ID ปลาค่ะ พบในแม่น้ปิงจังหวัดตาก

ฝากผู้รู้ช่วยดูให้หน่อยนะคะ ลักษณะพิเศษมรครีบหาง และหลัง มีแถบสีดำแดง

ขอบคุณนะคะ

Comments

ความเห็นที่ 1

อ้อ สภาพค่อนข้างแย่ค่ะ ปลาจากข่าย เหงือกขาด ครีบหลุดนิหน่อยค่ะ ^_^

ความเห็นที่ 2

ตะเพียนสมพงษ์ หรือแดงน้อยตะวันตกจ้า ชื่อวิทย์ในมือไม่มีครับ รอเพื่อนมาต่อยอดให้นะครับ

 


 

ความเห็นที่ 3

Discherodontus halei ทางเมืองกาญฯเรียก เม็ดขนุน ครับ ปลาสวยงามที่หาดูได้ไม่ง่ายนัก ของประเทศไทยครับ ไม่ทราบว่าจับได้จากสภาพแม่น้ำแบบไหนครับ?  

ความเห็นที่ 3.1

จุดบรรจบแม่น้ำปิง วัง ค่ะ แต่น้ำค่อนข้างน้อยเพราะเขื่อนมีการปิด เปิด การปล่อยน้ำทุกวันค่ะ

จับได้ช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ค่ะ น้ำค่อนข้างขุ่นแดง หลังฝนตกนะคะ

มือใหม่หัดคีย์ปลาแม่น้ำค่ะ ไว้จะขอคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ

อ้อ อีกอย่าง อยากรบกวนขอคำแนะนำหนังสือคีย์ปลาน้ำจืด เล่มใหนดีบ้างคะ จะได้ไปเสาะหา..

ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้ดีๆ..^_^

ความเห็นที่ 4

Discherodontus halei (Duncker 1904)

เป็นปลาที่พบได้ในที่่ลุ่มภาคกลางทั้งใน แม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่ในบริเวณ อำเภอท่าม่วงขึ้นไปถึงต้นน้ำในเขตทองผาภูมิ เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ติดเครื่องมือประมงประเภท "ตะคัด" ปะปนกับปลากลุ่มตะเพียนอื่นๆ อีกจำนวนมาก ใช้ปรุงอาหารร่วมกับปลาขนาดเล็กอื่นๆ ปลาชนิดนี้ "หาดูยาก" หากมองในแง่การใช้ประโยชน์เป็นปลาสวยงามเืนื่องจากบอบช้ำง่าย

ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยา พบบ่อยในเขตจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท แต่มักมีขนาดเล็ก

ความเห็นที่ 5

ตัวข้างล่างชนิดไหนครับ คล้ายๆ กัน

ความเห็นที่ 6

ตัวนี้ครับ

1.JPG

ความเห็นที่ 7

คำว่า "ตะคัด"  "ตะครัด" ใช้กันแถวไหนบ้างครับ อ. plateen คุ้นหูทีเดียวเพราะตอนอยู่บ้านเดิมก็เรียกกันแบบนี้

ความเห็นที่ 8

คุณ waltoni ครับ ภาพถ่ายของคุณ เป็นปลาชนิดเดียวกันครับ ไม่ทราบว่าได้มาจากแหล่งใด

อ.ลำพะเนียง ครับ คำว่าตะคัด ผมได้ยินจากลุ่มน้ำแม่กลองครับในเขต ราชบุรี และ กาญจนบุรี ที่อื่นๆ ผมเองก็ไม่เคยได้ยินเรียกครับ ไม่ทราบว่ามีที่มาจากภาษามอญซึ่งมีอยู่หลายชุมชนในพื้นที่หรือไม่ครับ

ความเห็นที่ 8.1

ตะคัด ก็คือ ตาคัด บ้านผมสมุทรสาครก็เรียกครับ นครปฐมก็เรียก เป็นภาษาไทยนี่แหละครับ "ตา"หมายถึง ช่อง(แบบเดียวกับเรียกตาหมากรุก) คือช่องของอวนหรือข่าย "คัด"หมายถึง เลือก  แปลรวมก็คือ ช่องที่สามารถเลือกขนาดปลาได้นั่นเอง รู้สึกแถวอีสานเรียกมอง

