กระทู้-08737 : ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ

Home » Board » อื่นๆ

ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ

เป็นภาพที่ถ่ายโดยคนไทย ในประเทศไทยนี่แหล่ะครับ
ขอเขามาลง เลยต้องทำลายน้ำตัวโตๆ  หน่อย

เพิ่งเคยเห็นรุ้งกินน้ำที่เป็นแบบนี้ ใครพออธิบายได้บ้างไหมครับ ???
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 20 พ.ย. 2550 17:10:16 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ผมเดานะครับ
รุ้งกินน้ำนี้เกิดตอนกลางคืน รึปล่าวไม่รู้นะครับ  ถ้าเกิดตอนกลางคืนอาจจะเกิดจาก การที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายๆ  ที่ครับ เดาจริงๆ  ครับ
นายแมลง approve [ 20 พ.ย. 2550 19:03:38 ]
ความคิดเห็นที่: 2
คิดว่าน่าจะเป็นเพราะพระอาทิตย์อยู่ด้านหลังตรงแป๊ะเลยมากกว่า

ถ้าลองสังเกตุดีๆ  รุ้งกินน้ำปกติก็จะมีสองชั้นแบบที่เห็นในรูปนี่แหละค่ะ
แต่ที่สุดยอดก็คือว่ามุมที่เราเห็นรุ้งทั่วไปมันไม่ค่อยจะกว้างจนเห็นครบวงอย่างนี้ซักที
หมีเป้แดง approve [ 20 พ.ย. 2550 19:25:50 ]
ความคิดเห็นที่: 3
รุ้งเป็นผลจากการที่แสงหักเห และสะท้อนออกมาจากเม็ดฝน ในรุ้งปฐมภูมิ (primary rainbow) สีแดงจะอยู่นอกสุด และสีม่วงจะอยู่ในสุดของวง ส่วนรุ้งทุติยภูมิ (secondary rainbow) จะมีสีที่จางกว่า และมักจะเห็นว่ามันอยู่เหนือ (หรือด้านนอก) ของรุ้งปฐมภูมิ ลำแสงในรุ้งทุติยภูมิจะสัมผัสกับเม็ดฝนในมุมที่สูงกว่ารุ้งปฐมภูมิ และมีการสะท้อนถึงสองครั้ง สิ่งนี้เองที่ทำให้สีของรุ้งทุติยภูมิจางกว่า และสีสันจะเรียงกลับกันกับรุ้งปฐมภูมิโดยสีแดงจะอยู่ด้านในสุด และสีม่วงจะอยู่นอกสุดครับ

เมื่อแสงแดดผ่านอากาศที่เต็มไปด้วยหยดน้ำ เม็ดฝน แต่ละอันจะประพฤติตัวเหมือนกับปริซึมจิ๋วที่ทำให้แสงเกิดการหักเห และแยกสีต่างๆ  ออกมา  แต่แทนที่มันจะให้แสงผ่านออกไปเหมือนกับปริซึม พื้นผิวด้านในของเม็ดฝนจะเป็นตัวสะท้อนสีเหล่านั้นกลับออกมา เมื่อมันจะออกมาจากเม็ดฝน สีจะหักเหอีกครั้ง ผลจากการหักเห และสะท้อนของแสงจึงทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า "รุ้ง" นั่นเอง

สีต่างๆ  ของ solar spectrum จะปรากฏขึ้นในรุ้ง  แต่เนื่องจากมันเกิดการทับซ้อนกัน คุณอาจจะเห็นสีต่างๆ  ไม่ชัดเจนมากนัก สีที่อยู่ด้านนอกสุดหรือด้านบนก็คือสีแดง  และสีม่วงจะอยู่ด้านในสุดหรือด้านล่างของรุ้ง ความกว้างของแถบสีนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเม็ดฝนที่ทำให้เกิดรุ้งครับ

