คุณ Spinner แวะมาเยือนก็เลยพาลุยป่าหาปั่นใย ทันทีที่จอดรถใกล้ชายป่า แว๊บไปยังต้นไม้ต้นแรกที่มองเห็นทางขวามือก็ได้ลุ้นระทึกทันที
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
ค้นหาตามต้นไม้ไม่พบ ก้มๆ เงยๆ อยู่แถวโคนต้นไม้แป๊บเดียวก็ได้เฮ
ความเห็นที่ 2
สายใยที่ถักสานเป็นอุโมงหรือท่อ ปกคลุมด้วยสายใยสานเป็นตาข่ายปิดบังด้านบน นั่นคือที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชีวิตชนิดหนึ่ง คุณ Spinner บอกว่า ด้วยสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง จึงพบอาศัยอยู่ในดินแทนบนต้นไม้
ความเห็นที่ 3
หน้าตาเป็นแบบนี้ ขออภัยที่ไม่มีเลนส์มาโคร เลยได้ภาพแค่นี้
ความเห็นที่ 4
เดินลึกเข้าไปในป่าแต่ไม่พบอะไรอีก จึงต้องย้อนกลับมาที่เดิมค้นหาอยู่พักใหญ่บริเวณต้นไม้ใกล้เคียงกับต้นแรก ก็ได้พบกับตัวเมียตามที่อยากพบ (ตอนแรกพบแต่ตัวผู้ 2-3 ตัว ไม่พบตัวเมีย)
ชอบท่าการค้นหาเจ้าปั่นใยจัง อิ อิ อิ
ความเห็นที่ 5
ไม่ใช่ปั่นใย แต่อะไรไม่รู้
ความเห็นที่ 6
ย้ายหมายตัดขึ้นภู
ความเห็นที่ 7
ไม่มีอะไรเจอแต่เจ้าตัวนี้ คุณ Spinner บอกให้เอามาฝากคุณกวิวัฏ
ความเห็นที่ 8
กับ 2 ตัวนี้
ความเห็นที่ 9
บริเวณภู ที่เป็นเป้าหมายนั้นปกคลุมไปด้นเพ็กหนาแน่น แถมใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมก็ไม่มีปกคลุม จึงแห้วตามระเบียบ
ความเห็นที่ 10
ย้ายไปหมายใหม่ ป่าผืนนี้กระผมยังไม่เคยเข้าไปเลยจึงต้องประสานกับเด็กๆ ให้ช่วยนำทาง เพียงแค่ลงจากรถ ต้นไม่ต้นแรกที่เห็นก็ทำให้ตื่นเต้นอีกครั้ง
ความเห็นที่ 11
ใยปกคลุมเต็มต้นไม้ไปหมด
ความเห็นที่ 12
เดินลึกเข้าไปในป่า
ความเห็นที่ 13
ก็ได้ตื่นตาตื่นใจตลอดเส้นทาง
ความเห็นที่ 14
ป่าผืนนี้ดูจะสมบูรณ์ดี ว่างๆ ต้องเข้ามาสำรวจเพิ่มเติมซะแล้ว อยู่ใกล้ๆ แต่รอดหูรอดตาไปได้ไงก็ไม่รูแฮะ
ความเห็นที่ 15
แว่วๆ ว่าพบหลายชนิด แต่ถ่ายภาพได้ไม่แจ่มเลยไม่ถ่ายซะงั้น วันนี้ก็เข้าไปที่หมายเดิมอีกครั้ง ได้อะไรมาบ้างคงต้องถาม คุณ spinner เอาเองละครับ พรุ่งนี้ยังคงมีอีกหนึ่งหมาย ผลเป็นประการใดจะรายงานให้ทราบครับ
ความเห็นที่ 16
ผมยังไม่เคยเห็นจะจะคาใยเลยครับ
ความเห็นที่ 16.1
ผมมีโอกาสได้เห็นกับเขาแล้วละ อิ อิ อิ
ความเห็นที่ 17
กำลังคิดว่า จะเคืองคนบางคนดีไหมเนี่ย ชวนกันอยู่ดีๆ ไหงหักหลังหนีไปก่อนซะแล้ว -*-
ความเห็นที่ 17.1
สองครั้งแล้วนะเนี่ย 5+++
ความเห็นที่ 17.1.1
ยังไงผมต้องล้างอาถรรพ์ไปให้ได้ครับอาจารย์ ^ ^
ปล. สภาพป่าเต็งรังโปร่งๆแบบที่ถ่ายมา น่าสนใจมากครับ น่าจะมีแมลงทับจิ๋วแมลงทับป่าแบบแปลกๆ น่าไปสำรวจมากมาย
