กระทู้-08753 : 'ซัคเกอร์' ปลาอีกตัวที่อันตรายต่อปลาไทย จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Home » Board » ปลา

'ซัคเกอร์' ปลาอีกตัวที่อันตรายต่อปลาไทย จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

'ซัคเกอร์'..ตัวอันตราย รุกทำลายสัตว์น้ำไทย [20 พ.ย. 50 - 00:37]
 
ปลาซัคเกอร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Sucker Catfish, Hypostomus plecostomus มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ ประเทศบราซิล มีอยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับปลากด ปลาแขยง  และปลาดุกของ ประเทศไทย

ลักษณะรูปร่างส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ปากจะคว่ำลง มีกล้ามเนื้อปากที่หนา แข็งแรง เพื่อ ใช้เกาะหรือดูดเก็บอาหารกิน เป็นปลาที่หน้าตาขี้เหร่มาก บางคนก็เกลียดมันด้วยซ้ำไป...เพราะมีลำตัวทั้งสีดำ หรือลายดำ ลายคล้ายตุ๊กแก และลายอื่นๆ  

...ซัคเกอร์มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 15-30 เซนติเมตร ชอบว่ายน้ำช้าๆ  และเป็นปลาที่แข็งแรง และทนทานต่อทุกสภาพ แม้ว่าน้ำที่ใกล้จะเน่าเสียมันก็มีชีวิตอยู่ได้...

จากการทดลองนำตัวปลาซัคเกอร์ขึ้นมาไว้บนพื้นแห้งๆ  มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ ได้เกินกว่า 6-12 ชั่วโมง  และทดลองจับแช่ในน้ำแข็งเพื่อให้เกิดการ ช็อกแล้วสลบไปมันก็ทนทานต่อความหนาวเย็นได้นานกว่า 2 ชั่วโมง... ด้วยความอดทนนี้จึงเป็นตัวอันตราย...!!

ดร.นฤพล สุขุมาสวิน หัวหน้ากลุ่มวิชาการ สำนักวิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า...เมื่อหลายปีก่อน โดย กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ได้มีการนำเข้า ปลาซัคเกอร์มาจากประเทศบราซิลเข้ามาในบ้านเรา...โดยเจตนาเลี้ยงเพื่อให้มัน ทำความสะอาดตู้ปลา

...แต่ในระยะต่อมา มีการหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ...ส่งผลให้เจ้า ปลาโบราณหน้าตาแปลกประหลาด นี้ มันขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา...ไปถึงแม่น้ำโขง และในแม่น้ำ อีกหลายสายทั่วประเทศ...

...จากเดิมที่เข้าใจว่ามันกินอาหารจำพวกสาหร่ายหรือพืชเท่านั้น...แต่พอนำตัวมันมา เลี้ยงเพื่อทำวิจัย พบว่ามันกินเก่ง และกินทุกอย่างที่ขวางหน้าตั้งแต่ขยะเศษอาหาร ไข่ปลา ไปจนถึงปลาชนิดอื่นๆ ...หากมันหิวโหยขึ้นมา...

สำหรับ เนื้อของมันสามารถบริโภคได้แต่รสชาติไม่น่าชวนกิน แถมหน้าตาที่น่าเกลียด  และลำตัวที่แข็งเปรียบเสมือนเกราะของมันจึงดูน่ากลัวมากกว่า ด้วยปัจจัยนี้เลยทำให้มันรอดชีวิต และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก  (คาดว่าหลายล้านตัว)  พร้อมทั้งกำลังอาละวาดทำลายล้าง “ปลาพื้นบ้าน” อันเป็นทรัพยากรท้องถิ่นของเมืองไทยเรา

