รบกวนถามชื่อหอยครับ

ใช่หอยที่คุณจอมเป็นผู้ค้นพบหรือเปล่าผมกำลังประมูลจากเวป ebay ครับ อยากได้มาเก็บไว้ครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

อีกรูปครับ

24335-2.jpg

ความเห็นที่ 2

ผู้ขายจากฟิลิปปินส์ลงขายในเวปเห็นแปลกดีลองประมูลดูครับ
Haliotis thailandis  
Patamakanthin, 2002


น่าจะใช่นะครับแต่ทำไมไปอยู่ถึงฟิลิปปินส์

ความเห็นที่ 3

หอยสวยมากเลย

ความเห็นที่ 4

หอยสวยมาก คล้ายเป๋าฮื้อมากเลย (มีรูที่ขอบเปลือกเหมือนกัน) แต่ตรงก้นหอย (รอยวน) ไม่ยักเหมือนแฮะ

ความเห็นที่ 5

Cymbiola palawanica
Douti, H. & P. Bail, 1999
Cyperea Guttata Surinensis

29588-2.jpg cypraea_guttata_surinamensis.jpg

ความเห็นที่ 6

Symbiola Aulica
29680-1.jpg 29680-2.jpg

ความเห็นที่ 7

Cymbiola vespertillo
Linnaeus, 1758
29377-1.jpg 29377-2.jpg

ความเห็นที่ 8

อยากเห็นรูปหอยสวยๆครับทั้งหมดที่ลงผมเก็บมาจากฟิลิปปินส์ ครับมีเพื่อนคอเดียวกันที่นั่นเขามีหอยมากมายทั้งสะสมแลกเปลี่ยนและจำหน่ายครับ ไม่ใช่ในเมืองไทยนะ หายากครับ

ความเห็นที่ 9

Bolma persica
Dall, W.H., 1907
28255-1.jpg 28255-2.jpg 28255-3.jpg 28255-4.jpg

ความเห็นที่ 10

ไครมีหอยสวยๆๆเอามาอวดกันบ้างนะครับ  อย่าเก็บไว้ดูคนเดียว
Homalocantha zamboi
Burch & Burch, 1960

25426-1.jpg 25426-2.jpg

ความเห็นที่ 11

Seashell Siphonaria siquijorensis
27131-1.jpg 27131-2.jpg

ความเห็นที่ 12

ผมเห็นที่ฟิลิปปินส์ เขามีเปลือกหอยสวยๆ  หายากแต่ว่าเขาขายไม่แพง ผมก็เลยเก็บๆๆ  ไว้บางอย่างก็เป็เปลือกหอยที่ FREAK ก็แปลกดีครับ แบบนี้ scorpion ที่หางมีสองแฉก

24753-1.jpg 24753-2.jpg

ความเห็นที่ 13

Angaria sphaerola ตัวนี้งามสุดๆๆครับ
28320-1.jpg 28320-2.jpg 28320-3.jpg 28320-4.jpg

ความเห็นที่ 14

เรียนผู้ดูแลเวปทุกภาพลิขสิทธถูกต้องนะครับเป็นหอยผมเองที่ซื้อมา แต่ผมไม่หวงครับถ้านำไปใช้เพื่อการศึกษาไม่ใช่การค้า
GIANT Cymbiola imperialis f. robinsona

27955-1.jpg 27955-3.jpg

ความเห็นที่ 15

Seashell Babelomurex spinosus
29501-1.jpg 29501-2.jpg

ความเห็นที่ 16

Seashell Pterynotus elongatus
27449-1.jpg 27449-2.jpg

ความเห็นที่ 17

เป็นไงบ้างครับพอสร้างสีสรรให้บอร์ดได้บ้างไหมถ้าอยากดูตัวจริงต้องมาที่บ้านครับ
Seashell Conus sugimotonis vicdani

29590-2.jpg 29590-3.jpg

ความเห็นที่ 18

Seashell Lyria boholensis
เป็นหอยประจำถิ่นที่มีเฉพาะที่เกาะ Bohol เลยตั้งชื่อว่า Boholensis
29597-1.jpg 29597-2.jpg