สภาวะหนึ่งๆ  จะต้องเกิดขึ้นก่อนที่เราจะเห็นรุ้งครับ ดวงอาทิตย์จะต้องอยู่ด้านหลังเรา และต่ำเพียงพอที่จะให้ลำแสงเกิดการสะท้อนในมุมที่เหมาะสมเข้าสู่ตาเรา ฝนต้องอยู่ด้านหน้าของเรา เนื่องจากแสงแดด และฝนเกิดพร้อมกันมากที่สุดในฤดูฝน เราจึงเห็นรุ้งในฤดูนี้มากเป็นพิเศษ

เม็ดฝนทำตัวเหมือนปริซึมขนาดเล็ก และกระจกที่หักเห และแยกแสงแดดให้เป็นแถบสีต่างๆ   และสะท้อนแถบสีเหล่านี้กลับเข้าสู่ตาเรากลายเป็นรุ้ง เม็ดฝน แต่ละอันจะสร้างแถบสีหนึ่งขึ้นมา  แต่เรามองเห็นเพียงแถบสีที่เข้าสู่ตาเราในมุมหนึ่งเท่านั้น ในรุ้งปฐมภูมิ สีม่วงจะเข้าสู่ตาเราด้วยมุม 40 องศา สีแดงที่ 42 องศา  และอีกห้าสีที่เหลือจะอยู่ระหว่างมุมทั้งสองนี้ เนื่องจากสีต่างๆ  มีการหักเห และซ้อนทับกัน เราจึงเห็นแถบสีต่างๆ  ได้ชัดเจนมากนัก

ในจุดนี้ คุณอาจจะสงสัยว่ารุ้งปรากฏอยู่ได้อย่างไรขณะที่ฝนตก เม็ดฝน แต่ละอันทำให้เกิดสีขึ้นเพียง 1 วินาทีเท่านั้น  แต่เมื่อเม็ดฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดสีไปแทนที่กันอย่างรวดเร็ว ลำแสงที่สะท้อนออกมา(เข้าสู่ตาเรา)จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นนั่นเอง เราจะไม่เห็นแสงที่สะท้อนจากเม็ดฝนทุกอันในสายฝน แสงที่สะท้อนจากเม็ดฝนที่มุม 40-42 องศาเท่านั้นที่ทำให้เกิดรุ้งปฐมภูมิ

รุ้งทุติยภูมิอยู่ห่างขึ้นไปด้านบนของรุ้งปฐมภูมิเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนัก ลำแสงของมันจะเข้าสู่ตาเราที่มุม 50-54 องศา ความคิดของหลายคนที่ว่ารุ้งทุติยภูมิเป็นการสะท้อนของรุ้งปฐมภูมิถือเป็นความเชื่อที่ผิด เราจะเห็นแถบสีต่างๆ  ในรุ้งทุติยภูมิได้ชัดเจนกว่า  แต่มันก็มีสีจาง และมีการเรียงตัวของสีที่สลับกับรุ้งปฐมภูมิ สีแดงจะอยู่ด้านใน และสีม่วงจะอยู่ด้านนอก (หรือด้านบน) ของตัวรุ้งทุติยภูมิ แสงที่ทำให้เกิดรุ้งทุติยภูมิจะกระทบกับเม็ดฝนในมุมที่สูงกว่า และจะสะท้อนสองครั้งก่อนออกจากเม็ดฝนไป การสะท้อนสองครั้งนี้ทำให้รุ้งมีสีจางกว่า และมีการเรียงตัวของสีสลับกับรุ้งปฐมภูมิ

คุณอาจจะคิดว่าคุณได้เห็นรุ้งที่สมบูรณ์แล้วในลักษณะที่มันทอดตัวเป็นครึ่งวงกลมจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  แต่คุณคิดผิดถนัด รุ้งสามารถมีเป็นลักษณะเป็นวงกลมได้ครับ  ถ้าคุณได้นั่งเครื่องบินอยู่เหนือเทือกเขาสูง และดวงอาทิตย์อยู่ต่ำพอที่จะสร้างรุ้งได้ คุณจะได้เห็นรุ้งที่เป็นวงกลมครับ ผู้โดยสารเครื่องบินหลายคนมักจะพบเห็นเป็นครั้งคราว ถ้าสภาพอากาศเป็นใจ

