ชุ่มช่ำ...ที่น้ำหนาว
เขียนโดย Due_n Authenticated user เมื่อ 29 มิถุนายน 2553
มีโอกาสไปเยือนน้ำหนาวในช่วงฤดูฝน ก็ได้เจอฝนสมใจอยากครับ มาครั้งนี้แตกต่างจากปีที่แล้วที่เคยมาปลายหนาวต้นฝน ก็ได้เจอสภาพป่าและสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างไปพอสมควรครับ
เริ่มต้นด้วยพวกขิงข่าแล้วกันนะครับ ช่วงนี้ถือว่าเป็นดาราเลยทีเดียว มองไปทางไหนก็เจอ...เต็มไปหมด
Comments
ความเห็นที่ 1
เห็นครั้งแรก นึกว่า B. longiflora ที่เจอได้ง่ายบนดอยสุเทพ แต่ดูไปมา..มันไม่เหมือนกันแฮะ ตัวนี้ดูดอกป้อมๆ กว่า
เจ้าแม่บอกว่า ต้นนี้ชื่อ Bosengbergia bella ขอรับ
ความเห็นที่ 2
กระเจียวขาว ก็พบเยอะทีเดียวครับ
ความเห็นที่ 3
เปราะก็กำลังออกขอรับ
ความเห็นที่ 4
Globba ก็แยะเลยครับ สวยๆ ทั้งนั้น
ความเห็นที่ 5
คั่นด้วยกิ่งก่าน้อยยยย
ความเห็นที่ 6
ตั๊กแตนน้อยยย
ความเห็นที่ 7
ระหว่างเดินป่าไป ด้วยความคิดว่าไม่มีทาก เดินแบบไม่สนใจทากเสียสักนิด... พอออกจากป่า ทากน้อยมาต้อนรับกันเต็มเท้าเชียว เอิ๊กๆ
หนอนสีสวยระหว่างทางครับ
ความเห็นที่ 8
ผีเสื้อก็ตามมา
ความเห็นที่ 9
อีกตัว โดนล้อทับตายครับ น่าสงสาร
จรกาสองขีด!?
ความเห็นที่ 10
แมลงปอบ้านดง(ปีก)แต้มเหลือง Tetrathemis platyptera ตัวผู้
ความเห็นที่ 11
แมลงปอเข็มหางเข็มเหลือง Prodasineura auricolor
ครั้งแรกที่ได้เจอแมลงปอชนิดนี้ครับ สีสวย และคล้ายกับ P. doisuthepensis แต่ต่างกันแค่สัสันเท่านั้นเอง
ความเห็นที่ 12
แมลงปอเข็มภูเขา Rhinagrion sp. ลายค่อนข้างแปลกกว่าที่เคยๆ เห็นมาขอรับ ที่แน่ๆ ไม่ใช่ R. mima แน่ๆ
ต้นปีหน้าเมืองไทยจะมีแมลงปอเข็มในสกุลเป็น 2 ชนิดแล้วขอรับ (จากเดิม่ที่มีอยู่ชนิดเดียว) รอให้ revision ออกมาก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกที
ความเห็นที่ 12.1
แมลงปอกลุ่มนี้น่ารักดี ตาโตๆ เกิดมายังไม่เคยเห็นเลยอ่ะ
ความเห็นที่ 12.1.1
ใช่พี่ ตาโตมาก แต่ตัวเล็กมากครับ เจ้าตัวนี้บินเร็ว มองหายากอยู่พอสมควรครับ
ความเห็นที่ 12.2
คุณดิวว่าเป็น Rhinagrion philippinum (Selys, 1882) มั้ย เอาแบบยังไม่ยืนยันชี้ชัดก้ได้
ถ่ายรูปนี้ตอนกลางคืนหรือครับ
ความเห็นที่ 12.2.1