ความเห็นที่ 17.1.1.1
จะรอวันนั้นครับ ถ้ามีโอกาสก็แวะมาเยี่ยมเยียนกันได้เลยครับ
ความเห็นที่ 18
แฮ่ะๆๆ หรือยังดีกว่าหักหน้าเนาะ เกรงว่าจะมาไม่ได้หน่ะ เพราะยิงยาวตั้งแต่วันพุธแล้วหล่ะ ตอนนี้้ยังติดภาระกิจกับครูลำพะเนียงอยู่นิดหน่ิอย ยังไงจะเข้ามาแจ้งข่าวเพิ่มเติมของการค้นหาเจ้าปั่นใยให้ทุกๆท่านได้รับทราบกันนะครับ
ความเห็นที่ 19
ป่าแถวอีสานเนี่ย น่าสนใจจริงๆครับ เพิ่งรู้ว่าปั่นใยอยู่ในดินด้วย
ความเห็นที่ 19.1
คุณ Spinner บอกว่าถ้าอากาศแห้งแล้ง ความชื้นมีน้อยเขาก็จะเคลือ่นตัวลงดินไปสานใยอยู่ใต้ใบไม้หรือพวกลิตเตอร์ ถ้าไม่มีใบไม้หรือลิตเตอร์ปกคลุมดิน ก็หาตัวยากครับ พอดีจะขึ้นไปหาตามป่าบนภูเขา ปรากฎว่าปีนี้เจอไฟป่าเข้า พื้นเลยเปิดโล่ง ผลปรากฎว่าแห้วครับ
ความเห็นที่ 20
สวัสดีค่ะ อ.ลำพะเนียง สบายดีไหมค่ะ แวะมาทักทายค่ะ
ความเห็นที่ 20.1
สวัสดีครับคุณ callus ผมสบายดีครับ ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
ความเห็นที่ 21
อลำพะเนียง ปีนี้น้ำหลากลำพะเนียงเมื่อไหร่ อย่าลืมนำภาพปลามาฝากอีกนะครับ ป่าอีสานเขียวแล้วนิ+
ความเห็นที่ 21.1
ตั้งใจไว้แล้วครับ เดี๋ยวจะหาเลนส์แจ่มๆ ไว้รอสักตัว ตอนนี้มีแต่คิต ขนาดไปเที่ยวป่าเห็นของสวยๆ งามๆ ก็ทำอะไรไม่ได้มาก เหอๆๆ
ความเห็นที่ 22
อลำพะเนียง ปีนี้น้ำหลากลำพะเนียงเมื่อไหร่ อย่าลืมนำภาพปลามาฝากอีกนะครับ ป่าอีสานเขียวแล้วนิ+
ความเห็นที่ 23
เอาภาพมาแจมครับ ทริปนี้เตรียมตัวว่าจะไปด้วยแต่เสียดายที่ติดงานตลอดมีแต่งานด่วน ขนาดวันอาทิตย์นัดกันแล้วว่าจะไปกับอาจารย์ด้วย ยังโดนตามไปทำงาน แต่ก็ยังได้มีโอกาสได้รับความรู้จาก อ.Spinner ครับ เย็นวันอาทิตย์กลับจากทำงานเลยเดินเข้าไปดูตามต้นไม้ในป่าข้างบ้านก็เจอครับ
ความเห็นที่ 23.1
เชอะ ! นี่ขนาดนัดไว้ล่วงหน้าตั้ง 2 อาทิตย์นะเนี่ย วันอาทิตย์น่ะเขาไปลุยลำห้วยที่อยากไปนั่นแหละ ไม่รู้ว่าตอนไหนจะได้ไปอีกเด๊อ เพราะช่วงนี้งานเข้าเหมือนกัน ต้องเข้าไปเก็บข้อมูลในป่ามาทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นใหม่ หยุด 4 วันนี่คงเข้าป่าตลอดทั้ง 4 วันนั่นแหละ
ความเห็นที่ 23.1.1
ต้องขอโทษจริงๆ ครับอาจารย์ เตรียมตัวแล้วครับแต่งานเข้าจริงๆครับ ท่านนู้นท่านนี้จะมางานเลยเข้าด่วนเลยครับ หมายหลังยิ่งอยากไปอยู่ด้วย ไปเองก็กลัวหลงป่า จะโดดงานก็กลัวโดนด่า คราวหน้าจะไม่ให้พลาดอีกครับ
ความเห็นที่ 23.1.1.1
สงสัยต้องเป็นช่วงต้นเดือนกันยาครับ พอดี รด.เข้าค่ายช่วงนั้น ปีนี้ที่โรงเรียนเป็นเจ้าภาพคงมีเวลาแว๊บบ้าง
ความเห็นที่ 23.1.1.1.1
ไปแน่ๆ ครับ
ความเห็นที่ 23.1.2
