กระทู้-08760 : ตัวแตน หรือ แมลงวันที่พรางตัวเป็นแตน

Home » Board » แมลง&สัตว์ขาข้ออื่นๆ

ตัวแตน หรือ แมลงวันที่พรางตัวเป็นแตน

วันก่อนเจอแมลงตัวนึง ไม่เคยเห็นมาก่อน ทีแรกนึกว่าพวก ต่อ แตน
ตอนนั้นจะค่ำแล้ว
แต่ก็คิดได้ว่า พวก ต่อ-แตน  น่าจะกลับรังนอน ไม่ใช่มาเกาะนอนตามใบหญ้าแบบนี้
แถมตายังติดกันอีก เหมือนพวกแมลงวันมากกว่า

โชคดีมาก ตอนนั้นถือกล้องอยู่ กำลังหัดใช้กระดาษ สะท้อนแฟลชหัวกล้อง เข้าตัวแบบเพื่อจะถ่ายมาโคร  (ไม่มีตังค์ซื้อแฟลชนอกครับ แพง)
เลยได้ถ่ายภาพเอาไว้พอดี
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 00:02:35 ]
InsectsPics_reply_56158.jpg
ความคิดเห็นที่: 1
ตัวนี้ครับ
ลายเหมือนตัวแตน ทีเดียว
ตาติดกัน แบบแมลงวันเลยครับ
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 00:04:42 ]
InsectsPics_reply_56159.jpg
ความคิดเห็นที่: 2
อีกภาพได้มุมที่ดีกว่านี้  แต่มันเบลอ (ค่ำแล้วแสงไม่พอครับ)

มีภาพนี้อีกภาพหนึ่ง     (ใช้ กระดาษขาวสะท้อนแสงแฟลชหัวกล้อง ขออภัยภาพดูแข็งๆ  ไป ยังไม่เก่ง จะศึกษาจากภาพคุณไอ้ลูกทุ่งต่อไปครับ หุหุ)

สังเกตุเห็น ปีก มีคู่เดียว     (คู่หลังลดรูปไปเป็น ตุ่มๆ )

พวก สองปีก นี่ ผมสังเกตุครั้งแรก  และ สนใจมันมากขึ้นจากกระทู้คุณ Trichoptera เลยนะเนี่ย
[http://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php?board_id=8348]
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 2550 00:17:53
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 00:07:33 ]
InsectsPics_reply_56160.jpg
ความคิดเห็นที่: 3
แตน ที่เคยถ่ายภาพไว้ แถวๆ นั้นครับ
ลวดลายคล้ายกันมาก
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 00:09:07 ]
ความคิดเห็นที่: 4
รบกวนท่านอาจารย์ หรือ ผู้รู้ ช่วยชี้แจงครับ

^^
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 00:24:19 ]
ความคิดเห็นที่: 5
ผมว่ามันปรอมเป็นแตนนะ แตนคงไม่ปรอมเป็นแมลงวันหรอก
deathberry approve [ 23 พ.ย. 2550 07:55:39 ]
ความคิดเห็นที่: 6
คุณ GreenEyes ถ่ายภาพสวยวันสวยคืนเลยนะค่ะ
ขอมารอฟังคำตอบจากผู้รู้เช่นกันค่ะ
sparrow approve [ 23 พ.ย. 2550 07:57:29 ]
ความคิดเห็นที่: 7
พวกแมลงวันแตน และแมลงวันผึ้งที่เป็นพวกแมลงวันเบียนรึเปล่าครับ?  ถ้าใช่การปลอมตัวแบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าไปทำลายศัตรู?
...แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 2550 09:12:06
สุวรรณภูมิ approve [ 23 พ.ย. 2550 09:11:13 ]
ความคิดเห็นที่: 8
mimic เลียนแบบทำไมอีกแล้วครับท่าน
รูปร่างหน้าตาเหมือนพวกกลุ่มแมลงวันหัวบุบเลยครับ

เอ..ใช้แคนนอนใช่ไหมครับ กล้องคอมแพคแคนอนเนี่ยเวลาใช้แฟลชชอบติดแดง ลองเปลี่ยน WB เป็นรูปดวงอาทิตย์ดูสิครับว่าเป็นไงบ้าง พอดีกล้องคอมแพคแคนนอนของไอ้กระผมโดนลักพาตัวไปแล้วเลยไม่ทันได้ลองครับ
ไอ้ลูกทุ่ง approve [ 23 พ.ย. 2550 11:02:54 ]
ความคิดเห็นที่: 9
ถ่ายรูปได้สวยดีค่ะ ชอบๆ
Trichoptera approve [ 23 พ.ย. 2550 12:32:48 ]
ความคิดเห็นที่: 10
แมลงวันผึ้งครับ วงศ์Bombyliidae
กวิวัฏ approve [ 23 พ.ย. 2550 13:54:54 ]
ความคิดเห็นที่: 11
รูปสวยครับ

