เถาวัลย์ในแก่งกระจาน

เมื่อวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญจากกลุ่มนักอนุรักษ์ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการสางเถาวัลย์ เพื่อให้ข้อมูลและเสวนา บริเวณแคมป์บ้านกร่าง และเดินเข้าไปดูแปลงศึกษา หลังจากนั้นกลางคืนมีการจัดเสวนา งานนี้มีสือมวลชนจาก ช่องทีวีไทย pbs และข่าวสด ทำข่าวและสังเกตการณ์  กลางคืนมีเซอร์ไพรซ์ ที่หัวหน้าคนดังและทีมวิจัยลงมาพูดคุยด้วย ผมขอพูดในส่วนเกี่ยวกับทีมนักวิจัยและงานวิจัย ส่วนอื่นทุกคนลองติดตามจากข่าวของไทยพีบีเอสหรือข่าวสดในสัปดาห์นี้ ที่น่าจะให้รายละเอียดมากพอสมควร จากที่ได้ลองคุยกับทีมวิจัยผมคิดว่าเป็นทีมที่มีความเป็นมืออาชีพและมีจรรยาบรรณสูง และคิดว่าคงไม่น่าจะต้องกังวัลถึงความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดหรือทำตามแรงกดดันต่างๆ  และอีกหกเดือนข้างหน้าถึงจะทราบเสร็จและรายงานผล นอกจากนี้พื้นที่ที่มีปัญหาจริงไม่ได้กว้างอย่างที่คิด ที่รุนแรงมากมีห้าหมื่นไร่ (จากที่หัวหน้าพูด) และหกเดือนนี้เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งจะมีการศึกษาระยะยาวอีกต่อไป ทีมวิัจัยได้กล่าวเองว่าเถาวัลย์มีความสำคัญในระบบนิเวศ แต่ที่กังวลคือ เฉพาะที่แก่งกระจานทีมากเกินไป จนกลัวว่าป่าจะฟื้นตัวไม่ได้ และอาจจะลามไปที่อื่น ส่วนปัญหาต่อสัตว์ใหญ่ เช่น ช้างไม่น่าจะมี เพราะปีที่ผ่านมาหนึ่งในทีมวิจัยผมกองมูลช้างมากว่าร้อยกอง ในบริเวณโป่งพรม และผมก็สังเกตเห็นด่านสัตว์เต็มไปหมดในบริเวณแปลงวิจัย อีกทั้งข้อมูลที่ผมถ่ายมาจากที่อุทยานฯ ก็แสดงให้เห็นเองว่าบริเวณที่สัตว์เยอะก็คือ บริเวณป่าที่มีเถาวัลย์ขึ้น (ดูในรูป) สุดท้ายผมลองกระซิบถามทีมวิัจัยเป็นการส่วนตัวถึงแนวทางการสางถ้าจำเป็น เค้าบอกว่าคงไม่ได้ทำทั้งหมด  ตัดเฉพาะเถาวัลย์ที่เป็นปัญหาและอาจจะเลือกเป็นบางบริเวณกระจายเป็นแปลงย่อยๆและค่าใช้จ่ายอาจจะไม่ได้มากอย่างที่หลายคนคิด  พอสางแล้วจะเอาต้นไม้เบิกนำโตเร็วปลูกต่อเพื่อกันไม่ให้เถาวัลย์ฟื้นตัว  ได้ลองไปดูและพูดคุยแล้วผมคิดว่าคงต้องติดตามกันต่อไปในอีกหกเดือนข้างหน้า และคาดว่าคงจะได้ข้อมูลระดับหนึ่ง แต่ผมคิดว่าคงต้องศึกษาอีกระยะหนึ่ง (4-5 ปี) ถึงจะพอมองเห็นภาพอะไรมากขึ้นจนกระทั่งกำหนดเป็นนโยบายได้

Comments

ความเห็นที่ 1

ทางเข้าแก่งกระจานทีี่มีเถาวัลย์คลุ่มหนาแน่น
ทางเข้าแก่งกระจานทีี่มีเถาวัลย์คลุ่มหนาแน่น

ความเห็นที่ 2

อย่างที่เห็นดังรูปที่ผ่านมา บริเวณที่เถาวัลย์หนาแน่นมาจะเกิดบริเวณริมถนนมากว่าด้านใน
การวิจัยทำเปรียบเทียบการตัด และไม่ตัดในบริเวณเดียวกัน และดูเ่ีทียบกับแปลงที่ไม่ปัญหาเถาวัลย์ในบิรเวรใกล้กัน

