ทั่วไป

Comments

ความเห็นที่ 1

เหมือนของคน

ความเห็นที่ 2

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายน่าจะใช้ระบบโครโมโซมตามกฏของเมนเดล

โดยใช้

โครโมโซม X เป็นตัวกำหนดเพศหญิง และโครโมโซม Y เป็นตัวกำหนดเพศชาย ครับ

ความเห็นที่ 3

^

^

ตอบเหมารวมไปหน่อยครับ เพราะสัตว์หลายๆกลุ่มอาจเป็น W/Z (ลองไปสืบค้นต่อจากกรณีของ Varanus komodoensis), X/O (มักเป็นพวกสภาพแวดล้อมกำหนดเพศ)ก็ได้

ขออภัยที่ตอบสั้นๆ ช่วงนี้แว่บยากจริงๆ
 

(ร่างทรงหมอก๊ง)

ความเห็นที่ 4

^

^

^

 

ความรู้ใหม่ครับ ขอบคุณครับ พี่หมอก๊ง

ว่าแต่ว่าพี่มีรายระเอียดให้อ่านมั้ยครับ พอดีค้นหาแล้วแต่ผมไม่ค่อยเจอรายละเอียดครับ

ผมเข้าใจว่า โครโมโซม WZ เป็นของนก (

พ.ศ. 2547 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ค้นพบว่าตุ่นปากเป็ดมีโครโมโซมเพศ 10 โครโมโซม ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่มีแค่ 2 โครโมโซม (XY) ระบบโครโมโซมมีลักษณะแบบเดียวกับที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่พบว่าบางโครโมโซมอยู่ในระบบ WZ เหมือนของนก ข่าวนี้ยิ่งช่วยเน้นความไม่เหมือนใครของตุ่นปากเป็ดให้เด่นชัดขึ้น และจะได้ศึกษาวิจัยกันต่อไปในเรื่องความเกี่ยวโยงทางวิวัฒนาการระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และสัตว์เลื้อยคลาน

จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94)

 

ขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับความรู้ใหม่

ความเห็นที่ 5

ออกจากร่างทรงแระ แต่ก็ยังขอตอบสั้นๆอยู่ดี

ที่จริงผมก็เพิ่งรู้จักไอ่ W/Z ตอนที่มีข่าวมังกรโคโดโมออกไข่เองโดยไม่ได้ผสมพันธุ์ แล้วเขาคาดว่าลูกที่ได้จะเป็นตัวผู้ ด้วยความสงสัยว่าทำไมกรณีที่เป็น pathenogenesis ถึงไม่คาดว่าลูกเป็นตัวเมียทั้งหมด(อย่างที่เราคุ้นเคยในปลา) ก็เลยไปตามเรื่องนี้ดูเลยรู้จัก แต่รายละเอียดนั้นคงต้องหาคนที่ถนัดกว่าผมซะแล้ว (ขี้เกียจเปิดเปเปอร์อธิบายตอนนี้)

ลองสืบค้นผ่าน Varans kodomoensis ดูสิครับ อย่าไปจบการสืบค้นแต่ wikipedia ครับ