ปลากัดทุ่งแห่งขุนเขา

ไม่มีอะไร แค่เอามาแปะเล่นๆให้ดู ปลาตัวนี้มาจากพื้นที่สูงของระนอง ใกล้ต้นน้ำที่แอบหมายใจว่าจะเจอพวกอมไข่บ้าง พื้นที่ที่พบมีฝายถาวรกั้นลำน้ำบริเวณทุ่งธรรมชาติ(เดิม)ในป่าลึก ชุมชนในพื้นที่เป็นคนจากภาคอีสานทั้งหมด และยังไม่มีประวัติการเอาปลากัดจากที่อื่นมาปล่อยเพื่อให้กัดเก่งขึ้น ปัจจุบันปลาก็ยังกัดไม่ทนเหมือนเดิม(เขาว่างั้น)

Comments

ความเห็นที่ 1

อุ๊ย...ข้างหลังปลามีสถานที่ติดต่อ ด้วย!!
...  ติดต่อที่ไหน จะได้เจอทั้ง 2 หนุ่มน้อยกับแม่โอ๋ในเวลาเดียวกัน อิอิ

ความเห็นที่ 2

ของทางระนองไม่ค่อยมีแววฟ้าใช่ไหมครับ สรุป?

ความเห็นที่ 3

สีแดงๆ แบบนี้ สงสัยไปช้อนมาจากใต้ต้นพริกแน่ๆ เลย 

ความเห็นที่ 4

ทรงยังกะปลากัดหม้อเลย

ความเห็นที่ 5

ตอนนี้มีข้อสรุปประเด็นเดียวคือ ปลาในพื้นที่ระนองทุกหมาย (ทั้งสาดแน่ๆ เสี่ยงสาด และหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่สาด) จะเป็นปลาใต้ต้นพริก (สีแดงเด่นมากกกกกก) ส่วนสีเขียวๆที่เกล็ดจะมีทั้งจุด หรือเคลือบบางส่วน ทรงตัวก็ยังมีความผันแปรทั้งตามและไม่ตามระดับความเสี่ยงสาด ส่วนแววฟ้ายังไม่เห็น

ในความเห็นของผมเองนั้น หากเราเอา B. splendens จากภาคกลางเป็นบรรทัดฐาน จะกลายเป็นปลาจากระนองเป็นปลาสาดทั้งหมดไปโดยปริยาย (หรือปลาของคนอื่นที่ไม่ใช่ของกรู เป็นปลาสาดหมด) แต่หากเราลองเปิดใจสักนิดไว้ก่อนก็จะเข้าใจว่าแม้แต่ปลาจากภาคกลางแท้ๆเองก็หาได้เหมือนกันทุกตัวไม่ แม้แต่ครอกเดียวกันก็ตาม พอเปิดใจต่ออีกสักหน่อยว่าการคัดพันธุ์ปลากัดหม้อนั้น ก็ต้องเริ่มจากปลากัดทุ่งแท้ๆดั้งเดิมที่มีลักษณะที่น่าสนใจ เช่น ตัวหนากว่าชาวบ้าน เพื่อนำมาพัฒนาปลารุ่นต่อๆมาให้มีทรงตัวหนาขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง มีการคัดตัวที่ครีบเครื่องหนาๆมาผสมกันเองเพื่อให้ได้ปลาที่มีเครื่องเหนียว รับมือกับเขี้ยวคู่ต่อสู้ได้ หรือแม้แต่การคัดสี ที่เลือกสีที่ดูเด่น (เริ่มจากสีแดง) มาผสมเพื่อให้เกิดสีสันตามต้องการหรือตามจินตนาการ การที่เรามีปลากัดหม้อทรงตัวหนา เกล็ดแข็ง สีสวย ฯลฯ เหล่านี้ได้ แสดงว่ามันมีลักษณะเหล่านี้แฝงอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่คนมาทำให้เกิดความชัดเจน โดดเด่น เข้มข้นขึ้น หรือเป็นการทำลายสมดุลย์ทางพันธุกรรมเดิมในการดำรงในธรรมชาติมาสนองความต้องการของผู้พัฒนาสายพันธุ์แทน  การคัดพันธุ์ก็เริ่มจากการเสาะแสวงหาปลาจากแหล่งต่างๆทั่วประเทศ (รวมหลายๆคนน่ะ) ปลาแต่ละที่ก็มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆต่างๆกันไปในแต่ละถิ่น แล้วนำลักษณะที่ต้องการจากแต่ละแหล่งมาพัฒนาไปเรื่อยๆ ตำนานการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดนั้น คุณบ๊อบบี้ก็ได้บรรยายไว้แล้วในกระทู้ก่อนหน้านี้ ซึ่งผลของการพัฒนามีทั้งพัฒนาด้านสรีระจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือเลยเถิดไปถึงพฤติกรรมที่สรีระอาจเปลี่ยนในระดับที่มองด้วยตาไม่ออกก็ได้ทั้งนั้นครับ

ปลาหมายนี้ต่างจากหลายๆแหล่งในระนองคือ ปลายกระโดงไม่ติดแดงเลย (พบ 3 หมาย) เกล็ดเคลือบเขียวมากกว่าหมายอื่นๆ (ที่อื่นมีเคลือบแต่ไม่มากแม้แต่แหล่งปลาสาดแน่ๆ) มีหมายเดียวที่แทบไม่เคลือบ มี 2 หมายที่ปลาตื่นง่าย (รวมหมายปลาสาดด้วย) ข้อมูลจากปลา 10 หมายเฉพาะในระนอง

ความเห็นที่ 6

รึว่าจะเป็นบรรพมีนหม้อลูกร้อย ซึ่งพินิจแล้วต่างจากทุ่งภาคกลางในหลายลักษณะทั้งสีสันเกล็ดเคลือบและรูปกายที่หนา แต่กระโดงยังคงลักษณะปลาป่าแท้

ความเห็นที่ 7

ตัวนี้มาจากแหล่งที่สาดยากระดับน่าปลอดภัยจากการสาดสุดๆ ก็มีหน้าตาแบบนี้ พ่อแม่นิสัยดีไม่กินลูกทั้งคู่เลย
ranong.jpg

ความเห็นที่ 7.1

ดำคล้ายเขมร

ความเห็นที่ 8

ตัวล่างกับตัวบนจากแหล่งเดียวกันไหมครับรูปทรงสวยทั้งสองตัวเลยครับ

ความเห็นที่ 9

คคหที่ 7 สวยสมตำแหน่งปลาป่าเลยครับคุณน๊อต

ความเห็นที่ 9.1

ถึงกระนั้นก็ยังคนมายืนยันว่าปลาสาดน่ะขอรับ เหอๆๆๆ(ปลาทุกตัวที่ไม่ใช่ของมัน คือปลาสาดทั้งหมด)