น้ำท่วมผมว่า..ไม่ดีกว่าฝนแล้ง..(ทั้งสองอย่างก็ไม่ดีครับ)
มล จันทร์ลา ติดตามข่าวเรื่องน้ำท่วม ที่นั่นบ้าง ที่นี่บ้างมองเห็นความเสียหายของแต่ละพื้นที่ ที่คิดเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจก็น่ากลัว
และก็มองเห็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมมานั่งพูด (จ้อออออในจอทีวี) ว่าควรจะแก้ไขแบบนั้นแบบนี้ในอนาคต แต่ทำไม ไม่เห็นทำอะไรสักที ท่วมทุกปี และผลสรุปสุดท้าย
มล จันทร์ลา ก็มานั่งคิดได้ว่า เออ....การแก้ปัญหาและประชานิยมได้ดีที่สุดก็คือ
1. น้ำท่วมแจกถุงยังชีพ (มีคนดัง ๆ ร่วมด้วยยิ่งดี)
2.ฝนแล้งแจกน้ำ(อันนี้ดาราดังจะไม่ค่อยร่วม)
3.หนาวแจกผ้าห่ม(บริษัทไหนไม่รู้เป็นสปอนเซ่อ)
เฮ้อ.......
ก็เลยมาขอความคิดเห็นพี่น้องชาว siam นะครับว่า หลังจากที่ เขาแก้ปัญหา แจกอะไรกันต่าง ๆ และน้ำลดแล้ว เราชาว siam ควรจะทำอะไรกันบ้างหรือเปล่าครับ มล จันทร์ลา ยินดีพร้อมที่จะร่วมทุกสถานที่ครับ....ด้วยความจริงใจ....
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
หน้าหนาว พี่มลก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนหลักมิใช่หรือครับ อิ อิ
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
ไม่น่าจะต้องแจกทุกปีนะ...
ความเห็นที่ 4
ใจร้ายมากครับ (TT)
ความเห็นที่ 5
ปลาน้ำจืดในประเทศไทย เกือบทุกชนิดวิวัฒนาการมาเพื่อทำรังวางไข่ในทุ่งน้ำท่วมทั้งนั้นครับ สิ่งที่เกิดขึ้นในทุ่งน้ำท่วมคือ
๑. น้ำท่วมพืชพรรณทั้งหลายจะเริ่มย่อยสลายโดยสิ่งมีชีิวิตเล็ก ซึ่งจะกลายเป็นอาหารลูกปลาต่อไป
๒. ทุ่งน้ำท่วมสร้างพื้นที่ ที่น้ำไหลไม่แรงจนเกินไป ซึ่งเป็นที่ๆลูกปลาต้องอาศัยหลบในขณะที่ยังมีขนาดเบ็ก
๓. ทุ่งน้ำท่วมให้ที่หลบภัยแก่ลูกปลาในรูปของเศษซาก ตอไม้ กิ่งไม้ต่างๆ
มีรายงานในต่างประเทศว่าอัตรารอกของลูกปลาลดลงไปมากเมื่อไม่มีทุ่งน้ำท่วม พ่อแม่อาจจะผสมพันธุ์กันได้ แต่ในแม่น้ำสายหลักไม่ใช่ที่อาศัยที่เหมาะสมของลูกปลาครับ
ที่เขียนมานี่แค่จะอธิบายข้อดีของน้ำท่วม ผมเชื่อว่ามันเป็นวัฒจักรแบบนี้มานานแล้ว ปู่ย่าตายายบรรพบุรุษของเราเรียนรู้ที่จะอยุ่กับทุ่งน้ำท่วมมานานแล้ว บ้านใต้ถุนสูง เรือคว่ำไว้ข้างใต้ เพิ่งมาลืมในยุคของพวกเรา เพราะเรานึกว่าเราสร้างเขื่อนแล้ว ฝายแล้ว ประตูน้ำแล้ว เราจะห้าม จะทำให้น้ำท่วมไม่ได้ มีเขื่อนแล้วน้ำจะไม่ท่วม จะไม่แล้ง หลงลืมไปว่าเขื่อนมันก็เป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่อาศัยวิจารณญาณในการตัดสินใจของมนุษย์ในการใช้งาน และมีอายุการใช้งานด้วย แล้วเราก็อาศัยอยู่กันอย่างประมาท อยู่ริมน้ำก็สร้างบ้านชั้นเดียว ไม่ยกใต้ถุน ไม่มีเรือ มีปลั๊กไฟอยู่ติดพื้น เป็นต้น