การเลียนแบบของเบทส์ (Batesian mimicry) ตัวเลียนแบบมักมีรสชาติดีมีศัตรูมาก ส่วนต้นแบบมีรสชาติไม่ดี และมักมีสีสะดุดตาทำให้ศัตรูจำได้ และหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปทำร้าย ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่น แมลงวัน เลียนแบบตัวต่อ ดังเช่นที่คุณ GreenEyes นำเสนอ

กำลังเตรียมสอน Lab เรื่องวิวัฒนาการอยู่เลยครับ อย่างไรเสียขออนุญาตคุณ GreenEyes นำภาพไปใช้สอนเป็นวิทยาทานแก่เด็กๆ  ต่างจังหวัดหน่อยนะครับ

เรื่องการเลียนแบบของเบทส์นี้มีรายละเอียดอยู่ในหนังสือวิวัฒนาการของสัตว์ ของ ดร.นิตยา เลาหะจินดา หน้า 74-75 เชิญผู้ใฝ่รู้หาอ่านได้ตามอัธยาศัยครับ
หอยงวงท่อ approve [ 23 พ.ย. 2550 14:39:37 ]
ความคิดเห็นที่: 12
เราจำแนกแมลงวันกับยุงอยู่ในOrder Dipteraครับ
ข้อสังเกตเบื้องต้นคือ ในกลุ่มนี้จะเป็นแมลงที่ปีกคู่หลังลดรูปจนเหลือเป็นติ่งเล็กๆ เรียกว่า halteres(สังเกตในรูป คห2. จะเห็นชัด) จึงเหลือปีกเพียงคู่เดียว

ส่วนผึ้ง ต่อ แตน มด อยู่ในOrder Hymenopteraครับ จะมีปีก2คู่ ครับ

ปล. ทั้งสองOrder ปีกจะมีลักษณะเป็นแผ่นบางใสครับ
บังโจลิโน่ approve [ 23 พ.ย. 2550 16:04:33 ]
ความคิดเห็นที่: 13
ปีกที่ลดรูป...อีกหนึ่งตัวอย่าง ของการวิวัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ เหมือนไส้ติ่งคน
นณณ์ approve [ 23 พ.ย. 2550 16:32:46 ]
ความคิดเห็นที่: 14
แล้วการลดรูปของปีกคู่หลังของแมลงข้างต้นจะใช้ทฤษฎีของลามาร์คอธิบายได้แบบเดียวกับการลดขนาดหดหายไปของขางูไหมครับ?
สุวรรณภูมิ approve [ 23 พ.ย. 2550 17:34:12 ]
ความคิดเห็นที่: 15
ขอบคุณที่ชมครับทุกท่าน

ขอบคุณครับคุณไอ้ลูกทุ่ง กำลังคิดเรื่อง นี้พอดีว่า ใช้แบบไหนดี มีผลรึเปล่า

ยินดีครับ อาจารย์หอยงวงท่อ  และขอบคุณสำหรับความรู้

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ คุณกวิวัฏ  คุณบังโจลิโน่ แล้ว halteres มีประโยชน์ไหมครับ
GreenEyes approve [ 23 พ.ย. 2550 18:03:47 ]
ความคิดเห็นที่: 16
พูดถึงการเลียนแบบ ผมว่าบางทฤษฎีก็มีข้อแย้งบ้าง เช่น Mullerian Mimicry