หัวหน้ากลุ่มวิชา การสำนักวิจัย และพัฒนา ประมงน้ำจืด ก็บอกเตือนเอาไว้ด้วยว่า หากผู้ที่จะเลี้ยงซัคเกอร์ไว้ในตู้ปลาควรระมัดระวังให้ดี อย่าให้หลุดลงไปในแหล่ง น้ำธรรมชาติ ส่วนใครที่ เพาะเลี้ยงไว้ในกระชัง ควรต้องแจ้งให้ทาง ประมงจังหวัด ทราบเพื่อคอยควบคุมดูแล

...กรมประมงกำลังหาทางควบคุม และ กำจัดเจ้าซัคเกอร์ตัวนี้ออกไปจากแหล่งน้ำ ของบ้านเรา เพื่ออนุรักษ์ และ ปกป้องสัตว์ น้ำในท้องถิ่นไว้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลัง ต่อไป...!!!

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

 
 
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=68810
...แก้ไขเมื่อ 22 พ.ย. 2550 09:46:09
botia approve [ 22 พ.ย. 2550 09:44:58 ]
ความคิดเห็นที่: 1
ศัตรูตามธรรมชาติ หรือปัจจัยจำกัดอื่นๆ   ในการควบคุมประชากรของมันให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมในถิ่นอาศัยเดิม คืออะไร?
B-Herp approve [ 22 พ.ย. 2550 11:46:07 ]
ความคิดเห็นที่: 2
The pleco that is alien in most countries is actually in then genus Pterygoplichthys with gut modification for air-breathing and more dorsal fin rays than most other plecos [10 or more, rarely 9].
x-man [ 22 พ.ย. 2550 16:12:41 ]
ความคิดเห็นที่: 3
น่ากลัวนะคะ เพราะว่าเกิดผลกระทบต่อปลาในท้องถิ่นของเรา เป็นห่วงที่สุดก็เรื่องนี้แหละคะ
beebing approve [ 22 พ.ย. 2550 19:51:14 ]
ความคิดเห็นที่: 4
อืม..ต้องลองตามหาอ่านเพิ่มหน่อย.. แต่ตอนนี้มันก็ช่วยผมขัดอ่างปูนได้เป็นอย่างดีแหละครับ เมื่อไม่มีอาหารอื่นเขาจะกัดกินตะใคร่ได้เกลี้ยงดีจริงๆ
Fisher approve [ 22 พ.ย. 2550 20:43:21 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ศัตรูตามธรรมชาติ หรือปัจจัยจำกัดอื่นๆ    ในการควบคุมประชากรของมันให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมในถิ่นอาศัยเดิม คืออะไร?


กำลังคิดอยู่ว่า สิ่งที่จำกัดได้น่าจะเป็นสัตว์ที่สามารถกลืนกินเจ้าซัคเคอร์ตัวน้อยๆ  ได้ บ้านเราไม่มีปลาตัวไหนหรือสัตว์ตัวไหนที่มีความสามารถกินพวกลูกปลาซัคเคอร์ได้กระมัง
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 23 พ.ย. 2550 11:15:29 ]
ความคิดเห็นที่: 6
Their natural predator in original ranges (Neotropic) are Caimans, larger waterbirds, otters and some predatory fishes, which not occurred (or rare: in case of croc.) in Oriental.
waterpanda [ 23 พ.ย. 2550 11:50:52 ]
ความคิดเห็นที่: 7
อ่า เรื่องเป็นฉะนี้นี่เอง เพราะเราล่าสัตว์ผู้ล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศแม่น้ำไป เช่น จระเข้ ส่วนนกนักล่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นอาศัย ทำให้มันปรับตัวให้อยู่ไม่ได้ในพื้นที่หลายๆ ส่วนของแม่น้ำ  ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีผู้ล่ามาคอยควบคุมสมดุลย์ ประกอบกับตัวเราเองทำหน้าที่เป็นผู้ล่าซะเอง  แต่เก็บเกี่ยวกันจนเกินพอดี

ซึ่ง เรียกว่า เป็นการอยู่เพื่อกิน ไม่ได้กินเพื่ออยู่ตามบทบาทของผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร

ส่วนไอ่เจ้า sucker นี่ก็ดันปรับตัวให้อยู่รอดได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมเบียดเบียนปลาประจำถิ่นซะ

เมื่อคืนได้มีโอกาสไปนั่งคุยกับพี่นณณ์ แล้วฉุกคิดในสิ่งที่พี่ท่านได้พูดถึงอดีตที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมของ สุนทรภู่ครูกลอนอักษรศรี เลยไปหามาอ่าน ตัดตอนมายกตัวอย่างให้ดู จากนิราศเมืองแกลง

ถึงชะแวกแยกคลองสองชะวาก ข้างฝั่งฟากหัวตะเข้มีมะขาม
เข้าสร้างศาลเทพาพยายาม กระดานสามแผ่นพิงไว้บูชา
ตะลึงแล แต่ล้วนลูกจระเข้ โดยคะเนมากมายทั้งซ้ายขวา
สักสองร้อยลอยไล่กินลูกปลา เห็น แต่ตากับจมูกเหมือนตุ๊กแก

อ่านแล้วรู้สึกอิจฉาคนรุ่นก่อน พอย้อนกลับมาพูดถึงอนาคตสัตว์ป่าเมืองไทยแล้วยิ่งคิดไปก็ยิ่งเศร้า ฤาจะไม่มีเอาไว้ให้ลูกหลาน เหลน โหลน ลื่อ ได้ดู
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 2550 12:16:03
B-Herp approve [ 23 พ.ย. 2550 12:10:19 ]
ความคิดเห็นที่: 8
ยินดี ที่มีข้อมูลแบบนี้เผยแพร่ลงในสื่อที่ระดับชาวบ้านอ่านบ้างครับ
นกกินเปี้ยว approve [ 23 พ.ย. 2550 13:06:13 ]
ความคิดเห็นที่: 9
แล้วพี่อนุญาตให้นำเข้ามาได้ไงละครับ ปลาต่างถิ่นไม่ต้องขออนุญาตเลยหรือไง เห็นขายกันอยู่เต็มสวน แล้วก็มาเป็นประเด็นกัน ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป
จุ่มพรวด approve [ 23 พ.ย. 2550 14:36:27 ]
ความคิดเห็นที่: 10
พอดี..ไม่เคยอ่าน และรู้จักปลาตัวนี้มาก่อน เลยสงสัยว่ามันสามารถทำลายอะไรได้มากขนาดนี้เชียวหรือ..ดูหน้าตามันก็ไม่ดุ ไม่มีเขี้ยว เลยสงสัยมันทำลายได้ยังไงครับ ผู้ใดพอทราบขอลิงค์ไปอ่านบ้างครับ ประดับความรู้สักหน่อยครับ
Fisher approve [ 23 พ.ย. 2550 14:48:50 ]
ความคิดเห็นที่: 11
อะไรก็ตามที่เป็นสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ไม่ควรปล่อยให้หลุดสู่ธรรมชาติทั้งนั้นมันมีผลกระทบต่อระบบนิเวศดั้งเดิมไม่มากก็น้อยอยู่แล้ว
ทีจระเข้เจ้าของถิ่นดั้งเดิมหลุดละก็ออกล่ากันจัง
อย่าว่าเรื่องอนุญาตให้นำเข้ามาได้ไงเลยครับ ทางการเองนั่นแหละเอาปลาต่างถิ่นปล่อยลงในแหล่งน้ำตั้งเท่าไหร่แล้ว แม้ แต่ในอุทยานแห่งชาติบางแห่งเข้าไปเป็นป่ายูคา ป่ากระถินณรงค์ซะงั้น เสียบรรยากาศชะมัด
หอยงวงท่อ approve [ 23 พ.ย. 2550 15:34:52 ]
ความคิดเห็นที่: 12
ปลาซัคเกอร์นี้ นอกจากบ้านเราจะปลอดผู้ล่า ขยายพันธุ์รวดเร็วแล้ว มันยังดูดไข่เกาะติดของปลาท้องถิ่นกินเป็นอาหารอีกด้วยครับ ลองคิดดู

