ปรงแตกใบใหม่ทีไร โดนทุกที!

ปลูกปรงไว้ที่บ้านสองสามต้น ปีหนึ่งจะแตกใบก็ไม่กี่ครั้ง แต่แตกออกมาทีไรก็จะต้องโดนเพื่อนฝูงโจมตี ทั้งเพลี้ยทั้งหนอนอะไรก็ไม่รู้ งานนี้อุตสาห์คอยดูแลจนใบแก่พอสมควรแล้ว ก็ยังโดนจนได้ กลับมาบ้านวันหนึ่งใบปรงก็กลายเป็นอย่างนี้....
 

Comments

ความเห็นที่ 1

พอเริ่มค้นหาผู้ต้องสงสัยก็เจอเจ้าหนอนเขียว หน้าเก่า ไม่รู้ยังไง ปรงในกรุงเทพฯ คงจะมีไม่กี่ต้น มันก็ยังอุตสาห์อยู่ได้แล้วหาเจอตอนแตกใบอ่อนทุกที ถ้าจำไม่ผิดกวิวัฏ เคยบอกว่าเป็น ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่กินใบปรงเป็นอาหาร

มันกินใบอื่นไหมครับ? เผื่อโดนอีกคราวหน้าจะได้ย้ายมันออกมา
 

หนอนเขียวตัวแสบ มากันเป็นสิบตัว

ความเห็นที่ 2

ขณะที่กำลังตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับเหล่าหนอนดี จะปล่อยให้มันกินไป แล้วทนดูใบปรงเละๆไปหรือว่าจะจับหนอนเขียวย้า่ยไปที่อื่น หรือ เอามาเลี้ยงให้เป็นผีเสื้อแล้วเอาไปปล่อยที่อื่น (ให้มันกินอะไรดี?) หรือว่าจะจัดการขั้นเด็ดขาดกับมันดี ก็ปรากฏว่ามีผู้ช่วยบินมาจากไหนก็ไม่รู้ มาถึงก็งับหัวหนอนเขียว แล้วก็อุ้มหายไป เฝ้าดูอยู่สักพัก ก็เห็นบินวนเวียนอยู่หลายครั้ง ตื่นเช้ามาอีกที หนอนเขียวก็ไม่เหลือแล้ว....  

ผู้ช่วยผมคือตัวอะไรครับ?  ต่ออะไรสักอย่าง?

มาถึงก็จัดการเลย โดนงับหัว...สงสารก็สงสาร ดีใจก็ดีใจ

ความเห็นที่ 3

เห็นกันจะๆ การควบคุมกันเองของธรรมชาติ

ความเห็นที่ 4

ผมว่าเจ้าของกระทู้แอบสะใจนะ cool

ความเห็นที่ 5

ธรรมชาติ ควบคุม ธรรมชาติ

เข้าทำนอง การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) หน่อยๆ เลย
ถ้าปรงรอดจากหนอนก็อยู่ต่อไปในฤดูกาลหน้า ถ้าหนอนรอดจากต่อแตนก็อยู่ออกลูำกหลานต่อ ถ้าต่อแตนไม่มีไรกินก็ไม่ออกลูกออกหลาน อ่านแล้ว งง เหอๆๆ  - -*

 


 

ความเห็นที่ 6

เมื่อเช้าไปดูปรงที่บ้านเหมือนกัน กำลังโดนหนอนอะไรไม่รู้ขย้ำใบอ่อนอยู่เหมือนกันเลย อารมณ์เิริ่มจะเซ็งเป็ด angry

ความเห็นที่ 7

ปรงคงเหวารึป่าวหนอ?

ความเห็นที่ 7.1

ไม่เก็ทมุกครับท่าน... พยายามผวนก็แล้วนะ!  

ความเห็นที่ 8

Biological Control

แบบนี้ไม่ต้องพึ่งสารเคมี ^ ^

ความเห็นที่ 9

ต้นไม้ที่บ้านก็แบ่งๆกันกินแบ่งๆกันใช้(กิน กับดู) กับบรรดาสัตว์ทั้งหลาย แต่ก็ขอร้องว่าอย่ากินล้างผลาญ ไม่งั้นมันอาจโดนล้าง ที่กินโหดสุดๆก็น่าจะเป็นหอยทากสยามกับยักษ์แอฟริกัน ส่วนกลุ่มแมลงก็มีตัวควบคุมอยู่พอสมควร รวมทั้งน้องเอื้อกับลูกหัวหน้า ที่จะจับหนอนมาเล่นประจำเลย

ความเห็นที่ 10

แจ่มแจ๋ว พวกต่อแตนนี่ หลายชนิดเหมือนกัน คงต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ

หน้าแบบนี้ผมเรียก แตนลิ้นหมา หมดเลย
 

ความเห็นที่ 11

 

บังเอิญซ้อนบังเอิญหรอครับ แปลกนะครับธรรมชาติมันหากันเจอได้เอง มีกฎข้อไหนอธิบายได้มั้ยครับแบบเนี้ย

ความเห็นที่ 12

^

^

มันก็ปกติอยู่แล้วนี่นา เอาเป็นว่าใช้กฎธรรมชาติอธิบายได้ครับ

ความเห็นที่ 13

เพิ่งจะเห็นตัวหนอนวันนี้เอง ได้ยินพี่นณณ์บ่นมานาน

ปรากฏว่าเป็นหนอนผีเสื้อกลางวันนี่แหละพี่ ไม่ใช่กลางคืนดอก

หนอนผีเสื้อวงศ์ Lycaenidae ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นสกุล Euchrysops ครับ

ส่วนแตน ก็คงบอกได้แค่เป็นแตนรังในวงศ์ Vespidae ครับ

ความเห็นที่ 14

เจ้าผีเสื้อพวกนี้ ปกติก็ไม่ค่อยได้เห็นแถวบ้านเท่าไหร่เลยครับ เดี๋ยวต้องไปลองสังเกตดูอีกที ปกติผีเสื้อเล็กๆมาบินแถวบ้านทีไล่ เสร็จนกอีแพรดทุกที มันดักกันอยู่ทุกมุมบ้านเลยเชียว 

ความเห็นที่ 15

ปลูกต้นปรง ก็ต้องปลงบ้างนะครับ (เอาตะไคร้หอม สะเดา สาบเสือ   ใบยาสูบ แช่น้ำไว้สักเจ็ดวัน แล้วแต่นะครับไม่ต้องทุกชนิดก๊ได้ ใบ,เปลือกมะกูด มะนาว แล้วเอามาฉีดพ่นใบ) อาจจะช่วยได้ แนะนำอีกอย่างใช้พืชที่ละชนิด เพราะหนอนพวกนี้จะปรับตัวเก่ง วันนี้ฉีดสะเดา อาทิตย์หน้าฉีดสาบเสือเป็นต้น

ความเห็นที่ 16

ต้นปรงป่า ปรงญี่ปุ่นในช่วงที่ปรงออกยอดอ่อนจะมีผีเสื้อขนาดเล็กบินมาวางไข่ คือ ผีเสื้อฟ้าหิ่งห้อยสีคล้ำ Chilades pandava (ในภาพ) ต่อมาไข่ก็ฟักตัว เป็นหนอนหน้าตาแบบนี้เลยครับ

P50456245.jpg

ความเห็นที่ 17

ตัวแบบนี้เห็นมีบินๆอยู่ที่บ้านบ้างแต่ไม่บ่อยครับ 

ความเห็นที่ 18

การควบคุมโดยธรรมชาิติแบบจะ ๆ