กระทู้-08746 : ผลกระทบจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปของน้ำในธรรมชาติ

Home » Board » สิ่งแวดล้อม

ผลกระทบจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปของน้ำในธรรมชาติ

มีคำถามฝากมาขอรับ (ใช้ประกอบการทำวิทยานิพนธ์)

ถ้ามีอุณหภูมิที่แตกต่างไปจากแหล่งน้ำเดิมในธรรมชาติ มากขึ้นประมาณ3-5องศาเซลเซียสจะส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างไรบ้าง

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
electron approve [ 21 พ.ย. 2550 14:39:33 ]
Nature__reply_55717.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
นอกจากผลกระทบต่อพฤติกรรมการวางไข่ และเปลี่ยนเพศในสัตว์น้ำหลายชนิด
ซึ่ง ท่านที่เชี่ยวชาญด้าน physiological responses and adaptations
น่าจะมาให้รายละเอียดตรงส่วนนี้ได้ดีกว่า


อยากเพิ่มเติมมุมมองด้านสมุทรศาสตร์ ในกรณีที่แหล่งน้ำนั้นหมายถึงทะเล และมหาสมุทร
สิ่งที่เราหวั่นเกรงต่อภาวะโลกร้อนในประเด็นของระบบนิเวศมากกว่าปะการังฟอกขาว ได้แก่
ความสามารถในการละลาย (solubility) ของ ก๊าซออกซิเจนละลายน้ำ (DO) อาจจะลดลง
เพราะตามกฏทางเทอร์โมไดนามิคส์ ก๊าซต่างๆ จะละลายน้ำได้น้อยลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

ตรงจุดนี้จะกระทบอย่างไรต่อระบบนิเวศในภาพรวมของทะเล และมหาสมุทรนั้น
ต้องขออธิบายเพิ่มเติมถึงรูปแบบการไหลเวียนแบบ thermohaline circulation
ซึ่ง เป็นการไหลเวียนที่เปลี่ยนแปลงตามความหนาแน่น อุณหภูมิ ความเค็ม ความดัน
โดยที่ต้นกำเนิดของมวลน้ำในมหาสมุทรนั้นอยู่ที่ทะเลในแถบแอตแลนติคเหนือ
ขณะที่น้ำทะเลบริเวณผิวหน้าซึ่ง อิ่มตัวด้วยก๊าซออกซิเจนเริ่มแข็งตัวเป็นน้ำแข็ง
น้ำแข็งซึ่ง มีโครงร่างผลึกเป็นแบบตาข่ายแบบเปิดจะขับเกลือออกมาสู่น้ำชั้นล่าง
น้ำทะเลที่อยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่จะได้รับเกลือที่ถูกขับออกมาเหล่านั้น
ทำให้ความเค็มเพิ่มสูงขึ้น เค็มจัดขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของน้ำเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นนี้เท่ากับว่ามันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มวลน้ำนี้จึงจมตัวลงสู่ที่ลึก
ไปฟอร์มตัวเป็นมวลน้ำลึกที่มีชื่อว่า NADW (North Atlantic Deep Water)
และไหลเวียนไปสู่แอตแลนติคใต้ มหาสมุทรอินเดีย  และมหาสมุทรแปซิฟิค ในที่สุด
จากนั้นจึงไหลเวียนย้อนกลับมายังแอนแลนติกเหนือในลักษณะมวลน้ำอุ่นที่ผิวหน้าน้ำ

เนื่องจากมวลน้ำ NADW นั้นอิ่มตัวด้วยออกซิเจนละลาย เนื่องจากมันเคยสัมผัสกับอากาศมาก่อน
รูปแบบการไหลเวียนดังกล่าวนี้ เป็นการ supply ออกซิเจนละลายให้กับมหาสมุทรต่างๆ ในที่ลึก
ผ่านเส้นทางแอตแลนติคใต้ มหาสมุทรอินเดีย โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่แปซิฟิคเหนือนั่นเอง