ในปัจจุบัน มีการพูดถึงรุ้งว่าเกิดจากแสงแดดที่สะท้อนออกมา  แต่การศึกษารุ้งอาจจะไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่ได้กล่าวถึงแสงจันทร์ที่ทำให้เกิดรุ้งขึ้นได้ในบางครั้งบางครา เนื่องจากแสงจันทร์เมื่อหักเห และสะท้อนออกมาจะให้สีต่างๆ  ที่จางมาก เราจึงมองเห็นรุ้งที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม รุ้งที่เกิดจากแสงจันทร์ (lunar rainbow) แตกต่างจากรุ้งจากแสงแดดแค่ความเข้มสีเท่านั้น

ย่อมาจากหนังสือ Young Naturalist ครับ
...แก้ไขเมื่อ 20 พ.ย. 2550 19:30:16
Due_n approve [ 20 พ.ย. 2550 19:27:59 ]
ความคิดเห็นที่: 4
แสดงว่าคนถ่ายภาพอยู่ถูกที่ถูกเวลา องศาของเขาที่ยืนอยู่ ตั้งฉากกับตัวรุ้ง(หน้า) และพระอาทิตย์(หลัง)พอดีเป๊ะๆ  สิครับ

ในรูปจะมีวงรุ้งอยู่ตรงกลางอีก  แต่วงออกแนวสูงโด่ง นั่นมันเป็นองศาที่เท่าไหร่ที่สะท้อนเข้าลูกกะตาเราครับเนี่ย

อันนี้เกือบเต็มวง เมื่อมองจากมุมสูง จากนายเตร็ดเตร่ www.travel-is.com

...แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 2550 00:26:39
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 20 พ.ย. 2550 20:41:19 ]
ความคิดเห็นที่: 5
เท่าที่สังเกตเห็นน่าจะเป็นรุ้งที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์มังครับพี่ไอ้ลูกทุ่ง  ถ้าเป็นรุ้งจากธรรมชาติความโค้งจะต้องสอดรับกัน...ที่สังเกตเห็นความโค้งของแถบรุ้งไม่สอดรับกันตลอดเส้นความโค้งของรุ้ง ... รุ้งเต็มวงบนโลกเราเกิดขึ้นได้ด้วย?
สุวรรณภูมิ approve [ 20 พ.ย. 2550 23:53:31 ]
OthersPics_reply_55444.jpg
ความคิดเห็นที่: 6
รูปเปิดกระทู้    ในความคิดเห็นส่วนตัวขอรับ  เหมือนเป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิกมากกว่า ดูจากฉากจากเงา

