ทำไมสิ่งมีชีวิตจากแดนละตินจึงมีศักยภาพในการแข่งขันสูง?
เขียนโดย Snakeeater Authenticated user เมื่อ 6 กรกฎาคม 2553
ทำไมสิ่งมีชีวิตจากทวีปอเมริกาใต้จึงมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ไม่ว่าพืชหรือสัตว์
เมื่อเทียบกับทางเขตร้อนของเอเชียหรือแอฟริกา
ตั้งข้อสังเกตได้อย่างนึงว่า สิ่งมีชีวิตหลายชนิด ที่มีความสามารถ Invasive ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดจากดินแดนแถบนี้
(หากถูกนำเข้าในท้องที่ๆเป็นเขตร้อนชื้นเหมือนกัน ไม่นับเขตที่แห้งแล้งหรือหนาวเย็น)
Comments
ความเห็นที่ 1
ยกตัวอย่างเช่น อะไรบ้างครับ?
ความเห็นที่ 1.1
เท่าที่เคยได้ยิน ก็พวกปลาหมอสี(ทราบจากเวบนี้แหละครับ)
พวกปลาหมอสีจากโซนแอฟริกา ยังไม่เคยได้ยินว่าแพร่พันธุ์ได้มากนักตามธรรมชาติในไทย(ยกเว้นปลานิล)
แต่พวกที่มาจากโซนอเมริกาใต้ มีข้อมูลว่าสามารถแพร่พันธุ์ได้มาก(และกินจุด้วย) เช่นปลาออสซาฯ
ส่วนชนิดอื่นๆที่ใครๆก็รู้จัก เช่น หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ ผักตบชวา สาบเสือ ตัวเด่นๆในไทยส่วนมากก็มักมาจากโซนนี้(เท่าที่ทราบ)...แต่ข้อมูลนี้อาจจะบกพร่องไปบ้างตรงที่ไม่ได้พิจารณาข้อมูลจากทั่วโลก
ความเห็นที่ 2
เป็นเพราะเรามองจากมุมของเราหรือเปล่าครับ
เนื่องจากเราอยู่ที่นี่ (ประเทศไทย/Southeast Asia) และรู้สึกว่าถูกรุกราน
เพราะแถบ Florida/Caribbean/Latin America ก็มีชนิดพันธุ์จากบ้านเราไประบาดเหมือนกันนะครับ เช่น งูเหลือม ปลาสิงโต หรือ Pueraria sp.
ความเห็นที่ 3
ผมคิดว่า สปีชี่ส์ไหนๆ ที่แพร่กระจายไปในพื้นที่ใหม่และไม่มีศัตรูตามธรรมชาติอยู่ก็พร้อมเป็น ผู้รุกรานต่างถื่นได้เสมอครับ อยู่ที่ความรุนแรงหรือผลกระทบ ของชนิดไหนจะมากน้อยต่างกัน
ลองดูในเวปไซต์นี่ครับ เค้ารวบรวม "100 สุดยอดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานของโลก: 100 of the World's Worst Invasive Alien Species"
ดูแล้วน่ากลัวไม่ใช่เล่นเลยครับ บางชนิดเราไม่คิดว่าจะเป็นอันตราย แต่พอไปอยู่ต่างที่ต่างถิ่นปุ๊บ หายนะดีๆนี่เอง
http://www.issg.org/database/species/search.asp?st=100ss
ความเห็นที่ 4
ผมมองว่า มันมีทั้งแบบที่อยู่รอดและที่ตายครับ
ที่ตายเราไม่เห็น
เราเห็นที่รอด เลยเข้าใจว่า มันรุกรานสำเร็จ
ความจริงพวกที่รุกรานไม่สำเร็จก็อาจมี แต่เราไม่ทันเห็น
แต่ถึงอย่างนั้น ก็จะพบอยู่เสมอว่า