ความเห็นที่ 9

กะแล้วว่าพี่plateen ต้องว่า เหอ เหอ อุตสาห์หลีกเลี่ยงใช้คำว่า "หาดูยาก" แทนคำว่า "หายาก" แล้วเชียวนา ผมว่ายังไงเมื่อเทียบกับ Cyprinids อีกหลายชนิดที่มีในแม่น้ำบ้านเรา ไอ้พวกนี้มันก็มีจำนวนที่ถูกจับขึ้นมาน้อยกว่าอยู่ดีนะพี่นะ

ตะคัด ผมได้ยินคนที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ใช้เช่นกันครับ บางทีก็เรียก ข่าย เหมือนกัน

ปลาของคุณ waltoni มาจากไหนครับ?

ความเห็นที่ 10

ที่ผมพบเป็นปลาในคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาครับ เป็นแหล่งน้ำไหล อยู่ท้ายเขื่อนนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก (แม่น้ำน่าน) ภาพนี้เป็นภาพตอนใช้แฟลชครับ สีสันสวยสดงดงามมาก เคยเห็นแถวอีสานนานมาแล้ว เจออีกครั้งก็ที่พิษณุโลกนี่แหละครับ เมื่อกันยายนปีที่แล้ว เลยเก็บภาพไว้ เคยคุยกับคนที่ราชบุรี เขาว่าแต่ก่อนมีมากพอๆ กับหมูอารีย์ พอสร้างเขื่อนที่เมืองกาญจน์ก็หายไป ที่เคยจับส่งออกก็ไม่มีจึงต้องไปเอาปลาอีสานมาขายแทน เขายืนยันว่าตัวเดียวกัน เหมือนกัน แต่ปลาอีสานสีสดกว่า แต่นั่นเป็นอดีตเมื่อสัก 30-40 ปีมาแล้ว ปัจจุบันหาเพื่อมาส่งออกไม่ได้แล้วครับ

2.JPG

ความเห็นที่ 11

ทางอีสานน่าจะเป็นอีกชนิดหนึ่งครับ D. ashmeadi เดี๋ยวเอาบทความเรื่องปลาสกุลนี้มาลงดีกว่า ใครมีภาพตัว D. shroderi ใต้น้ำสวยๆส่งมาหน่อยครับ (รู้ตัวนะว่าใคร) 

แดงน้อยอีสาน, แดงน้อยแม่โขง

ความเห็นที่ 12

แดงทั้งแผ่นดิน อุ๊บ! แดงน้อยอิสาน อีกภาพหนึ่งครับ

ash.gif

ความเห็นที่ 13

แหม...ตระกูลแดงน้อยนี่สีส้มสดได้ใจจริงๆ เลย

ความเห็นที่ 14

เทียบแดงภาคกลาง กับ แดงลุ่มแม่โขงครับ

halei.gif ash.gif

ความเห็นที่ 15

เจ้าแดงน้อยน้อยในมือนี้ ปลาเจ้าพระยาบ้านฉันเอง

ha2.gif

ความเห็นที่ 16

งาม อยากไ้ด้มาเลี้ยงบ้าง 

เพื่อจะได้เพาะ เหอๆๆๆ  ^^

ความเห็นที่ 17

ขอบคุณทุกคนมากนะคะ  ที่ช่วยให้ความรู้ ^_^ ตื่นเต้นจริงๆเลย...

แหมดีใจจัง..จะได้ไปบอกให้เจ้าของพื้นที่ช่วยกันดูแลเจ้าปลาหายากตัวนี่ดีๆๆ >_<

ความเห็นที่ 18

Discherodontus shroderi แดงน้อย(มาก)จากเชียงใหม่มาครับ cheeky

แดงน้อยเหนือ <i>Discherodontus shroderi</i> ในธรรมชาติ แดงน้อยเหนือ หากินอาหารหน้าดินอยู่รวมกันเป็นฝูง