Eastern Thailand's Biodiversity

ได้โอกาสเหมาะเจาะแว๊บเข้ามาแบบไม่ต้องคิดมาก ประกอบกับพี่ๆในสังกัดว่างกันพอดี ก็เลยชวนกันไปตามที่ใจอยากจะไป
มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออก ไม่หวั่นเรื่องฟ้าฝน  กว่าจะทำธุระของตัวเองเสร็จก็มืดค่ำรถหมดพอดี ก็เลยต้องเหมากันไปกับวอลโวย์ตัวแรง

Comments

ความเห็นที่ 1

เช้าของวัน เริ่มออกสำรวจ เล่นกันง่ายๆเลย ก็ข้างทางนี้แหละ
img_2828_.jpg

ความเห็นที่ 2

Ceratopteris thalictroides (L.) Brongn. 
กูดเขากวาง,กูดเพา,ขาเขียดน้ำเค็ม ขึ้นประปราย 
img_2825_.jpg

ความเห็นที่ 2.1

เป็นต้นไม้ที่ชอบที่สุดชนิดหนึ่งของผมเลย

ความเห็นที่ 3

Ottelia alismoides Pers.
ผักสันตะวา,ผักกะโตวา(ปราจีนบุรี)
ขึ้นเต็มทุ่งมากมาย ได้เก็บมาว่าจะปลูกในตู้ไม้น้ำซักหน่อย
แต่ใบได้หายไปอยู่ในท้องของข้าพเจ้าและสมาชิกในทริปบ้างแล้ว ฮาๆ พากันติดใจเป็นแถว
เพราะว่าช่างกรอบอร่อยอะไรเยี่ยงนี้ แก้มกับลาบ น้ำพริก ผักกาดชิดซ้ายไปเลยทีเดียว
img_2843_.jpg

ความเห็นที่ 3.1

กินระวังพยาธิด้วยนะครับท่าน 

ความเห็นที่ 3.1.1

ช้าไปแล้วเหอๆ!
แต่ก่อนกินล้างด่างทับทิมละ พอช่วยได้ไหม

ความเห็นที่ 3.1.1.1

ต้องกิน Hydrogen peroxide ตามเพื่อล้างพิษด่างทับทิมหรือเปล่านี่?????  

ความเห็นที่ 3.1.1.1.1

เหอๆ

ความเห็นที่ 4

ดูดอกใกล้ๆบ้าง


ผักสันตะวานี้น่าเอาไปทำสลัดจริงๆเชียว  ส่งเสริมปลูกเป็นผักเศษฐกิจได้เลย
img_2838_.jpg

ความเห็นที่ 5

เผลอแป๊บเดียวก็เที่ยงวันซะแล้ว พักรับประทานอาหารหน่อยแล้วกัน
img_2860_.jpg

ความเห็นที่ 6

น้องเหมียวที่ร้านอาหาร
img_2851_.jpg

ความเห็นที่ 7

อีกซักตัว
img_2857_.jpg

ความเห็นที่ 7.1

แสงสวย

ความเห็นที่ 8

อิ๋มเรียบร้อยแล้วก็ไปเดินชมตลาดมิตรภาพชายแดน ย่อยอาหารนิดหน่อย
ก็ได้สะดุดกับสิ่งๆนี้  เท่าที่ดูๆก็น่าจะปลอม
img_2873_.jpg

ความเห็นที่ 9

ทำไรกันรึ????!