ถามคนที่ทำการทบทวนแมลงปอกลุ่มนี้มาแล้วครับ เขาบอกว่า R. mima จริงๆ นั้นพบที่พม่า เกาะสุมาตรา และกาญจนบุรีเท่านั้น (ท้องสัส้ม) และที่พบที่อื่นนอกเหนือจากนี้(ในบ้านเรา)จะเป็น R. viridata ครับ ซึ่งแต่ก่อนนั้นจัดเป็นชื่อพ้องของเจ้า mima ครับ แต่ในเปเปอร์ที่กำลังจะออกนั้นจะแยกเป็นอีกชนิดหนึ่งครับ ซึ่งผมค่อยข้างเห็นด้วยครับ เพราะเท่าที่เห็นมา ประชากรย่อยที่กาญจน์สีจะแปลกกว่าที่อื่นอยู่ครับ
ความเห็นที่ 12.2.2
Rhinagrion philippinum เป็นชนิดเฉพาะถิ่นของฟิลิปปินส์ครับ เป็นไปได้ยากมากที่จะเจอบ้านเรา แต่แถบสิงคโปร์กับคาบสมุทรมลายูนั้นยังมีอีก 2 ชนิดที่ไม่พบบ้านเราครับ ถ้ามีการสำรวจมากขึ้นอาจจะได้ข่าวดีเพิ่มเติมอีกครับ
ภาพถ่ายตอนกลางวันเนี่ยแหละครับ แต่เปิดแฟลช (ถ่ายในห้องเนี่ยแหละครับ) เอิ๊กๆ
ความเห็นที่ 12.3
ตัวก่อนเป็นโดเรมอน งั้นตัวนี้เป็นโดเรมีนะ ^^"
ความเห็นที่ 12.3.1
ดีๆ พี่ ชื่ออย่างนี้จำง่ายดีครับ (สำหรับพวกเรา ฮาๆ)
ความเห็นที่ 13
ตกกลางคืนก็เจอผีเสื้อและหิ่งห้อยมากมายขอรับ
ความเห็นที่ 14
หิ่งห้อยนี่..เรียกได้ว่าเยอะของจริง
เดี๋ยวให้คนทำหิ่งห้อยมาบรรยายชนิดและรายละเอียดอีกทีแล้วกันนะครับ
ความเห็นที่ 14.1
จริงสิ คราวก่อนที่ไปก็หิ่งห้อยเยอะ มีตัวล่ำๆเดินตามพื้นเลย
ความเห็นที่ 14.2
จับหงายท้องถ่ายรูปมาให้ดูขนาดนี้ แหล่มเลยครับ
เป็นหิ่งห้อยสกุลใหม่ที่เพิ่งตั้งขึ้นมา ชื่อสกุล Asymmetricata โดยย้ายสมาชิกจากสกุล Luciola มาสองตัวเอามาไว้ในสกุลที่ว่า ซึ่งสองตัวนั้นมีสีสรรและหน้าตาเหมือนกันมากกกก ต้องหงายท้องดูปล้องแสงอย่างที่คุณดิวถ่ายมาให้ชมนั่นเลย ถึงจะระบุชนิดได้
:ตัวที่สามคือเพศผู้ ชื่อว่า A. ovalis ระบุได้จากปล้องแสงสุดท้ายมีการผ่าครึ่ง
:ส่วนตัวที่สองมีปล้องแสงปล้องเดียว ปล้องท้องปล้องสุดท้ายไม่มีอวัยวะเปล่งแสง คือเพศเมียนั่นเอง
ความเห็นที่ 14.2.1
ขอบคุณหลายๆ เลย ท่าน อุตส่าห์มาตอบย้อนหลังให้
ความเห็นที่ 14.2.1.1
โทษทีครับ
ที่จริงตอบให้ตั้งนานแล้ว แต่พอกด "โพสต์" ปุ๊บ ข้อความมันหายไปหมดเลย
แล้วก็ไม่ได้ตอบอะไรไปอีกนาน จนตอนนี้เพิ่งจะโพสต์ตอบได้ (คนอื่นเค้าได้กันตั้งนานแล้ว) ก็เลยมาย้อนหลังให้ซะหน่อย ยังทันอยู่มั้ยเนี่ย แฮะๆ
