มารวบรวมภาพดอกเข้าพรรษา สกุล Globba กันเถอะ
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 30 กรกฎาคม 2553
หน้าฝนแบบนี้ป่าสดชื่นไปด้วยเหล่าขิงข่า สกุลหนึ่งที่เด่นเสมอมาคงจะไม่พ้นเหล่าเข้าพรรษา Globba sp. เดินป่าหน้านี้ต้องเจออย่างน้อย 1-2 ชนิด ทุกหนทุกแห่ง น้องCullus บอกว่ามีในประเทศไทยอย่างน้อย 40 กว่าชนิด รบกวนเอาภาพมาลงกันดูดีกว่าครับว่าพวกเรารวมๆกันแล้วจะมีอยู่สักกี่ชนิดกี่ฟอร์มกัน
ลงภาพละความคิดเห็นนะครับ จะได้ ID ง่ายหน่อย
Comments
ความเห็นที่ 1
ผมประเดิมเอง
สถานที่: เอราวัณ จ. กาญจนบุรี
วันที่: 19 มิถุนายน 51
ความเห็นที่ 2
ชนิดนี้ก็สถานที่เดิม วันที่เดิมขอรับ
ความเห็นที่ 3
สถานที่: ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
เดือนและปี: สิงหาคม 52
ความเห็นที่ 4
สถานที่: น้ำหนาว จ. เพชรบูรณ์
เดือนและปี: มิถุนายน 53
ความเห็นที่ 5
สถานที่: ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
เดือนและปี: กรกฎาคม 53
ความเห็นที่ 6
ภาพสุดท้ายของผมในตอนนี้ ฮี่ๆๆ
สถานที่และวันที่: น้ำตกกระทิง จ.จันทบุรี
เดือนและปี: กรกฎาคม 53
ความเห็นที่ 7
มาต่ออีกตัว ถ่ายกันวันนี้เลยทีเดียว ชนิดนี้สีจะซีดกว่า ความห่างของแต่ละดอกบนช่อดอกค่อนข้างมาก ทำให้ช่อยาว
สถานที่: ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
วันที่: กรกฎาคม 53
ความเห็นที่ 8
ลอง ID เท่าที่มีความรู้ก่อนนะคะ
# 2189 >>> Globba nuda
# 2191 >>> G. schomburgkii (มั้ง) สังเกตจากการมี bulbils ที่โคนช่อ ใต้ใบประดับคะ
# 2204 >>> G. racemosa ชนิดนี้เคยเจอที่แม่วงก์ กับหมันแดงค่ะ ตรงปลายเกสรตัวผู้จะไม่มีรยางค์ค่ะ
ตอบแค่นี้ก่อนล่ะกันคะ
ความเห็นที่ 9
ตัวแรกเลย... ดีใจมากมาย เพราะได้เห็น
>>> G. winitii C.H. Wright ดอกเข้าพรรษาของแท้ แบบไม่ได้อยู่ในตลาด กระถางต้นไม้ในเรือนเพาะชำ ดีใจสุดๆ
ความเห็นที่ 10
ต่อไป...เป็น globba ที่มีใบสีแปลกตา หน้าใบสีเงินๆ หน่อยค่ะ ใบประดับที่ช่อดอกอัดแน่นเชียว
Globba aphanantha K. larsen
ความเห็นที่ 11
ลืมคู่แฝดของ #2219 ไม่แน่ใจว่าชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันหรือเปล่าแต่ในหนังสือ Ginger of Thailand เขียนว่าเป็น
>>> Globba sp. "white Dragon" จากน้ำหนาวคะ
ความเห็นที่ 12
Globba obscura ใบประดับตั้ง แต่สั้นเชียว อิอิ
ความเห็นที่ 13
ส่วนชนิดนี้ไม่ทราบจริงๆ ... ได้ข่าวว่าเป็น new หรือเปล่าค่ะ อิอิ
ความเห็นที่ 14
เอาตัวเด็ดๆ ที่อยากเจอมาโชว์ทั้งนั้นเลย เจ้าแม่
อยากเจอทั้งนั้นเลย....
ความเห็นที่ 15
ส่งมาร่วมแจม ต้นนี้จากเขาหินปูน ชายทะเลตะวันออก
ความเห็นที่ 16
จากเขาหินปูนลำปาง
ความเห็นที่ 17
จากป่าเต็งรัง พิษณุโลก
ความเห็นที่ 18
จากป่าเต็งรัง พิษณุโลกที่เดียวกับต้นด้านบน
ความเห็นที่ 19
จากพิษณุโลก
ความเห็นที่ 20
จากพิษณุโลก ฝั่ง อช.ทุ่งแสลงหลวง
ความเห็นที่ 21
ที่มีอยู่ในสต๊อกก็ซ้ำกับพวกข้างบนหมดแล้วครับ
ความเห็นที่ 22
ขออนุญาตแปะต่อค่ะ แต่คราวนี้ไม่ขอลงชื่อวิทยาศาสตร์อย่างแน่ชัด เพราะเกิดความไม่แน่ใจในหลายๆ อย่าง แต่คิดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวแต่คนละ var. ขอตั้งชื่อว่า...