ขออนุญาตทำเพื่อประกอบการพิจารณาครับ
electron approve [ 21 พ.ย. 2550 03:31:48 ]
ความคิดเห็นที่: 7
เป็นเลนส์ wide นี่คับ ... ???
slytherins approve [ 21 พ.ย. 2550 08:25:42 ]
ความคิดเห็นที่: 8
แหม๊ อย่าคิดมากสิครับทำไมต้องไปเล่น Photo hunt กันด้วยเนี่ย รูปเค้าถ่ายมาซื่อๆ  ผมก็ขอมาซื่อๆ  เหมือนกันครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 21 พ.ย. 2550 09:01:03 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ก็ขอบสีรุ้งมันโค้งแปลกๆ จริงๆ ครับพี่ไอ้ลูกทุ่ง เว้ากันซื่อๆ  ครับ
สุวรรณภูมิ approve [ 21 พ.ย. 2550 09:08:47 ]
ความคิดเห็นที่: 10
แค่แสดงความคิดเห็นเฉยๆ ขอรับ   ถ้าเกิดปรากฏการแบบนี้จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากขอรับ
electron approve [ 21 พ.ย. 2550 14:25:36 ]
ความคิดเห็นที่: 11
รู้ แต่ว่าสวยค่ะ ^ ^
ยายอ้วน approve [ 21 พ.ย. 2550 20:47:23 ]
ความคิดเห็นที่: 12
นายนี่เยี่ยมจริงๆ
นักวิทยาศาสตร์ที่เยี่ยมยอด มักเป็นผู้ที่ช่างสังเกตุ เยี่ยมครับ
chn approve [ 21 พ.ย. 2550 21:47:47 ]
ความคิดเห็นที่: 13
สวยครับไม่เคยสังเกตุรุ้งกินน้ำเหมือนกันครับ อย่างไรก็ขอบคุณด้วยครับ
JJ approve [ 22 พ.ย. 2550 08:36:12 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ไม่รู้เกิดจากอะไรนะ รู้ แต่ว่าสวยน่ะ
Tingtong approve [ 22 พ.ย. 2550 15:40:08 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ภาพนี้ถ่ายจากกล้องฟิล์มครับ น่าจะเป็นช่วงเย็นๆ  จากที่สันนิษฐานว่า คนถ่ายอยู่กึ่งกลางระหว่างพระอาทิตย์กับรุ้งน่าจะจริง เพราะสังเกตุมาหลายรอบแล้วว่ามีเงาสีดำตกทอดยาวอยู่แถวๆ  หน้าภาพครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 22 พ.ย. 2550 15:58:38 ]
ความคิดเห็นที่: 16
อันนี้ถือว่าถ่ายได้ดีมากครับ แหะๆ
conti approve [ 22 พ.ย. 2550 18:13:27 ]
ความคิดเห็นที่: 17
 ถ้าไม่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระอาทิตย์กับรุ้ง ก็ไม่มีเห็นรุ้งหรอกท่าน!!! แหมมมมม
นณณ์ approve [ 23 พ.ย. 2550 16:13:20 ]
ความคิดเห็นที่: 18
โอ๊ะ  จริงอย่างที่คุณนณณ์ว่า

จริงๆ  ต้องบอกว่าอยู่กึ่งกลางระหว่างปลายรุ้งทั้ง 2 น่าจะถูกนะคะ
ยายอ้วน approve [ 25 พ.ย. 2550 00:30:59 ]
ความคิดเห็นที่: 19
ช่วยอะบายการเกิดแถบสีรุ้ง
ด้วยคะ.....-_-ขอด่วนนะค่ะ"-"
โมเมย์ [ 27 พ.ย. 2550 18:26:30 ]
maylovemon_14@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 20
ค่ะ  รูปสวยมากจิงๆๆ    ภาพนี้มีโอกาสที่เป็นได้อย่างนี้จิงๆ ค่ะ  ถือว่าค่อนข้างโชคดีที่ได้ถ่าย
{[ PiW piW ]}} [ 06 ก.พ. 2551 17:54:50 ]
piwpiw_potter@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 21
ก็คนชื่อรุ้งกำลังกินน้ำไงค่ะไม่รู้จักเหรอค่ะ 555 ล้อเล่นค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไร
[font=microsoft sans serif][/font][img][/img]
ข้าวฟ่าง [ 17 ก.พ. 2551 20:57:42 ]
Joy_T28@hotmail.com
ความคิดเห็นที่: 22
อิแดกักดพะแกะดแ
อะตอม [ 26 ก.พ. 2551 18:31:36 ]
ความคิดเห็นที่: 23
กำลังหาข้อมูลรุ้งกินน้ำอยู่พอดี เลยเจอเวบนี้ (ก็เลยช่วยอธิบายอะไรไม่ได้ เพราะยังไม่ค่อยรู้เรื่องเลย)

เเต่ว่า ภาพสวยมากเลยค่ะ ^^ มหัศจรรย์ดี
ทราย [ 22 พ.ค. 2551 07:13:52 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org