ความเห็นที่ 3


แปลงทดลองสาง ด้านหลังจะเห็นเถาวัลย์ปกคลุหนาแน่น บริเวณในแปลงเีดียวกันที่มีการสาง ในแปลงเดียวกันบางบริเวณมีความรุนแรงน้อยกว่า แปลงป่าที่เถาวัลย์เป็นปกติ ศึกษาเพื่อใช้เป็นชุดควบคุม

ความเห็นที่ 4


บริเวณเถาวัลย์ที่ขึ้นหนาแน่น ติดกับแปลงทดลองที่โป่งพรม (ริมถนน) บริเวณเดียวกัน มูลช้างที่พบในบริเวณเดียวกัน รอยเท้าที่คาดว่าเป็นวัวแดง พบในบริเวณที่พบมูลช้าง

ความเห็นที่ 5

เอาใจช่วยทีมวิจัยนะครับ

ความเห็นที่ 6

ภาพขวา แสดงการกระจายของสัตว์  สีเข้มคือหนาแน่น ได้ข้อมูลจากการจับพิกัดของเจ้าหน้า่ีที่ในอุทยานฯ และภาพซ้ายเป็นขอบเขตพื้นที่ป่าสมบูรณ์(เขียวเข้ม)และป่าที่มีเถาวัลย์ปกคลุม (เขียวอ่อน) ที่นักวิจัยของอุทยานฯ เป็นคนจัดทำ รูปดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสัตว์พบมากในบริเวณลักษณะป่าที่มีเถาวัลย์ขึ้น!!? ข้อมูลดังกล่าวผมถ่ายมาจากบอร์ดจัดแสดงของอุทยานในแคมป์บ้านกร่าง
พื้นที่ป่าแบบต่างๆ ในแก่งกระจานและความถี่ของการพบสัตว์

ความเห็นที่ 7

ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ ว่าจะโทรไปหาอยู่เชียว

ความเห็นที่ 8

1.ผมฟังข่าวดูแล้ว ก็แค่ขั้นการวิจัยในแปลงทดลองไม่กี่ไร่
ซึ่งเป็นหน้าที่ของอุทยานทุกแห่งในโลกไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ส่วนผลวิจัยที่ได้จะนำไปใช้ที่ไหนอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ทุกฝ่าย (รวมถึงผู้ที่มีความห่วงใยและกังวลต่างๆ) ควรร่วมกันพิจารณาต่อไป
2.ผมขอสนับสนุนให้ทำการวิจัยต่อไป ผมไม่คัดค้านการวิจัยใดๆในโลก (คนละประเด็นกับการตัดหรือไม่ตัดเถาวัลย์หมดทั้งอุทยานนะครับ)
3.ผมขอสนับสนุนและขอชมเชยความขยันขันแข็งของหัวหน้าคนนี้ (ไม่เคยเห็นหน้ากันเลย) ที่สนใจงานวิชาการ ไม่นอนกินเงินเดือนเฉยๆ หัวหน้าอย่างนี้หายากอยู่แล้ว !
3.ว่างๆ เชิญพบผม (นายธนพล สาระนาค ประธานชมรมนักสื่อความหมายฯธรรมชาติและวัฒนธรรม) ได้ที่ www.interpretationthailand.org

ความเห็นที่ 9

1. ฟังอะไรก็ฟังหูไว้หู ที่ตัดไปก่อนหน้านั้น มันคืออะไร
2. ประเด็นเดียวกันเลยครับท่านอาจารย์ ไปอ่านใน FB ที่ท่านเขียนไว้เองซิ
3. ใช่แล้วครับ หาตัวจับได้ยากมาก ชมเข้าไป....
3. อ่ะไม่ใช่ ต้อง 4. บังเอิญไม่ว่างและมองท่าทางจะคุยกันไม่รู้เรื่อง

ความเห็นที่ 9.1

1. ผมไม่ใช่คนตัด ..."มันคืออะไร" ผมจะไปถามหัวหน้าอุทยานฯ ในวันที่ 17 พย.นี้ ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบครับ
2.-
3. "ชมเข้าไป"...เป็นสิทธิของผม ผมไม่ได้บังคับให้ใครชมใคร/ติใคร...นะครับ
4.เพียงแค่ผมต้องการจะบอกว่า ผมเป็นคนมีที่นอนหมอนอยู่ ...ไม่ได้บังคับให้ใครไปดูเว็บผมนะครับ.

