ของฝากจากแดนที่ราบสูง
เขียนโดย ตะพากหน้าแดง Authenticated user เมื่อ 31 กรกฎาคม 2553
เมื่อช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปเที่ยวชมงานแห่เทียนพรรษาที่ จ.อุบลราชธานี ระหว่างทางที่ไป ก็ได้แวะชมอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร กับ ล่องเรือชมสามพันโบก จ.อุบล ฯ ตามที่อยากไปมานาน ก็เลยเก็บเอาภาพบางส่วนมาฝากพี่ ๆ น้อง ๆ ชาว siamensis ครับผม
เริ่มจากที่ภูผาเทิบก่อนนะครับ :)
Comments
ความเห็นที่ 1
ภูผาเทิบ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงว่าเป็น Unseen in Thailand อีกแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นสถานที่ที่น่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุดอีกแห่งของ จ.มุกดาหาร มีหินรูปร่างแปลก ๆ มากมายที่เกิดจากอิทธิพลของกระแสลมและน้ำกัดเซาะ บางรูปก็ดูเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บางรูปก็ดูออกยากว่าเป็นรูปอะไร แล้วแต่จินตนาการของผู้ชมครับผม :)
ความเห็นที่ 2
จากจุดตั้งต้นเดินชมความงามของหมู่หิน จะต้องเดินขึ้นไปบนเนินหินสูงพอประมาณ จึงจะถึงที่ราบกว้างใหญ่ที่เรียกว่า ลานมุจลินท์ ซึ่งไกด์ที่นำทางไปบอกว่าในช่วงหลังฤดูฝนเพิ่งผ่านพ้นไป บนลานนี้จะมีดอกไม้ขึ้นเต็มไปหมด สวยงามมากครับ
เสียดาย ตอนที่ผมไป ยังเป็นช่วงกลาง ๆ ฤดูฝน ลานมุจลินท์ก็เลยยังเป็นลานโล่ง ๆ แต่ก็พอจะมีทางน้ำไหล และสิ่งมีชีวิตให้เห็นบ้างพอสมควร โดยเฉพาะพืชที่เป็นต้นหญ้าและไม้เตี้ย ๆ ครับผม
ความเห็นที่ 3
ถึงคิวของฝากแล้วครับผม :)
ที่ภูผาเทิบนี้ เท่าที่สังเกตดูมีแมลงต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงปอ เท่าที่ลองนับดูจากที่บินอยู่ น่าจะไม่ต่ำกว่า ๓ ชนิดครับผม แต่ไม่มีตัวไหนยอมลงเกาะบนพื้นเลย ประกอบกับเวลามีจำกัด เนื่องจากต้องไปที่อื่นอีกหลายที่ เลยเก็บมาฝากได้แค่ตัวเดียวครับ - -!
ความเห็นที่ 3.1
แมลงปอบ้านใต้ผู้ดำ Trithemis festiva ตัวผู้ครับ
อกสีน้ำเงินเข้ม ท้องดำมีหลายจุดเหลืองปลายท้อง คือจุดเด่นของมันครับ แต่ตัวนี้จุดเหลืองที่ปลาบท้องยังไม่เด่นชัดมากนักครับ พบตามลำธารและน้ำตกทั่วประเทศครับ
ความเห็นที่ 4
อีกสิ่งที่สะดุดตาผมมากที่ลานมุจลินท์นี้ก็คือ ต้นหญ้าที่ไม่ได้ขึ้นแบบตรง ๆ เหมือนต้นหญ้าที่อื่น ๆ แต่กลับเวียนตามเข็มนาฬิกาบ้าง ทวนเข็มนาฬิกาบ้างอ่ะครับ
ส่งท้ายภาพจากภูผาเทิบด้วยภาพนี้ครับ :)
ความเห็นที่ 5
จากภูผาเทิบ ก็ไปลงเรือ ชมความงามของสามพันโบกต่อครับผม :)
ช่วงที่ผมไป เป็นช่วงเวลาที่ฝนเพิ่งหยุดตกได้ไม่นาน กระแสน้ำในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณที่ผ่านเกาะแก่งต่าง ๆ ไหลเชี่ยวเอาการทีเดียวครับ
ความเห็นที่ 5.1
มีรูปปลาจากชายท่านนี้ไหมครับ อยากเห็น ^^
ความเห็นที่ 5.1.1
ไม่มีอะครับ คุณ a_a (^^!)