สงสัยกำลังปรึกษากันว่าจะเอาคนละกี่แผ่นดี
img_2887_.jpg

ความเห็นที่ 10

พอเดินย่อยอาหารกันเรียบร้อยแล้วก็พร้อมที่จะลุยกันต่อ


หญ้าปล้องหรือป่าวครับ
img_2926_.jpg

ความเห็นที่ 10.1

เห็นดอกนี้ แล้วคิดถึงบ้านจัง อีสานหน้าแล้งแบบว่าเยอะมั๊กๆ

ความเห็นที่ 10.2

น่าจะเป็นพวก  Xyris (สกุลกระถินทุ่ง)ครับ

ความเห็นที่ 10.3

a_a ชวนก็ไม่มาเด้อ ติดlab รึติดอะไรกันแน่ ชี้ชัดๆ ฮาๆ



sak ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 11

ไม่นานนักก็ค่ำเสียแล้ว  ระหว่างทางเราได้พบเจ้าตัวนี้
img_2952_.jpg

ความเห็นที่ 12

ถึงเวลานี้พวกเราก็หาที่พัก ส่วนกระผมก็เดินสำรวจรอบที่พักนิดๆหน่อยๆ

ของฝากคนรักแมงมุมครับผม
img_2955_.jpg

ความเห็นที่ 13

ตะเข็บ?
img_2959_.jpg

ความเห็นที่ 14

ตัวนี้จำชื่อได้ขึ้นใจ พี่หนึ่ง(เสือหัวดำ)เคยบอกมันชื่อว่า แมง Hee Moi (ไม่ต้องแปลตรงๆเลย)  

แมงโหย่ง ,แมงย่องแย่ง นั่นแล
img_2962_.jpg

ความเห็นที่ 15

โชว์การหุ้งข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ แบบไม่มีทัพพี ต้องเอากระบอกข้าวหลามมาคน
img_2971_.jpg

ความเห็นที่ 16

กว่าจะได้กินก็ดึกมากแล้ว
กับข้าวเป็นอาหารกระป๋องล้วนๆ
img_2974_.jpg

ความเห็นที่ 17

จากนั้นก็เดินรอบๆที่พักอีกนิดหน่อย  
ปลากั้ง?
img_2980_.jpg

ความเห็นที่ 18

สิ่งที่พวกเราอยากพบมากที่สุด และก็ได้พบทุกครั้งที่ไป
ปลากัดอมไข่ Betta cf , prima (ต้องเช็คอีกที แต่ไม่น่าจะต่างจากชนิดนี้)
ช่วงนี้น้ำหลากไหลแรง จึงพบน้อยกว่าในฤดูอื่น  แต่เป็นที่น่ายินดีที่พบการกระจายพันธุ์มากกว่าจุดเดิม
อยู่สูงมาก เข้าใจว่าน่าจะเป็นปลากัดอมไข่ในบ้านเราที่มีการกระจายพันธุ์ขึ้นไปอยู่ที่สูงกว่าชนิดอื่นๆ
img_2982_.jpg

ความเห็นที่ 19

เริ่มต้นเช้าวันใหม่ เดินลัดเลาะธารน้ำ
เตย?
img_2986_.jpg

ความเห็นที่ 19.1

คล้ายกับเตยหนู Pandanus humilis Lour. ครับ

ความเห็นที่ 19.1.1

ขอบคุณครับผม

ความเห็นที่ 20

พรรณไม้เขียวขจี กำลังออกผล
ต้นอะไรไม่ทราบครับ
img_2994_.jpg

ความเห็นที่ 20.1

น่าจะเป็นพืชวงศ์เข็ม(Rubiaceae)ครับ

ความเห็นที่ 20.1.1

เสียดายไม่เห็นดอก

ความเห็นที่ 21

ของฝากครับผม
img_3000_.jpg

ความเห็นที่ 21.1

ว่านน้ำทอง(กล้วยไม้)  Anoectochilus roxburghii หรืออาจเป็น Anoectochilus siamensis

ความเห็นที่ 22

อันนี้ของฝากพี่น๊อตครับ
img_3002_.jpg

ความเห็นที่ 22.1

ตามที่เสียวสันหนังนั่นแหละ..จงอาง

ความเห็นที่ 22.1.1

เล่นลอกคราบขวางทางเดินเลย

ความเห็นที่ 23

เดินลัดเลาะไปตลอดธารน้ำ หาของฝากครับ
แมงมุม ?

อยากได้เลนส์มาโครจริงๆ
img_3008_.jpg

ความเห็นที่ 24

ของฝากครับผม คราวนี้ไม่ลืม หุหุ
img_3011_.jpg

ความเห็นที่ 25

หัวใจ 2 ดวง ในป่าใหญ่
ของฝากครับ
img_3016_.jpg

ความเห็นที่ 26

เห็ดแชมเปญผู้โดดเดี่ยว
img_3026_.jpg

ความเห็นที่ 27

เห็ดกระด้าง(ใช่หรือป่าวครับ)กับสังคมขนาดใหญ่
img_3030_.jpg

ความเห็นที่ 27.1

คล้ายเห็ดกรวยทองตากู Microporus xanthopus

ความเห็นที่ 27.1.1

ขอบคุณครับผม

ความเห็นที่ 28

เห็ดแดงๆ มาเป็นคู่
img_3044_.jpg

ความเห็นที่ 29

แมงมุมอีกแล้วครับท่าน
น่าศึกษาจริงๆอย่างที่พี่จูนว่าไว้กระทู้ก่อนหน้า
img_3034_.jpg

