ผู้ว่าฯ เลยสวนทางโพล เตรียมผลักดันกระเช้าภูกระดึง ผ่าน มท.1 ส.ค.นี้
เลย-พ่อเมืองเลย เตรียมปัดฝุ่น โครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง กับ “ชวรัตน์”รมว.มหาดไทย ที่กำหนดลงพื้นที่ จ.เลยสิงหาคมนี้ ยกผลวิจัยกระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นสูง แต่กระทบทัศนียภาพ เอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ขณะที่ผลสำรวจนักท่องเที่ยวเกือบ 70% ไม่เห็นด้วย แต่พ่อเมืองเห็นต่าง พร้อมผลักดันองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมถือหุ้นใหญ่ ระบุต้องไม่กระทบกลุ่มลูกหาบและผู้ค้าย่อย
วันที่ 10 ก.ค.53 ที่ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติภูกระดึง นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วยหน่วยงานราชการและภาคเอกชน ร่วมประชุมเตรียมการต้อนรับนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่กำหนดเดินทางมาตรวจเยี่ยมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ภายในเดือนสิงหาคมนี้
นายรณภพ คัชมาตย์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง กล่าวว่า ความเป็นมาของโครงการกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงเริ่มตั้งแต่พ.ศ.2525 โดยความเห็นพ้องจากนักวิชาการ ม.เกษตรศาสตร์ พร้อมทั้งภาครัฐและเอกชนจังหวัดเลย จากนั้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2546 ได้นำเข้าคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 เมื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปตรวจราชการราชการพื้นที่จังหวัดเลย
สั่งให้ทำการศึกษาโครงการกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงเพิ่มเติมในวันที่ 5 สิงหาคม 2547คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติในที่ประชุมครั้งที่ 3/2547 ให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547คณะทำงานมีมติมอบหมายให้อพท. เป็นผู้ทบทวนและรวบรวมข้อมูลสรุปเสนอคณะทำงานฯพิจารณาเพื่อนำไปสู่การนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
กรมป่าไม้ ได้ว่าจ้างบริษัท ทีมคอนซัลติ้งเอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด วิจัยข้อเสนอทางเลือกการสร้างกระเช้าไฟฟ้าสรุปคือ ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษา มีรายได้ต่ำ กระจุกตัวในช่วงวันหยุดยาว มีการว่าจ้างลูกหาบ และใช้บริการร้านค้า เงินบำรุงเข้าอุทยานฯ อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ไม่เพียงต่องบประมาณสำหรับการพัฒนาและอนุรักษ์อุทยานฯ
หากมีการก่อสร้างกระเช้า จะทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวหลากหลายขึ้น มีกลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อสูงกว่า จะมีการจ้างงานซื้อสินค้าและบริการในอุทยานฯมากขี้น ทำให้อุทยานฯมีรายได้ในการพัฒนาและอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวเส้นทางการก่อสร้างกระเช้า มี 3 เส้นทาง ซึ่งผลการศึกษาแนะนำให้เลือกแนวที่ 1 คือจากจุดเริ่มต้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ ต.ศรีฐาน ถึงบริเวณหลังแป จากการศึกษาพบว่าจะมีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ 3.66 ไร่ และไม่พบพันธุ์ไม้หายาก
การมีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง ข้อดีคือ เป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มโอกาสให้กับนักท่องเที่ยวเช่นผู้สูงอายุคนพิการนักท่องเที่ยวที่มีเวลาจำกัด เป็นประโยชน์ในกรณีฉุกเฉินเช่นเจ็บป่วยอุบัติเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วนและเกิดการสร้างรายได้เพิ่มและกระจายรายได้ ส่วนข้อเสียอาจเกิดปัญหาการผูกขาดในธุรกิจด้านบริการ ทำลายเอกลักษณ์ในการท่องเที่ยวภูกระดึงที่ต้องใช้การเดินเท้าเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ทำลายทัศนียภาพจากเสากระเช้าไฟฟ้าและสายเคเบิล
“ส่วนการสรุปความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูกระดึงในกรณีการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 - มีนาคม 2553 มีนักท่องเที่ยวแสดงความคิดเห็นจำนวน 6,561 คนมีนักท่องเที่ยวเห็นด้วยจำนวน 1,996 คนคิดเป็นร้อยละ 30.422 และนักท่องเที่ยวไม่เห็นด้วยจำนวน 4,565 คนคิดเป็นร้อยละ 69.58” หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึงกล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยกล่าวในเรื่องนี้ว่า การผลักดันการก่อสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึงครั้งนี้ถือว่า มีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะผู้ใหญ่ในรัฐบาลส่วนใหญ่เห็นด้วย โอกาสดีที่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเลย ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ทางจังหวัดได้ให้ทาง อพท.เป็นผู้ดำเนินการวางระบบ
อย่างไรก็ตาม กระเช้าไฟฟ้าต้องเป็นของคนจังหวัดเลย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำโดย อบจ. จะต้องเข้ามาร่วมกันถือหุ้นใหญ่ ส่วนการบริหารจัดการ อาจมอบหมายให้เอกชนเป็นฝ่ายดำเนินการ ที่สำคัญต้องคำนึงถึงลูกหาบ และผู้ประกอบการร้านค้าเป็นอันดับแรก พวกเขาต้องไม่เสียผลประโยชน์ที่เคยได้รับ เส้นทางเดินเท้าจะยังคงไว้เหมือนเดิม หากมีลูกหาบหรือผู้ประกอบการร้านค้ารายใดที่รู้สึกว่าสูญเสียอาชีพเดิม จะมีการจัดกิจกรรมอื่นๆบนอุทยานฯ มารองรับ ทั้งนี้ตนยอมรับว่า การก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึง เป็นเรื่องที่เกิดได้ยาก ไม่ทราบว่าตลอดอายุราชการของคนในตำแหน่งผู้ว่าฯนี้จะได้เห็นหรือเปล่า
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E9460437/E9460437.html
http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=221824.0
---------------------------------------------------------------------
ไม่อยากคิดเลยครับ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นไปถึงยอดภูกระดึง เสน่ห์ ความงาม พืช สัตว์ จะอยู่ดีไหม? ไม่อยากให้ถึงวันนั้นเลยครับ
Comments
ความเห็นที่ 1
โอ้ยยยยยยย
สุดท้ายก็เรื่องผลประโยชน์
เบื่อวุย
ความเห็นที่ 2
"เงินบำรุงเข้าอุทยานฯ อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ไม่เพียงต่องบประมาณสำหรับการพัฒนาและอนุรักษ์อุทยานฯ..... ผู้ใหญ่ในรัฐบาลส่วนใหญ่เห็นด้วย"
แต่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย แต่กรูจะทำ ..... สันดาน
