WWF ห่วง ปลายักษ์ลุ่มน้ำโขงสูญพันธุ์เพราะเขื่อน

http://www.msnbc.msn.com/id/38435722/ns/world_news-world_environment/?gt...

ตามข่าวบอกว่า ปลาบึกมีการอพยพ จากเขมรขึ้นมาวางไข่ทางตอนเหนือของประเทศไทยและ/หรือทางตอนใต้ของประเทศจีน ทราบว่าเคยมีการ tag ปลาบึกเพื่อติดตามการอพยพย้ายถิ่น แต่ไม่เคยได้ยินว่ามีการยืนยันว่ามีการอพยพจากเขมร ผ่านคอนพะเพ็ง ขึ้นมาได้ ไม่ทราบว่าใครมีเปเปอร์ไหมครับ?  

ถ้าจำไม่ผิดเช่นกัน เคยอ่านเปเปอร์ที่บอกว่า gene ของปลาบึกเหนือและใต้คอนพะเพ็ง ไม่แตกต่างกันแสดงให้เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยน gene กัน แต่การที่ตัวเล็กถูกพัดลงคอนพะเพ็ง กับตัวใหญ่อพยพสวนคอนพะเพ็งมันก็คนละเรื่องกันนะ

ปล. ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนกันแม่น้ำโขงไม่ว่ากรณีใดๆ แต่สงสัยเรื่องข้อมูลของปลาบึกในข่าวครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

" แต่ไม่เคยได้ยินว่ามีการยืนยันว่ามีการอพยพจากเขมร ผ่านคอนพะเพ็ง ขึ้นมาได้"

ลองดูภาพจากกูเกิ้ลเอิร์ธสิครับ  คุณจะพบว่าแม่น้ำโขงตรงนั้นไม่ได้มีแต่น้ำตกคอนพะเพ็งเท่านั้น มันยังมีคลองเล็กคลองน้อย แตกเป็นซอกซอยเต็มไปหมด ผมว่าปลาบึกก็น่าจะฉลาดพอที่จะหา ร่องน้ำที่สะดวกแก่การเดินทางอพยพ ว่ายข้ามส่วนนี้ไปทางตอนเหนือได้นะครับ

เรื่องติดเครื่องหมายเพื่อดูเส้นทางอพยพ ผมเคยฟังท่าน ผช เสน่ห์ ผลประสิทธิ์ พูดเมื่อนานมาแล้ว (ประมาณปี 2534-35) ในงานประชุม IPFC4 แต่ยังไม่เคยเห็นผลงานตีพิมพ์ คิดว่าคงหาเอกสารได้จากกรมมประมงครับ เท่าที่จำได้ท่านว่ามันว่ายตามน้ำลงมาเร็วมากกว่าทีี่เราคาดกันมากครับ ขอโทษทีที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากครับ

ความเห็นที่ 2

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 3

ต้องลองถาม อ.ณรงค์ ดูสิครับ ท่านเคยทำงานติดเครื่องหมายปลาบึกเมื่อตอนอยู่กรมประมง(ก็ทำร่วมกับ ผช.เสน่ห์ นั่นแหละ) ถ้าผมจำไม่ผิด

ความเห็นที่ 4

 

 

ผมว่าปลามันไม่สูญพันธุ์หรอก แต่การกระจายพันธุ์ของปลาจะจำกัดอยู่เฉพาะถิ่นลง

อย่างง่าย ๆ คือปลาจะอยู่ที่ทะเลสาปเขมร ไม่เดินทางมายังตอนบนของน้ำโขง เพราะปริมาณน้ำไม่เอื้ออำนวย

ผมว่าปลาแม่น้ำโขงส่วนใหญ่จะอนุบาลกันที่ทะเลสาปเขมร หลังจากนั้นก็อพยพย้ายถิ่นกันตามการหลากของกระแสน้ำ

 

ความเห็นที่ 4.1

พอปลาถูกจำกัดการกระจายพันธุ์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ลองคิดต่อดูสิครับ ผมก็รู้ว่าปลาตัวนั้นก็อยู่ได้แน่ๆ แล้วปลาตัวต่อๆไปล่ะ

ความเห็นที่ 5

ก็ไม่แน่ เมื่อจีนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแบบนั้น อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ตอนนี้ขนาดเดินข้ามไปฝั่งลาวโดยมไม่ต้องนั่งเรือแล้ว คงต้องเตรียมใจไว้บ้างก็ดีนะครับ

ความเห็นที่ 6

เมื่อจีนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแบบนั้น อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้

  ผมว่าเดาได้แน่นอนครับ เพราะอย่างน้อยก็มีให้เห็นในบ้านเรานี่แหละ ไม่ต้องอื่นไกล ในแม่น้ำแม่กลอง มีเขื่อนตั้งสี่เขื่อนขวางแม่น้ำอยู่ ตั้งแต่ต้นน้ำมาจนกลาง ๆ แม่น้ำ ปลาหลายชนิดหายไปจากแม่น้ำเพราะว่าส่วนหนึ่งเกิดจา่ก cycle การขึ้นลงของน้ำมันเปลี่ยนไป จากขึ้นลงในรอบปี เปลี่ยนเป็นรอบวัน ปลามันปรับวิถีชีวิตและวงจรชีวิต และให้เข้ากับการขึ้นลงของน้ำตามฤดูกาลมานาน โดยช่วงน้ำหลากบางชนิดก็อพยพเข้าไปไข่ในพื้นที่น้ำท่วม บางชนิดก็อพยพขึ้นไปไข่ทวนน้ำ มันทำอย่างนี้มาหลายชั่วอายุของมัน แล้วลองคิดดูสิครับว่า วันดีคืนร้ายน้ำเกิดไม่ท่วมหลาก มันจะไปออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ที่ไหน (ออกในแม่น้ำได้ครับ แต่ว่าพื้นที่การท่วมมันลดลงอย่างมาก ผลผลิตของลูกปลามันก็ย่อมน้อยลงเป็นธรรมดา) อันนี้เห็นชัดครับว่าเดี๋ยวผลผลิตจากการจับจากธรรมชาติต้องลดลงแน่ๆ 

