รวมๆ มาถามช่วงที่เข้าเว็บไม่ได้ครับ

ช่วงที่เข้าเว็บไม่ได้นี่เจอตัวแปลกๆ แต่ไม่รู้จะเอาไปถามใครหาข้อมูลจากกูเกิ้ลแล้วก็ยังไม่แน่ใจครับ เลยรวมมาถาม ตัวแรกนี่เจอติดกับดัก pitt trap ที่ทำไว้ครับ เนื่องจากกลางวันอากาศร้อนมาก พอไปดูตอนเย็นเลยเจอมันแห้งตายอยู่ครับ ไม่แน่ใจว่าใช่เจ้า "งูคา" หรือจิ้งเหลนหางยาวมั้ยครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ตัวที่สองเกิดจากเคยบอกให้เด็กๆ แถวบ้านกับหลานๆ ให้ช่วยหางูหัวกะโหลกให้ เพราะช่วงก่อนหน้านี้เห็นอาจารย์น็อตตามหาอยู่ ช่วงนี้ฝนตกหลานเจอในบ่อปลาก็เลยเอามาให้ แต่ดูแล้วน่าจะเป็น งูแสงอาทิตย์ แต่ก็ไม่แน่ใจครับ แต่ดูจากลักษณะของเกล็ดที่กลมๆ และวาวๆ เลยคิดว่าน่าจะใช่ เชื่องมาก น่าจะเป็นตัวเมีย

03.jpg 04.jpg 05.jpg

ความเห็นที่ 2

เจ้าตัวที่สามนี่เพิ่งเจอเมื่อเช้าเลยครับ น่าจะเป็นลูกกิ้งก่าอะไรสักอย่าง

06.jpg

ความเห็นที่ 3

งูสายรุ้งลาย?

ความเห็นที่ 4

นั่นเป็นงูสายรุ้งธรรมดา([i]Enhydris enhydris[/i])ตัวเมียครับ เอาลงน้ำด่วนเลยครับ

ความเห็นที่ 4.1

ปล่อยไปแล้วครับ หลังถ่ายรูปเสร็จ

ความเห็นที่ 5

ตัวแรก จิ้งเหลนน้อยหางยาว แม่นแล้วครับ

งูเป็นสายรุ้งธรรมดา ตามข้างบน

ส่วนกิ่งก่า เป็นกิ่งก่าคอแดงครับ

ความเห็นที่ 5.1

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 6

แล้วพี่โตเอามันลงน้ำมั้ยครับ ถ้าลงบกคงอึดอัดน่าดู

ความเห็นที่ 6.1

เอาไปปล่อยไว้ในสระบัว หลังบ้านครับเป็นสระใหญ่มีบัว มีปลาครับ มันติดแหมาตอนหลานพี่จับปลาในบ่อที่บ้านเค้า เค้าเลยเอามาให้พี่เพราะเคยบอกว้ว่าถ้าเจอให้จับเป็น ไม่งั้นคงลงหม้อไปแล้ว พอเอาให้เด็กๆดู และถ่ายรูปเสร็จก็เลยเอาไปปล่อยครับ

ความเห็นที่ 7

ดีแล้ว ที่ผมไม่ตอบออกไป แต่แรกที่เข้ามาดู เพราะเดาถูกเพียงงูคา ตัวแรก เท่านั้นเอง ขอความรู้หน่อยครับ เรื่องจุดเด่น จุดสังเกตงูน้ำ ลงไปถึงชนิดอย่างงูสายรุ้ง แยกอย่างไร แล้วกิ้งก่าคอแปดง ดูจากตรงไหน

ความเห็นที่ 8

งูสายรุ้งดูไม่ยากหรอกครับ หาชื่อวิทย์ในเน็ตสิ แล้วดูลายท้อง ประกอบกับส่วนต่างๆครับ

ความเห็นที่ 9

^

^

ตอนนี้นั่งเอารูปมาดูระหว่างงูสายรุ้งกับงูแสงอาทิตย์เลยครับ ชอบจำสลับกัน กำลังหาข้อแตกต่างของมันอยู่

ความเห็นที่ 9.1

ลองลักษณะเกล็ดที่หัวเทียบดูสิครับ

ความเห็นที่ 10

ขออนุญาตมีความเห็นที่ต่างจากคนอื่นกรณีงูสายรุ้ง

ไอ่ตัวในรูปนี้เป็นงูสายรุ้งลาย (Enhydris subtaeniata) หรือเดิมเราเคยใช้ชื่อว่า E. jagorii มายาวนาน ซึ่งได้มีการตตรวจสอบใหม่แล้วปรากฎว่าเจ้าชื่อหลังเป็นชื่อของงูสายรุ้งดำ (ซึ่งเคยใช้เป็น E. smithi ตอนนี้เป็นชื่อพ้องโดยสมบูรณ์แบบ และ E. inorminata ซึ่งเป็นงูเฉพาะถิ่นของเวียตนาม มานานมาก) ถ้าสังเกตดีๆจะเป็นลายบั้งจางๆข้างตัว หัวทู่ๆหน้าตัด ซึ่งสายรุ้งธรรมดาหน้าจะยาวๆ หัวเล็กกว่าช่วงกลางๆตัวมาก ทรงจะเล็กไปใหญ่และเรียวเล็กอีกที แต่ตัวนี้ทรงจะดูสั้นๆ ถ้าเป็นไปได้น้องชานเอารูปสายรุ้งธรรมดาที่บ้านมาแปะเทียบดูสิครับ

ตอนนี้ที่ผมต้องตามคืองูสายรุ้งลายภาคกลางที่มีการใช้ชื่อว่า E. chanardi ว่าตกลงมันยังไงกันแน่ เคยได้ตัวอย่างจากท่านมนุษย์กรวย (coneman) แล้วดันทำหลุด ตอนนี้มีแต่ตัวอย่างดองสายรุ้งลายอิสาน เลยยังไม่สรุป แต่เหมือนว่าหลายๆคนฟันธงไปแล้วว่ามันเป็นชื่อพ้องไปแล้ว ผมก็คงแค่รับฟังไว้ก่อนเท่านั้นครับ

 

ส่วนเจ้างูคา หรือจิ้งกล้อง(ภาคใต้) ถ้าได้สภาพศพดีๆรบกวนดองให้ด้วยครับ จะให้เก็บตัวเป็นๆก็เกรงใจ เพราะยังหาโอกาสแว่บไม่ได้เลย ผมต้องการตัวอย่างจากอิสานตอนล่างและบนครับ

ความเห็นที่ 10.1

ขอบคุณครับอาจารย์ เจ้างูคาผมดองไว้เรียบร้อยแล้วครับ ยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆซักที เพิ่งเห็นตัวนี้ตัวแรกก็เป็นศพแล้ว สะดวกมาเมื่อไหร่มารับไปได้เลยครับหรือจะให้ส่งไปก็ได้ครับ

ความเห็นที่ 11

ยังไม่รีบครับ เอาไว้ให้ผมใช้เป็นข้ออ้างไปที่โน่นดีกว่า

งูคานั้น ลองไปดูตามถนนที่ผ่านทุ่งนาวันที่แดดดีๆสิครับ แล้วจะเห็นมันออกมานอนผึ่งแดดบนถนน หรือบนใบข้าว ใบหญ้า พอเราไปใกล้ๆมันก็จะวิ่งปรู๊ดหลบอย่างรวดเร็วครับ