เขาเข้าใจไหมว่า อะไรคือการอนุรักษ์ ระหว่างให้คนเข้าเยอะๆแล้วได้เงินเยอะกับคนเข้าน้อยได้เงินน้อย
ความเห็นที่ 3
อะไรกันว่ะเนี่ย เร่งกินกันใหญ่เลย
ความเห็นที่ 4
ตกลงว่า ท่านผู้ว่า ต้องการให้มีการสร้างกระเช้าให้ได้เลยใช่ไหมครับ และต้องให้ อบจ. เข้ามาถือหุ้นใหญ่ด้วย แล้วเหล่า กองอุทยาน หรือกรมป่าไม้ ไปอยู่ไหนละครับ ไม่ต้องเข้ามาดูแลเหรอครับ แล้วที่กล่าวว่า หากมีการสร้าง จะทำให้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวหลากหลาย มีกำลังจ่ายมาก จะได้มีงบพัฒนา และอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง ผมอยากราบว่าการพัฒนา และอนุรักษ์ มีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ เพราะผมเคยมีประสบการณ์ แต่เป็นเรื่องของการ เก็บค่าเข้าอุทยาน ที่จังหวัดตรังเป็นหาดที่อยู่ใกล้กับหาดยาวหนึ่งแห่ง และถำ้อะไรสักที่ที่เขียวๆ คือบอกว่าเก็บ ผมก้จ่าย แต่ก่อนจะจ่ายผมถามว่า เงินที่เก็บเอาไปทำอะไรครับ เงียบ คือคำตอบ หรือเอาเงินไปพัฒนาสร้างบ้านพัก แบบที่เกาะที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของตรังครับ เสียดายผมไม่มีรูปถ่าย จะได้ให้ดูภาพการพัฒนาที่เร่ิมภายหลังการเกิดซึนามิไม่นาน มีการตัด ไถ ต้นไม้เพื่อไม่ให้บังทัศนียภาพ ของบ้านพักที่สร้างแล้วยังไม่เสร็จและไม่ดำเนินการต่อ (เท่าที่ผมเห็น) วกเข้ามาเรื่องกระเช้าอีกนิดนะครับว่า ไฟ(ฟ้า)มาป่า(พินาศ)หมด และหากเรื่องนี้มีการตกลงสร้างจริง ท่านที่ทราบข่าวแต่เนิ่นๆ กรุณารีบแจ้งให้ทราบทั่วกันโดยด่วน คือผมอยากป้องกันก่อนที่จะมีการตัดและไถ่เหมือนทางไปเขาใหญ่ครับ
ความเห็นที่ 5
เดี๋ยวหาช่วงเวลาไปกันพี่ ก่อนที่อะไรๆมันจะเปลี่ยนแปลงไป
ความเห็นที่ 6
เหอๆๆ เข้าถึงง่าย ก็ถูกทำลายง่าย เช่นกัน ถ้าการจัดการไม่ดีพอ ผมว่าเสน่ห์ของภูกระดึงก็คือการเข้าถึงที่ต้องใช้ความพยายามนี่แหละ อีกหน่อยมีกระเช้าขึ้นสะดวก การพิชิตยอดภูกระดึงจะน่าภูมิใจตรงไหน ธรรมชาติเป็นผู้คัดเลือกผู้อยู่รอด ภูกระดึงเป็นผู้คัดเลือกคนที่จะขึ้นไปถึง อิอิ
ความเห็นที่ 7
ยังไม่คัดค้านหรือสนับสนุน แต่จะถามกลับว่าปัญหาของภูกระดึงตอนนี้คือ น้ำและขยะ แก้ได้หรือยัง? ถ้าการมีกระเช้าแล้วมีน้ำเพิ่ม มีการกำจัดขยะที่ดีขึ้น มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และดูแลนักท่องเที่ยวไม่ให้ลุยเละเทะ ก็น่าคิดนะ ถามว่าทำได้หรือเปล่า?
ความเห็นที่ 8
ไม่อยากจะนึกเลยครับ รถกระเช้ามา อะไรจะตามมาอีก งบพัฒนาเพิ่ม เค้าจะเอาไปพัฒนาอะไร โรงแรม รีสอร์ทหรู บนภูกระดึงหรือ เต้นท์ไม่ต้องกางกันแล้ว สัตว์ป่า ทัศนียภาพที่เคยได้เห็นก็อาจจะไม่มีอีกต่อไป
ความเห็นที่ 9
ว่าแต่ ช่วงหนาวนี้มีชาว siamensis คนไหนว่างๆ บ้างคะ
เราน่าจะด้วยกันสักที ไปช่วยกันดูว่ายังมีอะไรที่เรายังไม่เห็น ยังไม่พบ
หรือมีการเปลี่ยนแปลง
ยายอ้วนนัดเพื่อนไว้บ้างแล้ว
ตั้งใจจะทำเสื้อ "ไม่เอากระเช้า" ใส่ให้พร้อมเพรียงกันด้วยล่ะค่ะ ^ ^
ความเห็นที่ 10
เคยไปตอนเด็กๆ จำได้ว่ามีปลาซิวหางกรรไกรว่ายอยู่ในลำธารบนภูกระดึง พอมานั่งคิดดูตอนนี้มันไม่เข้าแก๊บเท่าไหร่ที่ปลาซิวหางกรรไกรจะไปโผล่อยู่บนนั้น และยังไม่ได้พิสูจน์สักทีว่ามันปลาซิวอะไรแน่....