ตอนผมถ่ายรูปนี้มา เป็นจังหวะที่เรือที่นั่งไปกำลังผ่านจุดที่ชายคนนี้กำลังช้อนสวิงลงไปพอดี (วืดครับ ไม่มีปลาติดขึ้นมาเลย) พอเรือย้อนกลับมา พี่คนนี้ก็ย้ายไปที่ไหนก็ไม่ทราบแล้วครับผม
มีกลุ่มที่ใช้สวิงช้อนปลาได้เหมือนกันครับ (สังเกตจากการสะท้อนแสงของเกล็ดปลาตอนยกสวิง กับตอนปลาตกลงบนพื้น) แต่อยู่นอกระยะซูมของกล้องที่ผมใช้ตอนนั้น ถ่ายออกมาแล้วดูไม่ออกว่าเป็นรูปที่เขากำลังทำอะไรกัน ก็เลยลบออกไปอะครับ
ความเห็นที่ 5.1.2
ไม่มีอะครับ คุณ a_a (^^!)
ตอนผมถ่ายรูปนี้มา เป็นจังหวะที่เรือที่นั่งไปกำลังผ่านจุดที่ชายคนนี้กำลังช้อนสวิงลงไปพอดี (วืดครับ ไม่มีปลาติดขึ้นมาเลย) พอเรือย้อนกลับมา พี่คนนี้ก็ย้ายไปที่ไหนก็ไม่ทราบแล้วครับผม
มีกลุ่มที่ใช้สวิงช้อนปลาได้เหมือนกันครับ (สังเกตจากการสะท้อนแสงของเกล็ดปลาตอนยกสวิง กับตอนปลาตกลงบนพื้น) แต่อยู่นอกระยะซูมของกล้องที่ผมใช้ตอนนั้น ถ่ายออกมาแล้วดูไม่ออกว่าเป็นรูปที่เขากำลังทำอะไรกัน ก็เลยลบออกไปอะครับ
ความเห็นที่ 6
หญ้าพวกนี้มักพบในพื้นที่ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำมาก ผมก็ไม่รู้เหตุผลว่าทำไมต้องทำหน้าตาแบบนี้เหมือนกัน ฤสจะเพิ่มพื้นที่รับแสงเพื่อเร่งสร้างอาหารหว่า
ความเห็นที่ 6.1
โอ้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ คุณ Knot (^^)
ความเห็นที่ 6.2
ชอบเจอตามลานหินหรือพื้นที่โล่ง ทางภาคใต้ก็เจอ
ความเห็นที่ 7
การไปชมสามพันโบกในครั้งนี้ เนื่องจากว่าไปถึงท่าเรือที่จะพาไปชมเกาะที่มีโบกตอนเย็นค่อนข้างมากแล้ว ก็เลยมีเวลาขึ้นไปชมแค่สองเกาะ ในเวลาไม่นานเท่าไรครับผม
แต่ก็เห็นโบกรูปร่างแปลกตาเยอะพอสมควรครับ :)
ความเห็นที่ 8
แต่ละโบกที่หลั่นกันไป ความลึกตื้นก็ต่างระดับกันครับ มีตั้งแต่ลึกแค่ท่วมข้อมือ จนถึงลึกประมาณเมตรกว่า ๆ
โบกที่น้ำลึกประมาณเมตรกว่า ๆ บางโบกก็มีปลาตกค้างอยู่ครับ มีอยู่โบกหนึ่งที่น้ำค่อนข้างใส เท่าที่ผมเห็น ใต้น้ำมีปลาตะพาก ๒ ตัว ปลาจำพวกปลาตะเพียนตัวเล็ก ๆ ที่เห็นไม่ค่อยชัดว่าเป็นปลาอะไร ๑ ตัว ปลาบู่น้ำตก (ไม่ทราบชนิด แต่เห็นคนเรือเรียกว่า "ปลาบู่หิน" ครับ) ๔ - ๕ ตัวครับผม
คนเรือเล่าให้ฟังว่าปลาพวกนี้เข้ามาหากินในโบกตั้งแต่ตอนที่น้ำโขงยังท่วมเกาะอยู่ พอน้ำโขงลดระดับลงต่ำกว่าเกาะ ปลาพวกนี้ก็ติดค้างอยู่ในโบก จะออกไปได้ตอนแม่น้ำโขงท่วมเกาะอีกครั้งครับ