ความเห็นที่ 19

เห็นหอย(เปลือก)แล้วนึกถึงเพื่อนเราคนนึงจริงๆเลย หายไปไหนนะ

ความเห็นที่ 20

Chicoreus cnissodus
29594-1.jpg 29594-2.jpg

ความเห็นที่ 21

เต้าปูนขาวเนียนดีจริงครับ

ความเห็นที่ 22

พูดถึงหอยแล้ว พี่จอมไม่แวะมาเล่าอะไรเกี่ยวกับหอยๆให้ฟังมั่งเลย คิดถึงนิ

ความเห็นที่ 23

ขรัวจอมกำลังวุ่นวายจริงๆขอรับ เมื่อพร้อมก็จะกลับมา

ความเห็นที่ 24

Cypraea aurantium
Gmelin, 1791
29525-1.jpg 29525-2.jpg 29525-5.jpg

ความเห็นที่ 25

Cypraea mappa
29636-1.jpg 29636-2.jpg

ความเห็นที่ 26

อ้าวๆๆๆ ขรัวตาจอมกลับมาเยี่ยม เหอๆๆๆๆ...... (ให้อ่านเป็นเสียงคนแก่นะจ้ะ เพราะตอนนี้แก่ไปแยะจากโปรเจ็คล่าสุด)

กล่มหอยเป๋าฮื้อจิ๋ว ผมได้ตั้งชื่อไว้สองชนิดแยกออกจากกันครับ ชนิดที่เจอในไทย Haliotis thailandis Dekker & Pakamanthin, 2001  (เป็นชนิดตัวเล็ก มีตุ่มเป็นแถวไปหนึ่งสองแนว สีเป็นลายสลับเขียว แดง ส้ม แล้วแต่ตัวครับ ขนาดไม่เกิน 2 ซม .... ชนิดนี้จะคล้ายกันกับ Haliotis pustulata Reeve, 1846 จากทะเลแดงลากลงใต้ไปถึงโมซัมบิคครับ ชนิดนี้ใหญ่ตั้งแต่ 2 - 6 ซม ครับ ตัวเล็กแลดูคล้ายๆ พันธุ์ไทยแลนดิสอยู่บ้าง แต่ก็ต่างกันมากมายในรายละเอียด) พันธุ์ไทยแลนด์นี้พบครั้งแรกจากแถบหมู่เกาะราชากับเกาะไม้ท่อน ทะเลอันดามันครับ (ซึ่งที่จริงก็คงสามารถพบได้ทั่วไปในเขตใกล้เคียงครับ)

ส่วนอีกชนิดที่เป็นสายพันธุ์จิ๋วแล้วตั้งให้คุณลุงชาวอเมริกัน คุณ Thomas C. Rice  - ผู้อุทิศเวลาทั้งชีวิตแก่วงการเปลือกหอย(พิมพ์งานทางวิชาการกึ่งสารคดีเปลือกหอยแบบเอกชน ไม่ใช่วิชาการสุดๆ แต่คุณลุงก็จบมาสายสัตววิทยาครับ) คือชนิด Haliotis tomricei Patamakanthin, 2002  ชนิดนี้

ความเห็นที่ 27

ต่อๆๆ ซึ่งชนิด Haliotis tomricei Patamakanthin, 2002  ชนิดนี้ มีสีแดง - แสด จัดไปทั้งตัวครับ เปลือกแบนมาก แนวมุกภายในเปลือกเป็นลอนคลื่นฟันหยักสามเหลี่ยมสลับฟันปลาไปทั้งหมดครับ