http://www.siamensis.org/article/articledetail.php?article_id=28&articlecat_id=1&articlesubcat_id=3
นกกินเปี้ยว approve [ 23 พ.ย. 2550 16:41:16 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ขอเรียนเพื่อน siamensis ที่ได้มีเพื่อนๆ พี่ๆ หลายท่านเป็นถึงสถานะภาพของปลาพื้นเมือง  และระบบนิเวศ ตอนนี้ ได้มีการโพสลงในเวปตกปลา siamfishing ให้นักตกปลาทั้งหลายได้ทราบอย่างทั่วถึงกันแล้ว  และน่าจะได้รับผลตอบกลับมาดีบ้างไม่มากก็น้อยครับ ตามกระทู้นี้ครับ
http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=35315
จบการรายงานข่าว
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 2550 19:16:34
kaikoun approve [ 23 พ.ย. 2550 19:15:02 ]
ความคิดเห็นที่: 14
ไปเจอclipนี้มาครับ ในแหล่งที่อยู่ในรรมชาติของมันอยู่กันเป็นฝูงเยอะมากจนน่ากลัวครับhttp://www.youtube.com/watch?v=5bK5wg2tZ0U
sunshine approve [ 24 พ.ย. 2550 00:17:52 ]
ความคิดเห็นที่: 15
Most pleco [sucker] species sold such as golden nugget, scarlet, sunshine, etc. are from running waters and perish in water with low oxygen and high nutrients/pollution.  They are eaten mainly by the local people there.
brookloach [ 24 พ.ย. 2550 02:30:01 ]
ความคิดเห็นที่: 16
Although the pleco from the genus Hypostomus and Ancistrus are established in a few areas around the world, the majority of pleco that become established and become problematic are from the genus Pterygoplichthys.  Pleco from this genus is the one named "sucker" used for cleaning the aquarium of algae and uneaten food, got dumped when growing up into the ugly beast, got mass produced and reproduces naturally in the wild, and become established in our country now.  Pterygoplichthys pleco is able to breath air via specialized stomach and can withstand quite a bit of pollution.  They are pretty easy to identify from other plecos by counting the dorsal fin rays: they generally have 10 or more branched dorsal fin rays [rarely 9] while other plecos usually have 8 or less.  

http://www.planetcatfish.com/catelog/genus.php?genus_id=6#1699
brookloach [ 24 พ.ย. 2550 02:54:43 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ซักเกอร์นี่ออกลูกเป็นไข่ใช่ไหมครับ? แล้วมันวางไข่ยังไงถึงได้รอดพ้นจากการกินของปลาอื่น? มันมีพฤติกรรมทำรังหรือปกป้องไข่หรือเปล่าครับ? (ทำไมแพร่พันธุ์กันได้มากจัง?)
snakeeater approve [ 24 พ.ย. 2550 20:14:54 ]
ความคิดเห็นที่: 18
แปลกใจว่าทำไม ถึงไม่หยุดเพาะขายกันซะที เต็มเลยคับตามตลาดน่ะ ตัวเล็กๆ  ตัวละบาทสองบาท เต็มกาละมัง  สวยหรือก้ไม่ได้สวย  วันนึงจะขายได้ซักเท่าไหร่  จะมีใครอยากเลี้ยงบ้างเพราะเห็นกันมาจนชินตาแล้ว   แต่ก็ยังเพาะมาขายกันได้เรื่อยๆ
หนึ่ง [ 25 พ.ย. 2550 00:58:44 ]
ความคิดเห็นที่: 19
They lay eggs in burrow and the male would guard them.  I'm not sure whether or not the "sucker" sold cheaply are bred or collected.
brookloach [ 25 พ.ย. 2550 02:59:21 ]

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org