ถ้าหากความสามารถในการละลายของก๊าซออกซิเจนลดลง นั่นแปลว่า NADW อาจจะทำหน้าที่
ในการ supply ออกซิเจนละลายไปไม่เพียงให้แก่มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ
ถึงจุดนี้คิดว่าคงไม่ต้องกล่าวย้ำถึงบทบาทของ dissolved oxygen กันมาก  ถ้าหากมีไม่เพียงพอ
แน่นอนว่ามันกระทบต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิตในทะเล ไม่ว่าจะทั้งที่อยู่กลางมวลน้ำหรือทะเลลึก
รวมถึงการย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อหมุนเวียนธาตุอาหาร (remineralization / nutrient regeneration)
และนำไปสู่ปัญหาอีกหลากหลายประเด็นตามมา
tachanat@buu.ac.th approve [ 21 พ.ย. 2550 18:30:45 ]
tachanat@buu.ac.th
Nature__reply_55720.gif
ความคิดเห็นที่: 2
รูปแบบการแพร่กระจายของ dissolved oxygen ในมหาสมุทรลึก 4000 เมตร
tachanat@buu.ac.th approve [ 21 พ.ย. 2550 18:37:52 ]
tachanat@buu.ac.th
ความคิดเห็นที่: 3
อุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงแค่3-5 องศาเซลเซียส  สามารถที่จะทำให้เกิดผลกระทบมากขนาดนี้เลยหรอขอรับคุณtachanat@buu.ac.th   อุณหภูมิในแหล่งน้ำธรรมชาติ ณ บริเวณนั้นๆ  ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วไม่ใช่รึขอรับ


ขอบคุณครับคุณtachanat@buu.ac.th
electron approve [ 22 พ.ย. 2550 14:07:57 ]
ความคิดเห็นที่: 4
ผมเองก็ไม่มีความรู้เรื่องโลกร้อนเท่าไหร่นะครับ  แต่ที่รู้ๆ ว่าตอนนี้ โลกเรากำลังแย่จากภาวะโลกร้อน ผมเองอยากจะหาข้อมูลมานั่งอ่านเหมือนกัน ตอนนี้รู้สึกห่วงโลกเรามากๆ ครับ
conti approve [ 22 พ.ย. 2550 18:30:46 ]
ความคิดเห็นที่: 5
"โลกร้อนเป็นเพราะการกระทำของมนุษย์ที่ไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ แต่จะให้ธรรมชาติปรับตัวเข้าหาตนเอง"
beebing approve [ 22 พ.ย. 2550 19:57:21 ]
ความคิดเห็นที่: 6
มันเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาใน แต่ละวัน
และฤดูกาล อยู่เป็นประจำนั่นถูกต้องแล้วค่ะ

แต่ ถ้ามันเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิน หรือ ต่ำ กว่าช่วงปกติ ที่มันเป็นอยู่ประจำสม่ำเสมอ
ย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอนค่ะ
ยายอ้วน approve [ 22 พ.ย. 2550 22:04:06 ]
ความคิดเห็นที่: 7
เคยอ่านเจอว่าทุก 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น การเผาผลาญพลังงานของปลาจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% เพิ่ม 5 องศา ก็ประมาณ 50%  ถ้าหาอาหารเพิ่มไม่ได้อีก 50% โดยใช่พลังงานเท่าเดิมก็ตายชัวร์ครับ
นณณ์ approve [ 23 พ.ย. 2550 15:58:34 ]
ความคิดเห็นที่: 8
เป็นประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์มากเลย

ขอบคุณขอรับ
electron approve [ 23 พ.ย. 2550 16:17:43 ]
Nature__reply_56811.jpg
ความคิดเห็นที่: 9
เพิ่มเติมอีกหนึ่งมุมมอง

คุณสมบัติที่สำคัญของโมเลกุลน้ำอีกข้อหนึ่ง คือ การขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน (Thermal Expansion)
ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่น่าหวั่นเกรงที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มากกว่าการที่คิดกันไปถึงน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
เพราะ ถ้าโลกร้อนขึ้น นั่นหมายความว่า ปริมาตรน้ำทะเลในมหาสมุทรที่ลึกเฉลี่ยถึง 4000 เมตร จะขยายตัวขึ้น

หลายคนอาจเถียงว่า  ถ้าโลกร้อนขึ้น น้ำทะเลทั่วโลกก็น่าจะระเหยได้ดีขึ้น ระดับน้ำก็ควรจะลดลงน่ะสิ
อย่างไรก็ตาม มันไม่มีนัยสำคัญเทียบเท่าการที่ปริมาตรน้ำจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนอย่างแน่นอน