>>> Globba สามสี (ศรี) พี่น้อง 55+
ความเห็นที่ 23
ชนิดนี้พบตามซอกหินค่ะ ริมน้ำตกค่ะ
ความเห็นที่ 24
โห...รูปใหญ่มากๆๆๆ ข้างบน 55+
ส่วนชนิดนี้แว๊บแรกนึกว่าเป็น G. winitii ดูไปดูมาไม่ใช่แล้วค่ะ เพราะว่าก้านช่อดอกไม่ยาว ช่อดอกแน่เกินไป แล้วก็ลักษณะผลไม่เหมือน ตอนนี้เลยไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่ 55+
ความเห็นที่ 25
ขอแป๊ะ เพิ่มสำหรับ # 2191 ค่ะ ที่นายแมลงปอแมน เจอที่น้ำหนาว น่าจะเป็นชนิดเดียวกัน แต่ของ callus เริ่มจะแก่มากแล้ว แต่ของท่านละอ่อนเชียว 55+
>>> Globba marantina
ความเห็นที่ 26
หมดแล้วขอรับ ยังพี่น้องชาวสยามเอ็นซิสทางด้ามขวานของไทย อย่าลืมนำรูป Globba สวยๆ มาแป๊ะนะคะ เพราะว่ามี endemic บ้านเราอยูด้วย อยากเห็นๆๆ ขอบคุณค่ะ
ความเห็นที่ 27
มากมายจริงๆ ไม่เคยสนใจเลย ต่อไปนี้จะถ่ายเก็บไว้ครับ
ความเห็นที่ 28
เพิ่งส่งงานหลวงไปตอนห้าทุ่มกว่า(กำหนดส่งคือ ก่อน 1 ส.ค.) เดี๋ยวจะจัดให้ เจอหลายตัวเลยที่ระนอง เจ้าแม่จะมาดูเองหรือเปล่า
ความเห็นที่ 29
อิอิ... พี่น๊อตค่ะ ยังถือว่าอยู่ในกำหนดค่ะ ก็อยากลงไปเหมือนกัน ว่าแล้วก็ต้องถามก่อนว่า หยุดยาว 4 วัน วันแม่กลับบ้านไปหาคุณแม่หรือเปล่าคะ เจ้าบ้าน \^^/
ความเห็นที่ 29.1
ช่วงหยุด 4 วัน มีโปรแกรมดังนี้
12 สค. ไป ทุ่งสง
13 สค. ไป สุราษฯ
14 สค. กลับถึงระนอง
15 สค. ตอนค่ำเดินทางเข้าเมืองกรุง
16-17 สค. ประชุมที่กรมฯ คืนวันที่ 17 เดินทางล่องใต้ไปภูเก็ต
18-21(22) ประชุมที่ภูเก็ต เสร็จแล้วค่อยกลับระนอง
ดังนั้นถ้ามาระนองวันที่ 14-15 พี่ก็จะอยู่ค่ะ (แต่ 14 นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเดินทางมาจากสุราษฯเมื่อไหร่ ถ้าเดินทางตั้งแต่คืน 13 ก็อยู่ตลอด ถ้าเดินทางเช้า 14 สายๆเที่ยงๆถึงอยู่ระนอง
ความเห็นที่ 30
มามะ มามะ ถ้ามาก็จะพาไปดูตัวนี้
ณ ห้วยส่วนตัว ระนอง
ความเห็นที่ 31
แล้วจะพาไปดูเจ้าตัวนี้บานด้วย
ห้วยส่วนตัว (ขึ้นปนๆกับตะกี๊เลย) ระนอง
ความเห็นที่ 32
ตัวนี้ขึ้นริมถนนเพชรเกษมทั่วๆไปเลย ทนแล้งได้ดี ณ ระนอง
ความเห็นที่ 33
ตัวนี้สิ ปัญหา เพราะนึกไม่ออกว่ามาจากตรงไหนแล้ว ต้นจะเล็กๆ ณ ระนอง
ความเห็นที่ 34
สาวงามจากสระบุรี เจออยู่ 2 ต้นที่ปากถ้ำ งอกจากซอกหิน ที่จริงเจออีกชนิดเต็มพื้นที่เลยแต่จะขึ้นบนดิน แต่ดันไม่ได้ถ่ายมา
ณ สระบุรี
ความเห็นที่ 35
สาวงามจากอุบลฯ ขึ้นอยู่ตามเขาหินทรายริมฝั่งแม่น้ำโขง
ความเห็นที่ 36
เอามาไว้ที่นี่ด้วยแล้วกันนะครับ
จาก ปางสีดา ครับ
ความเห็นที่ 37
จากเขาใหญ่ครับ
ความเห็นที่ 38
จากเขาใหญ่ ครับ
ความเห็นที่ 39
โห...เห็นแล้วหัวใจหวั่นไหว แถมมาดูปฏิทินที่ รร. ก็ปิดให้วันศุกร์อีก 55+
พี่น๊อต วันเดียวไปครบไหมคะ อยากจริงๆ นะเนี่ย ขอขอกว่า ตัวใบลายที่ยอดดอยขุนตานก็เจอเหมือนกันเลยค่ะ แต่ช่อดอกเป็นสีเหลืองสด ไม่มีโคนสีน้ำตาลแบบนี้ ส่วนตัวที่ไม่รู้ว่าเก็บจากตรงไหน....กรี๊ดดดดดด หนูอยากเห็น
ความเห็นที่ 40
จากชัยภูมิ อช.ไทรทอง คล้ายกับ#2269 ของคุณ callus Globba marantina
ความเห็นที่ 41
ต้นนี้คล้าย#2381 ของ Electron จากตาดโต ชัยภูมิ
และคล้ายต้นแรกของกระทู้ของDue_n
ความเห็นที่ 42
ต้นนี้จาก อช.ภูหินร่องกล้า พิษณุโลก
ความเห็นที่ 43
จากอินทนนท์ครับ บริเวณด่าน 2
ดู ๆ แล้วเหมือนของพี่น๊อตเลยแฮะ
ความเห็นที่ 44
โห ตัวของเก่งสวยแปลกดีหว่ะ วันพุธนี้เจอกัน!!!
