ  เราจะเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้หรือพลังงานลมมาใช้ก็คงไม่เหมาะ(ใช้คำพูดที่ว่าไม่เหมาะละกันขอรับ มิได้หมายความว่าใช้ไม่ได้) เพราะว่าแสงอาทิตย์ไม่คงที่บางวันแดดจัดบางวัดแดดน้อย รึอาจจะไม่มีแสงอาทิตย์ได้ในวันนั้นๆ  ส่วนพลังงานลมก็เช่นกัน เราก็ไม่รู้อีกว่าวันไหนลมมากลมน้อย ลมแรงก็ได้พลังงานมากลมน้อยก็ได้เพลังงานน้อย ฉะนั้นพลังงานทั้ง2ชนิดนี้ที่ได้ใน แต่ละวันคงไม่เท่ากัน    

Ex.
ถ้ามีอยู่วันหนึ่งมีญาตของเราหรือคนรู้จักไม่สบายป่วยหนัก ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าคงที่ แล้วอยู่ๆ  กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อเครื่องมือแพทย์ชนิดนั้น ทำให้เครื่องมีปัญหา เราจะทำอย่างไร

ถ้าเราต้องรีบไปทำงานสำคัญนั่งBTS อยู่ๆ  ไฟตก รถหยุดทั้งขบวน เราจะทำอย่างไร ผู้โดยสารในขบวนนั้นก็คงไม่ใช่แค่เราคนเดียวเสียด้วย
electron approve [ 21 พ.ย. 2550 13:57:00 ]
ความคิดเห็นที่: 15
เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้..เชื่อว่าคนไทยน่าจะยอมรับมันได้ไม่ยากครับ
Fisher approve [ 21 พ.ย. 2550 15:24:47 ]
ความคิดเห็นที่: 16
เขื่อนสักวัน ตะกอนก็จะทับถมจนปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ไม่เพียงพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วก็ต้องเลิกใช้เขื่อน เขื่อนมีวันหมดอายุ และคงนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้อีก น่าสนใจว่าในปัจจุบันพื้นที่ๆ เหมาะสมที่จะทำเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยก็ใกล้หมดแล้ว  ถ้าสักวัน เขื่อนที่มีอยู่มันต้องเลิกใช้ ซึ่ง ก็ไม่ได้นานเกินรุ่นลูกรุ่นหลานเรา จะทำยังไงกันต่อ  ถ้าไม่มีพลังงานทางเลือกอื่น
...แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 2550 15:31:33
นณณ์ approve [ 21 พ.ย. 2550 15:30:31 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ที่ระยองชาวบ้าน ประท้วง ไม่เอาโรงไฟฟ้า
 และที่ระยองคนสร้างโรงงานมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบโรงงานต่างๆ  อยากได้ไฟฟ้า เพราะไม่พอใช้ มีไม่ก็ไม่โตอีกแล้ว หลายคนยังไม่รู้เลยว่าจะเอาโรงไฟฟ้าแบบไหน แบบไหนดี แบบไหนไม่ดี มีผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร มองเสีย แต่ว่าทำไงจะให้กูได้เงิน .....ต่างคนมันมองต่างมุมจริงๆ  ครับ ฅนสันดานคนเนี่ย
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 21 พ.ย. 2550 17:34:32 ]
ความคิดเห็นที่: 18
 ถ้าบ้านไหนประท้วงก็ดับไฟฟ้านั้นดีไหมครับคุณไอ้ลูกทุ่ง   คิคิ
(ล้อเล่นนะครับ    ถ้าทำแบบนี้มีหวังเรื่องยาวครับ)
...แก้ไขเมื่อ 22 พ.ย. 2550 04:09:58
electron approve [ 22 พ.ย. 2550 04:04:40 ]
ความคิดเห็นที่: 19
I think # 11 is asking that is it possible to upgrade the generator to increase output, not making more dams.

Is it possible to improve the existing powerplants to generate more electricity?
x-man [ 22 พ.ย. 2550 16:15:23 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ;Problem Nuclear power plant

       - การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
       - แหล่งจัดส่งยูเรเนียม
       - ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
       - การจัดการกากกัมมันตรังสี
       - ความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
       - ความแตกต่างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และระเบิดปรมาณู

http://www.oaep.go.th/tec/Docs/Problem%20Nuclear%20power%20plant.doc    

ลองอ่านดูขอรับ จะได้ช่วยกันคิด ว่าประเทศเราเหมาะสมแล้วหรือยังกับพลังงานชนิดนี้ ขอบคุณขอรับ
electron approve [ 22 พ.ย. 2550 17:28:20 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ในเมื่อเขื่อนมีข้อเสียมากมายถึงเพียงนี้ เหตุไฉน กฝผ.จึงคิดจะสร้างเขื่อนสาละวิน ซึ่ง นอกจากจะทำลายป่า สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ยังกระทบต่อชนกลุ่มน้อยจำนวนมากตามแนวชายแดนที่อาศัยแม่น้ำสาละวินดำรงชีวิต รัฐบาลไทย และกลุ่มนายทุนไทยมองพลเมืองเหล่านี้เป็นเพียงคนชายขอบ ที่จะทำอย่างไรกับเขาก็ได้หรือ ปากกว่าพร่ำ แต่ว่าเป็นประชาธิปไตยกันหนักหนา แต่ไม่เคยถามเสียงส่วนใหญ่ของผู้ได้รับผลกระทบว่าเห็นด้วยหรือไม่ หรือเม็ดเงินมากมายมหาศาลมันบังตาจนหน้ามืดตามัวไปหมดแล้วก็ไม่ทราบ
หอยงวงท่อ approve [ 23 พ.ย. 2550 10:33:25 ]
ความคิดเห็นที่: 22
#21

คงเรื่องผลประโยชน์กะประเทศเพื่อนบ้านนั้นแหละขอรับ
electron approve [ 24 พ.ย. 2550 00:17:26 ]
ความคิดเห็นที่: 23
Thanks for all comments especially the useful information from K. electron and glad to hear siamensis’s green idea. An importance point is that:

“ปัจจุบันมีทางเลือกในการขจัดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วอยู่สองทาง ทางแรกคือ การคืนสภาพ (Reprocessing) ซึ่ง ใช้กระบวนการทางเคมีแยกยูเรเนียม และพลูโทเนียมออกเพื่อใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงใหม่ ส่วนกากที่เหลือหลอมกับบอโรซิลิเกต แล้วนำไปฝังไว้ในที่เก็บใต้ดิน”.

Regarding “แผนทั้ง 9 แผนของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า พ.ศ.2550 -2564 (พีดีพี 2007)”, Thai government has planed to prepare 4,000 MW nuclear plant so there are 1,920 containers of high risk waste [12 * 4 (200 liter container per year of high risk waste per 1,000 MW plant) * 40 (life cycle of plant is 40 years)].

The waste after “reprocessing” is still harmful, isn’t it? Is there any research in the world to remedy its risk?
Rug Muang Thai [ 25 พ.ย. 2550 15:52:01 ]
ความคิดเห็นที่: 24
ประโยชน์มหาศาล... แต่ภัยก็มหาศาลเหมือนกัน...คิดดูเอง...เราพร้อมรึยัง.. ถ้าพร้อมจิงๆ ..ทำไปเลย...ไม่ใช่ตูมตามทีหลังแล้วค่อยแก้..ตายกันครึ่งประเทศนะพี่น้องคร้าบบบ
tong [ 21 ก.พ. 2551 03:06:41 ]
kaewsuk12@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org