ผมเป็นคนอีสาน จ.มหาสารคาม แต่มาทำงานที่อยุธยา บ้านพักอยู่ที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี
สมัยเด็ก ๆ ชอบเลี้ยงปลากัดป่ามาก ที่อ.หนองแค จะมีคลองระพีพัฒน์เป็นคลองหลัก
ดินที่อ.หนองแคเป็นดินเปรี้ยว น้ำจะใส เป็นสนิม คนที่หนองแคส่วนใหญ่ทำนาปีละ 4
รอบ และทำสวนส้ม มองไปไหนเห็นสวนส้มเต็มไปหมด สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปมาก
การทำนา และส้มที่เน้นการใช้สารเคมีเป็นหลัก ธรรมชาติเปลี่ยนไป
สัตว์บางชนิดมีจำนวนมากขึ้น(ปลาช่อน ปลากริม ปลากระดี่)
บางชนิดหายไปอย่างน่าเป็นห่วง
ผมเริ่มออกหาปลากัดป่าอ.หนองแค วันที่ 3 ส.ค. 45 เวลา 9:00 น.
โดยเริ่มการหาจากร่องสวนเก่า ๆ และตามแหล่งน้ำที่มีผักตบชวาเยอะ ๆ
( เพราะผมเป็นคนอีสาน ปลากัดป่าอีสานส่วนใหญ่ชอบก่อหวอดติดกับผักตบชวา) ใช้เวลาไป 3
ชั่วโมงเต็ม ได้ ปลากัดเพศเมียตัวเล็ก ๆ 5 ตัว เพศผู้ 1 ตัว อืมม...
ปลากัดป่าอ.หนองแคตอนนี้หายากมากครับผม สมัยก่อนเด็ก ๆ
ระแวกนั้นบอกกับผมว่าเคยหาได้ไม่ยากเท่าไหร่ จากการสังเกตของผมนั้น
ปลาส่วนใหญ่ที่พบ คือปลากริม ปลากระดี่ และลูกปลาช่อน นอกจากปลากัดป่าอ.หนองแค
จะเจอภัยจากสารเคมีแล้ว มันยังเจอภัยจากธรรมชาติอย่างเจ้าปลาช่อนด้วย
ผมไม่สงสัยเลยว่าทำไม USA ถึงห้ามนำเข้าปลาช่อน ถ้าประชากรปลาช่อนมีมาก
ปลาบางชนิดสูญพันธุ์แน่นอนครับผม
ผมลืมบอกไปว่าผมไปกับ เพื่อนของผม 1 คน และหลานของ เพื่อนผมอีก 2 คนครับ
ขณะที่เดินทาง เพื่อนำปลาที่ได้ ไปฝาก เพื่อนเลี้ยงไว้ให้
( เพื่อนผมเค้าทำฟาร์มปลาดุก และกบเค้ามีไรแดงเพียบครับผม) ก่อนจะถึงบ้าน เพื่อน
เพื่อนผมบอกว่า ร่องสวนแถว ๆ บ้านเค้า แต่ก่อนเคยมีปลากัดป่าเยอะ
และเราก็มาเจอร่องสวนเก่า ๆ ร่องหนึ่ง จริง ๆ ไม่น่าเรียกว่าร่องสวน เหมือนกับว่า
เค้าขุดดิน เพื่อนำไปถมทำเป็นถนนน่ะครับผม ไม่มีสวนส้มในระแวกนั้น ไม่มีการทำนาด้วย
ผมลงจากรถไปสังเกตดู น้ำใสมาก พืชน้ำไม่ค่อยมี ยกเว้นหญ้าเต็มไปหมดเลย เป็นร่อง
หน้ากว้างประมาณ 4 เมตรได้ ยาวประมาณ 100 เมตรน่าจะได้ครับผม
ขณะที่ผมกำลังสังเกตแหล่งน้ำอยู่นั้น หลาน เพื่อนผมก็ตะโกนบอกว่าได้ปลากัดแล้วครับ
(เสียงสวรรค์) หลาน เพื่อนผมเค้าเจอหวอดอีกหลายหวอด เราใช้เวลาประมาณ 30 นาที
ได้เพศเมีย 3 ตัว เพศผู้ 21 ตัว หาจากหวอดล้วน ๆ ครับผม เมื่อวานฝนตกปรอย ๆ
ปลากัดที่นี่ก็เลยก่อหวอด เพื่อวางไข่ บางหวอดมีไข่ด้วยครับผม
หลังจากที่ได้ตามจำนวนที่ต้องการ
ผมก็จัดการหาขวดเท่าที่จะหาได้ในตอนนั้นมาใส่ปลากัดป่าเอาไว้
ผมอยากรู้ว่ามันเป็นปลากัดป่าพันธุ์ไหน (ก่อนหน้านี้ ผม print
ภาพปลากัดป่าของ แต่ละภาค เพื่อมาเปรียบเทียบด้วย) หลังจากทิ้งปลาไว้สักระยะ
ผมก็เอาปลามาเทียบกัน เพื่อให้มันพอง
จากการสังเกตของผมผมว่ามันแตกต่างจากปลากัดป่าอีสานผมมาก
มันเหมือนปลากัดหม้อมากกว่า แต่ตัวมันเพรียวเหมือนปลาป่า ผมเทียบจากภาพแล้ว
มันน่าจะอยู่ในตระกูล B.splendens หรือ ปลาหม้อป่า แต่ตะเกียบมันจะยาวกว่าครับผม
ผมมีภาพให้ดูด้วยนะครับผม ( แต่ก็อาจเป็นไปได้ ที่นักเลงปลาอาจจะนำลูกปลามาปล่อย)
ใครเป็นผู้รู้ดูภาพแล้วแนะนำหน่อยซิครับผม"
ความเห็นจาก siamensis.org:
คิดว่าปลาที่คุณ บ๊อบบี้สุ่ย ไปจับมาเป็นปลาป่าภาคกลาง Betta splendens สายพันธุ์แท้ ครับ
หางลักษณะใบโพธิ์ในปลาบางตัวที่จับได้เป็นลักษณะที่พบบ่อยในปลา B. splendens
จากแถบภาคกลาง สวยมากๆ ครับ ช่วยๆ กันเก็บรักษาไว้นะครับ
ขอร้องว่าเวลาไปจับก็อย่าจับมาทีละเยอะๆ เลยนะครับ โดยเฉพาะถ้าในหวอดมีไข่หรือลูกปลาอยู่
ปล่อยให้เหลืออยู่ในธรรมชาติบ้างครับ
ขอขอบคุณ คุณบ๊อบบี้สุ่ยที่อนุญาตให้นำรูป และบทความมาลงครับ เพื่อนๆ ท่านไหนมีบทความ และรูป
แบบนี้ช่วยกันส่งเข้ามาเลยครับ
more survey ...