ดอกไม้หน้าฝน
เขียนโดย callus Authenticated user เมื่อ 16 กรกฎาคม 2553
สวัสดีค่ะ สมาชิกชาวสยามเอ็นซิสทุกคน ตั้งแต่มีบอร์ดใหม่เหมือนจะยังไม่ได้ตั้งกระทู้เลย เนื่องจากที่หอพักมันกดตั้งกระทู้ใหม่ไม่ได้...เศร้าใจ
เลยแอบมาชะแว๊บใช้เน็ตที่โรงเรียน อิอิ.... เพราะเป็นคายว่างค่ะ ถึงแม้ว่างานจะเยอะแต่ก็ยังออก Trip เหมือนเคย 55+ แถมคอมเสียอีกเลยต้องออกไปเก็บรูปน้องขิงข่ากันหน่อยดีกว่า คราวนี้เยือนสวรรค์ของกล้วยไม้มาอีกครั้งค่ะ
"เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย"
Comments
ความเห็นที่ 1
กล้วยไม้งามๆ ตรงที่ทำการด้านล่างค่ะ
ความเห็นที่ 2
อากาศดีมากเลยค่ะ แดดออกแต่ก็ไม่ร้อน ฝนตกมาเล็กน้อยๆ เป็นการทักทาย และมีกล้วยไม้และน้องขิงข่าให้ได้เห็น ชื่นใจมากๆ
ความเห็นที่ 3
เจ้าต้นนี้ก็บานเยอะแยะเลยค่ะ
"แซะภูกระดึง" >>> Dendrobium christyanum Rchb.f.
ความเห็นที่ 3.1
เคยเจอที่น้ำตกทอทิพย์
ความเห็นที่ 3.1.1
ท้อชิบ!
ความเห็นที่ 4
ส่วนเจ้าตัวนี้หาถ่ายยากเหลือเกิน ในบอร์ดท่านใดใช้ G11 แล้วมีปัญหากับการถ่าย macro ไหมค่ะ callus รู้สึกว่าทำไมมันไม่ค่อยจะ focus ให้เลย แถมตรงนั้นแสงก็ไม่ค่อยจะมีกว่าจะมีซักรูปชัด... ปาดเหงื่อเลย
เอื้องกลีบม้วนดอกส้ม >>> Liparis gibbosa Finet.
คูณน้องชายตัวแสบบอกว่า เจ้าต้นนี้เป็น Liparis ที่เป็น Epiphyte เพราะปกติแล้วเคยเห็นแต่อยู่บนดิน
ความเห็นที่ 5
น้องขิงของ callus ก็มีนะคะ เริ่มกันที่
Zingiber smilesianum Craib น่าจะคุ้นหน้าคุ้นกันอยู่
แถมยังมี Hedychium ให้ปวดหัวอีกเพราะว่ายังไม่แน่ใจว่าเป็นตัวไหน อิอิ ไม่รู้ว่าเป็นชนิดนี้หรือเปล่า เอิ้กๆ Hedychium spicatum Sm ใครก็ได้ช่วยหนูด้วย
ความเห็นที่ 6
แต่พระเอกของงานอยู่ที่สกุลนี้ค่ะ Caulokaempferia จากรายงานในประเทศมีทั้งหมดตั้ง 15 ชนิด ก่อนมาก็อ่านมาคราวๆ ว่าเราจะเจอชนิดไหนบ้างแต่พอเจอของจริงก็เริ่ม งงๆ ว่าเป็นชนิดไหนกันแน่ หนอระหว่าง Caulokaempferia thailandika และ Caulokaempferia violacea
ความเห็นที่ 7
รอดูรูปสวยๆจากภูหินเสาร์อาทิตย์นี้
ความเห็นที่ 8
เข้ามากรี๊ดดขิงข่า สวยๆๆ
ความเห็นที่ 9
มีสองกรณีที่กล้องไม่สารามถโฟกัสได้
1 เข้าใกล้เกินระยะโฟกัส ... G11 ใกล้สุด 1 เซนหรือเปล่านะ... คิดว่าไม่ใช่ปัญหานี้