  ปลาบางชนิดจะสูญหาย โดยเฉพาะกลุ่มปลาที่มีการอพยพ เพราะว่าวัฏจักรการขึ้นลงของน้ำไม่เป็นไปตามที่มันเคยเรียนรู้มา คือน้ำจะน้อยช่วงฤดูแล้ง น้ำมากช่วงฤดูฝน แล้วถ้าระดับน้ำในแม่น้ำเปลี่ยนแปลงไม่มาก ระดับตะกอนในน้ำที่เป็นสิ่งเร้าหลักในการกระตุ้นให้ปลาอพยพมันลดจำนวนลง คุณคิดว่าปลามันจะแสดงพฤติกรรมอย่างนี้หรือไม่ ช่วงแรกๆ มันก็คงยังแสดงหรอกครับ เพราะว่านาฬิกาทางชีววิทยา (Biological clock) ของมันยังเดินเป็นปกติ แต่พอนานๆ เข้า มันก็ต้องปรับนาฬิกาของมันใช้เข้ากับวัฏจักรใหม่ ซึ่่งในที่สุดแล้วมันก็หายไป ตอนเด็กๆ เคยอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของเมืองกาญจน์ เขาบอกว่าตอนช่วงปิดเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ์) ใหม่ๆ มีคนจับปลายี่สกไทยบริเวณใต้เขื่อนได้เป็นจำนวนมาก แล้วปลาเหล่านี้้มีไข่และน้ำเชื้อที่สมบูรณ์พร้อม ปลาตัวเมียบางตัวพอถูกจับได้แล้วยกขึ้นมาจากน้ำไข่ก็ไหลออกมาเอง............ปัจจุบันปลายี่สกไทยในแม่น้ำแม่กลองหายากมาก จะเจอได้ก็แต่ที่ป้ายบอกชื่อซอย บอกชื่อถนนในอำเภอเมืองกาญจนบุรีเท่านั้นแหละครับ อนิจจา ปลาประจำจังหวัดหายไปไหน ตอนนี้ไปไหนในเมืองกาญจน์จะเจอก็แต่ปลากะแหฝูงใหญ่ๆ เต็มไปหมดเท่านั้น

ผลกระทบเรื่องเขื่อนกับปลายังมีมากมาย แต่จะไปโทษเขื่อนอย่างเดียวก็ลำบาก คิดดูสิครับว่าที่เขาสร้างเขื่อนเนี่ย ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะคนเมืองเพื่อให้มีไฟฟ้าใช้สะดวกสบาย ถ้าเราใช้ไฟฟ้ากันอย่างประหยัดและรู้คุณค่า ตัดความสะดวกสบายบางอย่างลง เขาคงไม่ต้องดิ้นรนไปสร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อเอาไปผลิตไฟให้มันมากขึ้นหรอกครับ (ตอนนี้การไฟฟ้ายังคงยืนยันว่า ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของไฟฟ้าพลังน้ำยังถูกที่สุดอยู่นะครับ)

 

ความเห็นที่ 7

ผลกระทบมีแน่ๆ..เต็มๆเลย..แค่นี้ช่วงที่แล้วแห้งจนเล่นฟุตบอลได้เลยที่เดียว..จำนวนปลาบึกที่ขึ้นมาวางไข่ก็คงลดลงตามระดับน้ำแหละครับ..เขาจะสร้างเป็นแม่น้ำสายเศรษฐกิจของเขาในอนาคตนะก็ต้องรอดูกันต่อไปหละครับ 

ความเห็นที่ 8

เรื่องที่ติดเครื่องหมายหลายปีมาแล้วญี่ปุ่นเคยสำรวจโดยฝังชิบลงในช่องท้องแล้วปล่อยลงแม่น้ำส่วนมีแค่ 1 ตัวที่ว่ายขึ้นตอนเหนือส่วนใหญ่ตามน้ำลงไปทางอุบล 2-3 ตัวที่เหลือตามไม่ได้คาดว่าถูกจับขึ้นไประหว่างเดินทาง ..แต่เรื่องเอกสารไม่รู้จริงๆว่าอยู่ที่ใคร

ความเห็นที่ 9

บึกยังคงไม่สูญพันธ์จากเมืองไทย แต่อาจสูญพันธ์ในแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งกำเนิดของเขา ขอบคุณ อ.สมหมาย ขอบคุณ คุณFisher ที่ช่วยชี้แจง ตอนนี้นี้ผมว่าประเทศไทย กำลังเข้าสู่การกล้ำกึ่งระหว่างการอนุรักษ์และการทำลายล้าง คงต้องรอดู และช่วยกันดูแลต่อไป ขอบคุณครอบครัวสยามเอนสิสทุกท่านครัับ