อาจจะดูไม่ค่อยชัดนะครับ ตอนนั้นแสงน้อยแล้ว ตอนเอากล้องลงไปถ่ายใต้น้ำ ผมลืมปรับ Mode ของกล้องเป็น mode ถ่ายใต้น้ำ จากเดิมที่ตั้ง Auto ไว้ ก็เลยปรับไม่ได้อย่างใจ ประกอบกับตอนนั้นเรือจะออกแล้ว ก็เลยต้องรีบถ่ายทั้งอย่างนั้น ไม่ได้ถ่ายซ่อมอ่ะ
ความเห็นที่ 9
อีกเกาะหนึ่งที่ขึ้นไปชมโบก เจอแมลงปอตัวนี้ตอนกำลังจะกลับไปลงเรือกลับฝั่งพอดีครับ :)
ความเห็นที่ 9.1
แมลงปอบ้านใต้ขายาว Trithemis pallidinervis ตัวเมียครับ
ท่าเกาะท่านี้เลยครับ จุดเด่น ฮี่ๆๆ
ความเห็นที่ 9.1.1
ขอบคุณสำหรับข้อมูลแมลงปอครับ คุณ Due_n :)
ความเห็นที่ 10
ส่งท้ายภาพจากสามพันโบกด้วยแสงตะวันยามเย็นครับผม :)
ความเห็นที่ 11
มีปลามาฝากชาวปลาอีกเล็กน้อยครับผม
๒ ภาพแรกเป็นปลาที่วางขายที่ตลาดสดช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานีครับผม :)
ความเห็นที่ 11.1
Labiobarbus lineatus ปลาซ่าลาย น่าจะเป็นเช่นนั้น ส่วนตัวขวา ปลาบู่ทราย Oxyreotris mamoratus
ความเห็นที่ 12
แถมด้วยฝูงปลาหมอจากวัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ครับ
ความเห็นที่ 13
ส่งท้ายกระทู้กันด้วยข้อคิดจากวัดพระธาตุพนมครับผม (เตือนตัวเองเรื่องการใช้เงินไปในตัว จะได้ไม่กรอบไปกว่านี้ เหอะ เหอะ )
ขอบคุณที่ติดตามชมครับ (^^)
ความเห็นที่ 14
ปลาบู่หิน Papuligobius ocellatus (Fowler 1937)
ปลาคุยลาม(ปลาซ่า) Labiobarbus lineatus (Sauvage 1878)
ในกองปลาคุยลามนี้มีปลาอีไท (สร้อยนกเขา) Osteochilus vittatus (Valenciennes 1842) และ ปลาอีไทขาว Osteochilus lini Fowler 1935 ปะปนอยู่ด้วยนะครับ
หมายเหตุ : จำเดิมมาเราอ้างถึงปลาสร้อยนกเขาในชื่อวิทย์ฯ ว่า Osteochilus hasselti และ เราเคยใช้ชื่อวิทย์ Osteochilus vittatus กับเจ้าร่องไม้ตับ อย่างไรก็ดี จากการเปรียบเทียบตัวอย่างต้นแบบและคำบรรยายจากนักอนุกรมวิธานหลายกรรมหลายวาระ พบว่า O. hasselti มีสถานะเป็นชื่อพ้องของ O.vittatus ส่วนเจ้าร่องไม้ตับเป็นการวิเคราะห์ชนิดสับสนกับ O. microcephalus ซึ่งเป็นชื่อที่อ้างถึงปลาร่องไม้ตับในปัจจุบัน
ความเห็นที่ 15
ต้องจำใหม่อีกแล้วตู... เขียน shortnote ตีพิมพ์เลยพี่
ความเห็นที่ 16
ขอบคุณสำหรับข้อมูลปลาครับ อ.Plateen คุณ นณณ์ :)
ความเห็นที่ 17
ขอบคุณครับ