ผมเห็นใจและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในตอนนี้ แต่ผมอยากให้เราเรียนรู้ มากกว่าที่จะแค่แก้ไขสถานะการณ์เฉพาะหน้าแล้วก็ผ่านพ้นไป มีปัญหาคราวหน้าก็มาแจกของกันใหม่ มันไม่ใช่การแก้ไขระยะยาว มันแก้ผ้าเอาหน้ารอด
ความเห็นที่ 6
ผมว่าก็ถูกของนนณ์นะครับ เพราะก็เห็นมันท่วมทุกปี แล้งทุกปี หนาวทุกปี ก็ไดแต่เตือนกัน แจกของกันพอหลังจากนั้นก็ไม่เห็นมีการประชุมวางแผนแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะในขณะนี้ ผมเห็นแต่ภาคเอกชนที่ระดมลงไปช่วยกันอย่างเป็นรูปธรรม แต่ภาครัฐน้อยมากโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ และมีอยู่วันหนึ่งที่อดีตอธีบดีกรมชลฯ ปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษท์ ทางทีวี โดนใจผมมาก แกเหน็บแนมองค์กรภาครัฐ และเปรียบเทียบได้ชัดเจนมาก
ความเห็นที่ 7
แม้แต่หน่วยงานที่บริหารจัดการน้ำในเขื่อนเองก็ทำงานให้รู้สึกว่าคิดเหมือนเด็ก คิดแค่น้ำน้อยต้องเก็บเลี้ยงเขื่อน น้ำมากจะล้นเขื่อนต้องรีบปล่อยอย่างเร็ว ทำได้อย่างมากก็เตือนให้คนหลบ ส่วนบ้านก็อยู่ใต้น้ำก่อนเพื่อเขื่อนอยู่รอด และเป็นเยี่ยงนี้ทุกครั้งที่เกิดปัญหาน้ำ เมื่อคืนได้ยินว่าสามารถทำนายปริมาณน้ำได้ล่วงหน้า 7 วัน แล้วยังไงล่ะขอรับ มันช่วยให้ชาวบ้านแก้ปัญหาได้แค่ไหน แทนที่จะหาทางแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน คนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนต้องมีความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา และอุทกวิทยามากพอครับ ถ้าเป็นอย่างปัจจุบันก็ให้ใครเป็นก็ได้แค่มานั่งกินเงินเดือนในตำแหน่ง
ลป. ไม่ได้เจาะจงองค์การไหนเป็นการเฉพาะ ที่ทำดีแล้วขอให้ทำดีต่อไปครับ
ลป.2 อยากให้เห็นข้อดีของการยอมให้น้ำท่วมบ้าง แล้วน้ำจะไม่ท่วมหนักครับ
ความเห็นที่ 8
นอกจากไปเลียนแบบเมืองหนาว หรืออื่นๆ โดยไม่คิด ... ไม่ว่าจะตึกปูน ปิดทึบ เีรี่ยติดดิน แสงน้อย อบอัด ต้องติดไฟ ติดแอร์ เปลืองไปอีกต่อ
เราัยัง สร้างอะไรๆ
ถางป่า ทำนาทำสวน ... ไม่มีพื้นที่ชะลอและดูดซับ
ถนน บ้าน ... ปิดกั้นทางน้ำตามธรรมชาติ
ถมดิน ทำจัดสรร ... ทำลายพื้นที่ััรับน้ำตามธรรมชาติ
ถมตลิง ทำทางเดิน ฯลฯ ... ทำให้ลำคลองแคบลง
ทั้งหลายทั้งมวล น้ำมาเร็ว และไหลออกลำบาก