ปลาช่อนทอง Channa barca ปลาช่อนในดวงใจ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ ได้เพียง ๔๐ ปี มีหนังสือเกี่ยวกับการสำรวจพรรณปลาจากประเทศอินเดีย ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ “An account of the fishes found in the river Ganges and its branches” ซึ่งเขียนขึ้นโดย Dr. Francis Buchanan-Hamilton ผู้เป็นนายแพทย์ประจำกองทัพจักรวรรดิอังกฤษในอินเดีย เนื่องจาก Dr. Hamilton มีพื้นฐานด้าน ชีววิทยา ทั้งทางสัตววิทยา พฤกษศาสตร์ และ ภูมิศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๕๐-๒๒๕๗ เขาได้ร่วมทีมในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในแคว้นเบงกอล (Bengal) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปลาจากแม่น้ำคงคาที่ได้กล่าวถึงในตอนต้น ในหนังสือฉบับนี้เขาได้รายงานชนิดปลาที่พบใหม่ถึง ๑๐๐ ชนิด รวมทั้งปลาช่อนที่น่าสนใจชนิดหนึ่งซึ่งเขาได้วาดภาพประกอบไว้อย่างสวยงาม และกล่าวถึงว่าปลาช่อนชนิดนี้มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ถึง ๙๐ เซนติเมตร อาศัยอยู่ในรูที่ขุดขึ้นบริเวณริมฝั่งโผล่เฉพาะส่วนหัวออกมาเพื่อหาอาหาร มีสีเขียวและเหลืองประกอบกับจุดสีดำและแดงกระจายทั่วบริเวณส่วนหัว ลำตัว และ ครีบ ส่วนหัวโตและมีปากกว้างมาก จากภาพและคำบรรยายดังกล่าวส่งผลให้ผมประทับใจกับปลาช่อนชนิดนี้มาก ในสมัยเรียนมีนวิทยาในระดับปริญญาตรี ทีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (แม้ว่า Dr. Hamilton จะมีทัศนะคติส่วนตัวว่าปลาช่อนชนิดดังกล่าวเป็นปลาที่น่าเกลียดชนิดหนึ่ง)
Comments
ความเห็นที่ 1
ซึ่งปลาช่อนชนิดดังกล่าวมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับ Channa barca มาก ต่อมาก็ถือว่าเป็นปลาช่อนที่ได้รับความนิยมชนิดหนึ่งในวงการปลาสวยงาม
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
งดงามๆ แต่เท่าที่ได้ยินมา ไม่ใช่ตัวแรกของเมืองไทยครับ แต่ผมก็ยังไม่เคยเห็นตัวจริงอยู่ดี ตัวนี้อยู่ กทม. หรือ อุบล ครับเนี๊ย?
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
แต่ทั้งหมดนี้ผมหลงรักแดงน้อยมากกว่า
ความเห็นที่ 9
สวยงามมากมากเลยครับ
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
เพิ่งรู้ว่าปลาช่อนสวยๆ ก็มีเพียบเหมือนกัน ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
http://www.siamensis.org/webboard/topic/477#comment-4219
รอจนไม่อยากรู้แล้วครับ อิ อิ
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
Channa barca เพศผู้จะมีสีเหลือบและลวดลายจัดจ้านมากกว่าเพศเมีย โดยเฉพาะบริเวณ เหนือครีบอกจะเห็นแต้มกลมสีดำเข้มชัดเจน
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
สวยมากเลยครับ
ความเห็นที่ 22
คือว่ากำลังเล็งๆๆ อยู่นะครับ
ความเห็นที่ 23
ผมไปหาปลาจับได้มาตัวหนึ่งเป็นปลาช่อนภูเขาทองทั้งตัวเลยครับ ใครสนใจติดต่อได้ jaturong2526@hotmail.com
ความเห็นที่ 24
สวัดดีครับเพื่อนๆ ผมมีอยู่ในตู้12ชนิดอ่าคับ เป็นตระกูลChanna หมดเลย รึป่าว มีกระสง,ชะโด,ปลากั๊ง/ก้าง,ช่อนจุดอินโด,ช่อนข้าหลวง,ปลาช่อนออแรนติ(บ้านเราเรียกช่อนอินเดียรึป่าว),ปลาช่อนแรนโบ(อันนี้เค้าเรียกช่อนเจ็ดสีรึป่าวไม่รู้),ช่อนงูเห่า,ปลาช่อนธรรมดาที่เผาเกลือกินกัน,ปลาช่อนท้องดำ,ปลาช่อนเผือกตาแดงตัวสั้น,ช่อนเผือกตาดำตัวยาว ทุกตัวของผมคุ้นหมดเพราะเลี้ยงตู้ตั้งแต่เล็กๆ กินอาหารเม็ดได้
แหลงที่มาของปลาแต่ละตัว
ปลากระสง ซื้อมาจากสวนจตุจัก100บาท/ตัว ปลาชะโด ซื้อมาจากสวนจตุจัก 120บาท/30ตัว
ปลากั๊ง ที่ในคูน้ำข้างทาง ปลาช่อนจุดอินโด ซื้อจากสวนจตุจัก500บาท/ตัว ช่อนข้าหลวงอันนี้หายากผมได้มาจากเขื่อนเชี่ยวหลานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เสียเวลาไป2อาทิตตามหามันแต่ก็คุ้มที่ได้มันมาไว้ดูเล่น ปลาช่อนออแรนติ ซื้อมาจากสวนจตุจัก ตอนนั้นในไทยยังไม่มีสั่งนำเข้าตัวละ10000 ขนาดปลา2นิ้ว 3ปีตอนนี้โตประมาณฟุตครึ่ง ช่อนแรนโบซื้อจากสวนจตุจัก100บาท/ตัว ช่อนงูเห่า ซื้อจากที่สวน60-200แล้วแต่ขนาด ปลาช่อน หาจากในคูน้ำข้างทาง ช่อนท้องดำ อันนี้ผมว่าหายากผมได้มาจากจังหวัดนราธิวาส ปลาช่อนเผือกตาแดงตัวสั้นจากสวนจตุจัก700บาท ปลาช่อนเผือกตาดำตัวยาวก็จากสวนจตุจัก500บาท ปล.ถ้าใครมีช่อนแปลกๆในไทยบอกด้วยผมครั้งไคล้มานานกับวงศ์ปลาช่อน ขอบคุณครับไว้คราวหน้าผมเอารูปมาลงไห้หมดทุกตัว
ความเห็นที่ 25
ได้ข่าวแว่วๆมาจากวงการนักเล่นปลาว่า มีทีมวิจัยทำปลาชะโดเผือกได้แล้วอันนี้จิงรึป่าวผมก้ไม่รุ้ แต่ท่ามีก็ต้องรีบคว้าละ อิอิ