2 กล้องมองไม่เห็นจุดที่มีความเปรียบต่างแสงมากพอจะให้มันโฟกัส .... พูดง่ายๆคือ มันมองไม่เห็นว่ามีอะไรอยู่ หรือ อีกอย่างคือแสงไม่พอ
เช่น ลอง เล็งกล้องไปที่กำแพงโล่งๆ สีเดียว อย่างกำแพงขาวๆ อย่าว่าแต่คอมแพคเลย DSLR ทั้งที่แสงมันก็ดูสว่างดี
3 ย้อนแสง แสงฟ้าที่แรงมากบางทีมากไป ทำให้บดบังทุกอย่างไปหมด เหมือนเวลาเรามองไปบนฟ้าจ้าๆหรือดวงอาทิตย์
ข้อ 2 นี่เกิดบ่อยมาก ผมยกตัวอย่างอีก เช่น
กระดาษขาวๆ โฟกัสไม่ได้ แต่ถ้า ลากเส้นไปเส้นหนึ่ง มันจะโฟกัสได้ หรือ ขยำมันเกิดเงาตามรอยต่างๆ มันก็จะโฟกัสได้
วิธีแก้ไข
กรณีใช้ Av Tv P และ ออโตทั้งหลาย (กล้องมีการคำนวณแสงเอง)
ส่วนมากกล้องจะยิงแสงออกมาช่วยโฟกัส ถ้าไม่ ต้องเลือกมุมที่ทำให้กล้องมันมองเห็นตามนิยามข้างบน หรือ ถอยออกมานิดนึง (กล้องยิ่งใกล้ตัวแบบแสงยิ่งเข้ากล้องน้อย)
กรณีใช้ M
ใช้ไฟฉายส่องครับ พอจะถ่ายก็เอาไฟฉายออกไปสะดวกดี หรือกรณีผมถ่ายกลางคืน ผมนิยมปรับกล้องเป็น speed 1/200 iso100-200 f แล้วแต่อยากจะใช้ ซึ่งทำให้แสงไฟฉายไม่มากพอจะส่งผลกับภาพที่จะเกิดจากแฟลช (ถ้าไม่มีแฟลชภาพจะเป็นสีดำๆทั้งจอ หรือมีเงาลางๆนิดเดียว) ใครไปกับผมจะเห็นผมคีบไฟฉายไว้กับแฟลช ก็เพราะเหตุนี้แหละครับ (และผมเองก็จะได้มองเห็นเล็งถูกด้วย)
ความเห็นที่ 10
แสงน้อยก็ต้องเป็นปัญหาอยู่แล้วแหล่ะครับ เวลาเราเห็นที่จอ LCD กับที่ตัวกล้องมันเห็นนั้นไม่เหมือนกัน มันหาความเปรียบต่างไม่ได้ ฉะนั้นก็ให้ลองค่อยๆ ถอยกล้องออกดูครับ มันจะมีระยะของมันว่าจะหาความเปรียบต่างได้ที่ระยะไหนเป็นต้นไปเมื่อถอยออกจากวัตถุ
ความเห็นที่ 11
แนะนำเป็นวิชาการไปแล้วขอเป็นวิชาเกินว่า มันไม่โฟกัสก็ถ่ายเข้าไป เดี๋ยวมันก็ต้องโฟกัสให้สักภาพแหล่ะ สมัยนี้แล้วไม่มีเปลืองฟิล์ม
ปล. ภาพแจ่มมาก ลงพื้นที่คราวหน้าต้องตั้งใจถ่ายบ้างแล้ว
ความเห็นที่ 11.1
แหม๊...ก็กล้องท่านมันช่างฉลาดมาก แสงน้ิอยนิดยังขยันโฟกัสโบ๊ะๆ
Fuji เค้าฉลาด ทำแสงช่วยโฟกัสให้กระจายไม่ติดหน้าเลนส์ แม้จะเข้าใกล้วัตถุ อีกทั้่งแฟลชด้วย ด้วยสมองอันชาญฉลาดของวิศกรออกแบบกล้อง G11 ที่แพงกว่าหลายตังค์ยังคิดไม่ได้เลย
ความเห็นที่ 12
ไปภูหลวง ไม่มีทางมะพร้าวแดง มาฝากได้ไงนิ
ความเห็นที่ 13
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ แล้วพันจะเอาไปใช้ค่ะ
ว่าแต่...คุณกวิวัฎ >>> "ท้อชิบ!"