ความเห็นที่ 11
เกิดมายังไม่เคยไปกะเค้าเลย
ความเห็นที่ 12
ไม่เห็นด้วย
วัตถุประสงค์ของ อช คือ การอนุรักษ์แต่ยังเปิดให้คนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ใช่ไหม
ทีนี้ เมื่อทางฝ่ายผู้อยากสร้างอ้างว่า ให้คนมาเที่ยวมากขึ้นจะได้เก็บเงินค่าเข้า เอาไปอนุรักษ์ มันก็จะขัดกับหลักการอนุรักษ์ไปเต็มๆ เพราะ "การอนุรักษ์คือให้คนเข้าไปน้อยที่สุด" ซึ่งสามารถศึกษาจากอุทยานต่างๆที่มีความยากง่ายในการเข้าถึงต่างกัน
** เมื่อก่อนผมก็ไม่เห็นด้วยกันคำพูดนี้ แต่หลังจากศึกษาเคสต่างๆที่เกิดขึ้นจริง ต้องยอมรับว่าจริง ไม่ว่าจะออกกฏอะไรยังไง ดูแลขนาดไหน เมื่อคนเข้าไปมากๆก็พัง .. ถนนถึง ไฟถึง = พัง ... มลพิษจะตามมามากมายมหาศาล เอาแค่น้ำที่มีสารลดแรงตึงผิวจากการอาบน้ำก็แย่แล้ว ยังไม่รวมจากการทำอาหารล้างจานกันอีก
ผมเคยสนับสนุนเรื่องที่เคยมี ว่า ให้เอกชนเข้าไปพัฒนา ด้วยซ้ำ แต่หลังศึกษาไปสักพัก ก็ยอมรับว่าผมเปลี่ยนความคิดแล้ว
ถ้าเ้น้นอนุรักษ์ ต้องจำกัดคนเข้า ไม่ใช่ให้คนเข้ามากเพื่อหารายได้
ถ้าจะเ้น้นหารายได้ ติดกระเช้า คงถูกทางแล้ว แต่อย่าอ้างการอนุรักษ์
ถ้าสร้างแล้วจำกัดจำนวนคนเข้า เพื่อการอนุรักษ์ตามหลักการ ก็อย่าสร้างดีกว่า หยุดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเถอะครับ
อย่างไรก็ตาม ภูกระดึง มีชื่อเสียงได้ ด้วยความยากลำบากในการเดินทางเข้าไป ไม่ใช่แค่ธรรมชาติด้านบนครับ ธรรมชาติด้านบนเท่าที่ถามๆมา ความงามอยู่ระดับกลางๆ ยังมีสวยกว่านี้เยอะครับ แต่ก็คือไปลำบากนั่นเอง
ข้ออ้างว่า แรงไม่มี ปีนไม่ไหว ... อช อื่นๆมีให้บริการเยอะแยะมากมายครับ
ข้ออ้างมันคล้ายๆกับว่า ให้ไปเปิด 7-11 หรือ โลตัส บนภูกระดึง อ้างว่าแบกของไม่ไหวจะได้สะดวกๆ กินกันสบายๆ
ความเห็นที่ 13
จัดทริปสยามเอ็นซิส สำรวจภูกระดึงดีกว่า เหอๆๆๆ
ใครไปบ้างยกมือขึ้น ^^
ความเห็นที่ 13.1
ไปครับ
ความเห็นที่ 14
ไปด้วย
ความเห็นที่ 15
คิดแล้วก็เศร้าจริงๆครับ... ห้วย
ความเห็นที่ 16
ไป.......เมื่อไหร่เหรอ จะได้ไปขอเมียก่อน....
ความเห็นที่ 17
บอกเนิ่นๆ นะ เอาแบบเห็นใจคนทำงานหาเช้ากินค่ำไปได้ติดไม่เกิน 5 วันด้วยนะครับ เดี๋ยวจะไปวิ่งฟิตร่างกายก่อนเลย
ปฮ.เป็นฮง กลายเป็นชวนเที่ยวกันซะแล้ว
ความเห็นที่ 18
ไม่เคยกลัวเลยขึ้นภูกระดึง ไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ขึ้นแต่เช้า ถึงแต่เย็น ก็บ่เป็นหยั๋งดอก
ความเห็นที่ 19
ไปแบบมีหมายกันดีไหมคะ
จะได้ไม่ดูเป็น "เที่ยว" จนเกินไป อิอิอิ
ความเห็นที่ 20
ตุลา มีหยุดชดเชยวันปิยะ 3 วัน 23 - 24 - 25
ถ้าจะไปอาจต้องลาอีกวัน หรือ 2 วัน
พ.ย. ไม่มีวันหยุด (ไม่รู้จะลาได้ไหม)
ธ.ค. มีช่วงวันพ่อ ต่อไปถึงวันรัฐธรรมนูญ 4-5-6 10-11-12
ดูท่าเดือน ธ.ค. จะน่าสนนะคะ อิอิอิ
ความเห็นที่ 21
^
ดูเหมือนยายอ้วนจะจริงจัง(กับการไปทริปภูกระดึง)ที่สุด อิอิ
ความเห็นที่ 21.1
มีคนที่จริงจังแต่ไม่เปิดเผยตัวอยู่นะท่าน ไม่ได้มีแค่คุณเจ้าแม่คนเดียว
ความเห็นที่ 22
อยากให้กรมอุทยานให้ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ/สิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ รู้สึกเขาจะเน้นด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวมากไป
ความเห็นที่ 23
ใจผม อยากให้จัดไปช่วงเดือนตุลา ช่วงเปิดภูใหม่ๆ เพราะมีอะไรๆให้ดูให้สำรวจเยะมากเหมือนกัน
ความเห็นที่ 24
คนที่จริงจังกับทุกวันหยุด น่าจะไม่พ้นเจ้าของกระทู้ครับ อิอิ
ความเห็นที่ 24.1
ก๊ากกกกก
ความเห็นที่ 25
เห็นด้วยเรื่องเดือนตุลาคม เพราะธันวาคมไปแล้วนึกไม่ออกว่าจะดูอะไรนอกจากเมเปิ้ล ซึ่งถ้าไปไม่ตรงก็จบข่าว แต่ปลายฝนอย่างตุลาฯนี่น่าคิดมากๆ
ปล. เสนอความเห็นนี่ใช่ว่าจะได้ไปแน่ๆนะ....