ความเห็นที่ 15
ตัวอ่อนก็มีครับ
ความเห็นที่ 15.1
เคยเห็นตัวอ่อนหิ่งห้อยมันดูเหมือนหนอน ไม่เป็นแบบนี้น่ะครับ เพราะอะไรหรอ
ความเห็นที่ 15.1.1
ตัวหนอนแต่ละสกุลก็แตกต่างกันเยอะครับ
อย่างตัวที่คุณดิวถ่ายมา อาจเป็นหนอนของสกุล Diaphanes ก็ได้ครับ
ภาพหนอนหิ่งห้อยชุดนี้ งามถูกใจผมจริงๆ ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 16
อันนี้ของฝากจากดอยอินทนนท์ขอรับ
ความเห็นที่ 17
ด้วงสีสวยย
ความเห็นที่ 18
ปิดท้ายด้วย ด้วงครามกำลังจะบินขอรับ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาชมกระทู้นี้ครับ
ความเห็นที่ 19
ว๊าวๆๆ ไปมาคราวนี้... สมใจท่าน Due_n เลยจริงๆ
ความเห็นที่ 19.1
ฮาๆๆ ฝนตกสมใจอ่าดิ -_-'
ความเห็นที่ 20
โอ้วน่าไปจริง ๆ เลย
ความเห็นที่ 20.1
ตอนไปถือว่าโชคดีหน่อยที่มีวันที่แดดออกนะพี่ (วันเดียว) แต่ส่วนใหญ่แล้วฝนจะตกครับ ถ้าพี่เก่งไป..อย่าลืมบอกบ้างเน้ออ
ความเห็นที่ 21
แถมของฝากอีกหน่อยจากดอยสุเทพครับ น่าจะเป็นกล้วยไม้นะขอรับ ดอกแปลกดีครับ
ความเห็นที่ 22
แถมอีกตัว ชนิดเดียวกับที่เจอดอยอินทนทท์เลยครับ
ความเห็นที่ 22.1
มอธตัวนี้ Coryptilum rutilella Walker (วงศ์ Tineidae).
ความเห็นที่ 22.1.1
Thanks for your ID!
I had thought it's adult caddisfly!
ความเห็นที่ 23
อ้าว!! มาเมื่อไหร่เนี่ย ไม่ชวนกันเลย
ความเห็นที่ 23.1
พี่ตุ่ม ผมบอกพี่ไปแล้วนะครับ เมื่ออาทิตย์ก่อนน่ะพี่
เจอของดีเยอะเชียวครับ แอบดีใจเจอไก่ฟ้าหลังขาว (นานๆ จะเจอกับตาสักที แต่ไม่รู้ว่าที่นั่นเจอง่ายหรือไม่นะครับ) พญาไฟอะไรสักอย่าง ขุนแผนอะไรสักอย่าง(หัวและหลังสีแดงอ่ะครับ) สาลิกาเขียว กะรางหัวหงอก และนกที่ผมไม่รู้อีกเพียบครับ ... แต่ถ่ายรูปไม่ได้สักตัวเลยนะพี่
ความเห็นที่ 23.1.1
ขออภัย!! เห็นว่าเลื่อนไปขึ้นดอยบ่ใช่รึ...ว่าแต่เจอนกเยอะนะเนี่ย ไก่ฟ้าพี่ยังไม่เคยเห็นที่น้ำหนาวเลย ^_^
ความเห็นที่ 23.1.1.1
เลื่อนวันเดียวครับพี่ ลงดอยเสร็จก็ต่อรถไปน้ำหนาวเลยครับ แฮะๆๆ
ความเห็นที่ 24
กิ้งก่าเขาหนามเล็ก(Acanthosaura lepidogaster) เพศเมียครับ
ส่วน อึ่งกราย เป็น อึ่งกรายห้วยเล็ก(Xenophrys parva)ตัวเมีย เช่นกัน
ความเห็นที่ 24.1
ขอบใจหลายๆ ท่านน้อง