หมูอารีย์ และ หมูน่าน
เขียนโดย JJ Authenticated user เมื่อ 12 ตุลาคม 2553
ปลาหมูอารีย์ Yasuhikotakia sidthimanki และ ปลาหมูน่าน Yasuhikotakia nigrolineatus สมัยก่อนผมสังสัยว่าต่างกันอย่างไร
จนได้มีโอกาศเลี้ยง ก็เห็นความแตกต่างกันได้ ปลาหมูทั้งสองนี้เป็นปลาที่น่ารักมาก และเป็นปลาหมูที่ผมชอบมากอีกชนิดหนึ่งนะครับ ก็คงเอา
รูปมาฝาก เป็นรูปวาดปลาหมูทั้งสองชนิดครับ รูปแรกเป็นรูปปลาหมูที่แก้ไขตามที่ได้รับความคิดเห็นเท่าที่จะพอทำได้นะครับ
ปลาหมูอารีย์ Yasuhikotakia sidthimanki
จนได้มีโอกาศเลี้ยง ก็เห็นความแตกต่างกันได้ ปลาหมูทั้งสองนี้เป็นปลาที่น่ารักมาก และเป็นปลาหมูที่ผมชอบมากอีกชนิดหนึ่งนะครับ ก็คงเอา
รูปมาฝาก เป็นรูปวาดปลาหมูทั้งสองชนิดครับ รูปแรกเป็นรูปปลาหมูที่แก้ไขตามที่ได้รับความคิดเห็นเท่าที่จะพอทำได้นะครับ
ปลาหมูอารีย์ Yasuhikotakia sidthimanki
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
สวยมากๆ...เลยครับ..
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
สวยมากครับ
ความเห็นที่ 8
เพราะช่าวน่านจะรู้จักกันแต่ปลาหมูอารีย์ :))))
ภาพสวยมากครับ
ป.ล. ชื่อวิทย์ขีดเส้นด้วยนะครับ อย่าลืมๆ :)))
ความเห็นที่ 9
รูปสวยงามมากเลยครับถ้าผมดูตามรูป ผมก็ว่าแตกต่างกันน่ะครับจากลักษณะภายนอกที่เห็น
ปลาสองชนิดนี้มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน จึงมีคนเข้าใจผิดบ่อยๆว่าปลาหมูน่านเป็นปลาหมูอารีย์ จึงไม่แปลกที่ชาวน่านจะเข้าใจว่าปลาหมูน่านเป็นปลาหมูอารีย์ และอีกอย่างตามที่ผมคิด ไม่รู้ว่าถูกหรือไม่ ผมคิดว่าปลาหมูน่านน่าจะมีการกระจายพันธุ์ในวงที่จำกัดเช่นในแถบลุ่มแม่น้ำน่าน แต่ปลาหมูอารีย์น่าจะเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์แล้ว ผมไม่รู้ว่าในปัจจุบันนี้ปลาหมูอารีย์ยังพบในธรรมชาติอยู่อีกหรือไม่Authenticated user
ปล.ไม่รู้ผมเข้าใจถูกหรือไม่ รอผู้รู้มาอธิบายความอีกที่ครับ
#คุณ arthsrn ผมว่าชื่อวิทย์เขียนตัวเอียงก็ถูกแล้วน่ะครับ
ความเห็นที่ 9.1
" ผมคิดว่าปลาหมูน่านน่าจะมีการกระจายพันธุ์ในวงที่จำกัดเช่นในแถบลุ่มแม่น้ำน่าน แต่ปลาหมูอารีย์น่าจะเป็นปลาที่หายากใกล้สูญพันธุ์แล้ว "
สองประโยคข้างต้นถูกเชื่อมด้วยคำว่า "แต่" ซึ่งปกติใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเรื่องเดียวกันที่มีนัยตรงกันข้าม(พิจารณาเฉพาะประโยคหลัก) เช่น
"ฉันอยากจะไปงานเลี้ยงคืนนี้ แต่พรุ่งนี้ดันติดสอบเลยไม่ได้ไป" หากพิจารณาความแล้วคือ อยากไป แต่ไปไม่ได้ (จากประโยคข้างต้นก็ยังละ "เลยไม่ได้ไป" ได้ซะอีก เป็นการบอกเหตุของสิ่งที่จะสื่อโดยผลนั้นให้เป็นที่รู้กันกับคู่ที่สื่อความด้วย นี่แหละภาษาไทย)
สำหรับประโยคที่น้องปลาหมูใช้ หากจะคงรูปประโยคเดิมให้มากที่สุดก็เปลี่ยน "แต่" เป็น "ส่วน" ซะ เพราะทั้งสองประโยคไม่มีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
คุณ heinetonk ขอบคุณมากครับ
น้อง ท่อก หรือ ไอ้ลูกทุ่ง ไม่ได้เจอกันนานมาก สบายดีนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมเยียนชมภาพวาดปลาตามแบบของผมเอง