ความเห็นที่ 26
วันหยุดปิยะ + วันชดเชย + ลาอีกสักวัน สองวัน น่าจะดีนะคะ อิอิอิ
(ป.ล. ไม่ใช่คนจริงจังนะคะ แต่เอาใจเพื่อน love คนนึงเค้าอยากไปมากๆ)
ความเห็นที่ 27
เห็นด้วยกับยายอ้วน ตั้งเป้าหมายหน่อยดีไหมครับ ว่าเน้นเรื่องใดแบบไหน
ปล. ไม่รู้ว่าจะได้ไปไหม
ความเห็นที่ 28
ระวังเข้าข่ายศึกษาวิจัยโดยไม่ได้รับอนุญาตนะขอรับ เหอๆๆ
อยากไปโด้ย(เพราะยังไม่เคยไป) จะพยายามหาช่องไปราชการแถวๆนั้น ถ้าต้นตุลาเลยจะพอชิ่งได้ง่ายเพราะเป็นต้นปีงบฯ ซึ่งยังไม่มีงบทำงาน แต่ถ้าเลยไปช่วงท้ายเดือนจะมีการประชุมมากพิเศษ เพราะจะมีเรื่องแผน เรื่องจัดสรรงบฯภายในหน่วยงาน(ภายใต้กรม) จะทำให้ชิ่งยาก แม้จะทำเรื่องลาพักผ่อนไว้ก็ตาม เพราะเขาระงับใบลาได้
ท่านตาเขียว..ลองมาหาวิธีประเมินมูลค่าแท้จริงของทรัพยากรดีป่ะ เอาแบบไม่ใช้มูลค่าที่เราตีให้มันจากการยินยอมจ่ายปัจจุบันน่ะ เพราะทรัพยากรมีต้นทุน และมูลค่าอนาคตเช่นเดียวกับทรัพย์สิน และดอกเบี้ยเงินฝาก (ชงไอเดียเฉยๆ ส่วนวิธีนั้นยังคิดไม่ออก)
ความเห็นที่ 29
ประเด็นที่เอามาคิดไม่น่ายากมากคือค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย ขยะ ฯลฯ แล้วมาเทียบกับการยินยอมจ่ายเพื่อใช้ในกิจกรรมดังกล่าว นี่ยังไม่คิดถึงขั้นถ้าสภาพมันเสื่อมโทรมลงแล้วจะยังยอมจ่ายหรือเปล่านะ หุๆ
ความเห็นที่ 30
^
และแล้วก็กลับมาเรื่องที่คิดจะศึกษา (แต่ติดงานวิจัยที่ต้องเร่งปิด)
ยังไ่ม่ได้ไปเอาหนังสือมาจากใครสักคน - -"
จะทำจริงๆไม่ง่ายนะสิพี่ ไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่จะแปลงเปนเงินได้ เป็นงานวิจัยทำ ดร ได้ ใครอยากทำมั่ง
ให้ง่ายหน่อยคงทำเป็นแนว ถ้ามีแล้ว ผลดี ผลเสีย (ตีเป็นเงิน) ที่จะเิกิดขึ้น คือ....
หลายอย่างมันตีเป็นตัวเงินไม่ได้นี่แหละ ปัญหา
ความเห็นที่ 31
พี่เจอหนังสือแล้ว เดี๋ยวจะจัดการละเมิดซ้ำซ้อนให้(ที่จริงเป็นเอกสารเผยแพร่ แจกฟรี แต่ไม่ยักกะมีแจก) มันมีวิธีคิดเป็นตัวเงินอยู่(แต่พี่ก็ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะมาตีมูลค่าตอนที่ยังไม่เห็นคุณค่า) แต่เราอาจใช้การปรับเป็นหน่วยที่ไม่ใช่ตัวเงินได้(มั้ง) เอาไว้ให้นณณ์ทำโพส์ตด็อกฯต่อเลยแล้วกัน หุ หุ