ความเห็นที่ 30

กูดกอโตๆ 
img_3052_.jpg

ความเห็นที่ 31

ทริปนี้มีแต่ของฝากครับ 
จิ้งเหลน?
img_3057_.jpg

ความเห็นที่ 32

ดอกไม้หน้าฝนบ้างครับ
img_3079_.jpg

ความเห็นที่ 33

เสน่ห์ดอกไม้ป่า
img_3087_.jpg

ความเห็นที่ 34

ของฝากอีกครับ
img_3106_.jpg

ความเห็นที่ 35

มาเป็นกลุ่มเลย
img_3151_.jpg

ความเห็นที่ 35.1

ถึงเวลาติดฝักแล้วสินะ อีกชักพักก็คงยุบแล้วนะค่ะ

ความเห็นที่ 36

แมลงปอถ่ายได้ 1 ตัวสำหรับทริปนี้ ฮาๆ
img_3148_.jpg

ความเห็นที่ 36.1

น่าจะ Prodasineura verticalis แมลงปอเข็มหางเข็มส้ม

ความเห็นที่ 36.1.1

น่าจะเป็นชนิดนี้ครับ สถานภาพยังไม่แน่นอนขอรับ
ขอบคุณสำหรับของฝากสวยๆ คร้าบ

ความเห็นที่ 36.2

ขอบคุณครับผม

ความเห็นที่ 37

ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเอาไปเลี้ยงบนอุทยานฯ
เลี้ยงในอ่างปูน หากฝนตกน้ำล้น มีโอกาสที่จะหลุดลงแหล่งน้ำธรรมชาติได้

อย่าว่าแต่ปลาเลย พวกต้นไม้ดอกไม้ก็เหมือนกันอะ ทำไมต้องเอาพวกเอเลียนไปไว้ในป่าบ้านเราด้วย
เข้าป่าเพื่อไปดูของในป่า ถ้าเข้าป่ามาเพื่อมาดูปลาหางนกยูง นักท่องเที่ยวเขาจะมาทำไมกัน
img_3113_.jpg

ความเห็นที่ 38

ปลาซิวครีบแดง Rasbora rubrodorsalis Donoso-Buchner&Schmidt, 1997
ทางตะวันออก
img_3270_.jpg

ความเห็นที่ 39

ซิว?
img_3289_.jpg

ความเห็นที่ 39.1

Rasbora daniconius 

ความเห็นที่ 39.1.1

น่าจะ R. palustris มากกว่า (ตาม Smith, 1945) ส่วน R. dani.. เป็นของ Gangese-Salween

ความเห็นที่ 40

และซิว
img_3295_.jpg

ความเห็นที่ 40.1

Rasbora paviei 

ความเห็นที่ 40.1.1

Rasbora paviana

ความเห็นที่ 41

แล้วก็ซิวใบไผ่?
img_3311_.jpg

ความเห็นที่ 41.1

Danio albolineatus ใบไผ่เล็ก

ความเห็นที่ 42

ซิวหางแดง
img_3335_.jpg

ความเห็นที่ 42.1

Rasbora borapetensis บอระเพ็ดเอ็นซิส

ความเห็นที่ 42.1.1

เอาไปถ่ายรูปหน่อยไหม ข้าน้อยด้อยความสามารถละ

ความเห็นที่ 43

กริมควาย ดูครีบหางจะยาวย้วยเลย
img_3399_.jpg

ความเห็นที่ 44

นี้ก็น่าจะตัวเมีย
img_3446_.jpg

ความเห็นที่ 45

กริมสี 
ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นตัวผู้ เพราะไม่เห็นลอนไข่
img_3471_.jpg

ความเห็นที่ 46

เจ้าตัวนี้เป็นตัวเมีย เห็นลอนไข่ชัดเจน
ดูสวยกว่าตัวผู้ มีครีบหลัง(กระโดง)ยาวกว่า
img_3481_.jpg

ความเห็นที่ 47

ขากลับ
ด้วยสมรรถนะรถคันนี้ เพื่อไม่ประมาททำให้ผู้ร่วมทริปต้องออกไปสำรวจเส้นทางก่อน
img_3093_.jpg

ความเห็นที่ 47.1

ถนนลูกรังแดงขนาดนั้น ไม่กลายเป็นโคลนดูดไปได้ง่ายๆหรอกครับ 

ความเห็นที่ 48

และแล้วก็ผ่านอุปสรรคไปอย่าง....อย่างที่เห็น เข็นกันหนักหน่วง เละไปเรียบร้อย!!




