สำหรับตัวนี้พี่เล็กบอกว่าพี่น๊อตบอกว่า (งงมั้ย 55) เป็นงูกินทากจุดขาว ดำ
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
และก็ตัวส้ม ๆ เจ้าเดิม ชื่องูกินทากอะไรนะครับ
ความเห็นที่ 1.1
งูกินทากลายบั้ง (Pareas hamptoni) ครับ ที่ดอยอินทฯ เป็นข้อมูล rediscovery หลังจากช่วงหนึ่งมันถูกตัดจากสารบบงูไทยไปเพราะว่าไม่มีตัวอย่างยืนยันใดๆ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตีพิมพ์ยืนยันครับ เพียงแต่มีหลักฐานแล้วเท่านั้น
ความเห็นที่ 2
ตัวแรก งูกินทากจุดดำ(Pareas macularius)
ตัวที่สอง งูกินทากเกล็ดเรียบ(Asthenodipsas laevis)
ครับ
ความเห็นที่ 2.1
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
เจ้าเกล็ดเรียบผมถ่ายออกมาไม่ค่อยดีเลยพี่ คงต้องไปหาอีกซะแล้ว
ความเห็นที่ 4
จุดมีทั้งขาวทั้งดำ ทำไมเรียกจุดดำหล่ะ แบบนี้งงนะ
ความเห็นที่ 4.1
ดูที่คอเอา กินทากจุดขาวจะมีปลอกคอสีครีมหรือสีส้มครับ
ความเห็นที่ 4.2
เพิ่มรูปประกอบ งูกินทากจุดขาวจาก อช เฉลิมรัตนโกสิน
ความเห็นที่ 5
ตัวส้มๆไม่ใช่เกล็ดเรียบนะขอรับ ID ไว้ใต้ คห. ภาพงูแล้ว
ความเห็นที่ 5.1
ว่าแต่มันลายบั้งตรงไหนครับ เห็นเกล็ดมันก็เรียบ ๆ ไป ไม่มีบั้งขึ้นมาสาก ๆ เลย (เวลาจับ)
ความเห็นที่ 5.1.1
ผมก็ไม่เข้าใจคนตั้งชื่อไทยเหมือนกันครับ แต่ที่แน่ๆจะมีเกล็ดสามแถวกลางหลังที่เป็นสัน เมื่อก่อนผมก็เคยคิดว่าเป็นเกล็ดเรียบ แต่พอไล่คีย์ดูแล้ว ยังไงๆก็ไม่ใช่เกล็ดเรียบ ลักษณะจำแนกระหว่างกินทากเกล็ดเรียบกับลายบั้งซึ่งอยู่ต่างสกุลนั้นดูที่การเรียงตัวของเกล็ดใต้คางครับ ผมคงได้โอกาสหาภาพประกอบเพราะอธิบายเปล่าๆนี่จะยิ่งงงครับ หรือบางทีชื่องูกินทากลายบั้งนั้นอาจมาจากความสับสนจนใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ผิด อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่างูชนิดนี้เคยหายไปจากสารบบงูไทยไปเนื่องจากไม่มีตัวอย่างอ้างอิงน่ะขอรับ
งูกินทางตามแนวตะเข็บตะวันตกของไทยตลอดแนว (เหนือจรดใต้) ยังมีอะไรที่ผมยังมึนอยู่ครับ เพราะนอกจากมีตัวที่คีย์ออกได้ชัดเจนแล้ว ยังมีแบบไม่ชัดเจนอีกสองสามประชากร
ความเห็นที่ 5.1.1.1
โอ้ว ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1
จะรบกวนเกินไปไหมเนี่ยถ้าจะฝากนับเกล็ดเจ้ากินทากสีส้ม ตอนนี้ผมมีข้อมูลจำนวนเกล็ดแค่ตัวเดียว สำหรับตัวงูนั้นคิดว่าไม่จำเป็น นอกจากเจอซากงามๆบนถนนค่อยเก็บนะขอรับ
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1.1
นับเกล็ดจากไหนไปไหน และบริเวณใดครับพี่
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1.2
นับเกล็ดจากไหนไปไหน และบริเวณใดครับพี่
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1.2.1
