เก็บภาพหลังฝนซามาจากข้างบ้านและที่อื่นๆ อยากรู้ชื่อด้วยครับ
ตัวนี้เป็นอึ่งอ่างธรรมดามั้ยครับ Kaloula pulchra เรียกชื่อถูต้องมั้ยครับ(จากสมุทรสาคร)
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
นี่ก็ที่สมุทรสาคร สงสัยพวกกบ (ตัวเดียวกัน)
ความเห็นที่ 2
อีกตัวจากสมุทรสาคร
ความเห็นที่ 3
อีกตัวที่สมุทรสาครครับ ตัวนี้ด้านหลังเป็นแถบสวยมาก
ความเห็นที่ 4
สมุทรสาครมาอีกตัว ตัวเล็กแต่ร้องดัง ตัวล่างจากสวนผึ้ง ราชบุรี น่าจะชนิดเดียวกัน
ความเห็นที่ 5
ตัวนี้จากสวนผึ้ง โคนขาเหลืองอ๋อย เรียกเขียดขาคำหรือเปล่า
ความเห็นที่ 6
ตัวสุดท้าย ตัวนี้แน่ใจว่า เขียดบัว หรือเรียกอีกชื่อว่า เขียดจิกเขียว Rana erythraea
ความเห็นที่ 7
ตัวแรก อึ่งอ่างบ้าน(Kaloula pulchra)
*1.3 กบหนอง(Fejervarya limnocharis)
*4.อึ่งน้ำเต้า(MIcrohyla fissipes)
*5.อึ่งขาคำ(Microhyla pulchra)
6.เขียดบัว(HYlarana erythraea)
ความเห็นที่ 7.1
โอ้โฮ...ไวมากเลยขอบคุณคุณ พรุมากครับ แต่ คห. #1กับ #3 คนละตัวกันนะครับ...น่าจะเป็น คห. #1 กับ #2 มากกว่าที่ดูจะคล้ายกันมาก หรือว่ายังไงเอ่ย
ความเห็นที่ 8
กบหนองความหลากหลายของลายสูงมากครับครูนก มีขีดพาดไม่มีขีดพาด ใช้ไม่ได้เลยครับ มีคละกันในกลุ่มประชากรครับผม
ความเห็นที่ 8.1
ถ้าเช่นนั้นตัวนี้ก็คงเป็ยกบหนองอีกแบบ ขอบคุณคุณนณณ์ครับ
ความเห็นที่ 8.2
ครูเล็กมั้งพี่ ไม่ใช่ครูนก
ความเห็นที่ 8.2.1
เำพลินไปหน่อย ว่าแต่ครูนกหายไปไหนหล่ะพักนี้
ความเห็นที่ 8.2.1.1
ครูนกช่วงนี้ทั้งงานชุกและงานเข้าขอรับ ขนาดบุกถึงถิ่นยังไม่ได้เจอกันเลย
ความเห็นที่ 9
ถ้างั้น อะไรคือจุดจำแนก กบหนอง ครับ เจอบ่อยเหมือนกัน แต่ผมดูเส้นกลางตัว
ความเห็นที่ 9.1
สงสัยต้องมาเจอกันก่อนแล้วมั้งท่าน เพราะจุดจำแนกจริงๆสำหรับการเริ่มต้นต้องเริ่มจากจับหงายท้องก่อน เพื่อตรวจสอบว่าใช่กบสกุล Fejarvarya ก่อนหรือเปล่า แต่ถ้าเอาแบบลัดๆ ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลจะมีตัวที่อาจทำให้สับสนกับกบหนองก็มีกบน้ำเค็ม กับกบนา ซ฿งกบนานั้นปลายหัวจะโค้งมนมาก ไม่ดูออกทางแหลมๆอย่างนี้ตลอดช่วงวัย ขาก็จะอวบๆไม่เรียวแบบนี้ ส่วนกบน้ำเค็มจะอยู่ในพื้นที่ที่อิทธิพลน้ำเค็มขึ้นถึง ตอนแรกผมก็ลุ้นว่าจะมีกบน้ำเค็มหลงมาให้เปรียบเทียบเหมือนกัน ว่าไปแล้วกบสกุลนี้จะมีหรือไม่มีขีดที่หลังก็ได้ทุกชนิด (รวมถึงกบสกุลอื่นๆเช่น Limnonectes) ดังนั้นเรื่องเส้นหลังก็ไม่ต้องไปคิดถึงมันเลย ลักษณะที่พอใช้ช่วยหากินได้ก็มีทรงหัว ซึ่งเจ้ากบหนองหัวแหลมกว่าเพื่อนสำหรับกบสกุลนี้ในประเทศไทย ถ้าถามว่ารู้ยังไงว่ามันแหลม ก็ขอให้กลับไปดูรูปแล้วจำทรงหัวจากภาพชุดนี้ไว้เลยว่าแบบนี้แหละที่เรียกว่าแหลม ถ้าดูแล้วเห็นว่าทู่กว่านี้ค่อยว่ากันอีกทีว่าจะเป็นชนิดไหนขอรับ
ความเห็นที่ 9.1.1
โอ้โห ไม่ง่ายซะแล้ว ต้องเทียบกันจริงๆจังๆถึงจะ เข้าใจนะเนี่ย
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 9.1.1.1
ความยากง่ายนั้นพูดยาก ก็เหมือนให้ผมมาเพ่งมองแมงมุมเพื่อแยกชนิดนั่นแหละ
ความเห็นที่ 10
#8.1 ผมดูจากหนังสือของ น.อ.(พิเศษ)วิโรจน์ นุตพันธุ์ ยังมีลักษณะคล้าย Rana Limnocharis Gravenhorst 1829 มีชื่อไทยว่า เขียดหลังขาว เขียดอีโม่ หรือเขียดก๊อด กบกสุล Fejarvarya ไม่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแสดงว่าเป็นสกุลที่ตั้งขึ้นใหม่ หรือพบใหม่
ความเห็นที่ 11
สกุลนี้ตั้งมานานแล้วครับ (ก่อนผมเกิด) แต่บ้านเราเพิ่งเอามาใช้ไม่นาน ส่วนเอกสารของ อ.วิโรจน์ จะใช้สกุลเก่าทั้งหมดครับ
เขียดอีโม่ เป็นชื่อท้องถิ่นทางภาคอีสาน เขียดก๊อดมาจากไหนไม่ทราบเหมือนกัน แต่เป็นชื่อที่เรียกเลียนเสียงร้องของมัน ทั้งนี้เขียดอีโม่เองก็ประกอบด้วยเขียดหลายชนิดครับ
ความเห็นที่ 12
ขออนุญาตฝากด้วยซัก 1 ตัวครับ
ความเห็นที่ 12.1
อึ่งเพ้า
ความเห็นที่ 13
อึ่งปากตัด...แหะๆๆ...ล้อเล่นครับ
ความเห็นที่ 14
ยังมีภาพหลงๆ อยู่อีก สองตัวคู่นี้เกาะบนต้นไม้สูงจากพื้น เหนือน้ำสัก 2 เมตร น่าจะเป็น Bafo asper จงโคร่ง ผิดถูกยังไงช่วยดูให้ด้วยครับ (จากราชบุรี)
ความเห็นที่ 15
จงโคร่ง ตอนนี้ใช้ Phrynoidis aspera ครับ :)