ความเห็นที่ 9.2

2. ขณะนี้นักวิชาการ(ไม่ใช่ผม)กำลังวิจัยเกี่ยวกับการตัดเถาวัลย์ในแปลงทดลองว่าผลจะเป็นประการใด ส่วนจะนำไปใช้แค่ไหน/เพียงใด/ที่ไหน ผมเห็นควรให้ทุกฝ่ายช่วยพิจารณาต่อไป...ขณะนี้ผมทราบจากหัวหน้าอุทยานฯว่ายังไม่ได้ตัดทั้งหมื่น/ทั้งแสนๆไร่ตามที่พบเถาวัลย์...ผมจะไปขอดูแผนการวิจัยจากหัวหน้าอุทยานฯในวันที่ 17 พย.นี้ และนำมาลงไว้ให้อ่านในเว็บไซต์ของผม...ผมไม่ได้โฆษณาเว็บผมนะครับ (ผมรวยแล้ว) เพียงแต่ผมไม่มีช่องทางอื่นที่จะให้คนทั้งโลกที่สนใจได้อ่านแผนงานวิจัยเรื่องนี้ครับ.

ความเห็นที่ 9.3

เถาวัลย์พันขา : 4. ...มองท่าทางจะคุยกันไม่รู้เรื่อง
ธนพล : ก็ยังดีกว่าไม่ได้คุยกันเสียเลย อาจไม่เข้าใจกันในแง่ภาษา+ประเด็นบ้างก็เป็นได้ จะให้เปิดปุ๊บ/ติดปั๊บก็เกินไป ผมไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้า

ขอสรุปว่า ในชั้นนี้ ผมสนับสนุนการวิจัยที่ทำกันอยู่ (ถ้าในการวิจัยจะมีการตัดเถาวัลย์บ้างก็เป็นเรื่องของการวิจัย) เมื่อผลการวิจัยออกมาแล้ว จะนำไปใช้แค่ไหน/เพียงใด/ที่ไหน/อย่างไร ทุกฝ่ายที่สนใจและเกี่ยวข้องควรช่วยกันพิจารณาต่อไป.

ความเห็นที่ 10

ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเถาวัลย์มีผลกระทบมากหรือน้อยกับป่าอย่างไรนะคะ
อยากรู้มากคะ

ความเห็นที่ 11

ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเถาวัลย์มีผลกระทบมากหรือน้อยกับป่าอย่างไรนะคะ
อยากรู้มากคะ

ความเห็นที่ 12

ผมว่าทุกคน(ที่เข้าใจวิทยาศาสตร์)ย่อมต้องสนับสนุนการวิจัยครับ
แต่ก็มีบางหัวข้อที่ไม่เข้าใจ เช่น
-ทำไมหนังสือพิมพ์(ไทยรัฐ)บอกว่าผลงานวิจัย(ที่แก่งกระจาน)ออกมาแล้ว พบว่าเถาวัลย์เยอะอย่างโน้นอย่างนี้... ไม้หลักพบแค่ 6 ชนิด หนึ่งในนั้น คือ สาบเสือ ...???
-จากไทยรัฐอีก...บอกว่า สมุนไพรหายไปเกือบหมดป่าแล้ว
-จากไทยรัฐอีก...บอกว่า จระเข้ถูกคุกคามเถาวัลย์อย่างหนัก
-จากไทยรัฐอีก...บอกว่า ช้าง กระทิง ชะนี หนีไปหมดแล้ว
-ฯลฯ
ผมว่านี่น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทุกคนที่รักษ์ธรรมชาติเป็นห่วง... หนังสือไปเอาข้อมูลมาจากไหน เท่าที่เห็นอ้างว่าได้จาก อุทยานฯบ้าง จาก หน.คนดังคนนั้นบ้าง... ถ้าท่านทั้งหลายลองไปอ่านดูจะรู้สึกเป็นห่วง กังวลมากๆกับสถานการณ์ตอนนี้...
เราทุกคนต้องการให้บ้านเมืองเราก้าวไปด้วยเหตูผลและสำนึกรักษ์ธรรมชาติ เพราะเราคือธรรมชาติ ธรรมชาติก็คือเรา... 

ความเห็นที่ 13

ข่าวธรรมชาติเมืองไทยในหนังสือพิมพ์หัวเขียว อ่านแล้วเวียนหัวและโง่กว่าเดิม...

ความเห็นที่ 14

ถ้าคุณ watchara อยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับเถาวัลย์ (ในมุมมองที่ต่างจากสื่อกระแสหลัก) ลองอ่านบทความของผมในเวบนี้ได้ครับ
ส่วนบริเวณที่มีมากจนเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาทีมวิจัย บอกผมว่า มีที่แก่งกระจานหนักสุด และอาจจะมีที่อ่างฤไน แต่ไม่ได้เป็นปัญหามาก ผมก็ได้แต่หวังว่าคงไม่มีใครจะนำ(ฉกฉวย)เอาข้อมูล 6 เืดือน ที่ทีมนักวิจัยทำด้วยความตั้งใจตามแนวทางวิทยาศาสตร์ไปสร้างเป็น "แก่งกระจานโมเดล" ใช้กับเขตอนุรักษ์ที่อื่นทั่วประเทศ (เพราะไม่ได้เกิดปัญหา)

