สอบถามข้อมูลเรื่องเสือโคร่งครับ

ผมมีข้อสนใจเรื่องขนาดของเสือโคร่งปัจจุบัน เนื่องจากผมได้เจอภาพถ่ายของเขี้ยวเสือโคร่งยักษ์ขนาดตามรูป
เลยมีข้อสงสัยอยากถามว่า
  1. เขี้ยวเสือขนาดใหญ่สุดที่มีการบันทึกไว้มีขนาดเท่าไรครับ
  2. เสือในปัจจุบันยังมีขนาดนี้อยู่หรือไม่ครับ
  3. เป็นไปได้หรือไม่ที่มีการผ่าเหล่าของพันธุ์กรรมทำให้เขี้ยวเสือมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
ขอบคุณครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

มารอฟังคำตอบด้วยคนครับ

ความเห็นที่ 2

โดยความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า เป็นไปได้ที่สัตว์หลายๆ ชนิดเคยมีขนาดที่ใหญ่มาก่อนและอาจจะยังเป็นอย่างนั้นอยู่ แต่ด้วยสภาพนิเวศที่เปลี่ยนไป เช่น ขนาดพื้นที่ป่า ปริมาณอาหาร ทำให้ถูกรุกรานได้ง่ายขึ้นและส่งผลต่อการดำรงชีวิต มนุษย์เองก็ชอบล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ตกปลาตัวใหญ่ และเคยมีภาพเด็กยิงหมูป่าตัวใหญ่มาก จึงเป็นไปได้ยากเต็มทีที่จะได้เห็นสัตว์อายุยืน ตัวใหญ่หลงเหลือในธรรมชาติ ไม่รู้ว่าเสือจะเป็นเช่นนี้ไหม 
แค่แสดงความคิดเห็นนะค่ะ รอผู้เชี่ยวชาญอีกที 

ความเห็นที่ 3

http://www.zoontree.com/clipvideos/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B8%B2/
มัยก่อนป่ามันยังไม่ลดไปขนาดนี้อาหารการกินมันหาง่ายสัตว์บางชนิดตัวก้เลยใหญ่น้องไดโนเสาร์อย่างพวกจระเข้อะไรประมาณเนี้ยะครับ
images.jpg

ความเห็นที่ 4

บางทีอาจจะเป็นพันธ์ผสมก็ได้นะครับ อย่างพ่อสิงห์โตแม่เสือโคร่ง ลูกออกมาเรียกไลเกอร์ ขนาดที่เคยได้เห็นในข่าวใหญ่กว่าสิงห์โตทั่วไป หรืออย่างพ่อเสือโครงแม่สิงห์โต ลูกออกมาจะเรียกไทกอน ก็จะตัวใหญ่กว่าพันธ์แท้ทั่วไป ผมได้ดูมาจากสารคดีนะครับ น่าจะเป็น เนชั่นแนลจีโอหรือเปล่าไม่แน่ใจ ท่านใดทราบช่วยแถลงไขที ทีเห็นในข่าวเป็นไทกอน ตัวใหญ่มาก ขนาดยืนปกติ(ยืนสี่ขา)ขนาดเท่าหน้าอกของฝรั่งเลยครับ

ความเห็นที่ 5

ไลเกอร์ตัวใหญ่กว่าสิงโตและเสือโคร่ง(หนักราวๆ 450 Kg) แต่ไทกอนตัวเล็กกว่าทั้งสิงโตและเสือโคร่งโดยเฉลี่ย ครับ

เท่าที่เคยอ่านมานะครับ เขากล่าวว่า สิงโตตัวผู้มียีนส์โตเร็ว เพราะจำเป็นต้องแข่งขันสูง เพราะถ้าตำแหน่งจ่าฝูงเปลี่ยน ลูกๆของจ่าฝูงตัวเดิมจะถูกกำจัดทิ้ง ดังนั้นลูกสิงโตจึงมีความจำเป็นต้องเจริญเติบโตเร็ว ในขณะเดียวกัน สิงโตเพสเมียจะมียีนส์จำกัดขนาด เมื่อลูกของมันอายุได้...(จำไม่ได้ครับ) เพื่อไม่ให้มีขนาดใหญ่เกินไปจนส่งผลเสียต่อการดำรงชีพในป่า
ส่วนเสือโคร่งเพศผู้ ยีนส์โตเร็วของมันไม่ได้จำเป็นเร่งด่วนมากนัก เมื่อเทียบกับสิงโต เพราะลูกจะรอดหรือตายขึ้นกับการเลี้ยงดูของแม่เสือเท่านั้น ดังนั้นยีนส์จำกัดขนาดลูกๆ ของเสือเพศเมีย จึงทำงานช้ากว่า เพื่อให้ลูกเสือโคร่งโตจนได้ขนาดที่เหมาะสมก่อน

พอเอามาสลับคู่ พ่อสิงห์+แม่เสือ ยีนส์โตเร็วของพ่อสิงห์ทำงานตามปกติ แต่ยีนส์จำกัดขนาดของแม่เสือกลับทำงานช้ากว่า ลูกผสมจึงตัวใหญ่ยักษ์ผิดปรกติ
ส่วนพ่อเสือ+แม่สิงห์ นั้นตรงข้าม ยีนส์เพิ่มขนาดของพ่อเสือทำงานอย่างช้าๆ แต่ยังไม่ทันได้แสดงผลเต็มที่ ก็ถูกยีนส์จำกัดขนาดจากแม่สิงห์มาหยุดเอาไว้ ลูกผสมที่ได้จึงเล็กกว่าปรกติ

ความเห็นที่ 5.1

ขอบคุณครับ พี่ๆ ข้อมูลเเน่นจริงๆ ครับ

ความเห็นที่ 6

เท่าที่เจอนะครับเสือโคร่งในป่าเมืองไทยความสูงน่าจะประมาณ150 ซม.เห็นจะได้ เสือของประเทศไทยเป็นเสือโคร่งพันธุ์อินโดไซนีสครับ หนักประมาณ350 กิโลกรัม มีแค่รอยตีนครับถ่ายไม่ทันสักที่*-* ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

เบียร์

ry01.jpg

ความเห็นที่ 7

อีกภาพครับ
ry02.jpg

ความเห็นที่ 8

สุดยอดครับ อยากเห็นของจริงบ้างจัง