1. เกล็ดรอบคอ โดยนับบริเวณห่างจากส่วนท้ายสุดของหัวประมาณ 1 ช่วงหัว การนับที่สับสนน้อยที่สุดก็คือนับจากเกล็ดแถวแรกที่ติดกับเกล็ดท้องไล่แนวเฉียงขึ้นทางท้ายจนถึงกลางหลังแล้วนับเฉียงลงไปข้างหน้าจนถึงเกล็ดท้องอีกข้างหนึ่ง แต่ถ้านิ่งพอก็ลองนับซิกแซกเฉียงซ้าย-ขวาไปจนรอบคอ(ไม่รวมเกล็ดท้อง)แล้วเปรียบเทียบสองวิธีดูจะดีกว่า เพราะงูบางชนิดจำนวนแถวเกล็ดยังมีการเปลี่ยนแปลงพอสมควรแม้จะเลยคอ 1 ช่วงหัวมาแล้วก็ตาม
2. เกล็ดรอบกลางตัว ให้เอาหัวงูพับให้ปลายหัวมาชนก้นงู แล้วนับแถวเกล็ดที่แนวที่เป็นจุดพับ ควรทำเครื่องหมายจุดเริ่มนับด้วย พอนับแนวพับแล้วก็ควรนับที่แนวก่อน และหลังจุดเริ่มนับครั้งแรกสัก 5 ช่วงเกล็ด เพราะงูบางสกุลจะมีการเปลี่ยนแถวเกล็ดบริเวณกลางตัว ถ้าได้จำนวนเท่ากันก็แล้วไป ถ้าได้ต่างกันก็ให้บันทึกไว้ด้วย ไม่รวมเกล็ดท้องเช่นกัน
3. เกล็ดรอบก่อนก้น ให้เอาหัวงูพับให้ปลายหัวมาชนก้นงู แล้วนับแถวเกล็ดที่แนว 1 ช่วงหัวงู(หัวงูสุดตรงไหนก็นับแนวนั้น) ต่างจากนับที่คอตรงที่ถ้าไม่นับซิกแซกขึ้น ก็นับเฉียงขึ้นไปทางหน้าแล้วนับเฉียงลงเมื่อถึงกลางหลัง ไม่รวมเกล็ดท้องเช่นกัน
4. เกล็ดท้อง ก็เป็นเกล็ดแนวท้องที่มีความกว้างมากกว่าความยาว และติดกับเกล็ดข้างตัวแถวแรก(เส้นแดง จุดเริ่มเกล็ดข้างตัวแถวแรก) นับจากเกล็ดท้องเกล็ดแรก (จุดแดง ที่ติดกับเกล็ดจุดน้ำเงิน) นับไปทางท้ายจนถึงเกล็ดปิดก้น (ไม่นับเกล็ดชิ้นสุดท้ายในแนงท้องเพราะมันเป็นเกล็ดปิดก้น หรือภาษาทางการหน่อยก็เรียกว่าเกล็ดปิดทวารร่วม)
5. เกล็ดปิดก้น ดูว่าเป็นเกล็ดแผ่นเดียวหรือมีการแบ่งเป็นสองชิ้น
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1.2.1.1
ผมมักสับสนว่า เกล็ดใคคือเกล็ดแรกของเกล็ดข้างลำตัวแถวแรก
ความเห็นที่ 5.1.1.1.1.2.1.2
โห เยอะแฮะครับ ไว้ print แปะไว้ก่อน ถ้าเจอตัวจะเอามานักให้นะ แต่ผมว่าคงงงก่อนจะนับครบแหล่ะครับ
ความเห็นที่ 5.1.2
test reply
ความเห็นที่ 6
ไม่รู้แปะใหน แปะกระทู้พี่เก่งนี่แหละ
ฝากดูด้วยอีกสองตัวครับ
จากดอยสุเทพฯ และดอยอินฯ(ที่ 2,100m)
ความเห็นที่ 7
ตัวแรกก็ชนิดเดียวกับน้องส้มของท่านเก่งนั่นแหละ แต่..อีกตัวนี่สิ....
มีมุมอื่นอีกไหมครับ เพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นตัวที่รอดูรูปแจ่มๆจากไทยอยู่หรือเปล่า
ลป. ที่ยังไม่รีบตอบ เพราะอยากลองให้น้องๆได้ลองมึนกันดู ไม่ต้องกลัวนะน้องๆ เพราะพี่ก็เพิ่งเห็นจะๆครั้งแรกเหมือนกัน
ความเห็นที่ 8
งูลายสาบตาโต Pseudoxenodon macrops ครับ
ความเห็นที่ 9
เป็นคำตอบที่ทำลายความหวังเลย อิ อิ พยายามหลอกตัวเองแล้วเชียว
ลป. ว่าไปแล้วผมก็ยังไม่เคยเจอตัวเป็นๆของเจ้าตาดตเหมือนกันแฮะ