อีกมุมมองจากเพื่อนบ้าน "เรื่องวุ่นๆของเถาวัลย์"

Comments

ความเห็นที่ 1

ก็ยังไม่มีข้อสรุปน่ะเน่อออ  ตามมุมมองของเด็กๆอย่างผม พูดกันตรงๆไปเลยว่ามันไม่น่าจะทำได้ แล้วยิ่งอ่านบทความของน้าปุ๋ยด้วยแล้วมันก็บอกเป็นนัยอยู่แล้วว่ามนุษย์อย่ายุ่งเลยย ดีที่สุด  - -


ความเห็นที่ 2

ขอแสดงความเห็นดังนี้

1. ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบธรรมชาติ และเป็นนักเขียนที่มีข้อมูลอยู่มากพอสมควร เสียแต่ว่าท่านไม่ค่อยใช้ข้อมูลนั้น ๆ มากเท่าอารมณ์และการเล่นกับความรู้สึกของผู้อ่าน

2. เถาวัลย์ที่แก่งกระจาน ที่เป็นปัญหามาก เป็นพืชต่างถิ่น ซึ่งควรหามาตรการกำจัด/จำกัดอยู่แล้ว เนื่องจากไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ

3. ขอดูมาตรการที่รัฐใช้ก่อน ว่าอิงหลักวิชาการมากเพียงใด เพราะเถาวัลย์ชนิดนี้ตายยากมาก ๆ คือเหลือรากเพียงเล็กน้อยก็ยังสามารถแตกยอดขึ้นมาใหม่ได้ การตัดสางตามที่ออกข่าว ไม่น่าจะช่วยอะไรได้


(ขออภัย ผมมีบทเรียนจากประสบการณ์ตรงกับผู้เขียนบทความ กรณีทัวร์ดูนก1 เรื่องที่ห้วยขาแข้ง1 และเรื่องที่คลองแสงอีก1 แต่ไม่อาจเล่าให้ฟังได้ เพราะเกี่ยวข้องกับหลายส่วนมากเิกินไป)

ความเห็นที่ 3

เถาวัลย์ที่มีรายงานเป็นพืชรุกรานต่างถิ่นในประเทศไทยมีไม่กี่ชนิด ไม่ทราบว่าที่แก่งฯ เป็นชนิดใดครับ? 

ความเห็นที่ 4

อยากรู้เรื่องเถาวัลย์ต่างถิ่นครับ

ความเห็นที่ 5

อยากได้ข้อมูลทั้งสองฝ่ายด้วยใจจริง เพราะผมเองก็อยู่บนโลกสีเทาๆใบนี้ นอกจากนี้สิ่งที่อยาทราบเพิ่มคือแนวทางการดำเนินการ(ที่จริงผมไม่ได้แค่อยากทราบ แต่มันเป็นโจทย์ที่ต้องตอบ หรืออธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจ(ไม่นับกลุ่มที่ตะแบงไม่รับอะไรเลย)จะได้คลายกังวลกัน) ผมไม่อยากให้พวกเราต่างไม่ไว้ใจกันเองหรอกครับ แต่ต้องสร้างความมั่นใจซึ่งกันและกันก่อน

ความเห็นที่ 6

ช่วงนี้งานเยอะ อาจจะตอบช้าหน่อยนะครับ


เรื่องชนิด ออกมาให้ข่าวกันมากมายหลายกระแส บ้างก็ว่ามีแต่เถาวัลย์พื้นถิ่นไทย บ้างก็ว่าพื้นถิ่นไม่มีปัญหา ที่มีปัญหาเป็น alian species
 
เอาเป็นว่าเถาวัลย์ที่เป็นปัญหาที่แก่งกระจาน เท่าที่ผมเก็บชื่อได้จากข่าวนะครับ (ผมเติมชื่อวิทยาศาสตร์ให้เผื่ออยากค้นเพิ่มเติม)
 
- เครือออน Congeo tomentosa Roxb.
- ชะแล (ไม่แน่ใจ อาจเป็น สะแล Broussonetia kurreii Corner)
- เดื่อเครือ Ficus pubigera Wall
- รางแดง Ventilago Calyculata Ful.
- หมามุ่ยใหญ่ Mucuna monosperma Wight.
- แก้วมือไว(1) Pterolobium integrum Craib
- แก้วมือไว(2) Pterolobium macropterum Kurz
- หนามหัน Caesalpinia godefroyana Kuntze
- หนามคนทา Capparis cantoniensis Lour
- ฟักข้าว Momordica cochinchinensis Spreng
- เถาวัลย์น้ำ Ventilago denticulata Willd
- สะแกวัลย์ Combretum punetatum Blume
- กระไดลิง Bauhinia scandens L.
- เล็บเหยี่ยว(1) Ziziphus oenoplia L.
- เล็บเหยี่ยว(2) Dissochaetr affinis Korth
 
ทั้งหมดนี่พบในป่าตามธรรมชาติอยู่แล้ว ถ้ามีปริมาณมากจนเป็นปัญหาจริง น่าจะลุกลามทั่วประเทศ  แต่เป็นเฉพาะที่แก่งกระจานนี่.. ผมยังนึกสาเหตุไม่ออกว่าจะเป็นเพราะอะไร
 
มีตัวนึงกำลังจำแนกชนิดว่าเป็นอะไร เห็นว่าอาจเป็นตัวเดียวกับ kudzu ที่ระบาดในอเมริกาครับ

ความเห็นที่ 7

เรื่องการตัดสางออก เห็นว่าไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา แต่พยายามจะช่วยให้ต้นไม้ที่โดนพันอยู่สามารถอยู่รอดได้ก่อน แล้วค่อยหามาตรการจัดการอีกที (ฟังมาจากเพื่อน ผิดถูกประการใดขออภัยด้วยครับ)


ปล.ความเห็นส่วนตัว รายชื่อที่ออกมามากมายนี่ คิดว่าเป็นการสำรวจชนิดเถาวัลย์ที่พบแถวนั้นมากกว่าจะบอกว่าเป็นชนิดที่มีปัญหาครับ

ความเห็นที่ 8

ต่างคนต่างมีภาระเช่นกันครับ ขอบคุณมากๆเลยที่ให้รายชื่อแม้ไม่ได้แยกกลุ่มที่เป็นปัญหา

ผมเชื่อว่านักวิชาการป่่าไม้ก็มีคนที่ทราบว่าชนิดใดเป็นชนิดดั้งเดิม เป็นปัญหาหรือไม่ (สำหรับเถาวัลย์ชนิดนั้นๆ) แล้วพืชชนิดใดบ้างที่ต้องพึ่งพาเถาวัลย์ และต้องเหลือเถาวัลย์ไว้บ้างเพื่อให้สัตว์อื่นๆใช้ประโยชน์ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ก็ต้องทำงานหนักหน่อยตั้งแต่ก่อนและระหว่างการดำเนินการที่จะทำให้ทีมงานสางเถาวัลย์ไม่ทำพลาด

อ้อ..อีกเรื่อง การที่เถาวัลย์ปกคลุมพื้นที่มากๆนั้นก็คงใช้ระยะเวลาระดับหนึ่่ง เราก็อาจประเมินย้อนหลังได้ว่าปัญหเริ่มก่อตัวเมื่อไหร่ เพื่อใช้ในการแยกแยะเถาวัลย์ว่อะไรควรสาง อะไรไม่ควรยุ่ง ขออย่าใช้อาสาสมัครแบบไม่คัดกรองนะขอรับ