ความเห็นที่ 15

ผมมีข้อสงสัยครับ
- ผมได้ยินว่า ทีมวิจัยทำการวิจัยเถาวัลย์ที่แก่งกระจาน 6 เดือน อยากทราบว่า ช่วงเวลาใดครับ
 แล้ว 6 เดือนนี้ สำหรับการวิจัยด้านนิเวศวิทยานั้นเพียงพอ หรือมากน้อยเพียงใดครับ เพราะ
 เพราะ 6 เดือนนั้น ฤดูกาลยังไม่ครบรอบเลย สามารถวัดการเจริญเติบโตของพืชได้หรือไม่ครับ
ด้านการตรวจระบุชนิดพืชก็คงจะลำบากถ้า 6 เดือนนั้นไมใช่ช่วงที่พืชส่วนใหญ่ไม่ติดดอกผล
ผมอยากให้ทำวิจัยอย่างน้อยสัก 1 ปี หรือมากกว่านั้น (ไม่อยากเพียงเพื่อสร้างกระแส อยากให้ยั่งยืนครับ)
- ผมอยากทราบ(จริงๆ)ว่าข้อมูลที่ออกมาโจมตีเถาวัลย์นั้น ออกมาได้อย่างไร ทำไม เพราะถ้าเถาวัลย์มันมีมากขึ้นจริงๆ ก็ต้องศึกษาดูก่อนว่า-เป็นชนิดไหน บางชนิด หรือทุกชนิด  พืชท้องถิ่นหรือต่างถิ่น
                                           -การเจริญเติบโตเป็นยังไง ข้อมูลทางนิเวศวิทยาเป็นยังไง
สุดท้ายก็อยากเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่าย ช่วยกันหาความจริง แล้วเราจะได้มีข้อสรุปกันต่อไป...

ความเห็นที่ 16

เค้าทำวิจัยช่วงนี้แหละครับ ข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้คงเป็นการสร้างกระแส
คำถามบางอย่างที่เค้าตั้งไว้คงตอบไม่ได้ภายในหกเดือนทั้งหมด เช่น การเจริญเติบโต การออกดอก แต่เค้าคงมีแผนจะติดตามระยะยาว ส่วนที่น่าจะได้คำตอบคือ
ในแปลงที่มีเถาวัลย์แน่นมีต้นไม้มากหรือน้อยกว่าในแปลงที่มีเถาวัลย์ไม่มาก เปรียบเทียบลูกไม้ของต้นไม้และเถาวัลย์ที่พบ ประมาณนี้

ความเห็นที่ 17

สำหรับผู้มาใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้ติดตามตั้งแต่เริ่มนะครับ

เริ่มจาก  http://siamensis.org/webboard/topic/472
ก็น่ากังวลว่าจะเข้าไปตัดกันมั่วๆ แต่ก็มีกระแสต่อต้านทั่วไป
โชคดี ผู้ที่รับผิดชอบด้านนี้ไม่บ้าจี้ด้วย และมีความรู้ด้านนี้อยู่แล้ว

ซึ่งเท่าที่ติดตามมา ผลลัพพ์จึงทำการศึกษาก่อน
ปัญหาเถาวัลย์เคยเกิดจริงๆที่ประเทศอื่น
ในไทยเราเถาวัลย์ที่เป็นปัญหาก็มีอยู่ เอเลี่ยนก็มีอยู่ แต่สาเหตุจากอะไร ต้องแก้ไหม แก้อย่างไร อยู่ในขั้นตอนการศึกษา

อันล่างนี้ลองขุดมานิดหน่อยนะครับ ได้ความรู้ดี
http://siamensis.org/webboard/topic/2244
http://siamensis.org/webboard/topic/3079
http://siamensis.org/article/2369

ที่สำคัญ ข่าวจากหนังสือพิมพ์มันผิดเพี้ยนได้เยอะ อย่าไปเชื่อมากนัก ไตร่ตรองก่อนครับ
บางทีไปสัมภาษคนที่ไม่ได้ทำงานอยู่ตรงนั้น มันก็ผิดเพี้ยนกันไปมา

มึนตรงไหน เอามาถกกันเป็นจุดๆเลย ก็ดีครับ คนที่ติดตามอย่างเราๆก็ได้ความรู้ไปด้วย

ถ้าใครอยากมีส่วนร่วมในการให้เกิดอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างถูกต้อง ใครรู้อะไร ก็ส่งข้อมูลไปทางผู้ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานก็น่าจะดีนะ

หลังๆพอเห็นว่า มีการศึกษากัน ผมเลยไม่ค่อยได้ตามแล้วว่าเป็นยังไงกันต่อ