ต่อมา ผมได้ทราบว่า ผมนั้นบังอาจไปตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ แต่ตนเองไม่ได้จบมาสายไหนๆ ที่เกี่ยวกับหอยเป๋าฮื้อเลย งานที่ทำก็ไม่ได้อิงอยู่กับสถาบันใดๆ ของผู้ที่เป็นใหญ่ในสามโลกแห่งหอยเป๋าฮื้อชาวฝรั่ง ชาวฝรั่งนักสะสมเป๋าฮื้ออันดับหนึ่งท่านหนึ่ง ขัดอุราเป็นหนักหนาที่คุณลุง Tom ท่านยกบรรดาสุดยอดหอยเป๋าฮื้อโลกให้กับครอบครัวผมเสียก่อน (แกรอมาหลายปี ให้ลุงจากไปแล้วจะได้บริโภคของของคนตาย ทั้งๆ ที่แกเป็นเพื่อนลุง) แกโกรธา ส่งสาส์นมาบอกผมมากมาย ขอหอยผมก็แล้ว ส่งไปให้จนหนำใจก็แล้ว.... แล้วแกก็โจมตีผมต่อโดยเดินทางไปเป่าหูท่านผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ถึงสถาบันของท่าน ท่านเลยแบนเปเปอร์ผม บอกว่าพันธุ์นี้เป็น synonym ของพันธุ์ไทยแลนดิส..... ผมเองก็งงๆ เพราะได้รู้จักและเปิดเผยกันทุกหยาดหยดแล้ว ยอมรับกันพอสมควรแล้ว

นี่แหละครับที่มาพอสังเขป.... ผมอัดอั้นตันอุรา สุดท้าย อีกชนิดของหอยเป๋าฮื้อที่ผมกับเพื่อนให้เกียรติแก่ความงามของธรณีพิโรธบนเกาะชวา รูเปิด-ปิดทั้งมวลบนตัวชลูดสูงชัน ตระหง่านดั่งแนวภูเขาไฟ สมฉายา The Ring of Fire ของเกาะต้นแหล่ง... ตั้งชื่อเป๋าฮื้อที่ผมกับเพื่อนเก็บไว้ในเก๊ะแสนนานว่า Haliotis volcanius Patamakanthin & Eng, 2002 ก็โดนแบนไปด้วยอีกตัว 55555555 สะใจความเป็นคนของคนบางคนจริงๆ ครับ

ความเห็นที่ 28

ตัวของคุณ bewin99 เนี่ย เป็นตัววัยเยาว์ของพันธุ์ Haliotis clathrata (junior homonym). Reeve, L.A., 1846  ครับ (พันธุ์นี้แต่เดิมเรียกกันว่า Haliotis crebrisculpta Sowerby, G.B. III, 1914 ซึ่งตัว Holotype นั้นระบุว่ามาจากเกาะ New Caledonia ดินแดนในอานัติของมหาอำนาจฝรั่งเศส ต่อมาเค้าค้นไป ค่นมา จึงพบว่า แท้ที่จริงมีการสลับล๊อตเปลือกหอยกันมาแต่ต้น แท้ที่จริงแล้วตัว Holotype ของพันธุ์  H. crebisculpta นั้นน่าจะเป็นตัวอ่อนของพันธุ์ Haliotis squamosa Gray, J.E., 1826  จากเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งฝรั่งเศสเคยครอบครองอยู่นานมากกกกกกกก...... เลยเอาชื่อรองมาแทนที่ครับ) แต่ตอนนี้ก็งงกันเองครับ ว่าเอาตัวไหนเป็นหลักแน่ เพราะทั้งสองด้านมาจากคนเก่งๆ กันทั้งนั้นครับ..... ผมเองก็ถอยแกมาด้วยประการฉะนี้

จบข่าว หอยร้อยรู-ร้อยเรื่องราวครับ .....


และนับแต่นั้นมา ผมเลยหันหลังให้กับเรื่องราวที่ผมไม่ควรไปข้องเกี่ยวเหล่านี้ครับ วางตัวเป็นหนอนน้อย ไม่มีแขน-ขายืดยาว คลืบไปคลานมาภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ครับ ยังมีอีกเยอะครับ ทั้งเรื่องถูกเพื่อนกันเองโขมย Holotype และ paratypes หอยหลายชนิดของไทยไปดื้อๆ เอาไปตั้งชื่อเมียน้อยบ้าง เมียบ้าง เสียฉิบไป.... ล่าสุดก็เพิ่งโดนฉกๆ ไปอีก 2 ชนิดครับ อดตั้งชื่อคนไทยหรือดินแดนไทยครับ!

