เป็นครั้งแรกที่ได้ทดลองโพสต์ค่ะ เพิ่งจะพอรวบรวมอะไรมาได้บ้าง พามาฝากให้กันดู
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
เดินเล่นละแวกบ้าน
ความเห็นที่ 2
เห็นผีเสื้อเกาะใบไม้ท่าทางแปลกๆ
ความเห็นที่ 3
กำลังวางไข่อยู่นั่นเอง
ความเห็นที่ 4
ท่าวางไข่
ความเห็นที่ 5
วางไว้เยอะมาก
ความเห็นที่ 6
แค่ 4-5 วัน ก็เริ่มฟักออกมาแล้วค่ะ
ความเห็นที่ 7
กินผิวใบไม้
ความเห็นที่ 8
หนามตามตัวเริ่มเข้มชัด แค่ดูก็รู้สึกคันๆ นิดหน่อย
ความเห็นที่ 9
ไปหาที่ทางดักแด้... แทบจะไม่มีตัวไหนที่ดักแด้บนต้นที่ถูกวางไข่
ความเห็นที่ 10
อย่างตัวนี้ไปดักแด้บนขาลวดแขวนกระเช้ากล้วยไม้
ความเห็นที่ 11
ตัวนี้ไปดักแด้อยู่บนกิ่งแห้งของต้นไม้ที่อยู่ไกลจากต้นอาหารตั้งหลายเมตร
ความเห็นที่ 12
ที่หายตัวไป ก็ไม่น้อย...
ส่วนที่รอดมาได้ ก็ออกมาได้อย่างงดงาม
ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะคะ
ความเห็นที่ 13
สวัสดีครับผม ยินดีต้อนรับครับ คุณ Viang (^^)
ความเห็นที่ 14
ยินดีต้อนรับ และขอบอกว่าน่ารักมากครับ เป็นภาพชุดที่มีคุณค่าทีเดียว
อยากสนันสนุนว่า การศึกษาธรรมชาติ เริ่มต้นได้หลังบ้านของเราครับ
ความเห็นที่ 15
ยินดีต้อนรับครับ ภาพสวยดีครับผมเพิ่งรู้นะนี่ว่าไข่แบบนี้เป็นของผีเสื้อตัวนี้เห็นมาหลายครั้งแล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นไข่ของอะไรเลยปล่อยไว้ตามเดิม คราวหน้าถ้าเจอสงสัยต้องเอามาลองเลี้ยงดูบ้างแล้ว
ความเห็นที่ 16
ยินดีต้องรับครับ
ภาพมีคุณค่ามากเลยครับ
อยากทราบชื่อของพืชที่หนอนน้อยกินด้วยครับ เผื่อจะได้แสวงหามาปลูกไว้ที่วสวนบ้างครับ
ความเห็นที่ 17
ยินดีต้อนรับครับ เห็นภาพแล้ว มีคุณค่ามากเลย ทำให้รู้วงจรของน้องผีเสื้อ แสนสวย
ความเห็นที่ 18
ว่าแต่มันคือผีเสื้ออะไร ไผก็ได้บอกที
ความเห็นที่ 19
ขอบคุณสำหรับต้อนรับที่อบอุ่นค่ะ
ผีเสื้อนี้ชื่อ หนอนหนามกะทกรก (Acraea violae) ฝรั่งเรียก Tawny Coster ค่ะ พืชอาหารในภาพนี้เป็นต้นบานเช้า แต่เห็นในหนังสือบอกว่ากินพวกแตงกวากับกะทกรกด้วยค่ะ น่ารักดี แต่เคยได้ยินมาว่าเป็นผีเสื้อเอเลี่ยนนะ อืมมม
ความเห็นที่ 20
อันนี้ก็เป็น "หนอนหนามกระทกรก (Tawny Coster)" อยู่ในวงศ์ Nymphalidae ชนิด Acraea violae ก็พบไดบอยทั่วไปในทุกๆภาค แต่ก็ไม่พบได้บ่อยในภาตใต้ สามารถพบได้ตามป่าต่างๆไม่ว่าจะเป็นป่าหญ้า ป่าละเมาะ หรือแม้แต่สวนสาธารณะ อย่างไรก็ตามผีเสื้อชนิดนี้มีการแพร่กระจายได้หลายพื้นที่ตั้งแต่ อินเดีย บังกลาเทศ ศีลังกา พม่า ไทย แล้วก็ลงไปทางมาเลเซีย จนถึงสิงค์โปรเลยทีเดียว พืชอาหารก็ตามชื่อของผีเสื้อเลยหน่ะครับ ก็คือพวกกระทกรก (Passiflora foetida) ถือเป็นวัชพืชที่มีได้ทั่วและกว้างขวางเลยทีเดียว แล้วก็ชอบวางไข่เป็นกลุ่มๆตามใต้ใบพืชนั้น ๆ
ความเห็นที่ 21
ขอบคุณในความอดทนและอุตสาหะในการถ่ายภาพวงจรชีวิตของเจ้าผีเสื้อน่ารักตัวนี้มาให้ดูครับ
ความเห็นที่ 21.1
ตัวนี้รอไม่นานเท่าไรค่ะ เดี๋ยวจะพาตัวที่รอกันเกือบครึ่งปีมาให้ดู
ความเห็นที่ 22
มาส่งจูบต้อนรับ
ความเห็นที่ 22.1
ตลกอย่างนี้ เปิดคาเฟ่เลยดีไม๊คะ
ความเห็นที่ 23
โอ้ว รอมานาน อิอิ
ผีเสื้อกระทกรกที่ผมเคยดู (อีกชนิดหนึ่ง) ก็ออกไปทำดักแด้ไกลลิบเหมือนกัน บางตัวไปเกาะกำแพงบ้านกลางแดด ห่างไปตั้งสิบเมตรครับ
ความเห็นที่ 23.1
พยายามจะทำให้ภาพคมๆ แบบของกรีนอายส์ แต่ได้เท่านี้จริงๆ
ความเห็นที่ 24
มาช้าหน่อยครับ ผีเสื้อหนามกระทกรกน่ารักมาก ยินดีต้อนรับสู่ครอบครัวสยามเอนสิสครับ
ความเห็นที่ 24.1
"หนอนหนามกะทกรก" ลองจับดูแล้ว ไม่คัน(เท่าไหร่) นะคะ
ความเห็นที่ 25
ตอนภาพมันเกาะต้นบานเช้ายังแปลกใจ มันกินบานเช้าด้วย ข้อมูลใหม่ของผมเลยนะครับ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าหนอนหนามกะทกรกกินใบบานเช้าได้ ว่าแต่ขอถามว่ามันกินตั้งแต่หนอนวัย1 จนเป็นตัวเต็มวัยเลยหรือเปล่าครับ? แล้วการที่มันกินกะทกรกเนี่ย อัตรารอดมันสูงไหม?
ความเห็นที่ 25.1
อ่านในหนังสือของ อ.พิสุทธิ์ เขาก็เขียนไว้ว่ากินใบแตงกวา ปอแก้ว และกะทกรก... ก็ยังแปลกใจ เพราะที่บ้านก็มีกะทกรก แต่จะเป็น "ผีเสื้อกะทกรกธรรมดา" ที่เป็นเจ้าประจำสมชื่อ ส่วนหนอนหนามฯ นี่เท่าที่เห็นมาก็จะมาลงที่บานเช้าอย่างเดียวเลยค่ะ ตั้งแต่เกิดจนตัวเต็มวัย พอจะดักแด้ถึงจะไปที่อื่น ส่วนอัตรารอดนี่ไม่ทราบจะบอกยังไงค่ะ