สวัสดีครับ น้อง sparrow ผมเองไม่ได้กะเวลาวาดว่าใช้เวลาเท่าไหร่นะครับ แต่บอกได้ว่านานเหมือนกัน รูปนี้วาดบ้างหยุดบ้างก็เกือบๆสามเดือน เพราะอยากให้งานออกมาเป็นที่พอใจ แต่ก็นั่นแหละครับ ก็ยังได้ในระดับหนึ่งต้องปรับปรุงอีกมาก แต่รูปทุกรูปที่วาดนั้นถือว่ามีความสุขครับ ที่ผมใช้สีไม้นั้น ก็เพราะหนึ่งสะดวกในการหยิบใช้และไม่ค่อยจะมีคนใช้สีไม้วาดรูปกันเท่าไหร่ครับ รูปวาดผมจึงใช้สีไม้ล้วนๆ ไม่มีเทคนิคสีอื่นผสมเลย งานจึงช้าครับขอบคุณครับ
ขอบคุณ คุณ coneman มากครับ
ขอบคุณครับ คุณ arthsrn ชื่อวิทย์ใช้ตัวเอียง แล้วต้องขีดเส้นด้วยหรือครับไม่ทราบจริงๆ
ขอบคุณครับ คุณ botia ชื่อล๊อคอินนี้ต้องเป็นแฟนปลาหมูอย่างแน่ๆเลยครับ ใช่ครับปลาหมูทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกันครับ ถ้าได้เคยเห็นโดยส่วนตัวแล้ว หมูน่านก็เริ่มที่จะหายากเหมือนกันแล้ว หมูอารีย์นั้นเท่าที่ทราบหรือพูดคุยกับผู้ค้า ก็ไม่เจอปลาหมูอารีย์ในแหล่งน้ำธรรมชาตินานแล้ว ก็เป็นความเข้าใจเท่าที่ผมมีเหมือนกันครับ
ขอบคุณครับ คุณนายดำดี
ผมเองนั้นเป็นผู้เลี้ยงปลา ที่นอกจากจะเลี้ยงปลาแล้วยังชอบที่จะเก็บภาพไว้โดยการถ่ายปลาที่ชอบเก็บไว้ เนื่องจากปลาบางชนิดนั้นมีแนวโน้มที่จะสูญพันธ์ ถึงแม้ว่าผมจะไม่สามารถเพาะพันธ์ ปลาบางชนิดให้เก็บไว้ได้แต่อย่างน้อย ผมก็สามารถเก็บรูปปลา ที่อาจจะเคยมีอยู่ในแหล่งน้ำทั่วๆไป ได้บ้างเป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ ที่ผมพอจะมีได้ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมและทักทายกันครับ
ความเห็นที่ 12
ส่วนหมูอารีย์ตัวจริงยังมีอยู่ในธรรมชาติไหม...มีคน(ที่น่าเชื่อถือพอสมควร)อ้างว่ารู้แหล่งและเคยจับได้ และจะพาผมไป แต่ยังไม่มีโอกาสได้ไปกันเสียที
ความเห็นที่ 13
http://www.siamensis.org/species_index#742--Genus:%20Yasuhikotakia
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
เสริมเรื่องชื่อวิทยาศาสตร์นิดนึงครับ ถ้าไม่เขียนเป็นตัวเอียง ก็ต้องขีดเส้นใต้ครับ แต่ถ้าเขียนเป็นตัวเอียงแล้วไม่ต้องขีดเส้นใต้ครับ ดังนั้นพี่ JJ เขียนเป็นตัวเอียงแล้วไม่ขีดเส้นใต้จึงถูกต้องแล้วครับผม
ความเห็นที่ 16
ขอบคุณครับ น้องconeman ที่เข้ามาให้ความรู้ครับ
ปล. บทความปลาหมูและปลาซิวในหนังสือปลาที่ปิดตัวไปแล้วนี่ผมเอามาอ่านแล้วอ่านอีกจนเปื่อยหาซื้อมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก และก็มีทุกเล่มเลยนะรอคนเขียนต่อนะครับ
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ครั้งหน้าผมจะระวังมากกว่านี้ครับ
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
ที่อาจารย์ให้ขีดเมื่อเขียนก็อาจเพราะโดยปกติเราจะเขียนตัวตรง หรือบางคนปกติอาจเขียนเอียงจึงอยากให้ขีดเส้นเพื่อความชัดเจนว่าตรงนี้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์แน่ๆครับ
ลป. เวลาผมเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ด้วยมือ ผมก็ใช้ตัวเอนครับ
ความเห็นที่ 23
ความเห็นที่ 24
ที่บ้านผมยังพอมี ให้ได้เห็นอยู่(น่าน)