ความเห็นที่ 45
ผมก็ว่าไม่เหมือนของผมนะ สีน้ำตาลอมม่วง แหล่มๆๆๆ
ตกลงน้อง Callus ไประนองแน่เปล่า วันเดียวก็ไปได้หลายหมาย ถ้ารู้แน่นอนแล้วแจ้งด้วย จะได้ไปฟันทิ้งให้หมด
ความเห็นที่ 45.1
เหยียบย่ำให้เหลือซากไว้ให้เจ็บใจดีกว่าพี่
ความเห็นที่ 45.1.1
สร้างฝาย สร้างเขื่อนให้น้ำท่วมเหง้าเลยแล้วกัน
ความเห็นที่ 46
ตัว Cultivar "White Dragon" นั้นคือตัวที่มีการแบ่ง clone ที่พบและขยายพันธุ์ในวงการไม้ประดับ ซึ่งคัดต้นที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่และเรียงตัวซ้อนกันเป็นชั้นขอรับ ในรูปนั่นไม่ใช่ตัวจริงของ White Dragon ครับ
ขี้เกียจค้นซีดีเก่าๆ คว้ากล้องไปถ่ายใหม่ เอาไปแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ
ความเห็นที่ 47
มาร่วมแจมสักนิดครับ..
จากอ่างผักหนามครับ...
ความเห็นที่ 48
อ่างผักหนามเช่นกันครับ..เมื่อสงกรานตร์นี้นี่เอง...
ความเห็นที่ 49
โอ๊ย... เจ้า globba ปลายสีม่วงนี่สวยจริงๆ ยั่วตายั่วใจมากๆ
ว่าแต่รูปข้างบนมันคนล่ะสกุลกันค่ะ.... เจ้าตัวสีเขียวพันชอบเรียกว่า "น้องแกงเขียวหวาน" เป็นญาติกับ "น้องแกงไก่"
น้องแกงเขียวหวาน ชื่อ " Gagnepainia thoreliana "
ในประเทศไทยสกุลนี้มี 3 ชนิดค่ะคือ ตัวด้านบน, น้องแกงไก่ " Gagnepainia godefroyi " และ "Gagnepainia harmandii "
ความเห็นที่ 50
จาก อุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ราชบุรี
ความเห็นที่ 51
งื๊ดๆๆๆ ข่าลิง (ชื่อเรียกทางระนอง) มันช่างงามแท้ แม้ไม่ค่อยอยากจะสนใจ แต่ก็อดหันมามองมันไม่ได้ ไม่เอาๆๆๆๆ เดี๋ยวหลงกลศิษย์เจ้าแม่พัน
ความเห็นที่ 52
เห็นอาจารย์ Kai มาตอบอยู่ในกระทู้ด้านล่าง (ไม่แน่ใจว่าใช่อาจารย์ Kai Larsen หรือเปล่านะครับ) แต่ถ้าใช่รบกวนอาจารย์ดูกระทู้ขิงข่าเหล่านี้ด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
ความเห็นที่ 53
โห...จริงอ่ะคุณนนณ์ callus ขอกรี๊ดดดดดดดดดดดดด..หนึ่งครั้ง อยากจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์เสียจริงๆ ถ้าใช่ ขอกราบสวัสดีอ.Kai Larsen ล่วงหน้านะคะ ที่ให้คำชี้แนะแก่กระทู้นี้ของเรา ผิดถูกเช่นไรเชิญชี้แนะด้วยคะ
ความเห็นที่ 54
เหมือนรูปที่พี่นณณ์ถ่ายไว้ที่ #19 เลยแฮะ
สถานที่: เชียงใหม่ ส.ค. 53