เพิ่มเติม
- ช่วงค่ำคืน พวกเราได้พบกับเสือ ขนาดประมาณสุนัขอาเซเชียลตัวโตๆเห็นจะได้
วิ่งเหยาะๆข้ามทางไป ด้วยความมืดไม่สามารถที่จะเห็นลายได้ชัดเจนนัก จึงไม่แน่ใจว่าเป็นเสือชนิดใด
อย่างไรก็แล้วแต่ ก็สามารถบ่งบอกถึงความอุดสมบูรณ์ของผืนป่าได้อย่างดี เพราะเสือที่พบดังกล่าว อยู่แถวๆโป่งดิน เข้าใจว่ากำลังรอเหยื่อที่มากินโป่งนั่นแล


ขอขอบคุณ  
พี่เป้และพี่เป้ ผู้ร่วมทริปทั้ง 2 ท่านครับ
และทุกๆท่านที่แวะชมกระทู้ครับ



ไว้พบกันในโอกาสต่อไปครับ
img_3096_.jpg

ความเห็นที่ 49

เห็นสภาพป่าแล้ว นึกออกเลยว่าที่ไหน บริเวณนั้นติดกล้องดักถ่ายไว้หลายจุดครับ สัตว์ตระกูลแมวที่พบแถบนั้น มีหลากหลายมากเลย ถ้าขนาด อาเซเชียล แล้ว มีอยู่อย่างเดียว คือ เสือดาว ครับ 

ความเห็นที่ 49.1

รู้เช่นกันว่าที่ไหน

ความเห็นที่ 49.1.1

ลืมบอก...เจอเป็ดก่า 1 ตัวครับท่านพี่

ความเห็นที่ 49.1.1.1

ไม่เชื่อ

ความเห็นที่ 49.1.1.1.1

มีหลักฐาน   เดี๋ยวหาโปรแกรมแปลงไฟล์วีดีโอก่อน
เดี๋ยวจะตลึง  คริๆ

ความเห็นที่ 49.1.1.1.1.1

อย่าลืมโคลนเอาหวงขาออกก็แล้วกัน

ความเห็นที่ 49.1.1.1.1.1.1

ฮาๆๆ เหมือนอยู่ในเหตุการณ์

ความเห็นที่ 49.2

จำได้ขนาดนั้นเลยรึ  แจ่มแจ๋วอะ

ความเห็นที่ 50

ขอบคุณสำหรับของฝากครับ ปลาซิวที่ได้มา อยู่กันยังไงบ้างครับนั่น?  ขอดูพื้นที่อาศัยหน่อย โดยเฉพาะเจ้า daniconius กับ เจ้า rubrodorsalis แล้วเจ้า ครีบแดงกับหางแดงอยู่ด้วยกันไหม?  อย่างไร?


ไม่ได้ปลากัด หรือว่ากั๊กปลากัด?  ปลากริมสีที่บอกเป็นเพศเมีย มันจะจริงเหรอ????

ความเห็นที่ 50.1

- ซิวยังเลี้ยงรวมไว้อยู่ครับ ถ่ายรูปเสร็จก็จะให้สมาชิกรับไปดูแลต่อ
พี่นณณ์สนใจรับตัวไหนไปดูแลต่อไหมครับ

- ซิวหางแดงพบได้ข้างทางตามภาพความเห็นที่ 1 แต่ไม่พบซิวครีบแดง
และพบทั้ง 2 ชนิดอยู่ด้วยกันในนาข้าว (มีพืชน้ำตามภาพความเห็นที่ 3) และริมตลิ่ง มีจำนวนประชากรมากพอสมควร 