ป.ล. คนต่างชาติทั้งนั้นนะครับ ที่ผมกล่าวถึง คนไทยทั้งนักวิชาการและพวกวิชากินอย่างผมนี่ดีกับผมทุกคนครับ .... โอกาสดีคงได้สังสรรค์กันบ้างนะครับ ผมกับเพื่อนๆ และผู้ใหญ่ชาวไทยหลายท่าน กำลังรวมกำลังกันจะตั้ง "ชมรมชมหอย" ครับ อีกไม่กี่ปีอาจได้สร้างอะไรดีๆ ให้เด็กๆ รุ่นใหม่ด้วยกันนะครับ!

ความเห็นที่ 29

ขอขอบพระคุณท่านปรมาจารย์  จอมมากครับ  ถ้าตั้งชมรมชมหอยเมื่อไรผมขอสมัครสมาชิกด้วยนะครับ  วันนี้ผมมีรูปผลของลำภู  กับต้นลำภูมาฝาก  ถ่ายที่ริมน้ำแม่กลองครับ เป็นต้นไม้ที่หายากมากชนิดหนึ่งผมพบโดยบังเอิญ ไปไหว้หลวงพ่อวัดบ้านแหลมขากลับแวะกินอาหารที่แถวๆนั้นตอนแรกไม่รู้จักพอถามเจ้าของร้าน จึงทราบครับ ท่านไดสนใจไปที่ร้านแดง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองนะครับ  ร้านชื่อแดงมีหลายร้าน ขอให้ไปที่ร้านริมแม่น้ำนะครับ ขอโทษนะครับถ้าผิดกระทู้

dsc05049_resize.jpg dsc05054_resize.jpg

ความเห็นที่ 30

มันแพงระดับเทพเลยครับ 4500 USD ประมาณ 140,000 บาท ไม่ทราบว่าสมราคารึเปล่าผมคงได้แต่ดูรูป อีกสิบชาติคงไม่มีเงินซื้อ
Cypraea broderipii
bhr9yw2kkgrhqmh-csesl1swuf4blkttyusq_3.jpg bhr9b9wbgkkgrhquh-emesnbydjblktunnp_3.jpg

ความเห็นที่ 31

อันนี้สวยครับไม่ใช่ของผมค้นเจอเลยเอามาฝากสวยจริงๆๆๆๆๆๆๆๆ
bwwetgbgkkgrhquokikewrwo6mebmiky57m-w_3.jpg bwwijqbmkkgrhqqokigewpnbkqpvbmikzhbvcq_3.jpg

ความเห็นที่ 32

กำลังจัดทำทะเบียนบ้านหอยแต่ลืมชื่อรบกวนสอบถามอีกครั้งครับ
รูปที่ 1 รูปที่ 2 รูปที่ 3 รูปที่ 4 รูปที่ 5 รูปที่ 6

ความเห็นที่ 33

หวัดดีครับ คุณ bewin99 ผมส่งข้อความหาคุณ 1 ฉบับครับผม 

ความเห็นที่ 34

ได้รับแล้วครับยินดีที่รู้จักครับ

ความเห็นที่ 35

สวัสดีจ้า 
           ได้ดูภาพและข้อมูลที่ลง  ชอบมากคะ  เป็นคนหนึ่งที่ชอบเก็บสะสมเปลือกหอย  เมล็ดพืช   สัตว์  ไว้ให้เด็กศึกษา
              มีข้อมูลนอกเหนือจากนี้ไหมอยากได้ไว้สอนนักเรียน
 

ความเห็นที่ 36

สวัสดีจ้า 
           ได้ดูภาพและข้อมูลที่ลง  ชอบมากคะ  เป็นคนหนึ่งที่ชอบเก็บสะสมเปลือกหอย  เมล็ดพืช   สัตว์  ไว้ให้เด็กศึกษา
              มีข้อมูลนอกเหนือจากนี้ไหมอยากได้ไว้สอนนักเรียน