ฝากเรื่องเต่านากับงูหัวกะโหลกด้วยนะครับอาจารย์ แล้วอย่าลืมถ่ายภาพแหล่มๆไว้ก่อนด้วย จะได้เอาไว้ใช้ในโครงการหาหนังสือฟรี อิ อิ
ความเห็นที่ 23.1.2.1
เต่านาน่ะพอไหว แต่เจ้าหัวกะโหลกนี่ทำไม๊ ทำไมไม่เจอซักทีก็ไม่รู้ครับ
ความเห็นที่ 24
อัพโหลดรูปไม่ได้ครับ เป็นรูปของรังแมลงปั่นใยซึ่งแต่ก่อนเข้าใจว่าเป็นใยของแมงมุม เมื่อเขี่ยดูก็ได้เจอตัวมันอยู่ข้างในครับเลยเก็บมามีตัวอ่อนด้วย
ความเห็นที่ 25
รูปรังของแมลงปั่นใยครับ
http://img821.imageshack.us/img821/9624/webspinner03.jpg
http://img826.imageshack.us/img826/7508/webspinner01.jpg
http://img831.imageshack.us/img831/7836/webspinner02.jpg
ความเห็นที่ 26
เยี่ยมมากครับคุณตะขาบยักษ์ ชนิดที่เห็นนั้นก็มักจะมีการกระจายตัวตามสวนหรือต้นไม้ที่อยู่แถวๆบ้านเรือนเรานั่นเอง พบได้ทั่วประเทศไทยเลยทีเดียว จากการสำรวจกลุ่มนี้แล้วก็พอดูออก สามารถสังเกตจากรังเส้นใยได้เลยว่าคือชนิดไหน (ขนาดรังไม่ใหญ่ ชอบอยู่เดี่ยวๆ รังสีออกขาวๆสว่างๆตามภาพเลย) อืมก็ต้องบอกไว้เลยก็แล้วกันเนาะ มันคือชนิด Oligotoma saundersii (F. Oligotomidae) แต่จากการไปสำรวจครั้งนี้ยังมีอีก 4 ชนิดด้วยกัน รวมเป็น 5 ชนิด แต่ต้องขออุบไว้นิดหนึ่ง เพราะมันมองด้วยตาเปล่ายากไปหน่อย แฮ่ะๆๆ แต่ป่าของนากลางนี่แรงจริงๆเนาะ มีหลากหลายชนิดจริงๆแล้วจะกลับมาบอกอีกที่ว่าได้ชนิดไหนบ้าง
ปล. ยังไงมีโอกาสคงได้เดินป่ากันนะครับคุณตะขาบยักต์ ยินดีที่ได้พบเจอด้วยนะครับ
ความเห็นที่ 26.1
ยินดีครับ ก็ต้องขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่ได้ครับ คราวหน้าคงได้เจอกันอีกครับ
ความเห็นที่ 27
เข้ามาเก็บความรู้ครับผม
#1283 รู้แค่ว่าเป็นต้นตะโก เหอๆ
ว่าแต่ตะโก มีผลยังครับ ชักจำรสชาติไม่ค่อยได้ละ รู้สึกน่าจะหวานๆฝาดๆ
ความเห็นที่ 27.1
อืม! ใช่ หมากตะโกเต็มต้นจริงๆ ด้วย แต่อยู่สูงเลยไม่ได้เก็บซะงั้น อิ อิ อิ
ความเห็นที่ 28
สวัสดีครับ อาจารย์ สบายดีนะครับ
ความเห็นที่ 28.1
สวัสดีครับคุณหลามหยก หายหน้าหายตาไปนาน วันนั้นแวะไปบ้านโบว์ เจอพินิจก็ยังพูดถึงกันอยู่เลยครับ
ความเห็นที่ 29
ภาพ 006 คือ ปุ่มปม (gall) หรืออาจเรียกหูดในพืชก็ได้ครับ ดูภาพตัวอย่างอื่นๆ และข้อมูลพอสังเขปตาม link นี้ครับ
http://www.khaophrathaew.org/Biodiversity_Galls.html
ความเห็นที่ 29.1
เข้าไปดูแล้วครับหมอก๊ง ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 30
แงะ! งวดนี้ไม่มีกับแกล้มเลยครับอาจารย์ (noppadol ครับ อาจารย์)
ความเห็นที่ 30.1
ฮ่าๆๆ ยังไม่มีครับ เดี๋ยวจะเก็บมาฝากครับ