- ปลากัดได้จากหมายที่พี่นณณ์เคยไปครับ ปริมาณน้ำเยอะกว่าเดิมมาก ด้านล่างที่เป็นทุ่งน้ำท่วมหมด แต่ปลากัดหมายนี้ยังสบายดี ก็คงมีบางส่วนท้ายน้ำ ไหลตามน้ำกระจายพันธุ์ออกไปตามธรรมชาติ  สมัยเด็กๆ(ประมาณ15 ปีที่แล้ว)เคยท่วมเกือบถึงถนน แต่เมื่อน้ำลงทุกอย่างก็กลับสู่สภาพปกติ
จากที่ตักแบบมั่วๆ 3-4 ที พบประชากรตัวเล็กมากมาย(ปล่อยหมด), ได้ตัวผู้มา 3 ตัว(แบ่งกันคนละตัว) พบเขียดงู 1 ตัว(ไม่ได้ถ่ายไว้สมาชิกร่วมทริปรีบปล่อยไปซะแล้ว)   
ปลากัดยังถอดสี จึงกั๊กไว้ถ่ายรูปอยู่ครับผม

- ปลากริมที่ผมว่าตัวเมีย เพราะถ้าเราตัดเรื่องครีบออกไป จะเห็นเหมือนลอนไข่เป็นฟักยาวชัดเจน หรือสิ่งที่เห็นนั้นเป็นถุงลม  ถ้าเป็นถุงลมอย่างว่าภาพความเห็นที่ 45 ทำไมไม่มีอะครับ

ความเห็นที่ 50.1.1

ผมดูครีบก่อนอ่ะ ครีบเครื่องขนาดนี้ ไม่น่าจะเป็นเพศเมียได้เลยครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เจอกลุ่ม Boraras หรือ Oryzias บ้างไหม?

ความเห็นที่ 50.1.1.1

ยังไม่เจอครับผม

..ทาง อ. ศรีมหาโพธิ ที่เคยเห็นคล้ายซิวเจ้าฟ้าฯ แต่ไม่แน่ใจ เดี๋ยวจะค้นภาพมาให้ชมครับ

ความเห็นที่ 51

ภาพสวยสุดๆ ได้บรรยากาศมากๆ ขอบคุณสำหรับของฝากครับ

ความเห็นที่ 51.1

แมงมุมเยอะนะครับ สนใจผ่านมาทางนี้บอกเด้อ

ความเห็นที่ 52

จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ

ความเห็นที่ 52.1

ขอบคุณมากครับผม

ความเห็นที่ 53

กริมสีได้ทั้งสองชนิดครับ

Trichopsis pumila (Arnold 1936) ภาพบน
Trichopsis schalleri Ladiges 1962 ภาพล่าง

ผมเองจากภาพคิดว่าเป็นเพศผู้ทั้งสองชนิดนะครับ

ความเห็นที่ 53.1

เย้ยย! ว่าแล้วเชียว
กำลังเพ่งปลากริม Trichopsis schalleri อ.เดี่ยว จากตราดในเฟสบุ๊คอยู่เลย
กระผมก็มัวแต่จะหาทางอีสาน ไฉนมันมาอยู่ขอบรั้วบ้านซะนี้  แต่ตัวขนาดนี้แยกไม่ออกจริงๆ

ขอบคุณมากๆครับผม

ความเห็นที่ 54

ตัวนี้พี่น๊อตให้มา จาก นครพนม ตัวใหญ่เท่าๆกับกริมควาย
img_1287__.jpg

ความเห็นที่ 55

อย่างที่ท่าน Plateen วิเคราะห์ครับ แล้วก็เจ้ากริมอีสานตัวล่าง ก็น่าจะตัวเมียจากถุงไข่ที่เห็นอะครับ ส่วนเรื่องการกระจายพันธุ์ วันที่ไปรับตัวอย่างลูกปลากริมอีสาน (Trichopsis schalleri) จากท่านอาจารย์เดี่ยว ที่กรุณาไปเก็บตัวอย่างมาให้จากแม่น้ำชีชัยภูมิ ผมก็เรียนถามท่านเรื่องการกระจายพันธุ์ว่ากริมอีสานมันสามารถพบลงไปถึงภาคอื่นๆ อย่างตะวันออกและประเทศเพื่อนบ้านได้มั๊ย