http://www.onopen.com/2006/02/693
สมมุติว่าคุณเป็นต่อชนิดหนึ่งซึ่ง เกิดมาทีหลัง ในยุคที่ไอ้ต่อชนิดแรกซึ่ง เกิดก่อนเมื่อแสนปีที่แล้วมันเลือกใช้ลายเหลืองสลับดำไปเรียบร้อยแล้ว.. ถามว่า ถ้าคุณต้องการใช้ลายประกาศความมีพิษให้โลกรู้ คุณจะทำอย่างไหนถึงจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน ระหว่าง ‘1. ทำตัวแนว ใช้ลายเขียวสลับแดง’ กับ ‘2. ของเค้าดีอยู่แล้ว ก็ใช้เหลืองสลับดำตามๆ  ไปน่ะแหละ’
คำตอบก็คือข้อ 2 ครับ.. ผู้ล่าใดๆ  ก็ตามที่อยู่ในละแวกนั้น จะคุ้นเคยกับต่อชนิดแรกดีอยู่แล้ว ทำให้เวลาเห็นสีเหลืองสลับดำปุ๊บ ก็จะตีความไปเลยอย่างรวดเร็วว่า “มีพิษ กินไม่ได้” เพราะฉะนั้น คุณซึ่ง มาที่หลัง จะได้รับประโยชน์มากกว่า  ถ้าหากเลือกดำเนินรอยตามผู้ที่เค้าประสบความสำเร็จอยู่แล้ว นั่นก็คือใช้ลายเหลืองสลับดำเหมือนกัน ผู้ล่าเห็นปุ๊บก็จะได้รู้เลยว่าเอ้อ เจ้านี่ก็มีพิษนะ ไม่จำเป็นต้องมาทำแนว ออกแบบลายใหม่ ‘เขียวแดง’ ให้เค้างงแล้วก็ต้องอาศัยเวลามาเรียนรู้เพิ่มเติมว่า เขียวแดงก็เท่ากับมีพิษเหมือนกันนะ (กว่านกทั้งป่าจะเรียนรู้เสร็จ ประชากรต่อเขียวแดงมีหวังถูกจับกินหมดก่อน)
.....................................................................

 แต่เอาเข้าจริง ต่อหรือแตนที่มีพิษ และใช้ลายแบบอื่น(เช่นแดงสลับดำ) ก็มีอยู่   และผู้ล่าก็เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงเช่นกัน  ไม่จำเป็นจะต้องเลียนแบบสัตว์มีพิษชนิดดั้งเดิมเสมอไป
snakeeater approve [ 24 พ.ย. 2550 19:57:05 ]
ความคิดเห็นที่: 17
ปีกที่ลดรูปไม่ใช่วิวัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์นะครับ....เป็นวิวัฒนาการที่สมบูรณ์แล้วต่างหาก เพราะเมื่อปีกลดรูปเหลือปีกคู่เดียวทำให้เคลื่อนไหว บินได้เร็วขึ้น ส่วน halterest เป็นตัวควบคุมทิศทางเหมือนหางเสือทำให้กลับตัวในอากาศได้เปลี่ยนทางได้อย่างรวดเร็วครับ

ภาพสวยมากๆ เลยครับ ชัดเจนแจ่มเลย
kunl_bur approve [ 26 พ.ย. 2550 12:40:08 ]
ความคิดเห็นที่: 18
#14 การลดรูปของปีกแมลง และขาของงูหรือสิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิดใช้ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ(Natural Selection) ของชาร์ล ดาร์วินอธิบายครับ ส่วนทฤษฎีของลามาร์คนั้นนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับเพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้

#13 #17 วิวัฒนาการไม่มีสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์หรอกครับ  แต่สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันเป็นลักษณะที่ถูกธรรมชาติคัดเลือกไว้เพราะมีลักษณะเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม ณ สถานที่นั้นๆ   และ ณ เวลานั้นๆ  มากกว่า