ท้ออะไรหรือค่ะ ไปเที่ยวสิค่ะ ไปป่าไปเขา เดินดูต้นไม้ใบหญ้า ฟังเสียงร้อง มันสบายใจขึ้นเยอะเลยนะคะ ว่าไปเรื่อย..ยังไม่รู้เลยท้อเรื่องอะไร อิอิ
ความเห็นที่ 14
หลังจากที่ปวดหัว กับการอ่านเจ้าสกุล Caulokaempferia ทั้ง thesis ทั้ง paper เท่าที่มีอยู่ในมือ... แต่ก็ยังตะหงิดๆ ใจ เพราะว่าจากคีย์แยก Caulokaempferia thailandika และ Caulokaempferia violacea ตรงลักษณะการห่อของกลีบปาก นอกจากนี้ลักษณะของรูปร่างใบ และอีกหลายๆ อย่างที่ต้องแกะ แคะ ดอกมาดู
ความเห็นที่ 15
ตอนแรกนึกว่า จะสามารถแยกได้จากกลีบปากที่มีแฉก ลักษณะของสีดอก แต่ปรากกว่ามันไม่ใช่ จากรายงานและการสอบถาม พบว่า Caulokaempferia thailandica K. larsenครั้งแรกที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ลักษณะกลีบปากห่อ ก้านชูเกสรตัวเมียยาวออกมาจากเส้าเกสรตัวผู้ ข้อมูลทั้งหมดสามารถสังเกตได้จากรูปถ่ายค่ะ แต่ถ้าจะให้ดี...ต้องเอาดอกมาแคะแกะเกาค่ะ
เซ็งตัวเองอยู่ทำไมไม่แอบเด็ดมาน้า...จะได้ไม่ต้องคาใจแบบนี้
ความเห็นที่ 16
ส่วน Caulokaempferia violacea K. larsen & Triboun พบได้ที่อุทยานแห่งชาติภูเรือ และ ภูกระดึง จังหวัดเลย ออกดอกเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โชคดีที่ครั้งนี้ได้ไปทั้งภูหลวงและภูเรือค่ะ เลยมีรูปมาเปรียบเทียบกัน
ความเห็นที่ 17
ตอนแรกดีใจค่ะ นึกว่าจะเจอเปราะภูครบทั้ง 3 ชนิดคือ
Caulokaempferia violacea >>>เปราะภูดอกม่วง
Caulokaempferia thailandica K. larsen>>> เปราะภูประเทศไทย และ
Caulokaempferia alba K. larsen & R.M. smith >>> เปราะภูสีขาว
ชักไม่แน่ใจซะล่ะค่ะ ฮาๆ
ความเห็นที่ 18
ที่นี่มี Globba ชนิดที่เจอที่ภูหินร่องกล้าด้วยค่ะ เต็มข้างทางเลย อิอิ ได้ข่าวว่าจะเป็นชนิดใหม่หรือเปล่าค่ะ
ความเห็นที่ 19
สกุลCaulokaempferia ส่วนใหญ่พบตามภูเขาสูง ตั้งสิกขิมและรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย เนปาล มณฑลกวางตุ้ง ของจีน ไทย ลาว เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคค่ะ มีทั้งหมด 27 ชนิด พบในประเทศไทย 18 ชนิด รู้สึกว่า...เยอะมาก ช่วงนี้ก็มีรายงานชนิดใหม่อีก 1 ชนิดค่ะ คือ Caulokaempferia sirirugsae Ngamr ที่พังงาค่ะ ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ อ.พวงเพ็ญค่ะ
เง้อ...อยากมีเวลาไปดูเปราะหินที่ภาคอีสานจังค่ะ เนื่องจากแต่ละภู ที่อีสานล่ะ..มีเยอะแยะเลย
ส่งท้าย ด้วยครั่งแสดหลงฤดูค่ะ
ความเห็นที่ 20
เปราะภูเป็นพรรณไม้ที่ชอบมาก นอกจากตามไปดูที่ดอยแล้ว น่าจะนำมาพัฒนาเป็นไม้ประดับจังเลยอ่ะ มันสวยไม่ได้แพ้พวก iris หรือ ทิวลิปเลยนะ ค่อยๆย้ายลงมา หาclone ที่สามารถทนร้อนได้ไปเรื่อยๆ มันต้องได้สิ สวยมากๆ
ความเห็นที่ 21
เจ้าหนู callus ไม่เห็นดอกhoya บานมั่งหรือจ๊ะ
ความเห็นที่ 22
สวัสดีค่ะ คุณ Montela_Hoya ถ่ายมาไม่ค่อดชัดก็เลยกะว่าจะไม่เอาลงค่ะ อิอิ เลยยืมของตาน้องชายมาค่ะ เห็นอยู่ชนิดเดียวเองค่ะ
พันเห็นด้วยกับพี่นนณ์นะคะ อย่างน้อยลองมาทำเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อก่อน น่าจะดีเพราะว่าจะได้ไม่ต้องเอาตัวอย่างมาจากธรรมชาติมากนัก แถมขยายพันธุ์รวดเร็วด้วย น่าจะดีถ้าเราปรับปรุงมันได้สำเร็จ