ท่านอาจารย์เดี่ยวก็ได้กรุณาหยิบเอกสารที่เป็นสำเนาออกมาให้ผมดูเล่มหนึ่ง คือ Bulletin Zoologisch Museum Vol.12 No.1 1989 ที่เป็นเช็คลีตส์บอกเขตการกระจายพันธุ์ของปลาน้ำจืดในเขตแผ่นดินใหญ่ของเขตอินโดจีนทุกชนิดให้ดู เป็นผลงานของ  Maurice Kottelatซึ่งปรากฎว่าตามแผนที่นั้น ปลากริมอีสานมีเขตการกระจายพันธุ์ได้ลงไปตลอดแนวกว้างของลุ่มน้ำโขง ลงไปจนถึงเขมร ซึ่งก็พาดผ่านภาคตะวันออกของไทยด้วยนั่นเอง

ผมจึงเข้าใจแจ่มแจ้งว่าปลากริมอีสาน (ซึ่งชื่อชักไม่ถูกต้องซะทีเดียวแล้ว เพราะมันเจอภาคอื่นด้วย!) ที่ได้มาโดยบังเอิญ แต่ไม่ได้มาจากอีสาน ทว่ามาจากแหล่งน้ำในจังหวัดตราด มันมีความเป็นไปได้เช่นนี้เอง และนี่คือหน้าตาลูกกริมอีสานจากตราดครับ

[IMG]http://i472.photobucket.com/albums/rr84/dyckia1967/Aquarium2/IMG_9577.jpg[/IMG]

[IMG]http://i472.photobucket.com/albums/rr84/dyckia1967/Aquarium2/IMG_9556.jpg[/IMG]

[IMG]http://i472.photobucket.com/albums/rr84/dyckia1967/Aquarium2/A_Khao_Sming_5Oct54_02.jpg[/IMG]

[IMG]http://i472.photobucket.com/albums/rr84/dyckia1967/Aquarium2/A_Khao_Sming_5Oct54_01.jpg[/IMG]

ความเห็นที่ 56

ขออภัย ผิดพลาดทางเทคนิค กริมอีสาน รูป จากตราดครับ
img_9577.jpg

ความเห็นที่ 57

ตัวเดียวกันกับข้างบน ลูกกริมอีสาน (Trichopsis schalleri) จากตราดครับ
img_9556.jpg

ความเห็นที่ 58

กริมอีสาน (Trichopsis schalleri) จากตราดครับ
a_khao_sming_5oct54_01.jpg

ความเห็นที่ 59

กริมอีสาน (Trichopsis schalleri) จากตราดครับ
a_khao_sming_5oct54_02.jpg

ความเห็นที่ 59.1

ถ้าไม่เอามาเปรียบเทียบกัน ก็นึกว่ากริมสี

ความเห็นที่ 60

ถ่ายภาพได้สวยงามดีครับ มีชีวิตชีวา

ความเห็นที่ 61

ถ้าเป็นลุ่มน้ำที่ลง Grand Lake (Tonle Sap-Delta Ecoregion) มี T. schall. อยู่แล้ว แต่ถ้าลุ่มน้ำที่ลงอ่าวไทย (Eastern Gulf of Thailand Drainage/Cardamom range Ecoregion) น่าสน??!!!!

ความเห็นที่ 62

ถ้าเป็นลุ่มน้ำที่ลง Grand Lake (Tonle Sap-Delta Ecoregion) มี T. schall. อยู่แล้ว แต่ถ้าลุ่มน้ำที่ลงอ่าวไทย (Eastern Gulf of Thailand Drainage/Cardamom range Ecoregion) น่าสน??!!!!

ความเห็นที่ 63

เนี่ยะครับเพื่อนๆ ถ่ายสำเนาหน้าแสดงแผนที่เขตการกระจายพันธุ์ของลุ่มน้ำต่างๆ ในภูมิภาคอินโดจีน
จากเอกสารเช็คลีสต์ ที่อาจารย์เดี่ยวนำมาให้ดูเป็นข้อมูล เจ้า Trichopsis schalleri อยู่ในเขต ME (Mekong)
img_9620.jpg

ความเห็นที่ 63.1

ชัดเจนมากๆครับ

ความเห็นที่ 64

ดูท่าทางจะสนุกน่าดู ครับ

ความเห็นที่ 65

เห็นกริมควาย ก็ให้เกิดสงสัยว่า
แท้จริงปลากัดจีน อาจจะเป็น wild type ชนิดหนึ่งก็ได้
ยังค้นไม่เจอที่มาสักที รู้แต่ว่าทำกันมานานมากแล้ว