#16 จริง ๆ  แล้วการเลียนแบบนี่ สัตว์มันไม่ได้เลียนแบบกันหรอกครับ มันเกิดจากความบังเอิญที่สัตว์มันมีความหลากหลายทางพันธุกรรมให้ลักษณะที่มีลวดลายหลายรูปแบบ  แต่รูปแบบที่มีลายเหลืองดำนี่ไปบังเอิญเหมือนตัวต่อที่มีพิษเข้า ศัตรูผู้ล่าจึงหลีกเลี่ยงที่จะกิน ทำให้ลักษณะที่คล้ายตัวต่อนี่มีโอกาสรอดจนสืบพันธุ์ได้มากกว่าตัวที่มีลายแบบอื่นๆ   และมีจำนวนมากขึ้นในรุ่นถัดๆ ไป นานเข้าก็เหลือ แต่พวกที่มีลายเหมือนตัวต่อ จนเป็นแมลงวันที่มีหน้าตาคล้ายต่ออย่างที่เห็น ก็คือเข้าหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาตินั่นแหละครับ
การที่แบ่งเป็น mimicry แบบนั้นแบบนี้ ก็คือเป็นการแบ่งตามลักษณะปรากฏการณ์ที่ค้นพบ เพื่อจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจ และศึกษาครับ
...แก้ไขเมื่อ 26 พ.ย. 2550 13:27:02
หอยงวงท่อ approve [ 26 พ.ย. 2550 13:19:39 ]
ความคิดเห็นที่: 19
แนวคิดเกี่ยว​กับ​วิวัฒนาการที่ยอมรับกันในปัจจุบันคงจะเป็นทฤษฎีดาร์วิน​ใหม่​(ทฤษฎีวิวัฒนาการแบบผสมผสาน) ที่คุ้นๆ ในชื่อ Neo – Darwinisism (Synthetic Theory)ใช่ไหมครับ?
สุวรรณภูมิ approve [ 26 พ.ย. 2550 13:50:39 ]
ความคิดเห็นที่: 20
ตอบ#18 ทราบอยู่เหมือนกันครับว่าไม่ใช่การจงใจเลียนแบบ เป็นแค่การ"บังเอิญคล้าย"เท่านั้น
แต่การสร้างสัญลักษณ์เพื่อเอาตัวรอดนั้น  ไม่จำเป็นต้องมีความ"บังเอิญคล้าย"กับสัตว์มีพิษชนิดดั้งเดิมเสมอไป  สัตว์บางชนิดที่มีพิษอยู่แล้ว( แต่ถือกำเนิดขึ้นทีหลัง)อาจสร้างโลโก้เฉพาะตัวขึ้นมาก็ได้ เช่น แตนบางชนิดไม่จำเป็นต้องมีสีเหลือง-ดำ(ตามแบบผึ้งหรือแตนส่วนใหญ่)   แต่อาจมีสีเฉพาะตัว เช่น แดง-ดำ ก็ได้
snakeeater [ 26 พ.ย. 2550 15:30:32 ]
ความคิดเห็นที่: 21
ใช่ๆๆๆๆ  ต้องใช้คำว่า natural selection ขอบคุณครับ
kunl_bur approve [ 26 พ.ย. 2550 16:57:54 ]
ความคิดเห็นที่: 22
#19 ใช่ครับ เป็นการรวมแนวคิดดั้งเดิมของดาร์วินกับความรู้ใหม่ๆ  เข้าด้วยกัน เช่นความรู้ด้านพันธุศาสตร์ประชากร
#20 ใช่แล้วครับคุณ snakeeater เพราะการเกิดลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ๆ  เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา  แต่ ถ้าแตน 2 ชนิดถูกธรรมชาติคัดเลือกไว้จนมีลักษณะลายเหลืองดำคล้ายกันก็เป็น Mullerian mimicry แบบที่คุณ snakeeater กล่าวไว้แล้วใน#16 นั่นแหละครับ
หอยงวงท่อ approve [ 26 พ.ย. 2550 17:18:49 ]
ความคิดเห็นที่: 23
Neo – Darwinisism (Synthetic Theory)

มาจากในช่วงแรกเราเน้นการศึกษาการเอาชีวิตรอดในระดับIndividualกับpopulation ครับ  แต่เมื่อศึกษาต่อมาพบว่าสิ่งที่ถ่ายทอดสู่รุ่นต่างๆ คือยีนครับ ดังนั้นNeo – Darwinisism (Synthetic Theory) จะเน้นการมีชีวิตรอดของยีนครับ คือ การส่งถ่ายยีนต่อรุ่นต่อๆ ไป เพราะยีนมีผลต่อลักษณะphenotype ดังนั้นยีนก็จะมีผลต่อการมีชีวิตรอด  และความถี่ของยีนก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมภายนอก
บังโจลิโน่ approve [ 27 พ.ย. 2550 16:27:46 ]
ความคิดเห็นที่: 24
โดนต่อยมาเมื่อตอน 6 โมง เช้านั้เอง ปวดมากบวมด้วย ทายาแล้วก็กินยาแก้ปวดไปแล้วเจอตัวด้วยเหมือนในรูปเลยเล่นดีดตายคามือแล้วล่ะโมโห ตอนนี้ยังปวดอยู่
p [ 09 พ.ค. 2551 14:08:49 ]
ped.2010@hotmail.com

- ปิดกระทู้ -

www.siamensis.org - Thailand Fish & Nature Explorer
An independent non-profit group
Established 2001
 All Rights Reserved 2001-2010 ©siamensis.org