ส่วน ถ้าจะกล่าวว่าน้ำแข็งขั้วโลกละลาย แล้วระดับน้ำทะเลสูงขึ้นนั้น ต้องพิจารณาเฉพาะน้ำแข็งที่อยู่บนแผ่นดิน
ประเภทที่เรียกว่าธารน้ำแข็ง glacier กับ ice sheet ที่ปกคลุมเหนือแผ่นดินส่วนที่เป็นพื้นแผ่นทวีปเท่านั้น
ไม่รวมถึงก้อนภูเขาน้ำแข็ง iceberg ที่ลอยอยู่เหนือน้ำทะเล ซึ่ง การละลายของมันไม่ได้ทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น
เพราะน้ำที่เป็นของเหลว เมื่อละลายหมดก็ไม่สามารถแทนที่ปริมาตรได้เท่าของแข็งของตัวมันเองขณะเป็นน้ำแข็งได้
สังเกตได้โดยใช้แก้วน้ำที่ใส่น้ำแข็งยูนิตแล้วรินน้ำจนเต็มปริ่มแก้ว แม้ว่าทิ้งไว้จนน้ำแข็งละลายหมด น้ำก็ไม่ล้น
ใช้แก้วใบเดิมรินน้ำค่อนแก้ว ใช้หลอดกาแฟเสียบน้ำแข็งยูนิตไปพาดไว้ที่ปากแก้ว กรณีนี้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นแน่นอน

ที่น่าหวั่นเกรงอีกเรื่องของภาวะโลกร้อน คือ ธารน้ำแข็งที่อาจะละลายจนถึงชั้น permafrost นั้น
มันจะเป็นการปลดปล่อยมีเธนซึ่ง เป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บไว้ เท่ากับยิ่งเร่งภาวะโลกร้อนขึ้นอีก
รวมไปถึงมีเธนไฮเดรตในชั้นตะกอนพื้นท้องทะเล ก็จะยิ่งถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากโลกร้อน
...แก้ไขเมื่อ 25 พ.ย. 2550 00:53:44
tachanat@buu.ac.th approve [ 25 พ.ย. 2550 00:50:53 ]
tachanat@buu.ac.th
Nature__reply_56816.jpg
ความคิดเห็นที่: 10
ตอนนี้หนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนออกมาวางขายมากกว่าสิบเล่ม
ขอแนะนำว่า  ถ้าจะซื้อก็ควรจะเลือกให้ดีหน่อยล่ะครับ บางเล่มไม่ไหวจริงๆ  อยากโยนเขวี้ยงทิ้ง
แม้ว่าคนเขียนเป็นที่รู้จัก อุปโลกตัวเองว่าถนัดเรื่องโลกร้อน หรือแม้ แต่มีคำนำหน้าทางวิชาการ

ขอยกตัวอย่างเล่มหนึ่ง ให้สัมภาษณ์กับคำถามที่ว่า "ทำไมโลกร้อนแล้วพายุถึงทวีกำลังรุนแรงขึ้น"
ซึ่ง ผู้เขียนก็อ้างถึงคุณสมบัติของแผ่นดินแผ่นน้ำ เปรียบได้เหมือนมะกอกสามตระกร้าปาไม่ถูก
ยกเมฆได้มั่วหลักวิชาการมาก เลยรู้สึกขัดใจเป็นอย่างมาก อยากชี้แจงประเด็นนี้แทนอย่างจับใจ

กับคำถามเดิมข้างต้น อธิบายสั้นๆ ตรงประเด็นว่า
ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญของน้ำ คือ ความร้อนแฝงสูง  และ ความจุความร้อนสูง  
ซึ่ง พลังงานการก่อตัวของพายุนั้นอาศัยพลังงานจากความร้อนแฝงของน้ำทะเล  
ถ้าโลกร้อนขึ้น น้ำทะเลอุ่นขึ้น จึงหมายถึง พายุนั้นมีพลังงานที่หล่อเลี้ยงให้มันสลายตัวได้ยากขึ้น
เป็นสาเหตุหลักที่ให้ทุกวันนี้พายุรุนแรงขึ้น และสลายตัวได้ยากขึ้น
แม้ว่ามันจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่ง ตัดขาดจากแหล่งพลังงานจากน้ำทะเล
แต่ความร้อนแฝงจากไอน้ำที่สะสมไว้ตลอดเส้นทางการเคลื่อนตัวจากแหล่งกำเนิดในทะเล
tachanat@buu.ac.th approve [ 25 พ.ย. 2550 01:26:15 ]
tachanat@buu.ac.th

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org