เมื่อสิ่งมีชีวิตมันเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ไป มันก็มักจะก้าวร้าวกว่าตอนอยู่ถิ่นเดิม
ความจริงหลายๆอย่างเกินคาดเดาครับ เพราะไม่เคยเจอกรณีนั้นๆก่อนหน้านี้
สมมติว่าคุณเป็นคนแรกที่เอาโคโมโดมาปล่อยในไทย
มันอาจหาอะไรเป็นเหยื่อแทนของเดิมได้-ไม่ได้
มันอาจเชื่องช้ากว่าเดิม-เร็วขึ้น
มันอาจก้าวร้าวกว่าเดิม-อาจไม่
มันอาจกินแบบไม่เลือก-อาจจะไม่
คือส่วนใหญ่พฤติกรรมของInvasiveมันจะเปลี่ยนน่ะครับ
แต่เปลี่ยนแบบไหน ทำนายไม่ได้
ความเห็นที่ 5
พูดถึงเรื่องนี้ ไม่ทราบในไทยปัจจุบันมีกฏหมายควบคุมการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอย่างจริงจัง หรือยังครับ ใครทราบรบกวนให้ความรู้ด้วยครับ
ความเห็นที่ 5.1
ยังไม่มีครับ มีแต่กฏห้ามนำเข้าตรงนู้นนิดตรงนี้หน่อย แต่กฏหมายจริงๆยังไม่มี อย่าว่าเลยครับ หน่วยงานรัฐบาลนั่นแหล่ะตัวปล่อยอันดับหนึ่งเลย แล้วจะออกกฏหมายมาคุมใคร ในเมื่อเจ้าหน้าที่มักจะได้รับยกเว้นจากกฏหมายเสมอ
ความเห็นที่ 5.2
ความเห็นที่ 5.2.1
อิ อิ ประกาศฯออกมาแบบนี้ สู้บอกว่าห้ามสัตว์น้ำทุกชนิด(อ้างนิยามตาม พรบ. ประมง)เลยน่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับ
ความเห็นที่ 6
โปสเตอร์อันบนนี่กัดได้เจ็บปวดจริงๆ
ความเห็นที่ 7
ขอสงสัยแบบชาวบ้านๆ บ้าง
แบบว่าถ้าทางโน้นเค้าไปเจอปลาประหลาดสัตว์ประหลาดจากโซนเอเชียเค้าจะฮือฮาลงข่าว จุดธูปเทียน กราบไหว้กันไหมหนอ
ความเห็นที่ 8
ที่เห็นว่ากฎหมายห้ามอย่างจริงจังก็มีเจ้าปิรันย่าแหละที่ห้ามขาด(แต่ก็ยังมีแว็บเข้ามาบ้างเหมือนกัน)
ความเห็นที่ 9
เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวเจอปลาซ้งฮื้อแถวๆตอนเหนือของอเมริกา ใกล้ๆกับทะเลสาป greatlakes ฮือฮาพอสมควร เหอ เหอ
ความเห็นที่ 10
ปลาซีลาแคนท์ ห้ามนำเข้าด้วย ว่าจะหามาเลี้ยงซะหน่อย
ความเห็นที่ 11
โฮ้ ! พี่เลิศชัยครับ ถ้าจะเลี้ยงซีลาแคนท์ได้ ผมว่าต้องมหาอมตะรวยแหละครับ ขนาดกว่าจะรู้จะเห็นว่ามีตัวเป็นๆยังใช้เวลา(ยังไงดีล่ะ) ชั่วลูกชั่วหลานเลยดีกว่าครับ ถ้าพี่เอามาเลี้ยงผมขอตั๋วเข้าชม 3 ใบ นะครับ (พ่อแม่ลูก)ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ความเห็นที่ 12
ผมดูในUBC ขนาดปลาช่อนบ้านเรายังไปอยู่ในอเมริกาเลย เค้าจับปรับคนเอาไปปล่อยตั้งหลายแสน หาวิธีจับทำลายปลาต่างถิ่นกันใหญ่ ง่ายๆแค่พาคนงานบ้านเราไปอยู่แถวๆนั้นปลาอะไรก็ไม่เหลือจับกินหมด ขนาดปลาซัคเกอร์ผมยังเห็นเค้าเอามาเผากินเลย เนื้อในขาวมากๆ